nobita
นาย ชัยพร รัตนดิลก ณ ภูเก็ต

โมโนเรล กทม.2 - อนุสาวรีย์ชัยฯ - โยธี


ไม่อยากให้ประชาชนคิดว่า เป็นโครงการที่สร้างขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้ จนท.กทม. เท่านั้น เนื่องด้วย ศาลาว่าการ กทม. เป็นสถานที่ราชการ คนจำนวนมากต้องมาติดต่อราชการ การทำให้ประชาชนสามารถเข้ามารับบริการจาก กทม. ได้ด้วยความสะดวกเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่จะต้องทำ ส่วน จนท.ของ กทม. ก็เป็นประชาชนที่จะได้รับประโยชน์นี้เช่นเดียวกัน

          หลายวันก่อนมีโอกาสได้คุยกับพี่บ่าว (พี่ชาย) คนหนึ่งในหลาย ๆ เรื่อ งคุยไปคุยมาก็มาจบเกี่ยวกับการจราจรของ กทม. และมีเรื่องของการสร้างรถไฟฟ้ารางเดี่ยวเข้ามาด้วย จำได้ว่า บอกกับพี่เขาไปว่า กทม. เคยคิดจะทำโครงการนี้ แต่ไม่รู้ว่าเป็นอย่างไรไปถึงไหนแล้ว

          วันนี้มีโอกาสได้บริโภคข่าวสารในห้องสุ(ข)ขา และเจอกับข่าวคราวที่อยู่ในความสนใจและเป็นเรื่องที่น่าจะบอกกล่าวให้พี่บ่าว และคนอื่น ๆ ได้รับรู้รับทราบความเป็นไปของ กทม. ในฐานะของ คน กทม. คนหนึ่งบ้าง

          โครงการนี้ คือ โครงการศึกษาพัฒนาระบบขนส่งมวลชนขนาดรอง สายศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (กทม.2) – อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ – ถนนโยธี

ซึ่งมีรายละเอียดโครงการ โดยสรุป ดังนี้

                โครงการนี้จะดำเนินการก่อสร้างรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (โมโนเรล) ระยะทาง 6 กิโลเมตร  มีสถานีใต้ดิน 1 สถานี และสถานียกระดับ 6 สถานี เป็นทางวิ่งคู่

                เริ่มต้นจากบริเวณใต้ดินกองโรงงานช่างกล ศาลาว่าการ กทม. แล้วยกระดับออกจากซอยมิตรไมตรี 3 เลี้ยวขวาเข้าถนนประชาสงเคราะห์เลี้ยวขวาข้ามแยกโบสถ์แม่พระเข้าสู่ถนนดินแดงเลียบทางเท้าด้านถนนดินแดงขาเข้ายกระดับข้ามทางด่วนขั้นที่ 1 เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนราชปรารภ เชื่อมสถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ ที่สถานีราชปรารภ  จากนั้นย้อนเส้นทางเดิมเลี้ยวเข้าซอยรางน้ำ ยกข้ามทางรถไฟฟ้าบีทีเอส เข้าซอยโยธี สิ้นสุดที่ปากซอยโยธีด้านถนนพระราม 6

สำหรับสถานีรถไฟฟ้าของโครงการนี้ จะมีทั้งหมด 7 สถานี้ คือ

สถานีใต้ดิน

1. สถานีบริเวณกองโรงงานช่างกล กทม.2

สถานียกระดับ

2.  สถานีประชาสงเคราะห์ 1  :  อยู่ใกล้ตลาดประชาสงเคราะห์ ซอย 3 และ 5

3.  สถานีดินแดง  :  ใกล้แฟลตเคหะดินแดงบริเวณตลาดดินแดง

4.  สถานีรางน้ำ  :  อยู่บนถนนราชปรารภใกล้ทางเข้าซอยรางน้ำ

5.  สถานีราชปรารภ  :  อยู่บนถนนราชปรารภเชื่อมกับสถานีของแอร์พอร์ตลิงก์

6.  สถานีอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ  :  อยู่บริเวณวอยรางน้ำเชื่อมกับบีทีเอสอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

7.  สถานีพระราม 6  :  ตั้งอยู่ในซอยโยธีใกล้ปากทางออกถนนพระราม 6

               ตลอดเส้นทางจะไม่มีการเวนคืน ตำแหน่งเสาตอม่อบริเวณถนนราชปรารภและในซอยรางน้ำ-ซอยโยธี อยู่ระหว่างพิจารณาว่าจะใช้เสาเดี่ยวบนพื้นที่กลางถนนหรือจะใช้รูปตัวยูคว่ำ ใช้พื้นที่บนทางเท้า

              และจากการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับโครงการนี้เมื่อวันที่  5  มิถุนายน  2555 ที่ โรงแรมเอเชีย เขตราชเทวี โดยตัวแทนประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกว่า 100 คน มีประเด็นสำคัญ ดังนี้

1.  ชาวชุมชนในบริเวณใกล้เคียงขอให้ กทม. พิจารณาเรื่องต้นไม้ที่อยู่ในซอยโยธีที่มีต้นไม้ใหญ่ตลอดวอยและเป็นห่วงเรื่องทัศนียภาพ

2.  โครงการดังกล่าวสร้างขึ้นมีเฉพาะเจ้าหน้าที่ของ กทม. ที่ทำงานที่ กทม.2 ที่ได้ประโยชน์แต่ประชาชนทั่วไปอาจจะใช้ประโยชน์ได้ไม่คุ้มค่า

                ทั้งนี้ กรุงเทพมหานครจะมีการเปิดรับฟังความคิดเห็นกลุ่มย่อย และจะมีการสัมมนาสรุปผลการศึกษาขั้นตอนสุดท้ายประมาณเดือน กันยายน นี้  โดยผลการศึกษาจะมีแบบเบื้องต้นพร้อมรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม ที่ กทม. สามารถนำไปใช้เป็นเอกสารประกวดราคาได้เลย

สำหรับรายละเอียดความก้าวหน้า หากมีโอกาสจะมานำเสนอให้ทราบต่อไป และโดยความคิดส่วนตัว แล้ว ไม่อยากให้ประชาชนคิดว่า เป็นโครงการที่สร้างขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้ จนท.กทม. เท่านั้น เนื่องด้วย ศาลาว่าการ กทม. เป็นสถานที่ราชการ คนจำนวนมากต้องมาติดต่อราชการ การทำให้ประชาชนสามารถเข้ามารับบริการจาก กทม. ได้ด้วยความสะดวกเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่จะต้องทำ ส่วน จนท.ของ กทม. ก็เป็นประชาชนที่จะได้รับประโยชน์นี้เช่นเดียวกันนะครับ

ที่มา คอลัมน์ กทม.-จราจร. นสพ.เดลินิวส์  วันพุธที่ 6  มิถุนายน พ.ศ. 2555 หน้า 33

 

ตัวอย่างรูปภาพ monorail


Moscow Monorail in Russia 
ที่มา : http://en.wikipedia.org/wiki/Monorail

หมายเลขบันทึก: 490411เขียนเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 10:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 19:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท