KM ที่รัก ตอนที่44 " ข้อได้เปรียบ และข้อจำกัดของวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ"


" อะไรคือวิจัยเชิงคุณภาพ"
                 การจะตอบคำถามว่า อะไรคือวิจัยเชิงคุณภาพ คงไม่ง่าย..  ก่อนอื่นควรที่จะทำความเข้าใจกับคำสำคัญ สองคำ ที่นักวิจัย โดยเฉพาะนักวิจัยเชิงคุณภาพ   ต้องให้ความสำคัญอย่างมาก คือ  แนวทางการวิจัย( research  approach) กับวิธีการวิจัย ( research  methods)    คำแรก แนวทางวิจัย  เป็นมโนทัศน์ที่   หมายถึงลักษณะหรือแนวทางในการทำวิจัย ซึ่งจะต้องอยู่บนพื้นฐาน ของการมองโลกเชิงประจักษ์ ว่าอะไรคือความจริง อะไร คือความจริงแท้ อะไรคือความรู้  แล้วนักวิจัยจะเข้าถึง ความจริง และความรู้ได้อย่างไร     คำที่ สอง คือ วิธีการวิจัย  เป็นเรื่องของเครื่องมือ,วิธีการที่จะทำวิจัย ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล   หรือเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูลก็ตาม                    แนวทางวิจัยและวิธีการวิจัย มีความเกี่ยวโยง สัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด  และแนบแน่นโดยหน้าที่  คือในส่วนของ  แนวทางวิจัย  เป็นส่วนชี้นำว่าข้อมูลการวิจัยควรเป็นอย่างไร  เมื่อนักวิจัยรู้ว่าข้อมูลเป็นอย่างไร แล้ว ก็จะสามารถกำหนดวิธี หรือ เครื่องมือที่เหมาะสม  สำหรับใช้เก็บและจัดการข้อมูลได้   (ชาย  โพธิสิตา : 2549   ซึ่งวิจัยเชิงคุณภาพ จะอิงกับแนวทางดำเนินการ แบบอุปมัย( inductive)  มากกว่า จะเป็นแบบนิรมัย(deductive)    การวิจัยเชิงคุณภาพ มีคนให้คำนิยามไว้ไม่น้อย  คงต้องยกตัวอย่างมา เพื่อความเข้าใจที่ชัดเจนมากขึ้น เพื่อที่จะช่วยกันหาคำตอบว่า อะไรคืองานวิจัยเชิงคุณภาพ????..                        นิยามแรก เป็นนิยามของ    John   W. Creswell ( 1998:15 )   เขากล่าวว่า การวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นกระบวนการค้นคว้า วิจัยเพื่อหาความเข้าใจ บนพื้นฐานของระเบียบวิธี  อันมีลักษณะเฉพาะที่มุ่งเน้นการค้นคว้าประเด็น ปัญหาทางสังคม  หรือปัญหาของมนุษย์   ในกระบวนการนี้ นักวิจัยสร้างภาพ  หรือ ข้อมูลที่ซับซ้อน เป็นองค์รวมวิเคราะห์ข้อความ รายงานทัศนะของผู้ให้ข้อมูล อย่างละเอียด และดำเนินการศึกษาในสถานการณ์ ที่เป็นธรรมชาติ

                          แนวคิดของ Jonhn   เน้นไปที่ ภาพหรือข้อมูลที่เป็นองค์รวมที่ซับซ้อน ซึ่งหมายถึง การบรรยายรายละเอียด ของสิ่งที่ศึกษา  เพื่อไห้ผู้อ่านมองเห็นประเด็นของสิ่งนั้นได้หลายด้าน

                           แนวคิดที่น่าสนใจอีกคนหนึ่งคือ แนวคิดของ  Denzin  and  Lincoln   ( 2000 : 3)   เขามองการวิจัยเชิงคุณภาพว่า . .เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้น ในสถานการณ์ ที่นักวิจัยเอาตัวเองเข้าไป  อยู่ในโลกที่เขาศึกษา    การวิจัยแบบนี้ ประกอบด้วยปฏิบัติการเก็บข้อมูล เพื่อตีความการแปรสภาพโลกหรือสิ่งที่นักวิจัยสังเกต ให้อยู่ในรูปของการนำเสนอ แบบต่างๆ ในระดับนี้  การวิจัยเชิงคุณภาพ อาศัยวิธีการที่เป็นธรรมชาติ  ตีความเพื่อเข้าถึงโลกที่ถูกศึกษา ความหมายในที่นี้ก็คือ  นักวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการศึกษาสิ่งต่างๆ ในสภาพที่ เป็นธรรมชาติ พยายามเข้าใจ ความหมายหรือตีความหมายปรากฏการณ์ต่างๆ ตามที่ประชาชนผู้ถูกศึกษาให้แก่ปรากฏการณ์เหล่านั้น                          แนวคิดของDenzin  and Lincoln    เน้นพิเศษอยู่  2 เรื่อง คือ การตีความหมายของโลกหรือสิ่งที่ศึกษา( interpretation)    และการใช้วิธีที่หลากหลายเพื่อการเก็บข้อมูลและการตีความ...เนื่องจากการตีความหมายย่อมแตกต่างกันไป  ผ่านมิติของผู้ตีความหมาย  ดังนั้นนักวิจัยจึงจำเป็นต้องใช้หลากหลายวิธีในการเก็บข้อมูล ในการตีความข้อมูล  เพื่อไห้ได้ความหมายที่สมบูรณ์..ครับ.
หมายเลขบันทึก: 45239เขียนเมื่อ 18 สิงหาคม 2006 19:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 13:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท