รวมพลคนเขียน blog มอ.(ตอน 2)


จำนวนผู้เข้ามากๆ อาจทำให้ดูอบอุ่น แต่ไม่ตอบว่าจะได้ตามเนื้อหาคุณภาพที่ตั้งไว้

          หลังจากดิฉันได้เล่าว่าเขาคุยอะไรกันในวันนั้นใน ตอนที่1 วันนี้ของมองในมุมมองผู้จัด ประเด็นความหลากหลายของผู้เข้าร่วมโครงการส่งผลอย่างไรกับโครงการ วันนั้นกลุ่มผู้เข้ามี 4 กลุ่มคน คือ
             1.คนเขียน blog มาระยะหนึ่ง ซึ่งแบ่งเป็น 2 แบบในตัวเอง กลุ่มหนึ่งจะเข้าใจเจตนาของการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ของ gotoknow.org และพยายามทำตนเป็นตัวช่วยให้ gotoknow.org อย่างยั่งยืนอยู่ตามเจตนารมณ์เดิม  อีกกลุ่ม เข้ามาอ่าน เขียน ศึกษาผู้คน ไม่ได้มุ่งหวังจะได้อะไรมาพบโดยบังเอิญเห็นว่าน่าสนใจจึงแวะเวียน
            2.กรรมการ KM มอ.(ซึ่งเป็นผู้ใหญ่)และส่วนใหญ่เป็นผู้อ่านยังไม่ได้ลงมือเขียน (ตั้งใจจะให้ ร่วม train การใช้ blog v.2 ในช่วงบ่าย)
            3.คุณเอื้อของคณะ หน่วยงาน(ไม่เคยเข้า blog มาก่อน) 
            4.คนเขียนแลกเปลี่ยน ส่งข่าวในวง psu.km ใน มอ. ยังไม่เคยมาเขียนใน gotoknow.org    
     
         เดิมตั้งใจพูดคุยประเด็นร่วม "blog ขับเคลื่อนองค์กรได้อย่างไร"  ใน มอ.เท่าที่ดิฉันสังเกตุสังเกตจับตามอง ดิฉันรู้ได้ว่าคนที่เขียนมาสักระยะ จะเริ่มมีตัวตน มีรูปแบบการนำเสนอ มีการเชื่อมโยงเอาประสบการณ์จากการทำงานมาเขียนได้แล้ว (วิเคราะห์เฉพาะคนเขียน ในมอ.นะคะ) คนเขียนมือใหม่จะได้ประโยชน์จากการแลกเปลี่ยนจาก "คนเขียนติด" แล้วแปลงการเขียนของตนให้นำสู่การขับเคลื่อนองค์กรได้ (นี่เป็นการวางแผนของโครงการไว้ว่าจะให้เกิดประโยชน์จาก วง ในวันนั้น)
         2 ชั่วโมงในช่วงเช้า  คนที่เขียนจริงจะเป็นวัตถุดิบในการแลกเปลี่ยน มีไม่กี่คนส่วนคนที่ร่วมฟังจะเป็นผลพลอยได้ให้เกิดฮึกเฮิมใช้ blog เพื่อการขับเคลื่อนองค์กร
           2 ชั่วโมงในช่วงบ่าย จะเป็นการ train version 2  และเป็นช่วงผู้ใช้พบนักพัฒนาเพื่อสื่อสารสองทางให้เกิดความเข้าใจในเจตนา ของ v. 2 ที่ปรับเปลี่ยนไป พอสมควร ฟ้าเอื้ออำนวยให้มีคนมาเข้าร่วมโครงการ จำนวน 45 คน มากพอควร แต่มีความแต่งต่างกันในที่มา จาก 4 พื้นฐานที่กล่าวข้างต้น ทางผู้จัดเห็นหน้าเห็นตาแล้ว กังวลพอควร "กลัวจะพูดกันคนละภาษา" และแล้วก็เป็นจริง จากที่มุ่งจุดเน้นอยากให้แลกเปลี่ยนประเด็น "blog สามารถขับเคลื่อนองค์กรได้อย่างไร"  กลายเป็น "ท่านรู้จัก gotoknow ในมุมไหน อย่างไร" ได้ความตามที่ เขียนไว้ใน ตอน 1 แล้ว  บรรยากาศดำเนินไปแบบเรียกว่าไม่สะใจดิฉัน อันเกิดจากสถานการณ์ความต่างของกลุ่ม แต่ก็ดำเนินไปได้ในช่วงเช้าโดยมี "คนสายพันธ์นักจัดการความรู้" เป็นตัวช่วย ช่วยกันช่วยกันแบบ"ช่วยจันทร์ถูกราหูอม" เลยหล่ะค่ะ ไม่เชื่อถาม พี่เม่ย พี่โอ๋  อ.หมอปารมี และ  อ.จันทวรรณ คุณรัตติยา คุณตุมปัง ได้  ดิฉันสัมผัสได้ว่าเรารู้ว่าเราต้องช่วยกันให้เวทีนี้มีคุณค่า มีความสมบูรณ์ มีการ ลปรร.มากที่สุด เราช่วยกันโดยมิได้นัดกันล่วงหน้า สิ่งที่เกิดในวันนั้น เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ความเป็นตัวตน การยอมรับผู้อื่น ซึ่งสายสัมพันธ์ที่สร้างสรรสร้างสรรค์นี้ ก่อตัวขึ้นจากการที่ดิฉันติดตามความเป็นตัวตนของท่านที่เอ่ยนามจากการอ่านบันทึกใน blog โดยมิเคยรู้จักเป็นการส่วนตัวมาก่อน
         ช่วงบ่าย การ Train version 2  มีคนที่ติดภารกิจในช่วงเช้าตามมาสมทบ ไม่กังวลมากเพราะกลุ่มคนที่แตกต่างไม่ได้เป็นอุปสรรคซึ่งวางแผนว่าจะเป็นการเรียนรู้ ใน ห้อง lab คอมพิวเตอร์ โดยหมายมั่นว่าจะ Train V.2  เพื่อคนที่ควรเขียนจะได้ลงมือเขียน และเป็นส่วนหนึ่งในการสร้าง ตัวคูณ วิทยากร  แต่บรรยากาศไม่เป็นใจ เรามิสามารถ ใช้ lab คอมได้ เราต้องสอนกันโดยใช้ powerpiont แทนกลายเป็นปัญหาของผู้เข้าร่วม  ที่ไม่เคยใช้ blog มาก่อน ไม่สามารถเห็นภาพของเข้าใช้และไม่สามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่ง(in) กับคำถามที่ผู้ใช้สะท้อนต่อวิทยากร ทำให้ในแบบประเมิน สะท้อนว่า "ไม่ได้ประโยชน์อะไร เพราะตนเองไม่เคยใช้ ้blog มาก่อน" 

เป็นผลสัมพันธ์เชื่อมโยงมาจากการที่ผู้จัดโครงการไม่ตัดสินใจ  ไม่ตรวจเช็คอย่างดีพอให้คนที่คุณสมบัติไม่ตรงกับที่กำหนดไว้ เข้ามาในเวทีจำเพาะ เราควรแยกวัตถุประสงค์ที่จะประชาสัมพันธ์ ชักจูงเชิญชวนให้ประชาคมใน มอ.ของเราใช้ blog ออกจากการจัดในวันนั้น
ดิฉันเรียนรู้ว่า กลุ่มผู้เข้าที่ คุณสมบัติไม่ตรงเราไม่ควรรับ เราควรยืนยันตามความประสงค์ จำนวนผู้เข้ามากๆ อาจทำให้ดูอบอุ่นแต่ไม่ตอบว่าจะได้ตามเนื้อหาคุณภาพที่ตั้งไว้ทีหลังอย่ายอมให้แน่นด้วยจำนวนคน แต่ขอให้รักษาความแน่นในเนื้อหาสาระแทน 

และจากวันนั้นเอง ดิฉันแยกได้ว่า มีผู้ใช้ 2 ประเภท แบบอ่านติดตามคนเขียนจะไม่สนใจว่าจะเขียน เกี่ยวกับเรื่องอะไร ขอให้เป็น คนนี้หล่ะข้าพเจ้าจะขอตามอ่านทุกเรื่อง ทุกชาติ ทุกชาติไป อีกแบบจะติดตามอ่านตามเนื้อหา สาระเลือกอ่านตามความรู้ที่เกี่ยวกับงานของตัวเอง เชิญชมภาพบรรยากาศ ค่ะ  

<p align="justify"> </p>

คำสำคัญ (Tags): #การจัดโครงการ
หมายเลขบันทึก: 36462เขียนเมื่อ 2 กรกฎาคม 2006 00:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

     สนับสนุนความคิดพี่เรื่องปริมาณไม่ได้บ่งบอกคุณภาพครับ ตอนจัดเวที อสม.ติดดาว ที่เขาชัน ย้ำได้ชัดเจนอีกครั้งสำหรับผมว่า การคัดสรรคนคุณภาพเข้าร่วมแม้จำนวนน้อยเมื่อเทียบกับกิจกรรมที่ต้องจัดขึ้นแล้ว (คุณกิจมือฉมัง 21 คน) ผลที่ได้รับซึ่ง ณ วันนี้ อสม.เหล่านั้นได้มาขยายงาน ขยาย CoP กันเอง จนยิ่งใหญ่มาก
     คุณภาพมาก่อนปริมาณ เราจะไม่เหนื่อย แล้วที่สำคัญมองเห็นความยั่งยืนได้เลยครับ

เป็น AAR ที่ดึกที่สุดหรือเปล่าคะ คุณเมตตา เก็บส่วนที่ต้องปรับปรุงได้ดีมากเลยค่ะ

เขียนได้เหมือนมานั่งคุยอยู่ตรงหน้าอีกแล้วค่ะ คงต้องตามอ่านทุกรายงานการประชุมล่ะคราวนี้ เพราะรู้แล้วว่ารายงานได้เมื้อน...เหมือนในเหตุการณ์จริงๆค่ะ

ขอบคุณครับที่คลี่เหตุการณ์และข้อคิดออกมาอย่างแจ่มชัด อ่านแล้วได้ประโยชน์มาก ผมก็เคยพบผ่านสภาวะดังกล่าวมาบ้างแล้วเช่นกัน แม้ว่าจะเป็นคนละเรื่อง แต่แก่นความรู้คงเป็นอย่างเดียวกันคือ ปริมาณไม่ได้เป็นเครื่องบ่งบอกคุณภาพ อย่างที่คุณชายขอบว่า อ่านแล้วรู้สึกเหมือนคุณโอ๋ ที่ว่า "รายงานได้เมื้อน...เหมือนในเหตุการณ์จริงๆค่ะ" แต่ผมขอใช้ "ครับ"แทนนะ เดี๋ยวน้องชาย "ชายขอบ" จะหาว่าผมเป็น ... *** มีพิมพ์พลาดอยู่บ้างนะครับ เช่น .. เท่าที่ดิฉันสังเกตุ .. สายสัมพันธ์ที่สร้างสรร .. ค่าพิสูจน์อักษรไม่คิดครับ !

ตอนดิฉันนั่งพูดให้ฟังเรื่อง GotoKnow version 2 พูดไปก็เกร็งไปว่าผู้ฟังจะรู้เรื่องไหม ความท้อใจ ความหงุดหงิด ของผู้ที่คอยจะใช้ GotoKnow แล้วไม่ได้ใช้ ผู้ที่จะจัดอบรม แล้วไม่ได้อบรม ต่างๆ นาๆ ...

แต่รู้สึกดีขึ้นเมื่อได้สบตากับคนที่เคยเห็นหน้าคร่าตามาแล้วใน GotoKnow หรือเห็นกันในเวทีเรื่องประกันคุณภาพ

พอยิ่งได้เห็นการพยักหน้าก็ยิ่งรู้สึกว่า ทำ PowerPoint มาคุ้มเหมือนกันนะ :)

ส่วนคนอื่นๆ ที่ดิฉันไม่เคยเห็นหน้า ดิฉันก็จะไม่มองเลยคะ เพราะว่า ตัวผู้พูดเองก็รู้สึกใจแป้ว ที่วันนั้นไม่สามารถใช้ GotoKnow เพื่อปฏิบัติจริงได้ เพราะ Network ช้า :(

Sorry นะคะ แต่ตอนนี้ก็ปรับให้ใช้งานได้เร็วขึ้นแล้วนะคะ น่าจะฝึกกันเองได้นะคะโดยดูจากคู่มือ และเมื่อเปลี่ยนเครื่องแม่ข่ายแล้วย้ายไปตั้งที่ INET แล้วก็เร็วขึ้นทันตาเห็นแน่ๆ คะ

สำหรับดิฉันแล้ว วันนั้นที่คุ้มที่สุดคือ ได้พูดกับพี่เมตตาเรื่อง INET นั่นเองคะ :) Thanks a bunch!

เสียดายที่ไม่ได้เข้าร่วมในวันนั้นครับ

แบบว่าต้องไปเข้าร่วมงาน WUNCA15 ที่ ม.ศิลปกร ครับ เสียดายอย่างมากเลย

จัดครั้งที่ 2 เมื่อไหร่ ก็ส่งข่าวมาด้วยนะครับ และกรุณาตรวจสอบวันด้วยครับ เผื่อไปชนกับงานอื่นแล้วผมจะอดไปอีกครับ 

แลกเปลี่ยนกันไงคะ คุณสายลมแสงแดด คุณต้องเล่าเรื่อง "วุนกา 15" ที่ศิลปากรให้พวกเราฟัง การตรวจสอบวันดิฉันไม่แน่ใจว่า ใครต้องตรวจสอบที่จะไม่ให้ชนกัน "ลองคิดใหม่อีกทีซิคะ"
  • ขอบคุณมากครับพี่เมตตาที่เล่าให้ฟัง
  • ชอบห้องประชุม มอ จังเลยครับ
  • ใช่ตึกฟักทองไหมครับ

ไม่ใช่ตึกฟักทองค่ะ เป็นห้องประชุมหนึ่ง ในสำนักงานอธิการบดี ชื่อห้อง 210 จุคนได้ 70 คน วันนั้น ที่พี่จัด มีคนเข้า 42 คนค่ะ ห้องนี้ไม่ค่อยดี สำหรับการ ลปรร.เพราะคนนั่งเห็นหลังกัน มันซ้อน ๆ เป็นตัวยูหลายวง มันมีหลายวงทำให้ รู้สึกไปเองตัววงของที่นั่งบอกสถานะผู้นั่ง พี่สังเกตมาแสนนาน เวลาใช้ห้องนี้ประชุม โดยอัตโนมัต เด็กๆ มั่งหนีไปนั่งวงไกลสุด ผู้ใหญ่มักเดินเข้ามานั่งวงใน ถ้าสำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แล้ว ต้องมีที่นั่งให้ วงเดียว ไม่มีจุดให้เลือกทุกคนนั่งในระดับเก้าอี้เดียวกัน จะดีในการ ลปรร.ค่ะ

ใครต้องตรวจสอบที่จะไม่ให้ชนกัน "ลองคิดใหม่อีกทีซิคะ"

 

ผมก็บ่นๆไปอย่างนั้นเองนั้นแหละครับ

 

ไม่มีอะไรหรอกครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท