421. หลักแห่งการสร้างสรรค์ (ชะตากรรม)


ว่าด้วย Appreciative Inquiry ตอนที่ 421

วันนี้จะพูดถึงหลักการหนึ่งในห้าข้อของ Appreciative Inquiry คือหลักแห่งการสร้างสรรค์ (The Constructionist Principle หรือเดอะ คอนสตั๊กชั่นนิสต์ ปริ๊นสิเปิ้ล) ซึ่งคือ.."เรากำหนดชะตากรรมเราเองได้ เราสร้าง และร่วมสร้างหนทางและชะตากรรมของเราเองได้"

(สตีฟ จ๊อปผู้ก่อตั้งแอ๊ปเปิ้ล เคยจนขนาดเก็บกระป๋องขาย ก็ยังสามารถกำหนดชะตากรรมชีวิต สร้างสรรค์จนเปลี่ยนโลกได้)

...

น่าสนใจไหมครับ..

...

ลองดูตัวอย่างจริง..ลูกศิษย์ผม ชอบเรียนวิชา AI มาก และอยากเป็นที่ปรึกษาด้านพัฒนาองค์กรโดยใช้ AI ..."อาจารย์ครับ..ผมอยากมีบริษัทที่ปรึกษาครับ"

...

แล้วสุภาพบุรุษท่านนี้ก็ไม่แน่ใจ.."แต่อาจารย์ หนทางอีกยาวไกล บริษัทส่วนใหญ่ก็คนกรุงเทพ..หลายบริษัทมีประสบการณ์สูง แถมต้องจบปริญญาเอก คนถึงจะเชื่อ.."

...

ก็เลยบอกเขา....ฝันไว้ก่อน...รักษาความฝันไว้..แล้วทำ..ทำแบบงานอดิเรก..แบบจริงจัง (Serious Hobby ซีเรียส ฮ๊อบบี้)...ลูกศิษย์ผมก็พยายาม เริ่มจากการทำการศึกษาอิสระ (IS ไอเอส)..ระหว่างเรียน เผอิญผมถูกเชิญซ้อนกัน..เลี่ยงไม่ได้ เลยเจรจากับรุ่นพี่..ขอส่งลูกศิษย์ไปแทนได้ไหม..รับรองกลุ่มนี้เก่ง..เขากับเพื่อนๆ..ก็สามารถจัดการอบรม AI ออกมาได้อย่างดีมากๆ..

..

เมื่อจบก็หาโอกาสมานั่งคุย มาเข้าเรียนเพิ่มเติม...

...

ที่สุด..ก็ตั้งบริษัท ชื่อ ABC Club จำกัด แรกๆ ไม่มีงาน แต่ความที่เล่น Facebook ไปเจอชมรมกลุ่ม HRD (บริหารทรัพยากรมนุษย์) ซึ่งก็มีการจัดประชุมแบบไม่เป็นทางการทุกเดือน..ผมก็เลยบอก.."คุณลองไปสิ ไปที่นั่นเลย..รับรอง..คุณจะได้แวดวง"

...

เขาไปครับ..ที่นั่นคนงงว่า หมอนี่สอนอะไร Appreciative Inquiry เหรอ เป็นไง..เขาก็มีโอกาสเล่าให้คนในวงฟัง..ที่สุด คนในวงก็ชวนเขาเปิดคอร์สอบรมที่กรุงเทพ..

...

ตอนนี้เริ่มมีงานเข้ามา..จนกระทั่งไปได้งานสอน AI ให้กับบริษัทขนาดใหญ่ที่ระยองแล้ว..

ตอนนี้มีเขาพัฒนาหลักสูตร และระบบการให้คำปรึกษาการพัฒนาองค์กร ที่เรียกว่า Management 3.0 ครับ..เป็นการผสมผสาน AI กับหลากหลายทฤษฎีใหม่ๆ..

...

ตอนนี้เขามีความเชื่อมั่นมากขึ้นว่า..คนจบปริญญาโท แถมมาจากอุดร..ก็สามารถสร้างบริษัทที่ปรึกษาได้ แล้วได้งานดีด้วย..ภรรยาที่เป็นศิษย์ AI ของผม ตอนนี้ก็ลงมาช่วยด้วย..กลายเป็นกระบวนกรคู่...

....

นี่ไงครับ..เรากำหนดชะตากรรมของเราเองได้ ขอให้เราคิด "ดีๆ" เถอะ..แล้วทำแบบงานอดิเรกที่เราจริงจัง (Serious Hobby)...สักพักมันจะกลายเป็นเรื่องจริงครับ..คนนี้ราวๆสามปีเองครับ..

....

คุณล่ะคิดอย่างไร

หมายเลขบันทึก: 474087เขียนเมื่อ 9 มกราคม 2012 09:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 21:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

ได้กำลังใจ ขึ้นเยอะเลย ขอบพระคุณค่ะอาจารย์

สวัสดีครับพี่อุบล

ไม่ขนาดนั้นครับ..ลูกศิษย์ผมนี่เขาเก่งของเขาอยู่แล้ว

ยินดีที่บทความเป็นประโชน์ต่อคุุณ Poo ครับ

Ico48

 

เรียน ท่าน ดร.ภิญโญ

 

   - ขอบคุณคะ   มีกำลังใจขึ้นมาก

  -  Empowerment  (เสริมสร้างพลังอำนาจให้ตนเอง)  ==>ได้ดีม๊ากๆคะ

  -  ทำให้เกิด Powerful ===> ดีขึ้นมากคะ

 

 ขอบคุณคะ

 

สวัสดีครับคุณสมศรี

ดีใจที่บทความนี้เป็นประโยชน์ต่อคุณครับ

Serious Hobby

เยสสส ใช่แล้ว คำนี้ล่ะอ,โย ขอบคุณค่ะ

ต้องทำให้ได้ค่ะ มีในใจแล้ว จะค่อยๆศึกษาและลงมือทำค่ะ

อุ๊

  • "หลักแห่งการสร้างสรรค์ (The Constructionist Principle) : เรากำหนดชะตากรรมเราเองได้ เราสร้าง และร่วมสร้างหนทางและชะตากรรมของเราเองได้" ซึ่งเป็นหนึ่งใน 5 หลักการของ "Appreciative Inquiry" ตามที่ท่าน ดร.ภิญโญ อธิบายไว้ ดูๆ ไปก็คล้ายๆ "Intenal Locus of Control [ILC] : ความเชื่ออำนาจในตน" นะคะ ผู้ที่มี ILC จะมีความเชื่อว่าตนเองเป็นผู้กำหนดความสำเร็จหรือความล้มเหลวของตน ซึ่งตรงกันข้ามกับผู้ที่มี "ความเชื่ออำนาจนอกตน : External Locus os Control [OlC]" ที่เชื่อว่า ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของตนเป็นไปตามโชคชะตาฟ้าลิขิต ดังภาพประกอบซึ่งได้มาจาก Link ข้างล่างค่ะ

           http://www.jonrognerud.com/internal-and-external-locus-of-control-which-one-are-you/

           ดิฉันขออนุญาตนำ "หลักแห่งการสร้างสรรค์ (The Constructionist Principle)" และกรณีตัวอย่างลูกศิษย์ที่ท่านยกมา ไปใช้ในการสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักศึกษาของดิฉันที่อยู่ในช่วงของการพัฒนาตนเองในด้านต่างๆ ด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ

           ดิฉันเองก็มีลูกศิษย์คนหนึ่ง ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากดิฉันในการเป็นครูที่ทุ่มเทและมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่ครั้งที่เธอเรียนปริญญาตรีสาขาจิตวิทยาการแนะแนว แล้วก็ตามมาเป็นลูกศิษย์ปริญญาโทของดิฉันในสาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษาอีก ปี 2553 เธอได้มาเข้ารับการอบรมวิทยากรแกนนำสาขาการแนะแนว และในปี 2554 เธอก็ไดรับเลือกจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ให้เป็นวิทยากรร่วมกับอาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลฯ ในการอบรมครูแนะแนว 10 รุ่น ทั้งที่เธอเป็นครูในโรงเรียนมัธยมประจำตำบลที่มีนักเรียนไม่กี่ร้อย ในขณะที่มีคุณครูจากโรงเรียนมัธยมประจำจังหวัดอีก 2 โรงเรียนให้เลือก ทั้งนี้ก็เป็นเพราะเธอได้ใช้ "หลักแห่งการสร้างสรรค์ (The Constructionist Principle)" ของ AI และมีความเชื่ออำนาจในตน (ILC) ทำให้เธอพัฒนาตนเองจนมีศักยภาพ วิทยากรท่านอื่นๆ ไม่มั่นใจในตัวเธอ ดิฉันก็เลยขอให้เธอเป็นวิทยากรคู่กับดิฉัน ในโมดูลที่ดิฉันรับผิดชอบ ผลปรากฏว่า ได้รับความสำเร็จดีมาก ดังความเห็นของครูผู้เข้ารับการอบรมที่นำมาเป็นตัวอย่าง ที่ในช่องความประทับใจ ระบุว่า "วิทยากรเยี่ยม สื่อดี (ใช้สื่อ DVD ที่ดิฉันบันทึกจากรายการโทรทัศน์ ประกอบการอบรมและการทดสอบ) บรรยากาศยอดเยี่ยม" ซึ่งจากข้อมูลย้อนกลับทั้ง 10 รุ่น พบว่า ครูทั้ง 10 รุ่น 100 % มีความพึงพอใจ ส่วนที่ต้องการให้ปรับปรุง มีแค่ประเด็นเวลา ที่ครูส่วนใหญ่ต้องการให้เพิ่มเวลาการอบรมให้มากขึ้น ค่ะ

     

     

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท