ภาษาผู้ไทวันละคำ..........................แจ้วซ้อม


      วันนี้ขอเสนอภาษาผู้ไทวันละคำด้วยชื่ออาหารประเภทเครื่องจิ้มชนิดหนึ่งค่ะ..  แจ้วซ้อม  ซึ่งก็คือแจ่วบองนั่น เองค่ะ  แจ้วซ้อมที่ผู้เขียนเห็นคุณแม่ทำจะเริ่มด้วยการเตรียมวัตถุดิบก่อนซึ่งจะมีข่า ตะไคร้ หอม กระเทียม พริกแห้ง ปลาร้า ท่านจะซอย ข่า ตะไคร้ หอม กระเทียมเอาไว้ก่อนแล้วมาคั่วพริกด้วยไฟอ่อนๆจนสุก (ถ้าไฟแรงจะทำให้ไหม้ก่อนและมีกลิ่นแรงมากกว่าคั่วไฟอ่อน)แล้วก็โขลกพริกคั่วให้ละเอียดแล้วใส่ตะไคร้ลงไปตามด้วยข่าเมื่อแหลกแล้วจึงใส่หอมกระเทียมลงไปเมื่อแหลกได้ที่(แม่ผู้เขียนจะตำจนเมล็ดพริกแหลกไม่เหลือเป็นเม็ดๆเลย) ก็ใส่ปลาร้าลงไปและตำจนแหลกเหนียว(ปลาร้าที่ใช้เป็นปลาร้าดิบที่หมักมาเกินหนึ่งปีแล้วหากยังไม่ถึงปีก็ต้องทำให้สุกก่อน)เสร็จแล้วก็เก็บใส่ภาชนะไว้กินได้นาน ที่เรียกแจ่วบองว่าแจ้วซ้อมนั้นน่าจะเรียกตามวิธีการทำคือการตำแจ่วบองนานๆจนแหลกละเอียดนี้ผู้ไทจะเรียกว่าซ้อมค่ะส่วนแจ่วก็เรียกว่าแจ้ว แจ่วที่ตำแบบนี้จึงเรียกแจ้วซ้อม) อันที่ติดครกก็เอาข้าวเหนียวมาเช็ดจนเกลี้ยง(ผู้ไทเรียกว่า ลู้ยซก)แล้วเอาไปกินได้อีกค่ะ(ใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าค่ะไม่ให้ได้ทิ้งเลยค่ะ555)  ถ้าไม่มีอะไรจะกินก็เอาข้าวเหนียวมาปั้นแล้วบิตรงกลางออกเอาแจ้วซ้อมไว้ตรงกลางแล้วปั้นข้าวให้หุ้มแจ้วไว้แล้วบิกินทีละคำเรียกอาหารเมนูนี้ว่าเข๊าหม๊องแจ้ว  ก็พอแก้หิวได้ เป็นอาหารจานด่วน แต่ก็แสบท้องดีนักแลถ้าไม่อยากให้แสบท้องก็กินร่วมกับอย่างอื่นเช่นปลา ไข่ เนื้อ ผัก การหม๊องข้าวนี้นอกจากแจ่วแล้วก็อาจจะหม๊องไค่(ไข่) หม๊องป๋า(ปลา)หรือเม่นแก่ว(มันเทศ)หรือ มะขาม ก็ได้ หม๊องเข๊าหมายถึงการเอากับข้าวไปไว้ตรงกลางปั้นข้าวเหนียวไว้ให้บิกินทีละคำแทนการจิ้มทีละคำ ซึ่งจะสะดวกในการถือจึงนิยมทำให้เด็กๆถือไปกิน การทำอย่างนี้ผู้ไทเรียกว่าหม๊องส่วนผู้ลาว(ไทอิสาน)เรียกว่าบายค่ะ เช่น เข่าบายหมากขาม(ภาษาผู้ลาว)ผู้ไทก็จะบอกว่าเข๊าหม๊องหมะห่าม ผู้เขียนมักจะได้กินแต่ข้าวหม้องไข่ ส่วนข้าวหม้องปลาไม่ค่อยจะได้กินบ่อยนักข้าวหม้องเม่นก็ไม่ค่อยได้กินส่วนมากถ้าหม๋กเม่นแล้วก็มักจะกินแต่เม่นหม๋กไม่ได้เอามาหม้องข้าวอีก พูดถึงอาหารด่วนพอแก้หิวได้อีกอย่างที่อร่อยมิรู้ลืมคือ เ ข๊าโฮ่ยเก๋อ(ข้าวโรยเกลือ)มีรสเค็มๆมันๆกินแก้หิวได้ดีไม่แสบท้องแต่กินบ่อยๆอาจขาดอาหารเพราะอิ่มก่อนเลยไม่ได้กินอย่างอื่น เหมือนกับกินขนมกรุบกรอบ  นอกจากนี้ในหน้ามะม่วงก็จะมีของกินง่ายๆอีกชนิดหนึ่ง ที่เด็กๆเมื่อก่อนชอบกินของกินนั้นคือเข๊าญัดหมะโม้งเรียกตามวิธีการทำค่ะคือเอาข้าวเหนียวยัดเข้าไปในมะม่วง มะม่วงที่ใช้ทำก็คือมะม่วงป่าชนิดหนึ่งผู้ไทเรียกหมะโม้ง(มะม่วง)กะส่อ  มะม่วงกะสอนี้จะเป็นมะม่วงรูปยาวๆรีๆเปลือกเหนียวเนื้อข้างในและๆมีน้ำมาก ตอนอ่อนๆกินกับน้ำพริกจะอร่อยแต่พอแก่ๆใกล้จะสุกจะเปรี้ยวมากผู้เขียนไม่ทราบว่าไทกลางเรียกว่ามะม่วงอะไรแต่ก็เป็นมะม่วงป่าชนิดหนึ่ง เมื่อได้มะม่วงสุกซึ่งเก็บใต้ต้นมาแล้วล้างให้สะอาดตัดตรงขั้วหรือง่ายๆก็กัดเอาแล้วบ้วนทิ้ง บีบเมล็ดมะม่วงขึ้นไปทางขั้วเอาเมล็ดมาดูดกินเนื้อหรือจะไม่กินก็ได้แล้วก็จะได้ถุงมะม่วงคือผลมะม่วงที่ไม่มีเมล็ดและเปิดทางขั้วก็จะมีเนื้อม่วงปนน้ำอยู่ข้างในเราก็เอาข้าวเหนียวยัดลงไปจนเต็มแล้วก็คลึงเบาๆให้ข้าวกับมะม่วงเข้ากันแล้วก็กินข้าวคลุกมะม่วงนี้ทางปากถุงพร้อมกับบีบรีดข้าวจากทางก้นถุงมะม่วงขึ้นไป ก็จะอร่อยตรงนี้ล่ะค่ะไม่มีมีดก็สามารถกินข้าวกับมะม่วงได้ แต่วิธีนี้ใช้กับมะม่วงอกร่องไม่ได้ค่ะเพราะบี้อาเมล็ดออกไม่ได้ค่ะ  ก็จบอาหารง่ายๆด่วนๆไว้แต่เท่านี้ก่อนนะคะเล่าถึงแจ่วทำไมมาจบที่มะม่วงก็ไม่รู้นะคะ

        วันนี้ได้กล่าวถึงภาษาผู้ไททั้งหมดมีดังนี้ค่ะ

แจ้วซ้อม  หมายถึง  แจ่วบอง

ลู้ย  หมายถึงเช็ด แต่ใช้เฉพาะเช็ดภาชนะที่มีอาหารติดอยู่เท่านั้น ถ้าเช็ดโต๊ะจะพูดว่าเซ็ดโต๋ะ  จะไม่พูดว่าลู้ยโต๋ะ

โต๋ะ  หมายถึงโต๊ะ

ซก   หมายถึง  ครก

เข๊าหม๊องไค่    หมายถึง  ปั้นข้าวเหนียวห่อไข่ไว้ตรงกลาง   ซึ่งตรงกับภาษาไทอิสาน(ลาว)ว่าเข่าบ๋ายไคหรือเข่าบายไค

เข๊าหม๊องป๋า      

เข๊าหม๊องเม่น  

เข๊าหม๊องแจ้ว

เข๊าโฮ่ยเก๋อ      หมายถึงปั้นข้าวหนียวโรยเกลือ

เม่นหม๋ก    หมายถึงมันที่ทำให้สุกด้วยการหมกขี้เถ้า

ป๋า   หมายถึงปลา

หมะห่าม หมายถึง มะขาม

เข๊าหม๊อง

หมะโม้ง   หมายถึงมะม่วง

เข๊าญัดหมะโม้ง  หมายถึง  ข้าวบรรจุลงถุงมะม่วง(ถุงมะม่วงคือผลมะม่วงป่าที่บีบเอาเมล็ดออก)

 

ขอจบภาษาผู้ไทวันนี้แต่เท่านี้ก่อนนะคะ

ขอบคุณที่เข้ามาอ่านค่ะ

คำสำคัญ (Tags): #ภาษาผู้ไท
หมายเลขบันทึก: 490417เขียนเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 11:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 สิงหาคม 2012 08:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

ข้าวยัดมะม่วง ตอนเด็กเคยรับประทาน อะไรแบบผู้ไทครับ

Vow! For a ภาษาผู้ไทวันละคำ, I have a whole delicious meal in one read ;D

But this is deliciously satisfying. May I have another "meal" please? ;D

ชอบกินแจ่วบองของทางอีสานมากค่ะ  มีเพื่อนพ้องน้องพี่ซื้อมาฝากประจำ

ชาวผู้ไทของทางนี้คงจะประมาณชาวไทยองของทางเหนือ...คิดว่า

  • ขอบคุณค่ะคุณวีระศักดิ์ ที่มาให้ดอกไม้
  • ข้าวยัดมะม่วง ยังพอมีให้ได้รับประทานค่ะ
  • ขอบคุณค่ะท่านsr
  • ที่มาให้กำลังใจว่าอ่านที่เดียวได้อาหารอร่อยๆที่น่าสนใจและก็ขออาหารมื้ออร่อยๆอีกสักอย่างได้ไหม 
  • ด้วยความยินดีค่ะ อาหารด่วนที่อร่อยอีกอย่างก็คือข้าวจี่คะผู้ไทเรียกว่าเข๊าจี้วิธีทำก็เอาข้าวเหนียวมาปั้นเป็นก้อนรีๆแล้วเอาไม้เสียบโรยเกลือนิดหน่อยให้ทั่วแล้วนำไปอังไฟถ่านที่คุแดงหมุนไปมาให้ทั่วจนข้าวข้างนอกเกรียมๆ ก็เอามาบิกินได้เลยค่ะ
  • ขอบคุณค่ะคุณครูกี้
  • ชาวไทยยองอยู่ที่ไหนอำเภอ ตำบลไหนบ้างคะ

พูดถึงผู้ไทแล้ว เพลงที่ผมชอบมากนะครับ อาจจะไม่ผู้ไทพันเปอร์เซ็นต์ แต่ผมก็ชอบ นั่นคือ  "ฟ้าแดดสงยาง" โดยพิทักษ์ เสริมราษฎร์

ผมอยู่ที่ อ.ชานุมานครับ ที่บ้านใชภาษาผู้ไทครับ น่าจะคร้ายๆกันนะครับ จะต่างก็แต่สำเนียงเล็กน้อย ขอบคุณครับ

  • สวัสดีค่ะ04เชฎฐ์ พลราชม ยินดีที่ได้รู้จักผู้ไทอีกคนค่ะ
  • ที่ชานุมานมีหมู่บ้านผู้ไทอยู่กี่บ้านละคะ
  • สำเนียงพูดอาจต่างไปบ้างก็พอสื่อสารกันได้นะคะ
  • แล้วเค่ยกิ๋นเข๊าโฮ่ยเก๋อยู่บ้อ
  • คุณยายยังย้อมครามและเลี้ยงไหมอยู่ไหมคะ

แจ้วซ้อม...บรรยายวิธีทำ เหมือนได้กลิ่น เครื่องเทศ..ถ้ามีข้าวเหนียวสักปั้น กับ แจ้วซ้อม คงอร่อย ...เอาอะไรมาแลกก็ไม่ยอม...สนุกดี ได้ความรู้ ภาษา...สวัสดีครับ

ดีครับ ได้ความรู้ดี ผมก็คนภูไท(ไม่ทราบว่าสองคำนี้ ผู้ไท กับ ภูไท มันหมายถึงชนเผ่าเดียวกันรึปล่าวนะ)เกิดบ้านแสนพัน ธาตุพนม นครพนม ครับ แถวบ้านตอนยังเด็ก จำได้ว่ายายทวดเคยทำ น๋ำผั๋ก (ไม่ทราบว่ารู้จักกันรึปล่าวนะ)จะเป็นการเอาผักกาดฉุนๆต้นเล็กกับพืชหลายชนิด(ที่พอจำได้รู้สึกยายทวดจะเรียกว่า เครือตดหมา -_-) มาโขลกให้ละเอียด กรองเอาเศษออกพอหยาบๆเหลือใยๆไว้พอสมควรแล้วเคี่ยวกะเกลือใส่กระทะใบใหญ่บนเตาหลุม(ขุดดินทำเป็นเตา) ประมาณ 5-7 วัน จนน้ำเกือบแห้งเหลือเป็นเหมือนครีมสีเกือบดำ(แต่บางครั้งผมมองว่ามันเหมือนขี้วัว ขี้ควายมากๆ) แล้วตักเก็บใส่กระปุกไว้ บางทีก็เอามา ม๊องเข๊า กิ๋น บางที ก็เอาไปตำแจ่วหัวโปก ไม่ก็แจ่วมะกอก เคยได้กินกันม้ยครับแบบนี้ (รู้สึกทุกวันนี้ไม่มีคนทำกันแล้ว ไม่มีใครสืบสานกรรมวิธี ประกอบกับ วิถีชีวิต ที่เร่งรีบขึ้น และคนแก่ๆ ก็สิ้นอายุขัยไปตามวัย) ยังรู้สึกเสียดายอยู่นิดครับ

ขอบคุณค่ะคุณ วอลโว่ผู้ไทกับภูไทก็คืออันเดียวกันถ้าพูดตามสำเนียงของพวกเราก็จะพูดว่าผู้ ๊ไท่  (ซึ่งคำวาผู้ ๊จะสะกดไม่ตรงกับรูปวรรณยุกต์ใดผู้เขียนก็เลยเลือกรูปโทกับตรีเรียงกันเสียงของรูปวรรณยุกต์นี้ก็จะตรงกับเสียงวรรรยุกต์ของคำว่าพบ คุณวอลโว่ลองพูดดูสิคะ)พอเอามาเขียนเป็นภาษาไทกลางก็เขียนว่าภูไทบ้างผู้ไทบ้างซึ่งไม่ตรงกับสำเนียงเราสักคำเพียงแต่ใกล้เคียงเท่านั้นจึงมีคนเขียนทั้งสองแบบ

นั้มผั๋กที่คุณเล่ามาที่บ้านหนองสูงตอนผู้เขียนรู้ความแล้วนั้นไม่เคยเห็นค่ะแต่คุณพ่อท่านเล่าให้ฟังว่าเมื่อท่านยังเด็กจะมีน้ำปรุงรสนี้ท่านว่าทำมาจากน้ำส้มผักโดยเฉพาะส้มผักเสี้ยนท่านว่าเอาน้ำส้มผักมาเคี่ยมให้ข้นแล้วเอามาใส่แกงใส่แจ่ว และเรียกน้ำนี้ว่าน้ำกะสูบหรือถ้าจะพูดตามสำเนียงของพวกเราก็จะพูดว่า นั้มกะซูบ  ซึ่งนั้มกะซูบนี้ผู้เขียนก็ยังไม่เคยลองทำ  วันหลังถ้าได้เครือตดหมามาจะลองทำดู  ขอบคุณสำหรับสูตรนั้มผั๋กเด้อค่า

ภูไทคือเด๋วจ่ะ

แต่มิเคยได้ยินคำว่าแจ่วซ้อม

เย๊อะกิ๋นเด๋ เด่ววนิมิได้แล้วมั้งมะโม้งกอสอหนะ ข้อยภูไท หนองสูง มุกดาหารเด้อ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท