มวลสารที่สำคัญในพระรอดเนื้อแกร่งแบบหินอัคนี


แร่ที่ปรากฏที่ผิวและในเนื้อพระรอดจึงน่าจะเป็นส่วนผสมมวลสารแร่เหล็กที่มีมาแต่เดิม ที่น่าจะเป็นสารที่ให้ความแกร่งเติมให้กับดินกรอง

จากการสังเกตเนื้อพระรอดที่มีความแข็งสูงมากที่สามารถกรีดกระจกได้นั้น จะมีจุดในเนื้อพระมีสีเหลืองฟาง จนถึงเหลืองปนแดง ที่ตามหลักทางแร่วิทยา เป็นลักษณะของสีแร่เหล็กลิโมไนท์ (Limonite) ผสมหรือปนกับเฮมาไทท์ (Hematite)ที่มีสีเหลือง อมแดงปนชมพู เป็นจุดแพร่กระจายอยู่ในเนื้อพระแบบทั่วไป ที่ต่างจากสีสนิมเหล็ก

กล่าวคือสนิมเหล็กจะออกแดงกว่าลิโมไนท์และสดใสน้อยกว่าเฮมาไทท์

ดังนั้น แร่ที่ปรากฏที่ผิวและในเนื้อพระรอดจึงน่าจะเป็นส่วนผสมมวลสารแร่เหล็กที่มีมาแต่เดิม ที่น่าจะเป็นสารที่ให้ความแกร่งเติมให้กับดินกรอง ที่ได้ผลตามความเชื่อเชิงหลักพุทธคุณและผลของความแกร่งทางกายภาพของเนื้อพระ

ในหลักการทางเคมีแล้ว เมื่อผสมแร่เหล็กแล้วเผาด้วยความร้อนสูง ก็จะมีลักษณะคล้ายๆการถลุงเหล็กแบบอ่อนๆ จะมีการแยกตัวของแร่เหล็กบางส่วนออกมากระจายอยู่ในเนื้อดิน ทำให้เกิดการเชื่อมประสานเนื้อดินให้แกร่งแบบหินได้

สีพื้นฐานของพระที่ได้รับความร้อนสูงคือสีเขียว ซึ่งเป็นสีพระรอดที่ได้รับความนิยมสูง ที่สีของดินเหนียวเดิม ที่น่าจะเป็นสีออกไปทางแดง เหลือง หรือขาว ได้เปลี่ยนไปเป็นสีเขียวคล้ายๆหินแอนดิไซท์ (Andesite) ที่เป็นหินอัคนีชนิดหนึ่ง ที่ถ้ามีรอยบิ่น จะเห็นเป็นชั้นๆ จากสีเขียวของแกนใน เป็นสีเทาเขียวของเนื้อที่เริ่มเข้ากระบวนการผุพัง (Weathering) ไล่สีออกมาจนถึงเนื้อผิวนอกที่เริ่มยุ่ยเป็นฝุ่นสีเทาเหลือง

อาจยกเว้นในบางองค์ที่ความร้อนไม่พอที่จะยังคงเป็นเนื้อดินที่ไม่แกร่งมากนัก ที่มักเรียกว่า พระไม่ถึงไฟ

ดังนั้น การดูพระรอดเนื้อแกร่งนี้ นอกจากดูพิมพ์ ศิลปะ และตำหนิแล้ว ก็อาจใช้ลักษณะของเนื้อหินแกร่งที่มีคราบผุ หรือมีเนื้อยุ่ยฉาบบางๆ พร้อมลำดับของการผุ (Weathering layer) ในบริเวณขอบที่บิ่น (ดังรูป)

 

และสภาพที่มีแร่เหล็กเป็นจุดๆ พร้อมลักษณะการแพร่กระจายตัวในเนื้อรอบๆบริเวณศูนย์กลางของเม็ดแร่ และเม็ดแร่นั้นจะมีสีสนิมแบบสีเหลือง เหลืองปนแดง หรือ ปนชมพู

สังเกตจุดแดงๆที่เข่าขวาครับ

หมายเลขบันทึก: 490414เขียนเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 11:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 15:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท