(ขอบคุณภาพจาก Internet)
มนุษยสัมพันธ์” (Human Relations) เป็นความสัมพันธ์อันดีต่อกันของมนุษย์ ที่ทุกฝ่ายได้รับความพึงพอใจ ทำให้การอยู่ร่วมกันเป็นไปอย่างราบรื่น และก่อให้เกิดความร่วมมือในการทำงาน หรือในการทำกิจกรรมต่างๆ ดังภาพข้างล่าง ที่แสดงถึงมนุษยสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และระหว่างคนในชาติ
“มนุษยสัมพันธ์” เป็นคำที่ใช้กับความสัมพันธ์ทางบวก ต่างจากคำว่า “สัมพันธภาพระหว่างมนุษย์ (Human Relationship)” ซึ่งเป็นคำกลางๆ ที่หมายถึง ความสัมพันธ์ที่อาจเป็นได้ทั้งทางบวกหรือทางลบ ซึ่งถ้าสัมพันธภาพเป็นไปในทางบวก ก็กล่าวได้ว่า ผู้ที่มาสัมพันธ์กันนั้น เป็นผู้ที่มีมนุษยสัมพันธ์อันดีต่อกัน ดังตัวอย่างคำที่ใช้อธิบายความสัมพันธ์ในครอบครัว ในภาพข้างล่าง
http://www.gotoknow.org/ http://nenfe.nfe.go.th/elearning/
blogs/posts/287854 courses/51/page2_1_1_1_1.htm
มนุษยสัมพันธ์ มีความสำคัญและประโยชน์หลายประการ ในด้านการดำเนินชีวิตนั้น มนุษย์เป็นสัตว์สังคม การดำรงชีวิตของมนุษย์ทั่วไป ต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้อื่นตั้งแต่เกิดจนตาย ถ้าบุคคลใดมีความสัมพันธ์อันดีกับผู้อื่น และมีกัลยาณมิตร ก็จะทำให้มีสุขภาพจิตดีและมีความสุข (ดังภาพล่างซ้าย) แต่ถ้าขาดความสัมพันธ์อันดีกับผู้คน จนไม่มีคนรู้ใจหรือไม่มีใครเคียงข้าง ก็จะรู้สึกโดดเดี่ยวเหงาหงอย มีชีวิตเหมือนไม่มีชีวา (ดัง 3 ภาพถัดไป)
และในด้านการทำงานนั้น มนุษยสัมพันธ์เป็นหัวใจของนักบริหาร เพราะฝ่ายบริหารหรือหัวหน้างาน ต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ของเวลาทำงานในการติดต่อเกี่ยวข้องกับคน ถ้าผู้บริหารขาดมนุษยสัมพันธ์ จะไม่สามารถบริหารคนและบริหารงาน ให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร/หน่วยงานได้ อนึ่ง มนุษยสัมพันธ์เป็นสิ่งยึดโยงคนที่แตกต่างกันให้อยู่ร่วมกันในองค์กร/หน่วยงานได้ ถ้าไม่มีมนุษยสัมพันธ์เป็นสิ่งยึดโยงแล้ว คนในองค์กร/หน่วยงาน จะมีการแตกแยก แบ่งกลุ่ม และอาจขัดแย้ง แข่งขันกัน ทำให้เป็นปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานไปสู่เป้าหมายขององค์กร/หน่วยงาน นอกจากนั้น ยังมีผลการวิจัยที่พบว่า สาเหตุที่บุคคลในระดับหัวหน้างานไม่ได้เลื่อนตำแหน่งหรือถูกปลดออกจากงาน ส่วนใหญ่เกิดจากการขาดความสามารถในการเข้ากับคน มากกว่าเป็นเพราะขาดความรู้ความสามารถในงานที่ทำ
(ขอบคุณภาพจาก Internet)
จากความสำคัญของมนุษยสัมพันธ์ดังกล่าว ศาสนาต่างๆ จึงได้บัญญัติหลักธรรมด้านมนุษยสัมพันธ์เอาไว้ โดยในพุทธศาสนา จะมี “พรหมวิหาร 4” ซึ่งเป็นคุณธรรมสำหรับผู้บริหาร ในการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับฝ่ายปฏิบัติงาน ได้แก่ 1) เมตตา : ปรารถนาให้ผู้ปฏิบัติงานเป็นสุข 2) กรุณา : ปรารถนาให้ผู้ปฏิบัติงานพ้นทุกข์ 3) มุทิตา : พลอยยินดีเมื่อผู้ปฏิบัติงานได้ดี และ 4) อุเบกขา : มีความเป็นกลาง ไม่ลำเอียงเข้าข้างผู้ปฏิบัติงานคนหนึ่งคนใด และมี “สังคหวัตถุ 4” ซึ่งเป็นคุณธรรมของคนทั่วไปในการผูกมิตรกับผู้อื่น พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม เขียนโดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ได้อธิบายเกี่ยวกับ “สังคหวัตถุ 4” เอาไว้ สรุปได้ดังนี้
(http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=%CA%D1%A7%A4%CB%C7%D1%B5%B6%D8_4)
สังคหวัตถุ 4 เป็นธรรมเครื่องยึดเหนี่ยว คือ ยึดเหนี่ยวใจบุคคล และประสานหมู่ชนไว้ในสามัคคี และหลักการสงเคราะห์ ประกอบด้วย
1) ทาน : การให้ คือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสียสละ แบ่งปัน ช่วยเหลือกันด้วยสิ่งของ ตลอดถึงให้ความรู้และแนะนำสั่งสอน (กัลยาณมิตร GTK "คนบ้านไกล" ได้เขียนบันทึกเรื่อง “ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ผู้ขอย่อมเป็นที่รังเกียจ” เพื่ออธิบายถึงที่มาของข้อความดังกล่าว ซึ่งเป็นคำตรัสของพระพุทธเจ้า ที่มีปรากฏในชาดก)
2) ปิยวาจา : วาจาเป็นที่รัก หรือวาจาซาบซึ้งใจ คือ กล่าวคำสุภาพไพเราะอ่อนหวาน สมานสามัคคี ให้เกิดไมตรีและความรักใคร่นับถือ ตลอดถึงคำแสดงประโยชน์ประกอบด้วยเหตุผล เป็นหลักฐานจูงใจให้นิยมยอมตาม
3) อัตถจริยา : การประพฤติประโยชน์ คือ ขวนขวายช่วยเหลือ บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ และปรับปรุงส่งเสริมในทางจริยธรรม
4) สมานตัตตา: การมีตนเสมอ คือ ทำตนเสมอต้นเสมอปลายและวางตนเหมาะแก่ฐานะ ภาวะ บุคคลเหตุการณ์และสิ่งแวดล้อมถูกต้องตามธรรมในแต่ละกรณี
ส่่วนผู้เขียนเองได้กำหนดหลัก “5 ย. ในการสร้างมนุษยสัมพันธ์” ซึ่งทุกคนสามารถนำไปใช้ในการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้อื่นได้ ทั้งในการดำเนินชีวิตส่วนตัว และในการทำงาน ไม่ว่าจะในฐานะผู้ริหารหรือในฐานะผู้ปฏิบัติงาน เป็นหลักปฏิบัติที่มีความสอดคล้องกับ “สังคหวัตถุ 4” หลัก 5 ย. มีดังนี้
1) “ยิ้มแย้ม” แจ่มใส มีไมตรี คือ เข้าไปทักทายปราศรัยด้วยใบหน้ายิ้มแย้มและท่าทีที่เป็นมิตร
2) “ยกย่อง” คุณความดี ของผู้อื่น คือ กล่าวแสดงชื่นชมในความดีงาม ความสามารถของผู้อื่น
3) “หยิบยื่น” มีน้ำใจ ให้กัน เช่น ให้สิ่งของ ให้กำลังใจ ให้ข้อคิด ให้ความรู้ และสร้างแรงบันดาลใจ
4) “เยือกเย็น” ในสัมพันธ์ ไม่วู่วาม คือ มีความอดทน ข่มใจในพฤติกรรมของอีกฝ่ายที่ไม่น่าพึงใจ
5) ยืดหยุ่น ผ่อนตาม ความเหมาะสม คือ มีการผ่อนปรนในกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ตามสมควร
(ขอบคุณภาพจาก Internet และจาก http://glitter.kapook.com/)
จากประสบการณ์ในการเป็นสมาชิก GTK ย่างเข้าเดือนที่ 9 ผู้เขียนรู้สึกประทับใจเป็นอย่างยิ่ง ในการมีมนุษยสัมพันธ์อันดีต่อกันของชาว GTK ที่แสดงออกถึงการใช้ “สังคหวัตถุ 4” และ 3 ย. แรก ได้แก่ 1) ยิ้มแย้ม 2) ยกย่อง และ 3) หยิบยื่น ในความสัมพันธ์อย่างชัดเจน ดังตัวอย่างที่จะยกมาเพียงส่วนน้อย ดังนี้
ผู้เขียนสมัครเป็นสมาชิก GTK แบบแทบจะไม่รู้เรื่อง “Weblog (WB)” และไม่รู้จักใครใน GTK โดยในตอนเย็นของวันที่ 1 เม.ย" ผู้เขียนได้ศึกษาเรื่อง WB ด้วยตนเองโดยพิมพ์คำค้น "Blog" แล้วสืบค้นไปเรื่อยๆ จนสุดท้ายได้ตัดสินใจสมัครสมาชิก GotoKnow.org ในเวลา 02.20 น. ของวันที่ 2 เมษายน 2554 (เพราะเมื่อเทียบกับ WB อื่นๆ แล้ว คิดว่า WB นี้เหมาะกับตนเองที่สุด) จากนั้น ผู้เขียนก็ลองผิดลองถูกสร้าง Blog "Pridetoknow" ขึ้นมา เพื่ออุทิศให้แม่ผู้ล่วงลับ เป็น Blog ที่ใช้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการทำเกษตรแบบพอเพียง โดยมี "ฟาร์มไอดิน-กลิ่นไม้" เป็นฉากหลัก และได้ลงบันทึกแรกเวลา 18.13 น. ในวันที่สมัครสมาชิก มีเนื้อหาเกี่ยวกับแรงบันดาลใจในการสร้างฟาร์มไอดิน-กลิ่นไม้ ซึ่งเป็นผลมาจากการหล่อหลอมของแม่ให้ผู้เขียนเป็นคนรักต้นไม้ใบหญ้า รักป่า รักวิถีชีวิตในชนบท แล้วก็ได้รับกำลังใจแรกจาก "ปิยวาจา" ของ "อ.พรชัย ภาพันธ์" ผอ.โรงเรียนที่ยโสธร ในเวลา 18.52 น. ความว่า “ชีวิตอาจารย์เป็นแบบอย่างคนรุ่นใหม่ได้เป็นอย่างดี เคยเป็นลูกศิษย์อาจารย์ ตอนเรียนปริญญาตรีวิชาเอกการบริหารโรงเรียน ที่วิทยาลัยครูอุบลฯ ช่วงปี ๒๕๒๙ - ๒๕๓๑ ครับ อาจารย์สอนดีมากครับ” (GTK ช่วยให้ได้พบกับลูกศิษย์ วิชาที่สอนผอ.พรชัย คงเป็นวิชา "มนุษยสัมพันธ์สำหรับครู" ซึ่งเป็นวิชาบังคับเลือกของหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต) เดือนต่อมาบันทึกของผู้เขียนเนื่องในโอกาสฉลองครบรอบ 6 ปี GTK (ขณะที่ผู้เขียนเป็นสมาชิกไม่ถึง 2 เดือน) ที่ลงใน Blog "Goaltoknow" ที่ใช้เขียนบันทึกตามแรงบันดาลใจทางสังคมก็ได้รับ "กำลังใจ" จาก “คุณมะปรางเปรี้ยว” ผู้ดูแล GTK (28 พ.ค.) ความว่า “อ่านบันทึกนี้เต็มอิ่มและมีความสุขจังค่ะ ที่ได้เห็นสิ่งดีๆ เกิดขึ้นในสังคมของ GotoKnow”
บันทึกใน Blog “Learntoknow” ซึ่งเป็น Blog สำหรับแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในด้านการจัดการเรียนรู้ เรื่องแรก “การพัฒนาสมรรถภาพในการเรียนรู้ของผู้เรียนในยุคสังคม-เศรษฐกิจฐานความรู้” "อาจารย์หมอป." จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้กล่าว “ยกย่อง คุณความดี ของผู้อื่น” (6 ก.ย.) ความตอนหนึ่งว่า “ได้มาพบขุมทรัพย์ทางปัญญาด้านการเรียนการสอนเข้าแล้วค่ะ บันทึกอาจารย์มีเอกลักษณ์ คือ มีความละเอียด ประณีตในเนื้อหาและการอ้างอิง แสดงถึงความวิริยะเป็นอย่างยิ่งค่ะ ประทับใจข้อความนี้ค่ะ "หนังสือเล่มที่ดีที่สุด ยังไม่มีใครเขียน" และบันทึกเรื่อง “แนวทางการพัฒนาการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของผู้เรียน : เกาให้ถูกที่คัน” ซึ่งเป็นบันทึกมีผู้อ่านมากที่สุดใน Blog นี้ (สร้าง : 31 สิงหาคม 2554, 04:03 น. ณ 21 ธ.ค. 54 : 19.00 น. มีข้อมูลว่า ได้รับดอกไม้ : 17 ความเห็น : 46 อ่าน : 984 สร้าง : 4 เดือน ที่แล้ว) ตัวอย่าง "ปิยวาจา" ที่ได้รับ คือ “ซุอิกะจัง” (12 ก.ย.) ครูภาษาอังกฤษที่ศรีสะเกษ “หนูลูกศิษย์ ค.บ.ภาษาอังกฤษ ปี 47 ดีใจมากที่ได้เข้ามาเจอท่านอาจารย์ แถมท่านยังมีความรู้ดีๆ มาฝากอีกต่างหาก…หนูจะตั้งใจทำหน้าที่ครูสอนภาษาอังกฤษที่ดี จะดำเนินรอยตามแบบอย่างที่ดี ดั่งเช่นท่านอาจารย์มอบให้ศิษย์คนนี้” (ผู้เขียนไม่ได้สอนวิชาภาษาอังกฤษให้กับเธอ แต่สอนวิชา "การคิดและการพัฒนาตน") และ "K.Paully" ครูภาษาอังกฤษที่กำแพงเพชร (20 ต.ค.) “ขอชื่นชมการบันทึกข้อมูลและสาระฯ เกี่ยวกับการพัฒนาการเรียนภาษาอังกฤษ อันเป็นประโยชน์อย่างครบถ้วน ...สามารถนำไปอ้างอิง และศึกษาเพิ่มเติมได้อย่างสะดวกสบาย ยอดเยี่ยมจริงๆ ค่ะ !”
บันทึกใน Blog “Goaltoknow” เรื่อง “เมื่อวิชาชีพครูถูกกระทำย่ำยี” ได้รับ "ปิยวาจา" จาก “แม่ใหญ่” (12 พ.ค.) ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งและที่ปรึกษาของโรงเรียนเอกชนในกทม. “เขียนได้ครบเครื่องเรื่องครูจริงๆ ค่ะ ขออนุญาต share เอาไปลงใน facebook ให้ครูที่โรงเรียนอ่านก่อนเปิดเทอมนะคะ” ท่าน "ศน.ลำดวน" (14 พ.ค.) ที่สุพรรณบุรี “…มาอ่านรอบสองค่ะ อ่านด้วยความประทับใจในวิธีปฏิบัติของอาจารย์ และเข้าใจผู้ปิดทองหลังพระดีค่ะ เพราะตัวเองก็จะเป็นเช่นเดียวกัน บทกลอนนี้ประทับใจมากค่ะ "... เธออุทิศกายใจไม่พักผ่อน แม้เหนื่อยอ่อนกล้ำกลืนยืนหยัดสู้ ด้วยสมองและสองมือฝึกปรือครู ขอเชิดชูด้วยศรัทธาร่วมฝ่าฟัน” (เป็นบทกลอนที่พี่สาวประพันธ์ให้ผู้เขียน) และ “หนานวัฒน์” อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง (11 มิ.ย.) “ผมอ่านแล้วก็อึ้งครับ ที่อาจารย์อดทนและผ่านเรื่องราวเหตุการณ์ต่างๆ มาได้จนทุกวันนี้ ผมเองบางครั้งก็ "งง" กับเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัยเช่นกัน หากไม่ตั้งสติและมุ่งผลสัมฤทธิ์ไปที่ "นักศึกษา" แล้ว ผมคงท้อใจและขอยอมแพ้เหมือนกันครับ... อาจารย์ฝ่าฟันมาได้ถึงขนาดนี้ ผมก็จะมุ่งมั่นทำในสิ่งถูกที่คนเป็นครูสมควรจะกระทำ ให้ได้เช่นเดียวกับที่ท่านอาจารย์ได้ทำให้เห็นแล้วครับผม” (สร้างแรงบันดาลใจในการอุทิศตนให้กับงานวิชาชีพครู)
และ เรื่อง “น้ำท่วมกับความดีงามบนความหายนะ” ซึ่งผู้เขียนได้เขียน “ยกย่อง คุณความดี ของผู้อื่น” โดยกล่าวถึงความดีงามของชาว GTK ในช่วงที่ประเทศชาติประสบมหาอุทกภัย เป็นบันทึกที่มีความเห็นมากที่สุดใน Blog “Goaltoknow” (70 ความเห็น) และได้รับ "ปิยวาจา" กลับมา จาก “คุณสันติสุข สันติศาสนสุข” (8 พ.ย.) จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ความตอนหนึ่งว่า “อาจารย์เป็นนักจัดการความรู้ที่ทุกคนควรปรบมือให้ นับเป็นตัวอย่างของคนในชุมชน Gotoknow ดีใจที่ได้พบกับอาจารย์ และกัลยาณมิตรในชุมชนคนทำงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ไม่ผิดหวังที่เข้ามาเป็นสมาชิกที่นี่…อ่านบันทึกนี้แล้วทำให้นึกได้ว่า เราปล่อยให้ความเห็นและข้อมูลดีๆในแต่ละเรื่องของเพื่อนๆในชุมชน กระจัดกระจายไปอย่างน่าเสียดาย ไม่ค่อยมีใครลุกขึ้นมาจัดการ เหมือนกับที่อาจารย์ได้ทำไว้ในบันทึกนี้ จะเรียกว่าต่อยอด บูรณาการ สังเคราะห์หรืออะไรก็แล้วแต่ สิ่งที่ได้เห็นคือความงดงาม ที่งอกออกมาจากความงดงามที่มีอยู่เดิม นำมาซึ่งความภูมิใจ อิ่มใจและความสุขที่เกิดกับผู้เกี่ยวข้องทุกคน ความรู้สึกเหล่านี้เป็นความหวังของคนในโลกแห่งการจัดการความรู้”
บันทึกใน Blog “Pridetoknow” ซึ่งเป็นบันทึกที่มีการแสดงความเห็นมากที่สุด (ส่วนเรื่องที่มีคนอ่านมากที่สุด คือ "เมื่อเยาวชนเห็นว่าตนไร้ค่า" ใน Blog "Goaltoknow" ที่เขียนจากแรงบันดาลใจเหตุการณ์เด็กม.6 ที่ร้อยเอ็ด ฆ่าตัวตาย) เช่น เรื่อง “สุขกายสุขใจ ใต้ร่มเงาฟาร์มไอดิน-กลิ่นไม้ ตอนที่ 1 มี 76 ความเห็น ตอนที่ 2 มี 70 ความเห็น เรื่องล่าสุดใน Blog นี้ เรื่อง “เรื่องนี้มีโมชิแสดงนำ” ที่เขียนเล่าเรื่องสุนัขของลูกสาว ที่ไปอยู่กับผู้เขียนในช่วงน้ำท่วมกทม.และผู้เขียนได้พาไปฟาร์มด้วย ได้รับ "ปิยวาจา" จากท่าน "ศน.ลำดวน” ที่ได้ติดตามให้กำลังใจกันมาตลอด (23 พ.ย.) “อ่านสนุก และมีความสุขจังเลยค่ะ รักโมชิ และข้าวเหนียว (สุนัขที่ฟาร์ม) ด้วย” "ครูป.1" (4 ธ.ค.) คุณครูที่สุพรรณบุรี “โมชิน่ารักค่ะ แต่คุณยาย (ผู้เขียน) น่ารักกว่า" "อ.เดชา สว่างวงศ์ " (กัลยาณมิตรหมาดๆ จากชัยภูมิ ของผู้เขียน (9 ธ.ค.) “อ่านประวัติของท่านแล้วรู้สึกทึ่งมาก เป็นนักต่อสู้ตัวยงจนประสบผลสำเร็จ…”
และใน Blog ล่าสุด “Mantoknow” ซึ่งเพิ่งเปิดตัวเมื่อ 4 ธ.ค. เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมภายใน/ภายนอกของคน โดยมี "อาจารย์หมอป."เป็น "แรงบันดาลใจ" จากการที่ผู้เขียนได้เห็นท่านเขียนประเด็นเกี่ยวกับคน โดยนำไปใคร่ครวญตัวตนของตัวเองอยู่เนืองๆ ซึ่งทำให้ผู้อ่านได้รับความรู้ใหม่ๆ และได้เพิ่มความเข้าใจในประเด็นต่างๆเกี่ยวกับคน จึงหวนคิดว่า ผู้เขียนเองเรียนและสอนมาทางจิตวิทยาแท้ๆ กลับไม้ได้ทำประโยชน์เช่นนั้น บันทึกเปิดตัว Blog “Mantoknow” ได้รับกำลังใจเป็นอย่างดี โดย ณ 22 ธ.ค. 06.30 น. ได้รับดอกไม้ : 27 · ความเห็น : 72 · อ่าน : 475 "อาจารย์หมอป." (5 ธ.ค.) ได้กล่าว “ยกย่อง คุณความดีของผู้อื่น" ไว้ในบันทึกดังกล่าวว่า “ก่อนอื่นขอชื่นชมด้วยใจจริง ถึงวิธีการตอบของอาจารย์ค่ะ อาจารย์คิดทบทวนสาส์นอย่างละเอียดรอบคอบ ก่อนพิมพ์ออกมา แล้วยังมีการทบทวนความสมบูรณ์ ซึ่งสะท้อนตนเองที่หลายครั้งคิดแบบกระโดดๆ และพิมพ์ตกหล่นไม่รู้ตัว หากพัฒนาได้สักครึ่งหนึ่งของอาจารย์ก็พอใจแล้วค่ะ” “น้องอิน” ครูที่อุตรดิตถ์ซึ่งผู้เขียนรักเหมือนน้องสาวบอกว่า “กำลังได้รับผลกระทบจากสัตว์สังคม" ผู้เขียนก็ได้ให้ข้อคิดไปว่า ถ้ามองในแง่ดีก็ถือว่าจะได้มีโอกาสฝึกความอดทน และให้ข้อคิดที่จำมาจากลูกศิษย์ในปี 2530 ว่า “ใครชอบ ใครชัง ช่างเถิด ใครเชิด ใครชู ช่างเขา ใครว่า ใครบ่น ทนเอา ใจเรา ร่มเย็น เป็นพอ” และปลื้มใจมากที่เธอบอกในวันที่ 13 ธ.ค. ว่า “ตั้งแต่ 23 พ.ย. เป็นต้นมา…ค่อนข้างได้รับผลกระทบที่ถึงขั้นรับประทานอะไรเข้าไปมันช่างไร้รสชาติซะเหลือเกิน แต่ ณ วันนี้ ได้ใช้หลัก “ใจเรา ร่มเย็น เป็นพอ" จึงได้รสชาติที่อร่อยกลับคืนมาทุกมื้อของอาหารที่ทานค่ะ ขอบพระคุณคุณพี่ที่มีอิทธิพลต่ออารมณ์ ความรู้สึกที่ปกติสุขให้กลับมาอีกครั้งหนึ่งนะคะ” และในวันที่ 8 ธ.ค. ผู้เขียนได้ตอบความเห็นของ "พี่ใหญ่นงนาท" จากกทม. ซึ่งผู้เขียนรู้สึกเหมือนเป็นพี่สาวคนหนึ่ง เป็นการคุยกันในประเด็นของมนุษยสัมพันธ์ว่า “พี่ใหญ่ได้กรุณาชี้ทางปฏิบัติว่า เราทุกคนต่างจิตต่างใจที่มาอยู่ร่วมกันโดยธรรมชาติกำหนด การใช้ศาสตร์และศิลป์ของปฏิสัมพันธ์ดีๆ ต่อกัน จึงเป็นพื้นฐานอันมั่นคงที่ต้องสร้างอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน น้องขอเรียนว่า น้องได้ใช้ "ความจริงใจ ความบริสุทธิ์ใจ และความปรารถนาดี" เป็นพื้นฐานของการสร้างปฏิสัมพันธ์กับกัลยาณมิตร GTK ส่วน ศาสตร์และศิลป์ ที่พี่ใหญ่พูดถึงนั้น น้องใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสัมพันธ์ค่ะ”
ในการปฏิบัติตามหลัก “หยิบยื่น มีน้ำใจ ให้กัน” ของผู้เขียนเองนั้น ณ วันที่ 22 ธ.ค. ผู้เขียนได้แสดงความเห็นและตอบความเห็นในบันทึกของกัลยาณมิตรและของตนเองรวม 874 ครั้ง ซึ่งความเห็นส่วนใหญ่จะเขียนแบบมีสาระ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องที่เจ้าของบันทึกต้องการความเห็นหรือข้อชี้แนะ ผู้เขียนจะอ่านบันทึกแบบ "วิเคราะห์" และเขียนความเห็นอย่างละเอียดเพื่อให้เจ้าของบันทึกนำความเห็นไปใช้ประโยชน์ได้ อย่างเช่น ที่ได้แสดงเกี่ยวกับทางออกในการแก้ปัญหาเด็กปานกลางและอ่อนไม่ตอบคำถามในชั้นเรียน ซึ่ง ท่าน "small man""รองผู้อำนวยการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ตราด เจ้าของบันทึก ได้ตอบกลับมาว่า “อาจารย์ให้หลักการ พร้อมตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม นำไปใช้แก้ปัญหาได้เป็นอย่างดีเลยครับ และหลักการตรงนี้ ผมว่า นำไปประยุกต์ใช้ในการพูด การคิด ของผู้เรียน ในสาระต่างๆ รวมทั้งการแสดงความคิดเห็นตามหลักประชาธิปไตย ขออนุญาตนำคำแนะนำของท่านอาจารย์ ไปแจ้งให้ที่ประชุมผู้บริหารโรงเรียนทราบนะครับ พร้อมกับนำไปเผยแพร่ในกลุ่มครู เป็นวิทยาทานครับ เพื่อ พัฒนาผู้เรียน เพื่อพัฒนาเด็ก" แต่ก็มีเหมือนกัน ที่ผู้เขียนเขียนคุยแบบสนุกๆ ดังที่ "กล้วยไข่" ลูกศิษย์ของ "ดร.ขจิต" ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ได้เอาไปเขียนในบันทึกเรื่อง “ปิยวาจาของชาว G2K” โดยเกริ่นว่า "หนูชอบอ่านบทสนทนาของ blogger เพราะประทับใจในมิตรไมตรีที่มีให้ต่อกัน ทั้งๆ ที่บางท่านยังไม่เคยรู้จักกันมาก่อนเลย บทสนทนานี้เป็นของคุณแม่กับคุณลูก ที่คุยกันอย่างสนุกสนาน แฝงความห่วงใยและความหวังดีของ ผศ.วิไล ที่มีต่อ อ.ขจิต " “จากที่อาจารย์แม่ให้ความเห็นไปว่า "สำหรับผู้ที่ในใจมีแต่คิดกิจกรรมเพื่อผู้อื่นอย่างลูกขจิต จนลืมที่จะหันมาคิดทำอะไรเพื่อตนเอง การมีครอบครัวอาจจะต้องเกิดจาก 1) ผู้ใหญ่ฝ่ายตนเองจัดหาให้ (คลุมถุงชน) หรือ 2) แฟนคลับจัดหาให้ (แม่สื่อแม่ชัก) แล้วลูกขจิตตอบสนองว่า "แบบนี้ต้องใช้แบบแม่สื่อแม่ชักแล้วละครับ" อาจารย์แม่รู้สึกยินดีปรีดาเป็นยิ่งนัก จึงขอป่าวประกาศว่า "กัลยาณมิตรท่านใด พบเห็นนางใดที่ 1) คู่ควร 2) พึงใจ และ 3) รับได้ ที่จะใช้ชีวิตร่วมกับชายที่มีลมหายใจเพื่อผู้อื่น โปรดติดต่อโดยตรงที่ลูกขจิต ด่วน"… (ช่วงนั้นผู้เขียนกำลังอินกับละครเกาหลีเรื่อง "ทงอี จอมนางคู่บัลลังก์")
ขอบคุณกัลยาณมิตรทุกท่านตามที่ได้กล่าวนามไปแล้ว ท่านที่ระบุในภาพด้านล่าง รวมถึงท่านที่มิได้เอ่ยนาม (ซึ่งได้เข้ามาให้กำลังใจและแสดงความเห็นในบันทึกของผู้เขียน แต่ไม่อาจกล่าวนามได้ทังหมด) ที่ได้ให้การอนุเคราะห์แก่ผู้เขียนในเรื่องต่างๆ (เช่น "คุณอักขณิช" ได้กรุณาอนุเคราะห์ประสานให้ผู้เขียนได้มีโอกาสไปดูงานการทำสวนของพ่อบุญธรรมของตน ซึ่งได้รับการต้อนรับที่ประทับใจมาก) แวะเข้ามาทักทายพูดคุย ให้ข้อคิด แบ่งปันความรู้ มีความสัมพันธ์เป็นพี่เป็นน้อง เป็นลูก (เช่น พี่วอญ่า น้องกาย ลูกขจิต) ทำให้ผู้เขียนมีความรู้สึกอบอุ่นใจ สุขใจอย่างที่ไม่เคยได้รับจากสังคมภายนอกมาก่อน จึงรู้สึกซาบซึ้งและประทับใจ ที่จะไม่มีวันลืม
(ขอบคุณภาพจาก Internet)
ถ้ากัลยาณมิตรอยากทราบว่า ลักษณะทางมนุษยสัมพันธ์ของตนเป็นเช่นใด ก็ลองเข้าไปทำแบบทดสอบ “Human Relations Test” ได้ที่ Lnk ข้างล่างนะคะ แบบทดสอบดังกล่าวมี 10 ข้อ ถ้าต้องการให้การแปลผลเป็นตัวเราจริงๆ ก็จะต้องเลือกตัวเลือกที่ตรงกับตัวเรามากที่สุด ดังตัวอย่างการตอบของผู้เขียนในข้อสุดท้ายที่ถามเกี่ยวกับความฝัน ซึ่งมี 6 ตัวเลือก ผู้เขียนเลือกตัวเลือก "ปกติจะไม่ฝัน (you usually have dreamless sleep)" เพราะผู้เขียนจะนอนน้อย คืนละ 4-5 ชั่วโมง แต่จะหลับสนิทหลับลึกจึงไม่ค่อยได้ฝัน และจะตื่นขึ้นมาด้วยความสดชื่น
10. You often dream that you are … falling, fighting or struggling, searching for something or somebody, flying or floating, you usually have dreamless sleep, your dreams are always pleasant.
http://www.3smartcubes.com/pages/tests/humanrelations/humanrelations_instructions.asp .
เมื่อตอบเสร็จ ชั่วอึดใจ ผู้เขียนได้รับรายงานผลว่า Wilai Phaengsri, people see you as fresh, lively, charming & amusing. (วิไล คนมองคุณว่า คุณเป็นคนสดชื่น มีชีวิตชีวา มีเสน่ห์ และมีอารมณ์ขัน) และมีคำอธิบายเพิ่มเติมว่า “They see you as practical, and always interesting; someone who's constantly in the center of attention, but sufficiently well-balanced not to let it go to their head. They also see you as kind, considerate, and understanding; someone who'll always cheer them up and help them out.” ซึ่งผู้เขียนกระดากที่จะแปลออกมา ผู้เขียนได้ลงแบบทดสอบนี้ในอนุทินล่าสุด และ “คุณโอ๋-อโณ” กัลยาณมิตรที่ผู้เขียนได้เข้าไปเรียนรู้ภาษาอังกฤษในบันทึกของเธอบ่อยๆ ได้เข้าไปแสดงความเห็นในอนุทินในวันที่ 20 ธ.ค. ความว่า “เคยทำเมื่อนานมาแล้ว อ่านคำตอบอาจารย์แล้ว เหมือนกันเป๊ะทุกข้อเลยค่ะ ไม่น่าเชื่อเลยนะคะ” ซึ่ง ก็เป็นเรื่องที่ไม่น่าเชื่อจริงๆ เพราะในข้อที่มี 6 ตัวเลือก ซึ่งมีหลายข้อ โอกาสที่คนจะเลือกตัวเลือกตรงกันมีแค่ประมาณ 16.67 % เท่านั้น แต่คุณโอ๋-อโณกลับเลือกตัวเลือกตรงกับผู้เขียนทุกข้อ
ขอบคุณบันทึกที่เป็นดั่งของขวัญปีใหม่แก่กัลยาณมิตรค่ะ
..การเรียนรู้ใน gotoknow นี้ ได้มากกว่าเนื้อหา คือ
1.การเรียนรู้บุคลิกที่น่าเอาเป็นแบบอย่างจากท่านอื่น เช่น สังเกต อาจารย์วิไล ที่ก่อนแสดงความเห็นตนเอง มักทวนความ ตรวจสอบการตีความเนื้อหา แสดงถึงความเป็นผู้ฟังแล้วคิดอย่างลึกซึ้ง, อาจารย์ขจิต ที่อารมณ์ดีและเปิดกว้างวิทยาการต่างสาขา, อาจารย์วิรัตน์ ที่ อ.ดร.ป๊อป กล่าวบรรยายไว้น่าประทับใจว่า "อ่อนน้อมและอ่อนโยน ดั่งข้าวเต็มรวง" และอีกหลายๆ ท่าน ที่หากกล่าวทั้งหมดคงไม่ไหวค่ะ
2. การสังเกต ปฎิกิริยาของผู้อ่าน ผู้เข้ามาแสดงความคิดเห็น ในบล็อกของเรา..ค่อยๆ ขัดเกลา "อัตตา" ของตนเอง..การเขียนบล็อกระยะหลัง ที่มีกัลยาณมิตร มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้..สร้างความรู้สึกเพลิดเพลิน เมื่อถอดหมวกที่อุปโลกน์ว่า เราต้องเป็นผู้รู้ เป็น ผู้เรียนรู้ร่วมกัน.
...
ขอบคุณอาจารย์ที่ทบทวนหลักสังคหวัตถุ 4 ค่ะ..เป็นหลักสากลที่ฝรั่งเอาไปแต่งหนังสือขายดี ชื่อ The 5 Languages of Appreciation in the Workplace : Tangible Gifts (= ทาน) , Words of Affirmation + Physical touch (=ปิยวาจา), Acts of Service (=อัตถจริยา) , Quality time (= สมานัตตา?)
กลับจากกระบี่แล้ว แวะมามอบดอกไม้ ไว้ก่อน แล้วจะรีบกลับมาอ่านตอนดึกๆได้ตรึกตรอง
ขอบคุณค่ะอาจารย์แม่ท่านพี่ฯ :)
เดี๋ยวจะไปลองทำแบบทดสอบอยู่ ยังหาลิงค์บ่เจอเด้อค่า
สวัสดีครับ
แวะมาส่งข่าวว่า วันนี้กิจกรรมที่ผมแบกบุกมาหลายปี กลายเป็นโจทย์ร่วมของการขับเคลื่อนของที่นี่
จาก 1 คณะ 1 หมู่บ้าน....
สู่การเป็น 1 คณะ 1 ชุมชน
และวันนี้เป็น 1 คณะ 1 หลักสูตร (ตั้งเป้า 84 หลักสูตร)
โดยมหาวิทยาลัยให้งบสนับสนุน 100,000 บาท/หลักสูตร (ไม่เกินนั้น) เพื่อให้แต่ละหลักสูตร นำนิสิต (ป.ตรี) เข้าสู่การเรียนรู้ชุมชน พร้อมๆ กับการบริการวิชาการแก่ชุมชน ..
ซึ่งผมกำลังคิดและออกแบบกระบวนการที่เกี่ยวข้อง
รวมถึงเตรียมสร้างกระบวนการลงสู่ชุมชน และกระบวนการถอดบทเรียนเพื่อให้ชุมชน-ชาวบ้านสามารถแตะต้องสัมผัสกับผลแห่งการเรียนรู้นั้นๆ ไม่ใช่วิชาการเลิศล้นจนชาวบ้านอ่านไม่รู้เรื่อง-
งานใหญ่...แต่หัวใจของผมก็พร้อมที่จะเผชิญกับสิ่งเหล่านั้น...
ขอบพระคุณครับ
สวัสดีครับคุณน้องอาจารย์วิไล
มาอ่านบันทึก "มนุษยสัมพันธ์ : ความสัมพันธ์ที่ต่างพึงใจ"
อ่านแล้วคิดไป หลายคนหลายท่าน ที่เคยสัมพันธ์เป็นญาติพี่น้องทางสวนอักษร
และหลายท่านที่อาจารย์ได้กล่าวถึง ได้สัมพันธ์กันกินนอนร่วมกันในค่ายกิจกรรมเช่นอาจารย์ ผอ พรชัย ในค่าย หัวใจนักปราชญ์ ที่บ้านคำแดง
ดร.ขจิตนี้ก็ไปเยือนถึงถิ่น ไปสเต็กเนื้อวัวครั้งแรก กำแพงแสน
ท่านรองสมอล ก็เคยแวะท่านพาไปเลี้ยงซีฟู็ดจนอิ่มแปร้ ที่ตราด
น้องมะปราง ดร.จันท่านอยู่ไม่ไกลแวะไปหาบ่อย
อาจารย์แผ่นดิน ก็เจอกันในงานGotoKnow และร่วมถอดบทเรียนทีมFA ร่วมกับอาจารย์ โอ๋
น้องอุ้มบุญคนขยันในงาน HA ที่กทม.
ที่กล่าวมา เพียงบอกเล่าว่า จากการเขียนบันทึกในGotoKnow ทำให้มีโอกาสได้สร้างความสัมพันธ์อันดี
มีบล็อกเกอร์ เป็นเกลอ เกลอคิม
เป็นลูก(ขอเป็นลูก) เทียนน้อย
เป็นน้องอย่างอาจารย์
และเป็นเพื่อนร่วมงานอาสาอย่างขยันขันแข็ง อย่างหนานเกียรติ(ขอคารวะแก่ดวงวิญาณด้วย)
เหล่านี้เกิดจากมนุษยสัมพันธ์
คุณน้องคนบ้านไกล ดร.จันทวรรณ
คุณทิมดาบ คุณโอ๋-อโณ
คุณประทีป
สวัสดีปีใหม่คุณพี่
ให้ลูกสาวเล่นเปียโนเพลงที่คุณพี่ชอบ เชิญแวะเข้าไปเยี่ยมชมครับ
สวัสดี ปีใหม่ 2555 เรียนท่านสมาชิก โกทูโน และผู้ติดตามความเคลื่อนไหว ทุกท่าน ตลอด ปี 2555 นี้ มาร่วมสร้างสรรค์สิ่งดี เพื่อ เพื่อนมนุษย์ เพื่อนเกิด เพื่อนแก่ เพื่อน เจ็บ และเพื่อนตาย คิดในเรื่องดี ๆ เรื่องความจริง ความถูกต้อง เพื่อการดำรงชีวิตอย่างถูกทาง ซึ่งจักพบแต่สันติสุข สิ่งคิด สิ่งปฏิบัติเหล่านั้นย่อมสนองให้เราทุกคน มีความสันติสุขร่วมกันตลอดไป จาก "ธรรมชาติธรรมค้ำจุนโลก" http://www.nature-dhrama.com
นายประทีป วัฒนสิทธิ์
อำเภอสิชล
นครศรีธรรมราช
เป็นกำลังใจให้อาจารย์ ครับ
ไม่ลืมที่อาจารย์ เคยให้กำลังใจ สำหรับตัวผมครับ
ขอบพระคุณค่ะอาจารย์แม่ท่านพี่ฯ
เมื่อก่อนมนุษยสัมพันธ์ปูดี๊ ดีค่ะ แต่หลังๆ รู้สึกได้โดยมิต้องทำแบบทดสอบว่า
ถ้าให้อยู่แผนกไล่แขก จะไปได้ราบรื่นมากค่ะ อิ อิ ภาพมีหน้าตาไว้จะส่งไปส่วนตัวนะคะ
แบบว่าเกรงจะมีเจ้า หนี้รัก มาตามทวงทักเจ้า :) อยากไปชมสวนดอกไม้บ้านอ.เด้อค่า
กุมภา กำลังถามไถ่สมาชิกว่า จะไปไหนดีระหว่าง อุบลฯ กะนครพนม ขอบคุณบันทึกอ.แม่
เข้ามาแล้ว ก็ได้ยิ้ม และมีความสุขเสมอ .. ว่าแต่ลูกชายอ.แม่ หายเงียบไปนานมาๆ ค่ะ :)
ข้อความดีๆหาอ่านได้ยาก โดยเฉพาะเรื่องความสัมพันธ์ของมนุษย์ครับอาจารย์
สวัสดีคุณน้องอาจารย์ วิไล.....
อ่านบันทึกนี้หลายครั้ง อ่านความเห็นของหลายคน
ยิ่งมาอ่านการตอบความเห็น ของอาจารย์ เหมือนกับการนั่งล้อมวงคุยกัน ในบรรยาศที่เป็นมิตร
ประเด็นของท่านรองสมอล
ประเด็นของอาจารย์แผ่นดิน
และหลายประเด็น เอามาตั้งวงคุยทำให้เกิดปัญญา....ตั้งวงคุยในสวนสักทีดีมั้ยคุณน้อง
ลาทีปีเก่า สวัสดีปีใหม่ครับคุณพี่
ตอนนี้เป็นเสาร์เช้าวันที่ ๓๑ ธันวาคม ปี๒๕๕๔ ภรรยาและครอบครัวจะไปทำบุญตักบาตรที่วัดป่า จะเอาบุญมาฝากพวกเราครับ
นำรูปเก่าๆสมัยยังเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัยมาให้คุณพี่ได้ชม
ผมเขียนให้เพื่อนๆว่า
รูปเหล่านี้อยู่เมืองไทยนานมากๆสามสิบปีกว่าๆ
เพราะจากเมืองไทยมีกระเป๋าใบเดียว
พี่สาวมาเยี่ยมปีนี้เอามาให้บอกว่าถ้าไม่เอา เขาจะทิ้งแล้ว
ไหนๆก็ไหนๆ มาถึงที่นี่แล้ว เพราะมีเหตุมีปัจจัย
เลยเห็นเป็นโอกาสดี ที่พวกเราจะ Reunion กันอีกทีทาง Youtube
บอกตรงๆเอาเงินล้านมาแลกก็ไม่ยอม อยากจะกลับไปเป็นหนุ่มเป็นสาวอีกครั้ง เพราะไม่ปรากฏว่ามีไขมันหน้าท้อง ให้เห็นเป็นเครื่องกวนใจ
การที่ได้เคยร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน ช่วยเหลือกันมาก่อน
นับเป็นวาสนา
จากพี่
ปล. ดูวิดีโอนี้แล้ว บอกได้คำเดียว คิดถึงคนทางน้ำครับ
รูปทั้งหมดเป็นฝีมือชุมนุมช่างภาพธรรมศาสตร์ ถ่ายโดยวิชุ และสุนทร เป็นส่วนมาก
ฝีมือขั้นเทพ จังหวะการจัดภาพสวยงามมาก ขนาดภาพเก่ามากๆยังดูสวย
วิชุบอกว่า "มหัศจรรย์ ที่พี่ปูยังเก็บภาพพวกนี้ไว้อยู่"
อย่างที่เพลงนี้บอกไว้ตอนจบแหล่ะครับ
รักเธอ เสมอ มิ่งขวัญ - รักกันนิรันดร ไป
ขอบคุณสำหรับภาพถ่ายอันงดงามครับ
สวัสดีปีใหม่ 2555 นะคะ
มีความสุขกาย สุขใจค่ะ
ด้วยความรัก เคารพยิ่ง
อิน
สวัสดีปีใหม่ครับ ผศ.วิไล
-อ่านบันทึกของท่านแล้วได้รับความรู้ซาบซึ้งมาก....ผมสนใจเรื่องมนุษย์มาก..มันศึกษาไม่มีสิ้นสุด...ปีใหม่ขอให้ท่านและครอบครัวมีความสุขมากๆอย่าเจ็บไข้ได้ป่วยนะครับ...
สวัสดีครับ ผศ.วิไล
-Blog "Mantoknow" ของท่านต้องกลับไปอ่านใหม่หลายๆครั้งครับ...ผมจะขออนุญาตเลียนแบบท่านเปลี่ยนบล๊อคของผมเป็น Blog "Daytoknow" 555
-มนุษย์นี้เข้าใจยากจริงๆโดยเฉพาะ..ความเข้าใจผิด..ความรู้สึก..ความนึกคิด..จิตใจที่ดีงาม..พูดได้คำเดียวว่า "ขอโทษ"
-เป็นกุหลาบหน้าบ้านครับ
-ผทมันอ่อนหัดทำ สคส.ไม่เป็นเหมือนเพื่อนคนอื่นเขา (ใส่ภาพได้ก็บุญแล้ว)ปีที่แล้ววานเพื่อนทำ สคส.ให้ 555 ความสุขหรือครับก็ตามอัตภาพครับ (มองโลกในแง่ดี)
-ถ้ามีที่เรียนวิธีใส่ภาพสวยๆใน Blog ผมจะสมัครเรียนทันที... ตอนนี้ก็ทำได้แบบงูๆปลาๆ
ผศ.วิไลครับ
ขออนุญาตทดลองใส่ภาพดูนะครับ (ลุ้นๆ)
ÄÄÄ..สวัสดีปีปัจจุบัน๒๐๐๐บวก๕๕๕...ค่ะคุณ ผศ วิไล...ยินดีที่ได้รู้จัก...ยายธีอ่อนหัดกับการเขียน..และไม่มีความรู้เลยเรื่อง คอม..(จำไม่เป็น..ได้แต่จิ้มไปเรื่อยๆ..นิ้วเดียว..อ้ะๆๆตามประสาคนแก่...ขออภัยด้วยเจ้าค่ะ..ถ้ามีคำแนะนำ..ให้ยายธีก้าวไปอีก นิ้ด กว่านี้ ยินดีค่ะ..)
สวัสดีปีใหม่ค่ะ
บันทึกดีมีคุณค่า มาพร้อมกับจำนวนคนอ่านนะคะ
อ่านแล้วก็สงสัยอีกตามเคยว่าความเป็นคนละเอียดรอบคอบและการอ่านแบบวิเคราะห์ของอาจารย์มีมาแต่กำเนิดหรืออย่างไร?
ขอบคุณบันทึกที่ทำให้หนูอึ้งอีกตามเคยมากค่ะ
ÄÄÄ...ขอบพระคุณยิ่งอย่างจริงใจ.".บางทีสิ่งที่ดีที่สุด..หยุด..กับสิ่งที่ ..พอดี"..ตรงใจเปะเลยเจ้าค่ะ...เพราะกำลังทำความเข้าใจอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน...(..หยุด..ม่ายด้าย..เบรคแตก..เพราะ..ความอยาก..ไม่พอดี..ที่เหตุ..และปัจจัย..ที่วิ่งตามมาไม่ได้หยุดหย่อนใน.."ความรู้สึก"..อ้ะ...ประโยคนี้ที่เห็นจึงเป็นนิยาม..ที่..อ่ะๆๆอิอิ..อ้ะะๆๆๆ..เจ้าค่ะ...ชอบๆๆมากๆๆ..และกำลัง"หยุด"คิด..เขียนอ่าน ทำ..ซะที..ดีไหมเนียะ....วงกลม..ที่หารอยต่อ..พบ..เมื่อ.."หยุด"...)..สวัสดีปีปัจจุบัน๒๐๐๐บวก๕๕๕เจ้าค่ะ..คุณ ผศ วิไล แพงศรี..ยายธีค่ะ...
"ขอต่อนิดหนึ่ง..นึกขึ้นมาได้..ครั้งหนึ่งที่ได้..พบท่าน..คเวสโก..ท่านพูด..ว่า..หยุด คิด หยุด อ่าน..หยุด พูด...หยุด..ทำ.." เจ้าค่ะ...หยุดได้..คงจะ..พบ..กับ..คำว่า.."พอดี".........
ÄÄÄÄÄÄ....มาอีกครั้ง..อิอิ...ยายธีไม่ค่อยอยู่กับ..กด..เจ้าค่ะ (ขออภัยโกทูโน..หากไม่สุภาพ..อ้ะ)...ที่จริงไม่"ซีเครียด"ชอบ..ละเลียด..ไปกับ..กาลเวลา...See you ...again.bye ..ÄÄÄ..".คุณน้อง" ยายเขียนผิดรึเปล่าวไม่รุ (ตอนเขียนไม่ได้ถามอาจารย์ขจิต ๕๕๕)...