พายุฤดูร้อน ฝนหลงฤดู มีผลต่อการติดดอกออกผลของพืช


การพัฒนาเชิงวัตถุไม่แน่ใจว่าจะตามทันธรรมชาติหรือไม่ในอีกร้อยอีกพันปีข้างหน้า

 

คืนวันที่เสาร์ที่ 31 มีนาคม 2555 พายุ "ปาข่า" ได้พัดกระหน่ำทำลายเสาไฟฟ้าถนนเส้นปทุมธานี-ลาดหลุมแก้ว จนล้มระเกะระกะไม่เป็นท่า บ่งบอกถึงศักยภาพของพลังธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่ไม่ว่ามนุษย์จะคิดค้นเทคโนโลยีให้ก้าวหน้าเพียงใด แต่เพียงธรรมชาติหยอกล้อเล็กน้อยเสาไฟที่ใช้เทคโนโลยีในอดีตไม่กี่สิบปีก็ล้มคว่ำคะมำหงาย ชักไม่แน่ใจการพัฒนาเชิงวัตถุจะสามารถต้านทานต่อกรกับอารมณ์ของธรรมชาติที่แปรปรวนได้หรือไม่ การสร้างบ้านที่ต้านทานต่อแผ่นดินไหวมนุษย์เพิ่งจะทำได้แค่7.5 ริคเตอร์ แล้วถ้าธรรมชาติล้อเล่นแรงๆขึ้นมากว่า 7.5 ริคเตอร์มนุษย์ต้องคิดค้นไปอีกกี่ร้อยปีจึงจะชนะได้กันหนอ (ฤาจะสู้กระท่อมไม้ไผ่มุงจากหญ้าแฝกไม่ได้เสียแล้ว สร้างง่าย ย้ายเร็ว หักพังโค่นล้มลงมาก็ไม่ถึงตาย)
 
การพัฒนาเชิงวัตถุไม่แน่ใจว่าจะตามทันธรรมชาติหรือไม่ในอีกร้อยอีกพันปีข้างหน้า แต่อย่างไรก็ต้องศึกษาขนานควบคู่กันไปเพื่อความเจริญก้าวหน้าของประเทศชาติและความสะดวกสบายทางวัตถุของชนรุ่นหลัง ยิ่งประกอบไปกับการพัฒนาทางจิตใจด้วยจะยิ่งดีมากๆกับสังคมคนรุ่นใหม่ยุคนี้ ที่มีพลังทางด้านจิตใจค่อนข้างน้อยไม่สามารถทนทานต่อแรงเสียดทานได้ง่าย ถ้าสมารถฝึกปรือจิตใจให้รู้จักสงบนิ่ง มีสติ อดทนอดกลั้นก็สามารถที่จะฝ่าฟันอุปสรรคนานาชนิดได้อย่างสบายและสามารถดำรงชีวิตได้อย่างไม่ขาดสติทุรนทุรายในยุคปัจจุบันและอนาคตที่มีความเปลี่ยนผันทั้งด้านสังคม วัตถุและธรรมชาติที่รุนแรงอย่างมาก
 
ฟ้าฝนคะนองตกต้องไม่ตรงตามฤดูกาลมีผลต่ออาชีพเกษตรกรรมทำให้การจัดการเลือกสวนไร่นาทำได้ยากขึ้น ยิ่งในกรณีการควบคุมไม่ให้แตกใบอ่อน การเปิดตาดอกเพราะปริมาณไนโตรเจนที่กับน้ำฝนจะทำให้พืชได้รับการสะสมอยู่มากจนแตกใบอ่อนแทนการออกดอก ควรฉีดพ่นอาหารทางใบที่มีไนโตรเจนน้อยหรือไม่ควรมีไนโตรเจนอยู่เลย เช่นการใช้ปุ๋ยสูตร 0-52-34 หรือ 0-0-50 ฉีดพ่นให้แก่ใบพืชเพื่อต้านทานยับยั้งไนโตรเจนมิให้กระตุ้นการเกิดใบอ่อน หรือใครจะใช้สูตรยับยั้งใบอ่อนของชมรมเกษตรปลอดสารพิษโดยตรงก็ได้ โดยใช้ไวตาไลเซอร์ 2.5 กรัม, 0-52-34    (โมโนโพแทสเซียมฟอสเฟต) 10กรัม, 0-0-50(โพแทสเซียมซัลเฟต)  40 กรัมร่วมกับกับฮอร์โมนไข่   10 ซี.ซี.และน้ำตาลทราย  100 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรฉีดพ่นหลังฝนตก อีกทั้งฝนหลงฤดูหรือฝนแรกนี้จะมีสปอร์ของเชื้อราโรคพืชที่ปลิวล่องลอยในอากาศตกลงมาสัมผัสกับใบจึงส่งผลให้เกิดโรคใบไหม้ได้ง่าย ควรฉีดพ่นจุลินทรีย์ป้องกันกำจัดเชื้อราร่วมด้วยอย่างไตรโคเดอร์ม่าและบีเอสพลายแก้วก็จะช่วยป้องกันรักษาพืชไร่ไม้ผลให้อยู่รอดปลอดภัยได้
 
มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com
 
 
หมายเลขบันทึก: 484076เขียนเมื่อ 3 เมษายน 2012 07:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 18:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท