ระบบการเงินการคลัง..สู่กระบวนการจัดสรรทรัพยากรเพื่อใช้จ่ายด้านสุขภาพ


(Health Care Financing & Health Economics)

ะบบการเงินการคลัง..สู่กระบวนการจัดสรรทรัพยากรเพื่อใช้จ่ายด้านสุขภาพ  (Health Care Financing & Health Economics)

             มีบทเรียนมากมาย..ทั้งความสำเร็จและล้มเหลวของกระบวนการบริหารจัดการระบบการเงินการคลังในหลายประเทศ  ทำให้เกิดวิวัฒนาการในการพัฒนากลไกเชิงระบบหรือโครงสร้างองค์กรให้เอื้อต่อการดำเนินงาน  โดยเฉพาะในด้านสุขภาพ เช่น ระบบการกระจายอำนาจสูท้องถิ่น ระบบหลักประกันสุขภาพ กองทุนสุขภาพทั้งรัฐ เอกชน ประชาชน หรือการจัดสรรภาษีบาปเพื่อขับเคลื่อนงานสุขภาพของประเทศไทย กองทุน Medisave ในสิงคโปร์ในการพัฒนา  ที่มุ่งหวังให้ ประชาชนส่วนใหญ่ของสังคมได้รับอรรถประโยชน์อย่างทั่วถึง เป็นธรรม (Equity) แต่อาจไม่เท่าเทียมกัน โดยที่การแบกรับภาระค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสุขภาพควรเป็นไปตามความสามารถในการจ่ายของประชาชน  ขึ้นกับบริบทด้านนโยบายของแต่ละประเทศ ที่ต้องพิจารณาด้านประสิทธิภาพ (Efficiency) ประสิทธิผล (Effectiveness) คุณภาพของการบริการ (Quality) เพื่อปกป้องจากความเสี่ยง (Risk Protection) ทั้งจากโรคภัยและการบริหารจัดการงบประมาณในระยะยาว (Sustainability)
              ตามหลักเศรษฐศาสตร์ การวิเคราะห์ต้นทุนหรือผลกำไร ไม่สามารถที่จะกำหนดได้ตรงไปตรงมาเหมือนการทำธุรกิจโดยทั่วไป เนื่องจากเป็นต้นทุนทางสังคมที่มีทั้งโดยตรง ทางอ้อม (Direct-Indirect costs) เช่น การสูญเสียโอกาสในชีวิต (Value of Life lost) ผลิตภาพ (Productivity) ของครอบครัวหรือองค์กร และบางอย่างไม่สามารถตีค่าเป็นตัวเงินได้ (Intangible Lost) แต่อาจต้องพิจารณาในหลายประเด็นเช่น จำนวนปีสุขภาวะที่สูญเสีย (DALYS) เมื่อเกิดความพิการ  หรือปัญหายาเสพติด/แอลกอฮอล์ที่มีความต่างของหลักคิดเรื่องการได้รับผลจากการบังคับใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม การได้รับสวัสดิการทางสังคม เป็นต้น
        ปัจจุบันยังมีปัญหาที่รอการแก้ไขหลายส่วน เช่น การกระจายทรัพยากรให้แก่งานด้านการรักษาพยาบาลมากกว่าด้านการส่งเสริม ป้องกันโรคและการฟื้นฟูสภาพ การกระจายไม่เท่าเทียมกันระหว่างเมืองและชนบท  การใช้ทรัพยากรไม่คุ้มค่า การสั่งตรวจวินิจฉัยโรคหรือใช้ยาบางประเภทที่ไม่จำเป็น ตลอดจนการมีระบบประกันสุขภาพบางประเภทที่ไม่มีการควบคุมค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม ทำให้ค่าใช้ จ่ายด้านสุขภาพโดยรวมของสังคมสูงขึ้น แนวทางการแก้ไขปัญหาเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานและ บริการทางการแพทย์ที่จำเป็นและระบบสาธารณสุขสามารถพึ่งตนเองทางการเงินได้ รัฐบาลควรมีการบริหารจัดการโดยยึดหลักธรรมาภิบาล ลดหรือกำจัดช่องทางการคอรับชั่น  การวิเคราะห์ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ในระดับประเทศหรือระดับองค์กร ช่วยให้กำหนดค่าบริการให้เหมาะสมกับต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ส่งเสริมการประกันสุขภาพที่ผู้มีฐานะดีและผู้มีรายได้ปานกลาง สามารถช่วยตนเองได้เพื่อช่วยลดภาระงบประมาณให้มีเหลือสำหรับใช้จ่ายในแผนงานบริการสุขภาพอื่น ๆ ที่จำเป็น  
สรุปแนวคิดโดย  ราณี  วงศ์คงเดช
                                    จุดประกายแนวคิดโดย ผศ.ดร.สุชาดา  ภัยหลีกลี้
22  ธันวาคม 2554
หมายเลขบันทึก: 472154เขียนเมื่อ 23 ธันวาคม 2011 00:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 12:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ความเป็นธรรมด้านหลักประกันสุขภาพนั้นยังเป็นปัญหาของเรา โดยเฉพาะกลุ่มประกันสังคม เพราะเกิดความไม่เท่าเทียมกันเพราะผู้ประกันตนต้องจ่ายสบทบในส่วนหนึ่ง แต่กลุ่มอื่นเช่น หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า สิทธิข้าราชการ รัฐเองเป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมด การแบ่งประกันสังคมมาต่างหาก โดยไม่รวมเงินไว้ที่จุดเดียวก็เป็นเรื่องที่น่าศึกษา ว่าทำไมจึงไม่รวมเงินสบทบเหล่านี้แล้วเข้าสู่ระบบประกันสุขภาพ ให้มีหน่วยงานเดียวรับผิดชอบด้านการประกันสุขภาพของคนทั้งประเทศ เพื่อให้การบริหารงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเท่าเทียบกัน ซึ่งเท่าที่รู้มายังมีการฟ้องร้องเรื่องความไม่เป็นธรรมของตัวแทนผู้ประกันตน ในเรื่องการจ่ายเงินสมทบกองทุน ว่าขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ในเรื่องสิทธิด้านสุขภาพที่ต้องมีความเท่าเทียมกัน ซึ่งคงต้องดูกันต่อไปครัยว่าสุดท้ายผลจะออกมาอย่างไร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท