เรียนรู้จากประชุมภาคีราชการ


สร้างคุณค่าอันมหาศาลในการเรียนรู่ เพื่อปรับใช้ และสิ่งที่สำคัญปรับให้ตรงกับจริตของคนในองค์กร เพื่อการทำงานที่สร้างสรรค์

 

    ในวันที่ 17 สิงหาคม 2549 ที่ผ่านมา จ๊ะจ๋าได้ติดตามเข้าไปร่วมประชุมภาคการจัดการความรู้ ภาคราชการ ซึ่งครั้งนี้ก็ครั้งที่ 4 แล้ว และจัดโดย ม. สุโขทัยธรรมาธิราช  ซึ่งในการประชุมวันนี้มีเพียงวาระเดียวคือ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประสบการณ์จากการดูงาน KM 4 องค์กร ของประเทศญี่ปุ่น  นำเสนอโดยคุณพรทิพย์  สุวานิโชและคุณสุวรรณา  เอื้อสิทธิชัย  จากสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ

สิ่งที่ได้เรียนรู้ครั้งนี้คือ

  •  4 บริษัทได้แก่ Eisai, Fukoku, Sony, Nissan มีการทำ KM ที่เนียนลงไปในเนื้องาน และใช้ “SECI Model” ในการทำงาน
  • ทุกบริษัทมีเป้าหมายที่ชัดเจนในการทำงาน ซึ่งในแวดวงธุรกิจก็ย่อมมุ่งเป้าไปที่ผลประกอบการ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การที่พัฒนางานขององค์กรไปสู่สุดยอดของวงการธุรกิจในแต่ละด้าน เค้าทำอย่างไร เรามาดู how to? เพื่อปรับใช้ในองค์กรของตน ซึ่งมีบริบทที่ต่างออกไป
  • พนักงานมีส่วนร่วมในการคิด สร้างสรรค์ผลงานให้กับองค์กร ด้วยบรรยากาศที่เปิดใจ
  • วัฒนธรรมการทำงานของคนญี่ปุ่นมักมีความมุ่งมั่น พูดคุยแบบตรงไปตรงมา ผิดก็ต้องเป็นผิด เอาข้อผิดพลาดมาวิเคราะห์และปรับปรุง และเป็นการมองหาแนวทางใหม่ๆ  และยึดถือเป็นบทเรียนที่สำคัญ เป็นสิ่งที่มีคุณค่าที่ทุกคนจะต้องช่วยกันแก้ไข เอาความผิดพลาดมาคุยกันเพื่อพัฒนา  สร้างสรรค์ ต่อยอดงาน ต่อไป….ซึ่งอาจจะต่างกับวัฒนธรรมการทำงานของคนไทยที่ไม่ยอมรับความผิดพลาดมาสร้างสรรค์งาน
  • มีความรู้มากขึ้นจากการนำเสนอว่า บะ (BA) คือพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Sharing space)  ซึ่งบริษัทเอกชนญี่ปุ่นได้จัดพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้ได้สัดส่วนและใช้ประโยชน์คุ้มค่าที่สุด และหนึ่งในการนำเสนอคือ การใช้โต๊ะประชุมรูปสามเหลี่ยม เพื่อเปิดโอกาสให้คนได้พูดคุยแบบอิสระ ไม่เครียด ซึ่งมีบรรยากาศแบบไม่เป็นทางการ ได้พบหน้ากันตรงๆ เรียกว่าเป็น Ice break  ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้เกิดการสร้างสรรค์ผลงาน
  • คุณอำนวยมีส่วนสำคัญอย่างมากในกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และในวงการประชุมประจำวัน หรือประจำสัปดาห์ เช่น บริษัท Sony ใช้ Facilitator นำประชุม แทนที่จะเป็น Project Leader  ซึ่งเป็นคนกลางในการประสานงาน การซักถามของ Facilitator เป็นการกระตุกความคิด กระตุ้นความรู้สึกให้เกิดการสร้างสรรค์ได้เป็นอย่างดี
  •  หลัก Think big, start small, act now  เป็นสิ่งที่  4 บริษัทของญี่ปุ่นใช้ในการทำงาน

     คุณพรทิพย์  สุวานิโชและคุณสุวรรณา  เอื้อสิทธิชัย  จากสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ได้สะท้อนจากการดูงานว่า 

  • แต่ละธุรกิจมีเป้าหมายในการทำงานที่ชัดเจน โดยใช้ KM
  • มีความสัมพันธ์ในการเรียนรู้
  • วัฒนธรรมองค์กรที่เข้มแข็ง
  • มีภาวะผู้นำ
  • ได้รับความร่วมมือจากพนักงาน ถือเป็นส่วนที่สำคัญ
  • ใช้ Slogan ของแต่ละบริษัทดึงให้พนักงานในองค์กรเดินทางไปด้วยกัน เข้าใจในทิศทางเดียวกัน มีดังนี้

Eisai : hhc - human health care มุ่งมั่นสู่นวัตกรรมใหม่ เพื่อสร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้าและชุมชน โดยมีแนวทางปฏิบัติคือ การฟังเสียงลูกค้าและชุมชน

Fukoku : Fukoku Ishin การเปลี่ยนแปลงหรือนวัตกรรม โดยการสร้างพฤติกรรมในการแบ่งปันความรู้และนำไปใช้ประโยชน์ รวมทั้งสร้างแหล่งความรู้ที่สำคัญ

Sony : Kadai Barashi วิเคราะห์ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นเพื่อมองหาแนวทางใหม่ และจัดเก็บบทวิเคราะห์นั้นไว้ในฐานข้อมูล เพื่อเป็นคลังความรู้ในกระบวนการออกแบบต่อไป

Nissan : Change the way we work, Change the way we work ourselves

    และบทสรุปสุดท้ายที่น่าสนใจที่ ดร. ประพนธ์ ผาสุขยืดกล่าวคือ    4 บริษัทญี่ปุ่นทำ KM โดยไม่ติด และ ราชการไทยไม่ทำ KM แต่ติด KM คงจะบอกถึงความนัยที่เรียกเสียงฮือฮาได้ไม่น้อยคะ

    และจากการเข้าร่วมครั้งนี้ ทำให้ไม่แปลกใจเลยที่ญี่ปุ่นเป็นเจ้าแห่งความคิดสร้างสรรค์ มีความคิดที่พัฒนาและต่อยอดได้อย่างน่าชื่นชม เพราะการมีวัฒนธรรมในการทำงาน และการกล้านำความผิดพลาดเป็นคลังความรู้ล้ำค่าในการพัฒนางาน  ในที่สุดก็เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายหลักขององค์กร

หมายเลขบันทึก: 45240เขียนเมื่อ 18 สิงหาคม 2006 19:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เวทีเดียวกัน ช่วยกันสะท้อนและสรุป...ครับ

http://gotoknow.org/blog/buildchumphon/45266

เวทีเดียวกันและเป็นแง่มุมมองที่น่าสนใจ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท