A Flood Symphony in D minor (flat)


A song of Thailand Great Flood 2544 BE

It is quite upsetting to read about Thailand's Great Flood 2554. Reading a report: (excerpts below) 

ระทึก48ชม.ท่วมกทม. สุขุมพันธุ์เตือนช่วยตัวเองยื้อไม่อยู่นวนครจม100%
< thaipost.net ข่าวหน้า 1 18 ตุลาคม 2554 - 00:00 >

 กรุงเทพฯ ระทึก! "นิคมนวนคร" พนังกั้นน้ำแตกหลายจุด ทุกฝ่ายยังยื้ออุดรอยโหว่สุดชีวิต "ศปภ." เฟอะฟะทำชาวบ้านโกลาหลอีกแล้ว "วิม" โชว์ออฟแถลงสั่งอพยพเอง "น้องปู" ไม่แพ้กันบอกเสียใจสั่งหนีด่วน สุดท้าย "ประชา" ให้แก้ข่าวพัลวันบอกเอ่อแค่ 10% ดูแลได้ "ประธานนิคมฯ" อัดแหลกไม่ช่วยแล้วยังทำป่วนอีก เสนอเปิดประตูน้ำ 5 แห่ง "สุขุมพันธุ์" ชี้ กทม.ยังไม่ปลอดภัย สั่งจับตา "ดอนเมือง-สายไหม" 24 ชั่วโมง "ธรรมกาย-มธ.รังสิต" ปิดรับคนอพยพแล้ว

 ในที่สุดสวนนิคมอุตสาหกรรมนวนคร จังหวัดปทุมธานี ซึ่งรัฐบาลหมายมั่นปั้นมือจะให้เป็นพื้นที่กั้นน้ำไม่ให้เข้าท่วมกรุงเทพมหานคร โดยได้มีการเสริมกำแพงและคันกั้นน้ำสูงถึง 2-3 เมตร รวมถึงเฝ้าจับตาดูตลอด 24 ชั่วโมง ก็ได้แตกเป็นบางส่วนแล้ว หลังจากน้ำปริมาณสูงได้หลากเข้ามา ประกอบกับฝนที่ตกต่อเนื่องตั้งแต่เมื่อวันที่ 16-17 ต.ค.

 โดยคันกั้นน้ำด้านเหนือของโครงการที่ 1 ติดบ่อบำบัดน้ำเสียได้เกิดรอยแตกยาวประมาณ 10 เมตร ทำให้น้ำทะลักท่วมพื้นที่นิคม บริเวณบ่อพักน้ำและบ่อบำบัดน้ำเสียใกล้โรงงาน...แล้ว แม้ทหาร... และชาวชุมชนนวนครจะพยายามเสริมแนวคันดินแล้วก็ตาม แต่ก็มีปัญหาดินสไลด์เนื่องจากเป็นดินเลนอุ้มน้ำ ในขณะที่การใช้เฮลิคอปเตอร์หย่อนตู้คอนเทนเนอร์อุดรอยรั่วก็เป็นไปด้วยความยากลำบาก จึงทำได้เพียงชะลอน้ำเท่านั้น
...

ขณะเดียวกัน เมื่อเวลา 12.15 น. ที่ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ก็ได้กล่าวแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่า เราได้ระดมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก พร้อมทั้งได้เตรียมการไว้หลายวันแล้ว แต่ปัญหาคือกระแสน้ำที่เข้ามาประกอบกับน้ำทะเลหนุนสูง รวมถึงฝนที่ตกทั้งคืน จึงทำให้น้ำเข้ามาแรงมากเกินกว่าแนวกั้นน้ำจะรองรับไหว ...

           เมื่อถามว่า ล่าสุดสั่งให้ประชาชนที่นิคมนวนครอพยพใช่หรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ตอบว่าใช่ ได้ทำตั้งแต่ตอนเช้าแล้ว ...

ถามอีกว่า กทม.ฝั่งดอนเมือง-สายไหมอยู่ในจุดเสี่ยงหรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า ขอเข้าไปประเมินหลังจากที่มีปัญหานิคมนวนครก่อน ...

 ในเวลา 12.00 น. นายวิม รุ่งวัฒนจินดา โฆษก ศปภ.แถลงว่า ขณะนี้ระดับน้ำโดยรอบนิคมนวนครมีปริมาณน้ำที่สูงขึ้นต่อเนื่อง ซึ่ง พล.ต.อ.ประชาได้สั่งการให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่นิคมนวนคร หรือพื้นที่โดยรอบเร่งอพยพออกจากพื้นที่และปฏิบัติดังนี้ 1.ให้โรงงานหยุดเดินเครื่องจักร และเร่งอพยพพนักงานออกจากพื้นที่ 2.ขอให้พนักงานและประชาชนโดยรอบพื้นที่นิคม เร่งอพยพทรัพย์สินและชีวิตออกจากพื้นที่ เนื่องจากปริมาณน้ำสูงอย่างต่อเนื่อง 3.ให้ส่วนราชการที่ดำเนินการร่วมกับ ศปภ.เร่งประชาสัมพันธ์ แจ้งเตือนให้ประชาชนอพยพออกจากพื้นที่อย่างเร่งด่วน 4.ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่สามารถช่วยเหลือตัวเอง โดยการเร่งอพยพออกมาก่อน และ 5.ขอให้ประชาชนปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่
...

'ประชา' สั่งแก้ข่าวด่วน

ต่อมาเวลา 14.00 น. พล.ต.อ.ประชา ซึ่งได้เดินทางกลับมาจากตรวจสถานการณ์น้ำท่วมที่นิคมนวนคร ได้เรียกทีมโฆษก ศปภ.หารือประมาณ 20 นาที และสั่งให้มีการแถลงข่าวใหม่ เพราะในช่วงเที่ยงนายวิมแถลงประกาศ ศปภ.ด้วยตัวเอง ซึ่งเหตุการณ์คล้ายกับวันที่นายปลอดประสพ สุรัสวดี รมว.วิทยาศาสตร์ฯ เคยแถลงข่าวให้ประชาชนอพยพมาแล้ว และต่อมาก็แถลงแก้ข่าวใหม่

ซึ่งมาในครั้งนี้ พล.ต.อ.ประชาระบุว่า หลังจากไปสำรวจพื้นที่นิคมนวนครแล้ว มีความเสียหายประมาณ 10% เท่านั้น ในบริเวณเฟส 1 ส่วนเฟสอื่นๆ ยังควบคุมได้ จึงขอให้ ศปภ.แถลงข่าวใหม่ให้ชัดเพื่อไม่ให้ประชาชนตื่นตระหนก แต่แผนอพยพประชาชนนั้นควรทำต่อไปเพื่อป้องกันการสูญเสีย

ซึ่งในเวลา 15.10 น. นายวิมก็มาแถลงอีกครั้งว่า เรายังยืนยันขอให้ประชาชนอพยพออกจากพื้นที่ เพื่อเตรียมความพร้อม เพราะยังไม่สามารถยืนยันร้อยเปอร์เซ็นต์ว่าน้ำจะไม่ท่วม เพราะตอนนี้ปริมาณน้ำสูงขึ้น รายงานล่าสุดน้ำท่วมในนิคมนวนครไป 10% ในระดับ 1.5-2 เมตรใน 10 โรงงาน โดย น.ส.ยิ่งลักษณ์สั่งกอบกู้โรงงานเหล่านี้ โดยให้ระดมกำลังทุกภาคส่วนเข้าไปกอบกู้เร็วที่สุด ล่าสุด กองทัพไทยได้สร้างแนวกั้นน้ำที่สองได้บางส่วน แม้จะมีน้ำไหลมาตามรูบ้าง หลังแนวกั้นน้ำที่หนึ่งเกิดรูรั่วจนน้ำทะลัก แต่ประชาชนในพื้นที่ยังอยู่ในสภาวะเสี่ยงและควรอพยพตามประกาศเดิม

เมื่อถามว่า กองทัพให้ความมั่นใจกี่เปอร์เซ็นต์ นายวิมตอบว่า จะตอบร้อยเปอร์เซ็นต์ไม่ได้ ตอนนี้ดูแลได้ 90% ส่วนน้ำอีก 10% หากป้องกันได้แล้วจะเร่งสูบออกไป เพราะตอนนี้กองทัพไทยส่งเฮลิคอปเตอร์ชีนุกนำตู้คอนเทนเนอร์ไปวางกั้นไว้ ส่วนการป้องกันสารเคมีจากโรงงานต่างๆ นั้น เรามีบทเรียนจากนิคมโรจนะ ซึ่งมีไซยาไนด์หลงเหลืออยู่ นายกฯ สั่งให้แม่ทัพภาค 1 ไปนำไซยาไนด์ออกมา จึงขอให้มีการเฝ้าระวัง รวมทั้งขอให้โรงงานแจ้งรายชื่อสารเคมีอันตรายเข้ามาด้วย หากน้ำท่วมจะได้นำสารเคมีดังกล่าวออกมาก่อน

เสนอเปิดประตูน้ำ 5 จุด

...ที่ปรึกษาและประธานอนุกรรมการฝ่ายกิจการพิเศษสวนอุตสาหกรรมนวนคร กล่าวว่า ต้องการให้รัฐบาลเร่งเปิดประตูระบายน้ำทั้ง 5 จุด ได้แก่ ประตูระบายน้ำเชียงรากน้อย, เชียงรากใหญ่, คลองเปรมประชากร, สารพัน และคลองระพีพัฒน์ เพื่อระบายน้ำที่เอ่อท่วมนิคมขณะนี้ ซึ่งเบื้องต้นส่งผลกระทบต่อโรงงานเกือบ 10% จาก 227 โรง แม้พยายามแก้ไขโดยนำตู้คอนเทนเนอร์ 14 ตู้มาวางกั้นเพื่อลดแรงดันของน้ำ โดยวางไปแล้ว 3 ตู้ แต่คาดว่าก็จะทำได้แค่ประวิงเวลาเท่านั้น เพราะล่าสุดมีรอยรั่วซึมจุดใหม่เพิ่มอีก 1 จุด บริเวณวัดพืชนิมิตร
“รัฐบาลจะเชื่อคนรอบข้างท่าน ที่บอกจนทำให้อุตสาหกรรมล่มไปแล้วหลายแห่ง หรือจะเชื่อผมที่ยืนหยัดรักษาอุตสาหกรรมไว้ ถ้าเชื่อคนที่ชื่อวิชาจะเสียหายอะไรในการเปิดประตูระบายน้ำ ซึ่งหากมีคำสั่งตอนนี้ก็ยังไม่สาย เมื่อเทียบกับความเสียหายที่จะเกิดขึ้นเป็นแสนล้านบาท และมันคุ้มไหมที่จะกระทบคนงาน 3 แสนคน ท่านไม่ช่วยยังไม่พอ แล้วยังมาสั่งอพยพคนของผมอีก ตอนนี้ความเชื่อมั่นนักลงทุนต่างชาติที่มีต่อรัฐบาลต่ำติดดินแล้ว ถ้าช่วยตรงนี้ได้ก็จะฟื้นสถานการณ์และความเชื่อมั่นได้" ...

ส่วนที่ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย กรุงเทพมหานคร ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม. กล่าวว่า ปริมาณน้ำใน กทม.มีมาก แต่ยังไม่ถึงขั้นวิกฤติ แต่ก็ต้องเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง โดยระดับน้ำในคลองที่อยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ ยังปกติ ส่วนน้ำในคลองทวีวัฒนาสูงขึ้นประมาณ 10 ซม. แต่ยังไม่มีปัญหา

ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์กล่าวว่า ต้องขอบคุณกรมชลประทานที่ปิดประตูระบายน้ำคลอง 1 ครึ่งหนึ่ง และเข้าใจที่ไม่สามารถปิดประตูระบายน้ำได้ทั้งหมด ซึ่งสถานการณ์ตอนนี้ยังน่าเป็นห่วง เพราะน้ำได้ทะลักเข้าพื้นที่กรุงเทพฯ ตอนเหนือ ซึ่งมีประชาชนกว่า 127,728 ครัวเรือน ทำให้ กทม.จำเป็นที่จะดำเนินมาตรการเพิ่มเติมเพื่อดูแลพื้นที่สายไหมและคลองสามวา โดยจะทำแนวคันกั้นน้ำชั่วคราวตามแนวคลองหกวาล่าง เขตสายไหม ระยะทาง 7 กิโลเมตร จากเดิม 6 กิโลเมตร พร้อมทั้งเพิ่มความสูงอีก 20 เซนติเมตร จากเดิม 30 เซนติเมตร รวมเป็น 50 เซนติเมตร ให้เรียบร้อย  ขณะเดียวกันจะยกระดับถนนเลียบคลองสองและถนนสายไหม ซ.สายไหม 85 ให้สูงขึ้นอีก 30 ซม. และขอความร่วมมือจากประชาชนให้ช่วยดูแลคันกั้นน้ำด้วย นอกจากนี้ กทม.ได้กระจายกระสอบทรายอีก 600,000 ใบ ส่วนใหญ่ในพื้นที่ตะวันออก

กทม.ผวาดอนเมือง-สายไหม

“ศปภ.อาจมั่นใจว่า กทม.ปลอดภัย ที่จริงผมก็ดีใจ แต่ผมไม่คิดว่า กทม.ปลอดภัย ยังไม่พ้นอันตราย แต่ก็ยังไม่ถึงวิกฤติ ดังนั้นต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะเขตสายไหมและดอนเมือง ผมอยากให้ประชาชนช่วยเฝ้าระวังดูแลคันกั้นน้ำ ถ้าคันกั้นน้ำที่สายไหมแตกจะมีผลถึงคลองสามวาด้วย”ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์กล่าว

 วันเดียวกัน ได้มีการเสนอแนวความคิดในการแก้ไขและบรรเทาปัญหาน้ำท่วมที่หลากหลาย โดยนายอุเทน ชาติภิญโญ ประธานคณะกรรมการผันน้ำลงทะเล ศปภ. กล่าวว่า ควรระบายน้ำเหนือที่ไหลลงมาให้ไปลงที่คลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต ที่เชื่อมต่อเนื่องไปยังคลองประเวศจนถึงคลองสำโรง ก่อนที่จะดูดน้ำลงสู่ทะเลในระยะทางที่สั้นที่สุด รวมทั้งต้องจัดการชาวบ้านที่รุกล้ำคูคลองมาตั้งบ้านเรือนกว่า 500 หลังคาเรือน

นายปลอดประสพ สุรัสวดี รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และหัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการพื้นที่ ศปภ.เสนอว่า พื้นที่มีน้ำท่วมสูงขาดแคลนเรือถึง 70,000 ลำ จึงได้สั่งการให้... อธิบดีกรมอุทยาน สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ไปตัดไม้ไผ่มาทำเป็นแพเพื่อแจกจ่ายประชาชน ซึ่งเชื่อว่าภายในวันที่ 18 ต.ค.จะสามารถนำมาแจกจ่ายประชาชนได้ประมาณ 10,000 ลำ โดยจะทำการแจกจ่ายให้ครัวเรือนละ 1 ลำ ในการใช้วางสิ่งของเครื่องใช้

โครงการนี้แวบขึ้นมาในสมองไม่ค่อยเต็มสติของผม เพราะไม้ไผ่มีอยู่ในป่า มีมากที่บริเวณ จ.กาญจนบุรี ตัดๆ ขนมาแจก ฉะนั้นแต่ละบ้านจะมีแพ” นายปลอดประสพกล่าว

นายพรเทพ เตชะไพบูลย์ รองผู้ว่าฯ กทม.กล่าวว่า กทม.อยู่ระหว่างเตรียมจ้างบริษัทที่ปรึกษาในโครงการไฮเวย์น้ำ ที่สามารถเป็นทางด่วนสำหรับทางน้ำไหล งบประมาณ 100 ล้านบาท เบื้องต้นได้พิจารณาถนนคุ้มเกล้า คลองระพีพัฒน์ โดยรูปแบบจะทำเป็นถนนสองชั้น ชั้นบนเป็นถนนสำหรับการสัญจรไปมา ส่วนชั้นล่างใช้เป็นทางไหลของน้ำ ขณะเดียวกัน กทม.จะตั้งคณะกรรมการภัยธรรมชาติ เพื่อรับมือกับภัยธรรมชาติทุกรูปแบบต่อไป.

As we can see from above report. We have ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) headed by พล.ต.อ.ประชา ... for fighting this flood. Yet we have the Prime Minister ordering (interfering) in matters that should have been under ศปภ's responsibilities. We have ศปภ's spokeperson speaking 'outside' his delegated power (or without consultation with ศปภ's Head). We have ศปภ's Head outside the 'Command Centre' and outside 'communication' (or unreachable).

We have other 'leaders' adding 'their concerns' and 'guidance' to flood victims.

We have apparently substandard 'sandbags' (and sandbagging methods). We have use of (sea) containers (they do float!). We have suggestions to open flood control gates at places. We have flooded hazardous chemical treatment ponds (and cyanide contamination). We have 'now' seen a request for a list of hazardous chemicals stored and used in factories.
We have in a flash -- a 'bamboo' raft project (without ecological concern for the areas where bamboos are to be cut). We have a water-highway project in Bangkok again without Environmental Impact Assessment of areas downstream.

There are enough issues told in this report to engage flood beaurocrats and researchers for years to come.

I think we should look into these issues and other issues on rescues, security of national treasures and public properties, transport, food supply and price control, unemployment due to lay-off, ...

หมายเลขบันทึก: 465163เขียนเมื่อ 18 ตุลาคม 2011 05:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 19:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

It's time to recall the past 30-50 years back. How those people lived their lives at that time. I think about Thai traditional houses with boats under every houses. they could live with flooding water. It's time to return lands for rice field not for factories and we should not forget to think about moving BKK to some where out side.

I remember the past in my younger days -- I loved and still love the 'romantic' time when children roamed the neighborhood, playing, searching and laughing,,,

I have seen what expected to be the future of most (7 billions) people -- people living, working and growing family in shanty slums.

I don't think we could go back to the good old days with our current population, our addiction to ready-to-buy goods, our anywhere-talks, and our regular incomes.

But we can adjust our living to conditions (in environment) more.

Yes, we must even now we have 'no idea' how to handle frequent floods and droughts and 'powers' for the sake of 'all people' yet.

A time to learn ;-)

I should have explained about the 'substandard sandbags...' blurp:

< http://www.komchadluek.net/detail/20111018/112202/ศปภ.ส่ง'ถุงกระดาษ'ให้กทม.จริง.htm>

ศปภ.ส่ง'ถุงกระดาษ'ให้กทม.จริง
"กทม."ยัน"ศปภ."ส่งถุงกระดาษเคลือบพลาสติกให้กทม.เป็นเรื่องจริง ชี้ไม่สามารถใช้กั้นน้ำได้ต้องโยนทิ้ง คาดถุงเจ้าปัญหามีจำนวนนับหมื่นใบ ขณะที่ศปภ.ยันแข็งแรงทนทานใช้บรรจุทรายได้
           ...ได้สอบถามพนักงานขับรถที่นำถุงกระสอบทรายมาส่งให้ กทม.ที่บริเวณโรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย 2 เขตสายไหม ทราบว่าเป็นถุงที่ได้มาจาก ศปภ. ดอนเมือง เมื่อตรวจสอบวัสดุแล้วพบว่า ด้านนอกเป็นถุงกระดาษ ส่วนด้านในเคลือบด้วยฟิล์มพลาสติก ซึ่งไม่สามารถนำมาใช้งานได้ นอกจากนี้ ยังพบว่ามีถุงกระสอบขนาดเล็ก และเคลือบสารบนพื้นผิวกระสอบ ทำให้ลื่นและไม่เหมาะสำหรับการใช้งาน เพราะอาจทำให้เกิดรูรั่ว จึงไม่สามารถกั้นน้ำได้ อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ได้นำถุงกระดาษไปกองรวมไว้กับถุงกระสอบที่รับบริจาคมาจากประชาชน คาดว่ามีจำนวนนับหมื่นใบ...

Do we expect sandbagging teams to solve problems of different types of sandbags while on urgent deadlines?

Maybe paper sandbags could be used on the dry side of the wall, with standard sandbags as barrier protecting paper sandbags?

Have paper bags been tested? Or do we test them --live-- on the job with lives of people at stake?

Time we learn!

From: รบ.ส่ง'ถุงกระดาษ8แสนใบ'ให้กทม.
< komchudluek.net 19 October 2011 >

We see comments from 'leaders' like

"...ต้องลดโครงการประชานิยม ประเมินความเสีบหายทะลุ “หลักล้าน”..." “ผู้ว่าฯกทม.” เผย “รบ.” ส่ง “ถุงกระดาษ 8 แสนใบ” มาให้แทน “กระสอบทราย” ไม่อยากคิดว่าถูกวางยา ย้ำ “ชาวกทม.” รอฟังคำเตือนจากตนเองคนเดียว ...
กล่าวว่ามีความมั่นใจว่ากทม. เตรียมการรับมือเต็มที่ อย่างไรก็ตามการบริหารจัดการน้ำในส่วนรอยต่อพื้นที่กทม. กับจังหวัดอื่น ไม่อยู่ในอำนาจของกทม. ดังนั้นกทม.ต้องประสานงานกับรัฐบาลอย่างใกล้ชิด เช่นกรณีที่จะมีการเปิดประตูน้ำ 5 บานเพื่อระบายน้ำออกจากพื้นที่นวนครก็ต้องประสานให้รับทราบเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อ กทม... ยังฝากถึงผู้บริหารนวนคร ที่ประกาศว่าจะไม่ฟังรัฐบาลต่อไปว่า สถานการณ์เช่นนี้แต่ละฝ่าย จะคิดถึงการลดความเสียหายเฉพาะส่วนของตนเองไม่ได้ แต่ต้องคำนึงส่วนรวมด้วย ความเสียหายด้านเศรษฐกิจรัฐบาลต้องเยียวยาและกำหนดมาตรการให้ชัดเจน ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายในการเจรจาทำความเข้าใจ แต่เมื่อรัฐบาลจะได้วิธีนี้แทนกฏหมายพิเศษก็ต้องทำให้ได้ผลอย่างมีประสิทธิภาพด้วย   ที่มีความกังวลว่ายังมีน้ำฝนที่สะสมอยู่ตอนเหนือ อาจไหลลงมาซ้ำเติมนั้นอยากฝากผู้ว่ากทม. ติดตามสถานการณ์น้ำจากการวัดระดับน้ำของกรมชลประทาน เพราะเส้นทางน้ำแตกแขนงออกไปหลายสายมากกว่ามาตรวัดน้ำที่กรมชลประทานมีอยู่  จึงทำให้หลงผิดว่ามวลน้ำขนาดใหญ่ไหลเลยกทม.แล้ว

What can the people believe?

Who they should trust?

What is being done for the upstream areas where people have been flooded for 2 months and more?

What help can our-of-work people can expect? When?

Thaipost.net ข่าวหน้า 1 20 ตุลาคม 2554 - 00:00 has these news headlines:

รัฐพล่าน‘กู้เงิน’ฟื้นฟูประเทศ  “กิตติรัตน์” ยันกู้เงินฟื้นฟูประเทศหลายแสนล้านแน่ แพลมมีหลายสถาบันล็อบบี้ “หญิงปู” แล้ว คลังชี้โรงงานใหญ่ใช้ 4 เดือนบูรณะ รง.เล็ก 1-2 เดือน ระบุรัฐกู้ได้ถึง 2 ล้านล้าน เอกชนลั่นไม่กลัว พ.ร.ก.ฉุกเฉิน กระทุ้งยิ่งลักษณ์ประกาศใช้ได้แล้ว สตง.แฉงบบริหารน้ำที่ผ่านมานับแสนล้านสุดห่วย!

เอวัง!น้ำจมกทม. คาดทะลักถึงกลางกรุง‘ทำเนียบ-ทบ.’สกัดวุ่น คนกรุงโดนแน่นอน! "สุขุมพันธุ์" เตือน 7 เขต สายไหม บางเขน คลองสามวา หนองจอก มีนบุรี ลาดกระบัง และคันนายาว เตรียมอพยพ ไม่ธรรมดาเสียแล้ว ทอ.คาดน้ำอาจจะท่วมกองบัญชาการกองทัพอากาศประมาณ 1 เมตร มาถึงราชดำเนิน โฆษกทบ.เผยกองทัพบกวางแนวกระสอบทรายแล้ว พบสูง 90 ซม.

“บิณฑบาตร่วมใจสู้ภัยน้ำท่วม” ที่วัดบวรนิเวศฯ วินาทีนี้ ใกล้ที่ไหนก็ไปที่นั่น คงเป็นแนวทางเดียวที่ช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ตกระกำลำบากในเหตุการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นได้ ที่ไม่ว่าหันมองไปทางไหน ก็ล้วนแต่เห็นคนไทยกระตือรือร้นจะช่วยเหลือกัน ดังภาพศูนย์รับบริจาคที่เปิดทั่วทุกพื้นที่ เช่นเดียวกับสถาบันหลักของชาติอย่าง “สถาบันศาสนา”

UNชำแหละไทย เหลวแก้อุทกภัย! ชี้‘หายนภัย’จ่อ ยูเอ็นวิพากษ์อาเซียน แก้ปัญหาอุทกภัยล้มเหลว ชี้ขาดกรอบการทำงานที่ครอบคลุม ไทยมีหน่วยงานจัดการน้ำถึง 8 หน่วยงาน เตือนอาจเป็นเพียงบทโหมโรงของหายนะ ยันพร้อมให้ความช่วยเหลือ ... สำนักข่าวเสียงอเมริการายงานว่า ภาวะน้ำท่วมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังทำให้เกิดวิกฤติด้านมนุษยธรรมในประเทศไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม มีประชาชนเสียชีวิตแล้วกว่า 700 คน และมีผู้ได้รับความเดือดร้อน 8 ล้านคน ...เลขาธิการคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมประจำภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิกของสหประชาชาติ กล่าวเมื่อวันอังคารว่า สหประชาชาติพร้อมให้ความช่วยเหลือแก่ชุมชนที่ถูกน้ำท่วม ขณะที่...ผู้ประสานงานอาวุโสระดับภูมิภาคของหน่วยงานยุทธศาสตร์ของการลดความเสี่ยงของภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ กล่าวว่า ในระยะยาวแล้วประเทศต่างๆ อาทิ ประเทศไทย จำเป็นต้องมีกรอบการทำงานที่ครอบคลุมมากขึ้นในการบริหารจัดการภัยพิบัติ โดยเฉพาะภาวะน้ำท่วม "ข้ออ่อนด้อยสำคัญในขณะนี้ก็คือ ในประเทศไทยมีหน่วยงานที่จัดการเรื่องน้ำถึง 8 หน่วยงาน เรื่องนี้ไม่ได้เป็นประเด็นเฉพาะสำหรับประเทศไทยเท่านั้น แต่เป็นประเด็นในแทบทุกประเทศในภูมิภาคนี้ที่ได้เผชิญกับน้ำท่วม นั่นคือขาดกรอบการทำงานที่กว้างขวางที่จะจัดการน้ำ ผมคิดว่านี่เป็นประเด็นหลัก" ... ผลการวิเคราะห์ภัยพิบัติของยูเอ็นได้เพิ่มความวิตกว่าภาวะน้ำท่วมในประเทศไทยในขณะนี้อาจเป็นเพียงบทโหมโรงของหายนภัยจากน้ำท่วมที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต ด้านเว็บไซต์ศูนย์แถลงข่าวของสหประชาชาติได้เผยแพร่ถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่อาวุโสของยูเอ็นระบุว่า สหประชาชาติพร้อมให้การช่วยเหลือแก่ประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม ... ทีมประสานงานและประเมินภัยพิบัติของสหประชาชาติพร้อมจะลงพื้นที่หากได้รับการร้องขอ โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ หรือยูเอ็นดีพี ได้เสนอที่จะให้การสนับสนุนแก่รัฐบาลไทยในการรับมือกับภาวะน้ำท่วม ยูเอ็นได้ติดต่อกับหน่วยงานต่างๆ ของไทยอย่างสม่ำเสมอ.

We may be forgiven to conclude that our current government is trying to solve the flood problem by throwing down money to absorb the water. Help is being offerred from many parties (goers) -- even 'money' to lend to keep Thailand's Flood Symphony going.

 

From < thaipost.net ข่าวหน้า 1 19 ตุลาคม 2554 - 00:00 >

“ปู” จี้ รมต.ทำแผนแก้น้ำท่วม ขีดเส้นส่งการบ้านก่อนเที่ยงวันศุกร์นี้ “กิตติรัตน์” น้ำตาคลออีก ยอมรับอุตสาหกรรมพังยับ เสียหายมหาศาล ย้ำจำเป็นต้องก้มหน้ากู้เงินหลายแสนล้านบาท “ครม.” จ่อออกพระราชกำหนด พร้อมไฟเขียวเพิ่มงบขาดดุล 4 แสนล้าน

ในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม มีวาระเร่งด่วนคือการหาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย ... “เนื่องจากนายกฯ ได้สั่งการมอบหมายการบ้านให้รัฐมนตรีแต่ละกระทรวงรับผิดชอบอย่างละเอียดโดยจัดเป็นหมวดหมู่ใหม่ โดยกำชับให้เร่งส่งการบ้านเป็นการด่วน พร้อมทั้งมอบให้ไปจัดวางแผนแก้ปัญหาระยะยาว 4 ระยะ” แหล่งข่าวบอกว่า รัฐมนตรีบางคนถึงกับแสดงความกังวล และขอหารือกับ ครม.ว่างานที่ตัวเองได้รับนั้นเหมือนหรือแตกต่างจากที่เคยได้รับอย่างไรหรือไม่ ... รมว.เกษตรและสหกรณ์ และ รมว.อุตสาหกรรม ...แสดงความวิตกกังวลว่า ที่นายกฯ สั่งการจะให้ส่งแผนงานนั้น ขอเป็นส่งการบ้านวันจันทร์ที่ 24 ต.ค.ได้หรือไม่ อย่างไรก็ตาม นายกฯ ไม่ยอม พร้อมทั้งกำชับว่า อย่างน้อยทุกกระทรวงต้องส่งภายในเที่ยงวันศุกร์ที่ 21 ต.ค.นี้ แม้ว่าแผนจะไม่เสร็จทั้งหมด แต่นายกฯ จะขอเท่าที่ทำได้มากที่สุด ส่วนการแก้ปัญหาระยะยาวก็อนุโลมให้ส่งวันจันทร์ได้ มีรายงานด้วยว่า .. รองนายกฯและ รมว.พาณิชย์ กล่าวกับ ครม.ด้วยสีหน้าเคร่งเครียดและมีน้ำตาคลอเบ้า จนรัฐมนตรีที่นั่งข้างๆ แซวว่า “อย่าร้องไห้นะ”... “ดังนั้นเราต้องสร้างอะไรขึ้นมาเพื่อสร้างความเชื่อมั่นก็ต้องทำแล้ว จะกู้เงินเท่าไหร่ก็ต้องกู้” ... ภาคอุตสาหกรรมสูญเสียมาก และกอบกู้ได้ยาก แต่หลังน้ำลดแล้วเราจะทำอย่างไร โรงงานต่างๆ ควรอยู่ที่เดิมหรือย้ายไปไหน เราจะต้องมีแผนไปบอกเขาว่ารัฐบาลมีแผนในการแก้ปัญหาน้ำท่วมระยะยาวอย่างไร ตอนนี้โรงงานต่างๆ เขาก็มาถามตนว่าแล้วจะทำอย่างไร รวมทั้งโรงงานที่น้ำยังไม่ท่วมจะต้องทำแนวป้องกันอย่างไร ซึ่งเราจะต้องไปพูดคุยทำความเข้าใจและมีแนวทางออกมาเพื่อให้ผู้ประกอบการเกิดความเชื่อมั่น ส่วน รมว.ยุติธรรม ... บรรดาโรงงานต่างๆ ก็มีติดต่อมาที่ตนบ้างเหมือนกัน ซึ่งก็ไม่รู้เหมือนกันว่าต้องไปคุยกับใคร ตอนนี้มีโรงงานติดต่อมาที่ตนเพื่อขอพื้นที่ 2.5 หมื่นตารางเมตร เพื่อที่จะขนย้ายเครื่องจักรมาเก็บรักษาไว้ ซึ่งต้องเป็นพื้นที่สูง น้ำไม่ถึง และมีระบบจัดการที่ดี ไม่ทำให้เครื่องจักรเขาเสียหาย รมว.อุตสาหกรรม พูดขึ้นมาว่า ทำไมโรงงานเหล่านั้นถึงไม่ติดต่อมาที่ตน ทั้งที่ตนก็เตรียมการไว้แล้วว่าจะใช้รถของทหาร ขสมก. หรือรถของกระทรวงคมนาคมไปขนย้าย [นายกฯ]แย้งขึ้นว่า อย่าไปยึดติดว่าจะรถของหน่วยงานของรัฐหรือไม่ เพราะหากระบบการขนย้ายไม่ดีอาจทำให้ความเสียหายมากขึ้นอีก ถ้าจำเป็นต้องจัดจ้างเอกชนที่เป็นมืออาชีพในการขนย้ายก็ทำไปเถอะ เพราะแค่นี้โรงงานต่างๆ เขาก็เสียหายหนักอยู่แล้ว ขอฝากกระทรวงพาณิชย์ช่วยไปหาข้อมูลว่ามีบริษัทใดเป็นมืออาชีพในการขนย้ายเครื่องจักรขนาดใหญ่ ถ้าดีที่สุดก็ให้ไปถามทางโรงงานว่าใครเป็นคนขนย้ายเครื่องจักรให้ตอนซื้อมา ทางรัฐบาลยินดีออกค่าใช้จ่ายในการขนย้ายให้...

 

There are some 400 (foreign) factories that could be looking at this offer "ทางรัฐบาลยินดีออกค่าใช้จ่ายในการขนย้ายให้" and some 14,000 other (Thai) factories could be asking for "equal offer" from the government too. This offer is "luckily" only a discussion in a cabinet meeting -- not an official government undertaking. This offer obviously has not been costed. What is a definition of a 'move'? From disassembling, transporting and reassembling at new location? In a loose definition, relocation of the whole factory could be deemed a 'move' of machinery -- thereby a lot (hundreds billions baht) of taxpayers' and borrowed money could be committed because our cabinet had 'spoken' before 'costing'.

Thailand Flood Symphony 2554 is being listened around the world. Most people so far don not like the way it is orchestrated.

สวัสดีค่ะ sr

มาเรียนรู้ และ...

ตามมาขอบคุณที่ให้ข้อเสนอแนะเรื่องต่างๆเสมอมา

As at today (1 December 2011) flood water is going down.

But the symphony just enters "part two".

The emphasis is now on "D minor" (read it in Thai --Dee Hmai Hnor?--). Many instruments that have played out of tune, will now come under the conductor's baton.

Keep watching, the music and the change of mood will astound you. And 'part three' may be cut in as an overture any time.

Another bar of Flood Symphony is played 'out of tune'?

A news report: ตบตาเยียวยา เหมาจ่าย5พัน โวยคลีนนิงเน่า ข่าวหน้า 1 http://www.thaipost.net/news/061211/49207 6 ธันวาคม 2554 

"...ได้รับหนังสือประทับตราด่วนที่สุด ที่ กค 0406.3/ว.130 ลงวันที่ 28 พ.ย. จากผู้หวังดี ... รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ส่งถึงอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เนื้อหาเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.2551 ที่แก้ไขเพิ่มเติมแทนฉบับปี 2546 ซึ่งในระเบียบดังกล่าวมีการระบุการจ่ายเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ให้ปฏิบัติหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข และอัตราการช่วยเหลือต่างๆ ตามสิทธิ์ของผู้ประสบภัย
   ... ในเอกสารได้ระบุถึงสิทธิ์และการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยไว้ชัดเจน เช่นข้อ 5.1.1 ค่าอาหารจัดเลี้ยงผู้ประสบภัย มื้อละไม่เกิน 30 บาท/วัน/คน และช่วยเหลือถุงยังชีพไม่เกินชุดละ 500 บาท/ครอบครัว 5.1.2 ค่าเครื่องครัวและอุปกรณ์ในการประกอบอาหาร เท่าที่จ่ายจริง ครอบครัวละไม่เกิน 3,500 บาท โดยเฉพาะสิทธิ์ที่จะได้รับการเยียวยาในข้อ 5.1.4 ที่ระบุว่า "ค่าวัสดุซ่อมแซมที่อยู่อาศัยประจำ ซึ่งผู้ประสบภัยเป็นเจ้าของที่ได้รับความเสียหายบางส่วน และที่อยู่อาศัยของพระภิกษุสามเณรในวัดที่ได้รับความเสียหายบางส่วน เท่าที่จ่ายจริงหลังละไม่เกิน 20,000 บาท
    "ปภ.ไม่มีการพูดถึงระเบียบหรือสิทธิ์ที่ผู้ประสบภัยน้ำท่วมจะได้รับเลย มีเพียงบางจังหวัดที่มีการจัดงบประมาณให้กับผู้ประสบภัยบางรายเท่านั้น ส่วนในข้อ 5.1.5 เป็นค่าชดเชยให้บ้านที่เสียหายทั้งหลังแต่ไม่เกิน 30,000 บาท นอกจากนี้ ในข้อ 5.1.6 ยังระบุให้มีการชดเชยค่าวัสดุซ่อมแซมยุ้งข้าว โรงเรือนสำหรับเก็บพืชผล และคอกสัตว์ที่ได้รับความเสียหายบางส่วน เท่าที่จ่ายจริงครอบครัวละไม่เกิน 3,000 บาท ข้อ 5.1.6 ค่าวัสดุยุ้งข้าว คอกสัตว์ที่เสียหายทั้งหลัง จ่ายไม่เกิน 8,000 บาท"
    ... ข้อ 5.1.10 กรณีที่ผู้ประสบภัยพิบัติเช่าบ้านเรือนของผู้อื่น และบ้านเช่าเสียหายจากภัยพิบัติทั้งหลัง หรือเสียหายบางส่วนจนอยู่อาศัยไม่ได้ ให้ช่วยเหลือเป็นค่าเช่าบ้านแก่ผู้ประสบภัยพิบัติ เท่าที่จ่ายจริงในอัตราครอบครัวละไม่เกินเดือนละ 1,500 บาท เป็นเวลาไม่เกิน 2 เดือน  หรือข้อ 5.1.11 ที่ระบุว่า ค่าดัดแปลงสถานที่สำหรับเป็นที่พักชั่วคราว เท่าที่จ่ายจริงครอบครัวละไม่เกิน 2,000 บาท หรือค่าสร้างที่พักชั่วคราว เท่าที่จ่ายจริงครอบครัวละไม่เกิน 4,000 บาท หรือค่าผ้าใบ ผ้าพลาสติกสำหรับใช้กันแดด กันฝน และป้องกันอุทกภัย เท่าที่จ่ายจริงครอบครัวละไม่เกิน 800 บาท ข้อ 5.1.13 ที่ให้สิทธิ์ผู้ประสบภัยพิบัติได้รับค่าเครื่องนุ่งห่ม คนละ 2 ชุด เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 1,000 บาท ในกรณีที่ผู้ประสบภัยพิบัติเป็นนักเรียนหรือนักศึกษา ให้จ่ายค่าเครื่องแบบตามแบบของสถานศึกษาได้อีกคนละ 2 ชุด เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 1,000 บาท เป็นต้น
    "ทั้งหมดเป็นแค่น้ำจิ้มของรายละเอียด ที่ทางกระทรวงการคลังได้ส่งบันทึกแบบวิธีปฏิบัติในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินให้กรม ปภ. ซึ่งมีหน้าที่หลักในการดูแลรับผิดชอบช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบอุทกภัย แต่ถามว่าที่ผ่านมาชาวบ้านที่ตกระกำลำบากน้ำท่วมเป็นแรมเดือน ทั้งในต่างจังหวัดและ กทม.ที่ถูกประกาศเป็นพื้นที่เขตภัยพิบัติ เขารู้สิทธิ์ รู้ว่าภาครัฐจะช่วยเหลือชดเชยเยียวยาให้ชาวบ้านหรือไม่ ไม่มีการพูดถึง ไม่มีการแจ้งสิทธิ์ให้ชาวบ้านรู้เลย จึงไม่แปลกใจที่หลายหน่วยงาน หลายองค์กรเอกชนจะออกมาให้ข่าวว่า จะมีการรวมตัวฟ้องร้องภาครัฐในการชดเชยเยียวยา เพราะการเหมาจ่ายให้แค่หลังละ 5,000 บาทในพื้นที่ภัยพิบัติ ไม่เพียงพอต่อความเสียหายของทรัพย์สินและการดำรงชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป

We have a serious question to ask here. "Should government operate --by the laws (they have made)--?"

Not providing "due services" amounts to "negligence" or worse "misconception or fraud". Any government that does not operate in compliance with the laws should be replaced with one that does.

The Flood Symphony is played in D minor ;-)

I agree with you.It was the worst Symphony I've ever seen.I expressed sympathy for many people who suffered from the flood.

Now we hear the parody from many small instruments:

"...ศูนย์ข่าวสารนโยบายสาธารณะ (www.thaireform.in.th) รายงานว่า พื้นที่ที่อาจจะถูกใช้เป็นพื้นที่แก้มลิงตามแผนของ กยน.ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ภาคกลาง โดยเฉพาะพื้นที่เขตเจ้าพระยาตอนบนจะมีแก้มลิงขนาดใหญ่ 5 แห่ง ได้แก่ บึงบอระเพ็ด-ชุมแสง, ชุมแสง-เก้าเลี้ยว-อำเภอเมืองนครสวรรค์, ตะพานหิน-บางมูลนาก-โพทะเล, อำเภอเมืองพิจิตร-อำเภอโพธิ์ประทับช้าง และอำเภอบางกระทุ่ม

ส่วนเขตเจ้าพระยาตอนล่างมีแก้มลิงอีก 5 แห่ง คือ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยามีพื้นที่อำเภอบางบาล 1-ป่าโมก-ผักไห่, ผักไห่-บางยี่หน, บางบาล 2 ดอนพุด-มหาราช, ภูเขาทอง-บางปะหัน, ส่วนจังหวัดอ่างทองมีพื้นที่อำเภอ ไชโย-บ้านแพรก และอ่างทองฝั่งตะวันตก ถือเป็น 10 พื้นที่ที่คาดว่า จะต้องเสียสละให้เป็นพื้นที่ สำหรับทำแก้มลิงเพื่อบรรเทาอุทกภัย ... ตอนนี้คนในพื้นที่ที่ยังไม่ได้รับความชัดเจนจากรัฐบาลว่า หากต้อง เสียสละให้ใช้พื้นที่แล้ว พวกเขาจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร โดยเฉพาะช่วงนี้อยู่ในฤดูเพาะปลูก..."

"...รัฐบาลควรสร้างความเชื่อมั่นให้คนริม 2 ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาว่า หากจะต้องรับน้ำนองเราจะอยู่สร้างอย่างไร โดยต้องรีบเตรียมการและรีบบริหารจัดการ เพราะในไม่ช้าน้ำก็จะมา ซึ่งรัฐบาล ต้องใช้มาตรฐานเดียวกับที่สร้างความเชื่อมั่นให้กับนิคมอุตสาหกรรม ทั้ง 7 แห่ง ที่ให้งบประมาณในการยกคันดิน สร้างพนังกั้นน้ำ ทั้งที่พวกเขาเหล่านั้นเป็นชาวต่างชาติ รัฐบาลกลับดูแลดี ตรงกันข้ามกลับจะให้ชาวบ้านที่เป็นเจ้าของประเทศเสียสละด้วยการถูกน้ำท่วม..."

Source: [email protected]
วันที่ 20/2/2012 http://www.naewna.com/news.asp?ID=301850

* ได้อ่านข่าวศ.นพ.เทพพนม เมืองแมน เตือนภัยในปี 2555 ว่าจะเกิดอุทกภัยร้ายแรงยิ่งกว่าปีก่อน เป็นวิกฤตน้ำท่วมจากทะเล ที่มีผลจากน้ำแข็งขั้วโลกละลายเพราะโลกร้อนขึ้นมาก ครั้งนี้ประเทศไทยจะจมน้ำเป็นบริเวณกว้างมาก แผนที่รูปขวานจะเหลือเพียงภาคเหนือและอิสานเท่านั้น (ข่าวไทยรัฐออนไลน์ 19/2/2555)

* ไม่ได้ตื่นข่าว..แต่ในสถานะการณ์ที่เลวร้ายอย่างนี้ หากเกิดขึ้นจริง ทุกคนควรร่วมมือกันอย่างไรในการเตรียมแผนเอาตัวรอดโดยสมประโยชน์กับทุกฝ่าย..

สวัสดีครับ คุณนงนาท Ico48

  We know, predicting weathers well ahead of time is still a 'black art'. We have experienced extreme weathers all over the world recently. There are more intense rains, higher tides, stronger storms and "strange" weather events. Yes, it is better safe than sorry.

People individually will try to protect their lives and their properties the best way they can. Doing so may create more chaotic conditions and more severe danger for other people nearby or down-stream. Higher level management to provide safety and protection of lives and properties in much wider areas would be more economical and more effective. This is the task for กยน to draw on experts and draw up solutions for government to implement.

I really wish that government would show and explain a plan to manage future floods (and droughts) so that we may trust their words again. The mere "เอาอยู่" is not good enough anymore.

Now we know what the "plan for future flood management" is from
ช็อค!ครม.อนุมัติงบ2.4หมื่นล.ป้องน้ำแบบไร้รายละเอียด
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ ธุรกิจ วันที่ 14 มีนาคม 2555 00:02
...
ครม.อนุมัติงบ 246 โครงการเร่งด่วน คมนาคม แก้ปัญหาน้ำท่วม 2.4 หมื่นล้าน แบบไร้รายละเอียด อ้างไม่ทันน้ำหลาก...

[Sorry, folks! ;( As it said, no details of this "music" have been written, the musicians just have to play it and get paid.

  There are some 2,000 newly registered construction companies last month. They are ready to play the chorus ;-) Most are with set up capital of 1-2 million baht. we will soon see how many of these companies get building contracts.]

เปลว สีเงิน (of Thaipost) suggested that we should look at this:

[๓.๕ แสนล้าน "ของมัน" ก้อนแรก](http://thaipost.net/news/260213/70132) :
ไทยพีบีเอสออกเป็นข่าวช่องเดียว ผมว่าสำคัญมาก แต่เป็นความสำคัญที่ "ไม่ถูกใจ" รัฐบาลเอามากๆ เพราะอะไร...ลองฟัง
  "แผนสิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่รัฐบาลไทยมีแผนจะสร้างถึง ๑๐ โครงการ มูลค่า ๓.๕ แสนล้านบาทนั้น อาจไม่จำเป็นต้องสร้างทุกโครงการ เพราะสามารถใช้มาตรการที่ไม่ใช่สิ่งก่อสร้างทดแทนได้ เช่น สนับสนุนให้ชุมชนในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาปรับตัวให้อยู่กับน้ำได้โดยไม่เดือดร้อนเมื่อน้ำท่วม
  รัฐบาลไทยควรบริหารจัดการน้ำในเขื่อนใหญ่ ๒ เขื่อนในลุ่มเจ้าพระยา แก้ปัญหาน้ำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเป็นหลัก ร่วมกับการปรับปรุงขุดลอกแม่น้ำเจ้าพระยา สร้างทางระบายน้ำหรือฟลัดเวย์เพิ่มขึ้นบริเวณอยุธยา และขยายคันกั้นน้ำตามแนวพระราชดำริทางฝั่งตะวันออกของ กทม. สามารถแก้ปัญหาน้ำท่วมได้ โดยงบประมาณก่อสร้างจะลดลงได้ถึงร้อยละ ๗๐"
  ร้อยละ ๗๐ นั่นแค่แสนล้านก็เหลือแล้ว!
  แต่...นายปลอดประสพไม่ต้องการให้เหลือ ยังไงก็จะต้องสร้างครบทั้ง ๑๐ โมดูล ถลุงให้หมดทั้ง ๓.๕ แสนล้าน!
  ครับ...ก็คอยดูเขา โครงการ ๓.๕ แสนล้านนี้ รัฐบาลไม่รู้ซักอย่างว่า ต้องทำอะไร-แบบไหน-แค่ไหน-ตรงไหน รู้อยู่อย่างเดียวเรื่องเงิน กูต้องใช้ ๓.๕ แสนล้าน และในความไม่รู้อะไรทั้งสิ้นนั้น
  ทะลึ่งจะออก TOR วงเงิน ๓.๕ แสนล้าน!?
  ผมบอกได้เลย ๓.๕ แสนล้าน วอดวายแน่ แต่การก่อสร้าง ๑๐ โมดูล ที่หมายมั่นปั้นยัดกันนั้น จะ "ทิ้งร้าง-ทิ้งคา" น้ำมาก็ท่วมทั้งโครงการ-ทั้งคนเหมือนเดิม
  ก็จะทำได้ไง...สิ่งแวดล้อมก็ยังไม่ผ่าน ชาวบ้านในพื้นที่ก็ยังไม่ตกลง จะเอาพื้นที่ที่ไหนไปมอบให้เขาตอนลงมือได้ล่ะ...?
  แต่ถึงตอนนั้น พวก อี-อ้าย มันสบายไปแล้ว!.

มหาวินาศ  (จาก ป.ปฏัก) [ไทยโพสท์] ถูกทุกข้อ 24 June 2556
http://www.thaipost.net/news/240613/75457
... คำถามหลักๆ ไม่ได้รับคำตอบชัดเจน เช่น
  - ทำไมต้องขอเงินเร่งด่วนทั้งๆ ที่ยังไม่มีโครงการและไม่ผ่านการของบประมาณตามปกติ (ซึ่งการใช้จ่ายจะต้องมีกฎเกณฑ์และตรวจสอบได้)
  - ทำไมไม่ทำตามข้อเสนอของญี่ปุ่นซึ่งมีวงเงินแสนล้านเศษ   
  - ทำไมไม่มีคำตอบสำหรับคำถามหลักๆ ของการทำงานทุกงาน เช่น ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร ใช้เวลาเท่าไร หวังผลอย่างไร วัดผลอย่างไร เป็นเงินเท่าไร จ่ายเงินค่างานอย่างไร ฯลฯ
  - ทำไมไม่มีการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและปัญหากรรมสิทธิ์ที่ดินของประชาชนก่อน เพราะเป็นอุปสรรคสำคัญที่อาจทำให้งานหยุดชะงักหรือล่าช้าได้ กรณีสร้างสถานีตำรวจเมื่อไม่นานมานี้เป็นตัวอย่างที่ดี ทางการไม่สามารถมอบพื้นที่ให้ผู้รับเหมาเข้าทำงานได้ งานไม่สำเร็จตามเป้าหมายและมีการฟ้องร้องกันอยู่ โดยไม่อาจคาดเดาได้ว่าจะเสร็จเมื่อใด
  - ทำไมบริษัทญี่ปุ่นและบริษัททีมเอนจิเนียริ่งของไทยจึงถอนตัว
  - ทำไมผู้ประมูลได้ในจำนวนเงิน ๒๙๐,๙๓๐ ล้านบาทจากวงเงิน ๒๙๑,๐๐๐ ล้านบาท ผิดกันเพียง ๗๐ ล้านบาท
  - ทำไมมีผู้เข้าประมูลเพียง ๖ เจ้า คืออิตัลไทยร่วมทุนกับบริษัท Power China บริษัท K Water (จากเกาหลี ซึ่งเคยมีข่าวว่าไม่ใช่บริษัทก่อสร้าง) กลุ่มบริษัทร่วมค้าล็อกซเล่ย์  และกิจการร่วมค้าซัมมิท เอสยู การประมูลในแต่ละโมดูลมีผู้แข่งขันเพียง ๒ เจ้า แสดงว่าเนื้องานมีมากกว่าผู้เข้าประมูล ก็เท่ากับแบ่งงานกันโดยไม่ได้แข่งขันกันจริง...

เควอเตอร์หนี้ท่วม! ฉีกหน้ากากบริษัทประมูลฟลัดเวย์-ซูเอี๋ยแบ่งเค้ก
http://www.thaipost.net/news/260613/75569 [ไทยโพสต์] ข่าวหน้า 1  26 June 2556
 ...นักสิ่งแวดล้อมแดนกิมจิแฉ “เค วอเตอร์” เคยทำแต่โครงการเล็ก ไม่เชื่อมือสร้างฟลัดเวย์หรือแก้มลิงกว่าล้านไร่ได้ สุดมึน! คนเกาหลียังไม่รู้ว่าชนะโครงการ เพราะบริษัทมีหนี้ท่วมถึง 700% สงสัยรัฐบาลไทยมีอะไรซ่อนเร้นจึงประเคนเค้ก 1.63 แสนล้านบาทให้ ตุลาการผู้แถลงคดีชี้รัฐบาลต้องรับฟังความเห็น(ประชาชน)ก่อนลงนามสัญญา...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท