442. "ผอมลง แต่แกร่งขึ้นด้วย Appreciative Lean" (Reflection ตอนที่ 4)


ว่าด้วยการพัฒนาแนวคิด Appreciative Lean ด้วย Kolb's Experiential Learning:::

1. ผมเองก่อนจะมาสอน ปรึกษาและสร้างเครือข่ายด้าน Appreciative Inquiry ผมสอนความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) อยู่หลายปีครับ...แต่ที่ผมตื่นเต้นมากๆ..คือการที่ผมได้อ่านหนังสือเล่มหนึ่ง...ชื่อ Ten Faces of Innovation มีแปลเป็นไทยโดยสำนักพิมพ์ขวัญข้าวชื่อ "สิบหัวโขนโจนสร้างนวัตกรรม"...เป็นหนังสือที่ผู้ก่อตั้งบริษัท IDEO บริษัทออกแบบผลิตภัณฑ์บริการระดับโลก ที่เคยออกแบบให้บริษัท Apple และที่สำคัญอยู่เบื้องหลังงานออกแบบของบริษัทซัมซุง..จนสามารถเอาชนะคู่แข่งระดับโลกเช่น Sony มาแล้ว...ครับ...บทหนึ่งพูดถึง Cross-pollinator (การผสมเกสร) หรือการออกแบบที่สร้างงานชิ้นใหม่ด้วยการผสมผสานแนวคิดที่ไม่เกี่ยวกันเข้าไป...เปรียบเหมือนผึ้ง ไปกินน้ำหวาน ผึ้งอร่อย..อิ่ม แต่ผลพลอยได้คือช่วยทำให้เกิดดอกไม้สวยๆแปลก..จากการผสมข้ามพันธ์ ครับ..

2. ผมชอบแนวคิดนี้ที่สุดครับ...ผมเองเลยเอามาผสมผสานกับ Lean โดยเจตนา..Lean คือการพยายามเพิ่มคุณค่าลูกค้า แต่ก็พยายามลดความสูญปล่าครับ...ทำได้ด้วยการหา Value Stream หรือสายธารคุณค่า...แล้วดูว่าจะลดความสูญเปล่่า..แต่เพิ่มคุณค่า..(คุณค่าแปลว่า อะไรที่มันดีกว่ามาตรฐาน) ได้อย่างไร...สุดท้ายก็หา Action ว่าจะทำอย่างไร...แต่เอ๊ดูไปดูมา มันคล้าย Acion Research แฮะ มันก็คือการหาปัญหาก่อน..แล้วหาทางแก้...ครับ..และถ้าเป็น Action Research ได้ มันก็ Appreciative Inquiry (AI) ได้..เพราะ AI มันก็คือ Action Research รูปแบบหนึ่งนี่น๊ะ...

3. เรามาผสมผสานแนวคิด Appreciative Inquiry กับ Lean เป็น Appreciative Lean ซะเลย...ทำไงล่ะ..เราก็ทำแบบ AI นั่นแหละ...AI คือศิลปะการถามคำถามเชิงบวก โดยเชื่อว่า..ทุกระบบ ทุกคน ล้วนมีเรื่องดีๆ..ซ่อนเร้นอยู่ นั่นหมายถึงว่า..มีใครหลายคนทำ Lean อยู่แล้ว..แน่่นอนครับ..คุณลองดูสิ..ในองค์กรของเรา "มัก" มีใครทำอะไรได้เร็วกว่าคนอื่น...ถ้าคุณดูดีๆ..ผมเชื่อว่า..เขาทำอะไรที่ "ลด" การสูญเปล่า..แต่ได้ผลดีกว่าปรกติ..หรือสร้าง "คุณค่า" ให้ลูกค้าได้เท่าเดิมหรือ "ดีกว่า"

4. เราทดลองมาเยอะครับ..ลูกศิษย์ มีเงินน้อยมาก 6,000 บาท เปิดร้านขายของทางอินเตอร์เน็ต...ทำไงล่ะ ไม่มีของ ลูกค้าต้องไม่ชอบไม่ซื้อ..เพราะมีเงินน้อย เลยต้องให้ลูกค้ารอ...รอเกือบสองสัปดาห์..แต่คู่แข่ง..บอกลูกค้าว่า 5 วันได้...แต่ยอดขายกับเพิ่ม...เพราะอะไร..."อาจารย์คะหนู มีตังค์น้อย..ลูกค้าต้องวางเงินก่อน ถึงจะไปสั่งของได้..แต่หนูเอง..คำไหนคำนั้น. บอกเขา 14 วัน 14 วันลูกค้าได้ของ..แต่คู่แข่ง..บอก 5 วันนี่ ไม่ได้ค่ะชอบลามไป 7 วัน 10 วัน...ลูกค้าไม่ชอบ...ปรากฏลูกค้าชอบร้านที่พูดคำไหน คำนั้นค่ะ" ผมเอาตัวอย่างนี้ไปสอนคนตั้งกิจการใหม่ครับ..เห็นไหมครับ.สามารถสร้าง Zero Stock ได้แบบที่บริษัทญี่ปุ่นพยายามทำกันเลยครับ..ได้ทั้งการลดการสูญปล่า..และลูกค้าก็ได้ "คุณค่า" ตรงกับแนวคิด Lean ไหมครับ..

นี่อีกตัวอย่างครับ...หรืออยากลดความสูญเสีย.."อาจารย์คะ จริงคะ หนูใช้ excel วางแผนการผลิต..วันหนึ่งเลยไปถามเจ้าหน้าที่ไอที ให้เขาสอนใช้ Pivot Table ให้..ปรากฏว่า การตรวจสอบข้อมูล..จากสามชั่วโมง เหลือ 10 นาทีค่ะ" (อันนี้เน้นการถามผู้รู้ครับ..คือทำ KM นั่นเอง)  ประมาณอยากลดความสูญเสีย ก็ถามคนเก่งสิครับ..เดี๋ยวได้วิธีลดความสูญเสียเอง..

..ในโรงงานสายไฟ..ลูกศิษย์ไปทำ..ไปค้นหาเรื่องดีๆ..ไปเจอพนักงานคนหนึ่ง..ต่อสายไฟลงแผงวงจรไฟฟ้า..ไม่เสียเลยในสองปี..(มาตรฐานโรงงานประมาณสองเดือนก็อัจริยะแล้ว) ไปตรวจดูปรากฏว่าพนักงานคนนั้นมีวิธีการวางมือไม่เหมือนคนอื่น..ก็จัดการขยายผล..สามารถลดของเสียลงกว่า 53% ครับ (ดูกรณีศึกษาฉบับเต็มได้ที่ MBA KKU) ครับ...ตรงนี้ประมาณว่า..เรียนรู้จากคนที่ทำอะไรสูญเสียน้อยกว่าคนอื่น..คุณจะได้วิธีการทำงานที่ดี..แล้วเอามาพัฒนาเป็นมาตรฐานใหม่..ก็จะลดได้ครั้งละมากๆ..Lean ไหมครับ..

นี่ไงครับ ยืนยันแนวคิด...Appreciative Lean...เราจะทำ Value Stream ก็ได้..แล้วค่อยตั้งคำถาม..หรือจะใส่คำถามดีๆ ไป..ก็จะเจอเรื่องราวดีๆ..ที่มักไปเพิ่มคุณค่าลูกค้า หรือลดความสูญเปล่าได้เสมอครับ..

...

คุณล่ะ คิดอย่างไร

....

ข้างบนนั้นสำหรับบผู้อ่านทั่วไปครับ..สำหรับนักศึกษา MBA KKU ที่ลงวิชา Positive Organization Development ส่วนที่ 1 เราเรียกว่า Concrete Experience หรือประสบการณ์ที่มันโดดเด่น ส่วนที่สองเราเรียกว่า Reflection คิด ใครครวญว่าประสบการณ์ดังกล่าวน่าจะไปเชื่อมโยงกับอะไร..ส่วนที่สามคือ Conceptualization การตกผลึก หรือการสร้างข้อสรุป สร้างทฤษฎีใหม่...ส่วนทสุดท้าย การทดลอง การวัดผล..ครับ..

 

หมายเลขบันทึก: 484081เขียนเมื่อ 3 เมษายน 2012 08:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มกราคม 2013 14:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

น่าสนใจมากเลยครับอาจารย์

ขอบคุณมากครับอาจารย์ เป็นตัวอย่างที่เห็นภาพชัดเจนมากเลยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท