254 : เมฆซีร์รัสก็มี 'ทรวงอก' (Mamma) ได้นะ จะบอกให้!


 

วันนี้อยู่บ้านพักผ่อน ระหว่างที่นอนอ่านหนังสือหน้าบ้านเพลินๆ

สายตาก็ซุกซนไปเห็นของดี (ที่หายาก) บนท้องฟ้าเข้า!

 

'ของดี' ที่ว่าคือ 'ทรวงอก' (Mamma) ของเมฆซีร์รัส

นี่ครับหลักฐาน

 

จ้องดูเมฆตรงกลางภาพนั่นนะครับ

ภาพต้นฉบับ  ภาพปรับแต่ง

 

ภาพต้นฉบับ   ภาพปรับแต่ง

 

อันว่าเมฆที่อาจมี 'ทรวงอก' หรือ เมฆแมมมา (Mamma) เป็นลักษณะเสริมได้ได้แก่

Stratocumulus, Altocumulus, Altostratus, Cirrus, Cirrocumulus และ Cumulonimbus

 

อย่างในกรณีนี้ ก็จะเรียกว่า Cirrus mamma

 

เมฆซีร์รัสแมมมา (Cirrus mamma) ภาพโดย  Markus Weggaesser
[ที่มา]

  

 


สนใจเมฆทรวงอก หรือเมฆแมมมา (Mamma)? อ่านบันทึกต่อไปนี้เพิ่มเติม...

 


หมายเลขบันทึก: 374056เขียนเมื่อ 11 กรกฎาคม 2010 18:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 10:50 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

น้องซิว สวัสดีครับ

สายตาซุกซน จังนะครับ

ผมเพิ่งทราบ ครับ

อุ๊ย!!

...

ดูแล้วมาชวน ...ไปเชียร์บอล คืนนี้ด้วย

ลูกกลม ๆ เหมือนกัน ครับ

...

เชียร์ เชียร์

 

 

สวัสดีค่ะ...ตรงไหนๆๆค่ะหาไม่เจอ...หรือตาไม่ดีอะคะ...กลางๆวะสั่น..

            

               

             แล้ว 2 ภาพนี้ ใช่ไหมค่ะ

สวัสดีค่ะ

ครูใจดีชอบมองเมฆ  แล้วจินตนาการไปต่างๆ นานา  ตามประสาเด็กบ้านนอกที่ไม่มีแสงสี ไม่มีทีวีดู  รู้ว่าเมฆสวยมาก มีเสน่ห์น่าค้นหา  คาดเดาไปว่า  เอ... เดี๋ยวมันจะแปลงร่างเป็นอะไรอีกน๊า!....  แต่ก็ไม่เค้ยไม่เคยอ่านตำราว่าเมฆซีร์รัส คืออะไร เป็นอย่างไร  ฮา.... คือดูรู้อย่างเดียวว่า "เมฆสวย" 

....ขอบคุณอาจารย์มากๆ ค่ะ ที่นำภาพเมฆแสนสวยมาฝาก แถมความรู้ที่ไม่เคยรู้อีกด้วย....

 

 

สวัสดีค่ะ

     มาชวนไปเยี่ยมบันทึกที่พี่น้องGTKได้เจอกันค่ะที่นี่นะคะ...http://gotoknow.org/blog/0815444794/373325

                                                             มาตายี

จะพยายามนำเมฆทางใต้ของประเทศไทยมาฝากชมรมฯ นะครับพี่ชิว

เมื่อวานผมเที่ยว สนมุทรปราการ แปดริ้ว เมฆสวยมากเเต่ยังไม่ได้นำมาลง

มีทั้งเเมมมาด้วย (ไม่เเน่ใจ) ที่เเน่ๆ เมฆอากาศดีที่ฝรั่งชอบ เบิกบาน เริงร่าครับผม

เอก

สวัสดีครับ

       พี่แสง : ตาซุกซนเฉพาะเมฆครับ แหะ แหะ

       น้องเทียนน้อย : ลองไปดูเรื่อง เมฆแมมมาทัส ดูสิครับ ^__^ - 052 : ชวนรู้จัก เมฆทรวงอก (Mammatus)

       อ.ขจิต : แหม หัวเราะดังจัง สงสัยถูกใจนะครับ ;-)

       พี่ดา : ภาพบนดูน่าสงสัยมาก คล้ายๆ แต่ไม่แน่ใจ มีภาพโดยรวมไหมครับ

 

สวัสดีครับ

        คุณ ครูใจดี : ถ้าเริ่มสนใจเมฆ ขอแนะนำ http://portal.in.th/cloud-lover ครับ

        อาจารย์ มาตายี : ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมครับ เดี๋ยวจะตาม link ไปทันที

        น้องเอก : ได้เลยๆๆ รอชมเมฆทางใต้ฝีมือเอก ต้องแจ่มแน่ๆ

        พี่ดานำภาพมาเรียงตามเวลามาให้ชมค่ะ

 

 

 

 

 

 

 

พี่ดา ขอบคุณมากครับ

         เข้าใจว่าน่าจะเป็นคิวมูลัสครับ แต่ทำไมกลมๆ จัง สงสัยๆๆ

ดูตามภาพ เวลาเช้า และแสงสีของอาจารย์กานดาในความเห้นที่ 10 แล้วผมว่า cirrocumulus ครับ ก้อนกลม ขาว ใส แดดส่องผ่าน บ่ายวันนั้น เมฆทวีมากขึ้นด้วยใช่มั้ยครับ

สวัสดีครับ

          เมฆของพี่กานดา ในภาพ 2 & 3 ดูจากขนาดต้นไม้ เหมือนว่าจะไม่ได้ซูมมากเท่าไร ซึ่งหากเป็น cirrocumulus น่าจะเล็กละเอียดกว่าในภาพครับ

ครับผม

แต่ยังไงก็ยังไม่พิจารณาถึง Cu เพราะต้องโดดเดี่ยวและกระจายกว่านี้

ส่งให้กูรูด้านตรวจอากาศท่านหนึ่งดู ท่านเห็นปุ้บตอบว่า Ac รหัส 6 (ภาษานักอุตุฯด้านตรวจอากาศนะครับ)

ยอมรับ Ac ครับอาจารย์

สวัสดีครับ

          ขอบคุณมากเลยครับ คงจะเป็น อัลโตคิวมูลัส Ac แน่

          ส่วน รหัส 6 นี่ ขอไปดูรายละเอียดหน่อย อิงตาม WMO ใช่หรือเปล่าครับ

          พอดีเห็น NWS/NOAA เรียก Middle Cloud แบบ 6 ว่า M6 อย่างนี้ แต่น่าจะเป็นคนละระบบกันครับ : http://www.srh.noaa.gov/jetstream/synoptic/m6.htm

ครับผิดพลาด ต้องเป็นรหัส 8 ครับ ใช้ระบบเดียวกัน ตอบเร็วจากความจำ ขออภัยไว้ ณ ที่นี้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท