พันธนาการจากความคิดเคยชิน


เขียนโดย วิเชียร ไชยบัง : ครูใหญ่โรงเรียนนอกกะลา

พันธนาการจากความคิดเคยชิน

 

   วันหนึ่งไอน์สไตน์ถามนักเรียนในห้องเรียนว่า "มีคนซ่อมปล่องไฟสองคนกำลังซ่อมปล่องไฟเก่า พอพวกเขาออกมาจากปล่องไฟปรากฏว่าคนหนึ่ง ตัวสะอาด อีกคนหนึ่งตัวเลอะเทอะเต็มไปด้วยเขม่า ขอถามหน่อยว่าคนไหนจะไปอาบน้ำก่อน"
    นักเรียนคนหนึ่งตอบว่า "ก็ต้องคนที่ตัวสกปรกเลอะเขม่าควันสิครับ"
    ไอน์สไตน์พูดว่า "งั้นหรือ ลองคิดดูให้ดีนะ คนที่ตัวสะอาดเห็นอีกคนที่ตัวสกปรกเต็มไปด้วยเขม่าควัน เขาก็ต้องคิดว่าตัวเองออกมาจากปล่องไฟเก่าเหมือนกัน ตัวเขาเองก็ต้องสกปรกเหมือนกันแน่ๆเลย ส่วนอีกคนเห็นฝ่ายตรงข้ามตัวสะอาด ก็ต้องคิดว่า ตัวเองก็สะอาดเหมือนกัน ตอนนี้ผมขอถามพวกคุณ อีกครั้งว่า ใครที่จะไปอาบน้ำก่อนกันแน่"
    นักเรียนคนหนึ่งพูดขึ้นมาด้วยวามตื่นเต้นว่า "อ๋อ ผมรู้แล้ว พอคนที่ตัวสะอาดเห็นอีกคนสกปรก ก็ต้องนึกว่าตนเองสกปรกแน่ แต่คนที่ตัวสกปรก เห็นอีกคนสะอาด ก็นึกว่าตนเองไม่สกปรกเลย ดังนั้นคนที่ตัวสะอาดต้องวิ่งไปอาบน้ำก่อนแน่เลย... ถูกไหมครับ..."
    ไอน์สไตน์มองไปที่นักเรียนทุกคน นักเรียนทุกคน ต่างเห็นด้วยกับคำตอบนี้ ไอน์สไตน์จึงพูดขึ้น อย่างมีหลักการและเหตุผล "คำตอบนี้ก็ผิด ทั้งสองคนออกมาจากปล่องไฟเก่าเหมือนกัน จะเป็นไปได้อย่างไรที่คนหนึ่งสะอาด อีกคนหนึ่งจะสกปรก เมื่อความคิดของคนเราถูกชักนำจนสะดุด ก็จะไม่สามารถแยกแยะ และหาเหตุผลแห่งเรื่องราวที่แท้จริงออกมาได้..."     

       การคิดอย่างมีวิจารณญาณ  อย่างหนึ่งที่หมายถึงการคิดเพื่อการตัดสินใจเลือกอย่างมีเหตุผล  ซึ่งสุดท้ายคนที่คิดก็ต้องเลือกพร้อมชั่งน้ำหนักเหตุผล  นั่นก็ไม่ได้หมายถึงผลจะออกมาแต่ด้านบวกเท่านั้น  คุณภาพของผลการคิดนี้จะต้องได้จากการมีข้อมูลครบถ้วน และ การชักนำชี้ทางไปในทางที่ถูกที่ควร  เครื่องชี้ทางหมายรวมถึงเครื่องชี้ทางภายนอก เช่น ทฤษฎี  คำสอน  บุคคล  กรอบระเบียนกฎหมาย จารีต ค่านิยม ฯลฯ  และเครื่องชี้ทางภายใน เช่น  คุณธรรม   แรงจูงใจ  กรอบความคิด  ภาพพจน์ต่อตัวเอง  อำนาจในการเลือก ฯลฯ   ด้วยความคุ้นชิดเราจะรู้สึกดีและยอมรับได้เมื่อใครก็ตามที่อ้างเหตุผลด้วย เครื่องชี้ทางเหล่านี้   แต่เครื่องชี้ทางเหล่านี้ยังซ่อนด้วยบทบาทที่สำคัญกว่าคือ การพันธนาการ  สุดท้ายเราจะติดแหงกด้วยความเป็นเหตุเป็นผลของมันซึ่งเป็นเพียงเปลือกแต่ละ ชั้นที่ห่อหุ้มความจริงเอาไว้ 

      การปลดปล่อยตัวเองให้อิสระจากเปลือกทั้งหลายจนถึงที่สุด ก็จะถึงความจริงแท้ที่ไม่จำเป็นต้องกล่าวอ้างด้วยเหตุผลใดๆ แล้วผลที่ปรากฏออกมาจะมีคุณภาพโดยไม่ต้องสงสัยถึงความมีวิจารณญาณ   แต่การลอกเปลือกหอมออกที่ชั้นๆ นั้นอาจต้องแลกด้วยน้ำตา 


อ่านเพิ่มเติม : http://lamplaimatpattanaschool.blogspot.com/2010/09/blog-post_26.html



หมายเลขบันทึก: 484077เขียนเมื่อ 3 เมษายน 2012 07:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 10:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

พื้นที่สุขสบาย ฝรั่งใช้คำว่า Comfort zone ซึ่งแน่นอนไม่เกี่ยวกับคอมฟอร์ท 100 (แล้วจะพูดทำไม) ซึ่งน่าจะเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา แต่ปัญหามันมีอยู่ว่า ความปลอดภัยที่มากเกินทำให้เรากลัว ไม่กล้าเดินไปสู่ที่ใหม่ สิ่งใหม่ ๆ นี่หล่ะที่ว่ามันอันตราย..

เพราะเมื่อใดก็ตามที่มนุษย์เราติดอยู่ในพื้นที่สบายนี้เสียแล้ว เขาแทบไม่รู้สึกกระตือรือร้นใด ๆ อีก ศักยภาพในตัวเขาที่มีก็จะถูกบดบังเอาไว้ หลายคนอาจเถียงว่า ก็ในเมื่อเราอยู่ใน comfort zone แล้ว ก็ดีแล้วนี่จะดิ้นรนทำไม

ความจริงแล้วคำนี้ฝรั่งไม่ได้แปลว่าพื้นที่สบายเฉย ๆ นะ แต่จริง ๆ แล้วมันคือสิ่งที่ทำให้เราเกิดความเคยชิน ดังนั้นบางครั้งเราอยู่แบบขัดสน ข้นแค้น ลำบาก ดิ้นรนแต่เราก็อยู่กับมันได้เพราะเรารู้สึกเคยชินไปแล้วนั่นเอง

ขอบคุณ http://www.samitkoyom.com/archives/203

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท