แนวคิดหนึ่งของเกษตรกรทำนาที่คลองคล้า


จึงจำเป็นที่จะต้องพึ่งพาธรรมชาติ เข้ามาช่วย เช่น การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ การทำน้ำหมักชีวภาพ ที่สกัดจากพืชสมุนไพรที่มีอยู่ในชุมชน ในขณะเดียวกัน จึงได้ กระตุ้นให้เกิดกรรวมกลุ่มกันขึ้นมา
                          เมื่อเร็วๆนี้( ๔พค.๕๕)ผมและทีมงาน ของสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร ได้ไปร่วมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันกับปราชญ์ชาวบ้านสาขาทำนา ที่ชื่อคุณลุงอ่าน ทองคำ อายุ ๕๕ ปีพร้อมด้วยสมาชิกกลุ่มศูนย์ข้าวชุมชนบ้านคลองคล้า  หมู่ที่๗ ตำบลลานดอกไม้ตก อำเภอโกสัมพีนคร  จังหวัดกำแพงเพชร
                                      

                                              เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ณ.บ้านลุงอ่าน 

 

                        เริ่มแรกที่ทีมงานเของเราไปถึง ณ.บ้านคุณลุงอ่าน ทองคำ ได้มีคุณนัฎฐา พันธุ์ชูเพชร นักส่งเสริมการเกษตรที่รับผิดชอบตำบลลานดอกไม้ตก  เป็นส่งเสริมการเกษตรมือใหม่ ประจำสำนักงานเกษตรอำเภอโกสัมพีนคร ได้มาต้อนรับ พร้อมด้วยคุณลุงอ่านและสมาชิกศูนย์ชุมชนบ้านคลองคล้า  จากนั้นทีมงานเราก็แจ้งวัตถุประสงค์ของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในวันนี้ พร้อมแนะนำชื่อทีมงาน เพื่อที่จะได้รู้จักกัน จากนั้นเราก็เริ่มทักทาย พูดคุยกันด้วยคำถามง่ายๆ สบายๆ  พอเวลาผ่านไปสักระยะหนึ่ง บรรยากาศของการแลกเปลี่ยนเริ่มเข้าที่คุ้นเคยกันมากขึ้นแล้ว(ด้วยการสังเกตในการโต้ตอบ)เราเรียกกันว่า มีบรรยากาศแห่งการแลกเปลี่ยนที่มีอารมณ์ร่วมในการแลกเปลี่ยนนั่นเอง ในขณะเดียวกันเราก็ทำการสอนงานน้องใหม่(นักส่งเสริมมือใหม่)ไปด้วย  โดยเน้นการสร้างความคุ้นเคยและการตั้งคำถามของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน พร้อมให้กำลังใจน้องที่ปฏิบัติงานอยู่ใกล้ชิดกับเกษตรกรนั่นเองครับ
 
                          จากนั้นเราก็เปิดโอกาสให้ คุณลุงอ่าน ทองคำ เป็นผู้เล่า เพราะคุณลุงเขาเป็นเกษตรกรดีเด่นสาขาทำนาระดับอำเภอของอำเภอโกสัมพีนคร โดยเริ่มต้นเล่าว่า ตนเองมีประสบการณ์ในการทำนามาตั้งแต่อายุ ๑๕ ปี  ปัจจุบันทำนาจำนวน ๓o  ไร่ ตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๕๔๕ เป็นต้นมาการทำนาประสบปัญหาหลายประการเช่น ราคาข้าวตกต่ำ ปัจจัยการผลิตได้แก่ปุ๋ยเคมี สารเคมี และเมล็ดพันธุ์ข้าว มีแนวโน้มราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเรื่อยมาหลายปี
 
                         เมื่อประสบปัญหาดังมาแล้วข้างต้นตนเอง จึงเกิดแนวคิดขึ้นมาในขณะนั้น พร้อมได้นำปรึกษาหารือกับเพื่อนบ้านดังนี้
                       ๑. จะทำอย่างไรที่จะลดต้นทุนการผลิตข้าวต่อไร่ให้ต่ำลง
                       ๒.จะทำอย่างไรที่เพิ่มผลผลิตข้าวต่อไร่ให้สูงขึ้น
                       ๓.จะทำอย่างไรที่จะขายข้าวได้ราคาสูง
                       ๔.จะทำอย่างไรที่จะมีเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีไว้ใช้ในชุมชน
 

                                  

                                  ลุงอ่าน นำฮอร์โมนและจุลินทรีย์ที่ผลิตเองมาเล่า

 

 

                           คุณลุงอ่าน ทองคำได้เล่าต่อไปอีกว่า ด้วยเกิดแนวคิดดังกล่าว จึงจำเป็นที่จะต้องพึ่งพาธรรมชาติ เข้ามาช่วย เช่น การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ การทำน้ำหมักชีวภาพ ที่สกัดจากพืชสมุนไพรที่มีอยู่ในชุมชน ในขณะเดียวกัน จึงได้ กระตุ้นให้เกิดกรรวมกลุ่มกันขึ้นมา  เพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีไว้ให้แก่สมาชิกกลุ่มในชุมชน ปัจจุบันผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์พิษณุโลก๒  ในพื้นทำนาในชุมชนนี้ เคยผลิตข้าวพันธุ์กข .๔๑ ก็ประสบปัญหาโรคขอบใบแห้งมาแล้ว
                        
 
                             สำหรับวิธีการทำนาของตนเองจะดำเนินการ  โดยเริ่มตั้งแต่ระยะก่อนเตรียมดินจะใช้จุลินทรีย์หน่อกล้วยที่ผลิตเองฉีดพ่นหมักฟางข้าวไว้จนฟางย่อยสลายใช้เวลา ประมาณ ๑๕-๒o วัน จากนั้นก็ไถเพื่อเตรียมดินปลูก โดยหว่านปุ๋ยอินทรีย์ไปก่อนที่เรียกว่าเป็นปุ๋ยรองพื้นลงไปในแปลงนาก่อนหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวลงไปในอัตรา ๕o กิโลกรัมต่อไร่ ต่อจากนั้นเมื่ออายุต้นข้าวได้ประมาณ ๑o วัน จะฉีดพ่นฮอร์โมนไข่ ที่ผลิตเอง จะทำการฉีดทุก ๑o-๑๕ วัน โดยทำการฉีดอย่างต่อเนื่อง หลังจากนั้นเมื่อต้นข้าวมีอายุ ๒ เดือน ข้าวจะเริ่มตั้งท้อง จะใช้ปุ๋ยเคมีสูตร ๑๕-๑๕-๑๕ ผสมกับปุ๋ยสูตร ๔๖-o-o อัตราส่วนที่ผสม ๑:๑ โดยทำการหว่าน อัตรา ๑o กิโลกรัมต่อไร่
 
 
 
                              ช่วงไหนหากสังเกตพบต้นข้าวเริ่มมีเพลี้ยกระโดดระบาดก็จะใช้เชื้อราบิวเวอร์เรี่ย ที่ทางกลุ่มจะผลิตกันมาใช้กันเองโดยขยี้ก้อนเชื้อบิวเวอร์เรียผสมน้ำสะอาดฉีดพ่น ปัจจุบันได้ผลิตข้าวเฉลี่ยต่อไร่ ๙o-๑oo ถัง ติดต่อกันมา ๔ ปีแล้ว  จากการคิดค่าใช้จ่ายโดยการประมาณการ จะสามารถลดต้นทุนได้ถึง ๓o % โดยไม่ได้คิดค่าแรงงานของตนเอง ปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่มที่ทำตามประมาณ ๒๕ คนแล้ว ในขณะเดียวกันทางกลุ่มศูนย์ข้าวชุมชนบ้านคลองคล้า ยังได้ประสานวิทยากรเครือข่าย ไปยังคุณพิพัฒน์   เพิ่มพิพัฒน์ ซึ่งเป็นปราชญ์ชาวบ้านที่มีประสบการณ์ในการทำนาที่ได้ผลดี  อีกคนหนึ่ง ปัจจุบันเป็นสมาชิกเครือข่ายเกษตรกรรุ่นใหม่และเป็นอาสาสมัครเกษตรประจำหมู่บ้าน ของอำเภอโกสัมพีนคร ซึ่งอยู่หมู่    ๘  ตำบล  ลานดอกไม้ตก  อำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการผลิตสารสกัดจากสมุนไพรเพื่อขับไล่แมลงศัตรูข้าว และการผลิตฮอร์โมนน้ำหมักจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร (เช่นฮอร์โมนไข่ ฮอร์โมนจากรกสุกร เป็นต้น) ซึ่งจะรวมถึงการผลิตและใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายฟาง จากหน่อกล้วย เป็นต้น
 

                                    

                                      คุณพิพัฒน์ เพิ่มพิพัฒน์ (ปราชญ์ชาวบ้านหมู่๘)

 

                                    

 

 

 

 

                                             

                                              สรุปบทเรียนจากเวทีแลกเปลี่ยน

 

                  ข้อสรุปจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในครั้งนี้มีดังนี้

                   ๑.เราได้สอนงานบุคลากรใหม่ในการเข้าร่วมเวที ลปรร.

                   ๒.ทีมงานได้มีทักษะในการตั้งคำถาม การจับประเด็น

                   ๓.ทีมงานได้เรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม ในการถอดบทเรียน ในการลดต้นทุนการผลิตข้าว

                   ๔.ทีมงานได้เห็นความสำคัญกับองค์ความรู้ที่เป็นประสบการณ์ของปราชญ์ชาวบ้านและเกษตรกร

                   ๕. เป็นการสร้างและพัฒนาทีมงานในการทำงานส่งเสริมการเกษตรในชุมชน

 

 

 

 

                             จากการเล่าพร้อมที่ทีมงานเราได้แลกเปลี่ยนกันวันนี้  ทางทีมงานคงจะต้องหาเวลาลงมาถอดบทเรียนจากปราชญ์ชาวบ้านทั้ง๒ ท่านอีกครั้งหนึ่ง หากเวลาอำนวย  แต่ขณะนี้ก็พอที่มองเห็นแนวทางการลดต้นทุนการผลิตข้าวในฤดูการผลิตต่อไปว่าจะทำอย่างไรบ้าง เพื่อประกอบการค้นหาโจทย์ในการวิจัย แบบ PAR กันอีกต่อไป พร้อมทั้งพัฒนาปราชญ์ชาวบ้านให้เป็นนักวิจัยชุมชนควบคู่กันไป  เพื่อเป็นการขับเคลื่อนจากแนวคิดไปสู่การปฏิบัตินั่นเอง
 
                    เขียวมรกต
                    ๘ พ.ค. ๕๕
หมายเลขบันทึก: 487423เขียนเมื่อ 8 พฤษภาคม 2012 14:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 สิงหาคม 2013 18:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • ขอบคุณครับ
  • ที่นำมาแบ่งปัน

เป็นการขับเคลื่อนของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่น่าชื่นชมมากค่ะ..

  • ขอบคุณอ.สิงห์ป่าสัก
  • ที่แวะมาทักทายกันเสมอมา
  • ขอขอบคุณท่านอ.นงนาท
  • ที่แวะมาทักทายพร้อมให้กำลังใจกันเสมอมา

เรียนท่านเขียว เป็นเวที่เรียนรู้ที่ให้ชาวบ้านได้คิด ได้ทำ โดยท่านเกษตรเป็นนำอำนวยใเวทีให้การเรียนที่ทำได้

ความยั่งยืนเกิดจากการทดลองของชาวบ้านเอง

  • ขอบคุณท่านวอญ่า
  • ที่แวะมาลปรร.กันเสมอมา
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท