สัมมนาจัดการความรู้องค์กรการเงินชุมชน 22 ก.ย.49


งานวิจัย"การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาองค์กรการเงินชุมชน" ต้องการผลในทางปฏิบัติที่มาจากการใช้ความรู้ มิใช่ความรู้เพื่อเข้าใจ/เพิ่มปัญญาแก่ผู้สนใจใคร่รู้เท่านั้น จึงมีการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายที่จะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก

โครงการวิจัย การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาองค์กรการเงินชุมชน

เป้าหมาย

แก้ปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน โดยกระบวนการสร้างสังคมดี       คนมีความสุข

วัตถุประสงค์ของโครงการ

สร้าง/พัฒนา"ทุน"ชุมชนผ่านทางองค์กรการเงินชุมชนโดยกระบวนการจัดการความรู้เพื่อเอื้อให้ชุมชนเข้มแข็ง (ไม่แก้โดยตรงโดยการลงทะเบียนคนจนของรัฐบาล)

ทุนชุมชนประกอบด้วย

ทุนคน

พัฒนาให้เป็นคนเรียนรู้ มีคุณธรรม มีความมั่นคงในชีวิต(สวัสดิการ)

ทุนทางสังคม

ทำให้เกิดความไว้วางใจ การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เกิดสำนึกรักในชุมชน

ทุนกายภาพ

ที่ทำการ เงินทุน เทคโนโลยี ฯลฯ

ทุนทรัพยากร

นำ 3 ทุนข้างต้นที่ก่อรูปเป็นองค์กรการเงินชุมชนมาจัดการกับทุนทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนให้เกิดประโยชน์กับสมาชิกและชุมชน

มีการใช้ และพัฒนา"ทุน"ชุมชนให้หนุนเนื่อง เพิ่มค่าและเป็นประโยชน์แก่กันมากยิ่งขึ้น


ผมเห็นว่า นโยบายกองทุนหมู่บ้านของรัฐบาลเข้ามาใช้ทุนทางสังคม(องค์กรการเงินชุมชน)แก้ปัญหาหนี้สินนอกระบบเพื่อลดต้นทุนทางเศรษฐกิจของชาวบ้าน และแก้ปัญหาการขาดเลือด(เงิน)ไหลเวียนในระบบเศรษฐกิจโดยรวมโดยพยายามเชื่อมต่อกับทุนในระบบ ซึ่งจะเป็นผลให้ต้นทุนในการบริหารจัดการต่ำ เป็นประโยชน์กับทุกฝ่าย แต่การใช้ทุนทางสังคมโดยไม่คิดจะสร้าง/พัฒนา เป็นการทำลายทุนทางสังคม   ที่พอมีอยู่(ซึ่งเป็นฐานให้สามารถจัดตั้งกลุ่มขึ้นมาได้อย่างง่ายดาย)ให้หมดไป

ขบวนสัจจะเครือข่ายพระสงฆ์ เครดิตยูเนี่ยนและสวัสดิการของครูชบ เป็นกระบวนการสร้าง/พัฒนาทุนทางสังคมที่ผมอยากให้แพร่เข้าไปในส่วนของนโยบายและระดับปฏิบัติการโดยเฉพาะกับกองทุนหมู่บ้านซึ่ง เท่าที่ฟังมาคุณสันติ อุทัยพันธ์ ผอ.สทบ.คนล่าสุดมีฐานคิดเรื่องนี้พอสมควร(แม้ว่าจะโยงใยกับทุนทางสังคมเชิงอุปถัมภ์ในระบบการเมือง   ก็ตาม)

งานวิจัย"การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาองค์กรการเงินชุมชน" ต้องการผลในทางปฏิบัติที่มาจากการใช้ความรู้ มิใช่ความรู้เพื่อเข้าใจ/เพิ่มปัญญาแก่ผู้สนใจใคร่รู้เท่านั้น จึงมีการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายที่จะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก

ขบวนกองทุนหมู่บ้านมีผลต่อการสร้าง/พัฒนาหรือทำลาย"ทุน"ชุมชนอย่างกว้างขวาง งานวิจัยนี้จึงให้ความสำคัญกับกองทุนหมู่บ้านมาก โดยใช้นวัตกรรมที่คิดว่ามีพลานุภาพคือฐานคิดทำบุญและสัจจะสวัสดิการของพระสุบินและครูชบ รวมทั้งเครื่องมือจัดการความรู้เพื่อสร้างการเรียนรู้และการเปลี่ยนแปลงกับกองทุนหมู่บ้านซึ่งมีตัวอย่างจริงจาก 2 พื้นที่ เป็นแบบจำลองนำเสนอ

คงต้องรองานเขียนของแต่ละพื้นที่และงานสังเคราะห์ฉบับสมบูรณ์ที่กำลังจัดทำกันอยู่ ซึ่งจะจัดสัมมนาในวันที่ 22 ก.ย. 2549 ที่สกว.

แม้ว่างานนี้เป็นการเรียนรู้ของทีมงานทั้งหมดและของแหล่งทุนด้วย   จึงทำให้ทำได้อย่างมือสมัครเล่น

แต่ก็ไม่ควรเป็นข้ออ้างกับสังคมที่ลงทุนให้เป็นจำนวนมากจริงมั้ยครับ?

 

คำสำคัญ (Tags): #สัมมนา#22#ก.ย.
หมายเลขบันทึก: 39646เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2006 16:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ต้องนำความรู้ไปใช้จริง มิใช่นำความรู้ขึ้นหิ้ง เพิ่มความรู้ความเข้าใจ/เพิ่มปัญญาแก่ผู้สนใจใคร่รู้เท่านั้น เห็นด้วยเลยครับ ในโครงการแก้จนเมืองคอน เราเอาความรู้นี้มาปฏิบัติในหลายห้องเรียนแล้วครับ หากอาจารย์มีเวลาเยี่ยมห้องเรียนแก้จนบ้างนะครับ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท