Praepattra
ผู้ช่วยศาตราจารย์ Praepattra Kiaochaoum

วิธีการกำหนดยืน


พระครูปลัดวีระนนท์ วีรนนฺโท : เจ้าอาวาสวัดป่าเจริญราช พระวิปัสสนาจารย์ http://www.veeranon.com/

ในขั้นเริ่มต้นจะสาธิตวิธีการปฏิบัติ

เพื่อให้ผู้ปฏิบัติที่ไม่เคยทำจะได้รู้วิธีการว่าทำอย่างไร

โดยเริ่มตั้งแต่เบื้องต้นก่อน สาธิตตั้งแต่การเตรียมการปฏิบัติ คือ 

ท่ายืน ให้ยืนขาชิดกัน ขึ้นอยู่กับการทรงตัวพื้นฐานของแต่ละคน

ยืนให้เหมาะกับตัวเอง เมื่อเห็นเขายืนขาห่างกัน

ก็อย่าไปทำตามเขา เขายืนขาชิดกันก็อย่าไปทำตามเขา

เราต้องยืนให้พอเหมาะแก่ฐานของเรา ซึ่งแต่ละคนฐานยืนแตกต่างกัน

 

โดยวิธีการกำหนดง่ายๆ คือ เมื่อเตรียมตัวเสร็จแล้วจะยกมือ

 

กำหนดภาวนาในใจ

 

ยก...หนอ         (กำหนดช้าๆ วิธีปฏิบัติคือยกแขนขวาขึ้นระดับไหล่)

 

ไป...หนอ          (กำหนดช้าๆ ยกแขนขวาลากไปด้านหลัง)

 

วาง...หนอ       (กำหนดช้าๆ วางมือขวาไว้ที่เอว)

 

ยก...หนอ         (กำหนดช้าๆ ยกแขนซ้ายขึ้นระดับไหล่)

 

ไป...หนอ          (กำหนดช้าๆ ยกแขนซ้ายขึ้นระดับไหล่)

 

วาง...หนอ...(กำหนดช้าๆ วางมือซ้ายทับซ้อนมือขวา และมือขวาจับข้อมือซ้ายหรือมือซ้ายจับมือขวาก็ได้)

 

นี่คือการจับมือ พอจำมือแล้วก็กำหนดจับหนอ

 

ขั้นตอนต่อไปมา

ดูการยกแขนสู่ระดับไต ปอด โดยระหว่างไต ปอด ถุงน้ำดี ม้าม ส่วนนี้ของกายเป็นส่วนกลาง

ในส่วนตรงนี้ทั้งหมดเป็นอวัยวะที่เกาะตำแหน่งกระดูกสันหลัง

มันจะแนบแน่นไปกับกระดูกสันหลัง ห้อยระโยงระยาง

พอเรายกขึ้นมาจะเป็นการช่วยให้ระบบร่างกายของเราดีขึ้น

คนที่เป็นโรคไต บางทีก็หาย ไม่ใช่หายจากโลก แต่หายจากโรคไต

การยืนอย่างนี้เพราะอะไร

เพราะโดยธรรมชาติเรามักจะยืนห่อตัว มันจะถูกกดทับลงเหมือนกรรมฐาน

กรรมฐานกดมันไว้ พอมันโผล่ขึ้นมาเป็นกรรม

พอเรายืนจับมือไว้ มันอยู่ตรงระบบร่างกาย สรีระมันจะตรงทันที  

ซึ่งจะสังเกตได้ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

เมื่อเวลาพระองค์ทรงนั่งประทานปริญญาบัตรหรือเวลาเสด็จพระราชดำเนินดั่งพญาสีหราช

เมื่อเดินแล้ว ปอด ตับ หัวใจ ทำงานสูบฉีด ทำงานได้ครบส่วน

ฉะนั้น กรรมฐานจึงมีคุณค่ามหาศาล ถ้าใครได้ทำแล้ว

เมื่อทำได้จริงๆ จะรักกรรมฐาน รักพระพุทธเจ้า รักพระพุทธศาสนามาก

เพราะเป็นสูตรสำเร็จที่ท่านค้นหามาให้ เพียงแต่เราอ้าปากเคี้ยวกินเข้าไปให้ได้

มันก็จะเป็นประโยชน์ นั่นเป็นวิธีการรักษา เราเรียกว่าพุทธโอสถ

การยกมือขึ้นมาระดับไหล่นั้น อวัยวะภายใน เช่นไต ปอด ตับ มันจะอยู่ในส่วนนี้ทั้งหมด

 

การกำหนดยืนหนอ ๕ ครั้ง

 

วิธีการกำหนดยืนคืออะไร เราจะกำหนดยืน ๕ ครั้ง คือ

 

กำหนดยืนรู้ดูภาพยืน รูปยืน โดยกำหนด 

 

ยืนหนอ            กำหนดที่ปลายผมตรงกลางกระหม่อม

 

ยืนหนอ            ลงฝ่าเท้า เหมือนเราวางสัมภาระทิ้งลงไปหมด

 

ต่อไปพอกำหนดยืนหนอ ตั้งแต่ฝ่าเท้าถึงศีรษะหรือปลายผม

เหมือนทิ้งทั้งหมดออกไปเลย ไม่ให้อารมณ์เหลือซากไว้

มันหนักอย่าเอาซากมันไว้

และกำหนดลงไปอีก

ยืน...หนอ…ลงไปข้างล่าง

ทิ้งไม่ให้อารมณ์หรือความรู้สึกเหลือซากไม่ให้มันเกาะเรา

แต่ทุกวันนี้อารมณ์มันเกาะอยู่

เมื่อกำหนด ยืน...หนอ...อารมณ์มันเกาะตามส่วนต่างๆของร่างกาย

ดังนั้นจึงต้องทิ้งทั้งหมดเหมือนเราทิ้งของออกจากกาย  

 

พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ขันธ์ทั้ง ๕ เป็นของหนักเน้อ”

 

คำว่า เน้อ  ภาษาเราเรียกว่า หนอ ตั้งแต่เบื้องต้นแล้ว  

ขันธ์ทั้ง ๕ เป็นของหนักหนอ  แต่เราว่าขันธ์ทั้ง ๕ เป็นของหนักนี้

 

ฐานตรงนี้ให้กำหนดภาวนา ยืนหนอ ๕ ครั้ง

เราจะหลับตาได้ไหม ตอบว่าได้ โดยกำหนดยืนหนอ ลงข้างล่าง

 

กำหนดยืน...หนอ ๕ ครั้ง ทำให้เป็นเส้นตรง

 

กำหนดเป็นเส้นตรงจากศีรษะผ่านสะดือลงฝ่าเท้าไป

กำหนดจากฝ่าเท้าขึ้นไปศีรษะ

กำหนดขึ้นลงสลับไปมา เรียกว่า อนุโลมปฏิโลม เป็นการกำหนดภาวนา

 

ขั้นต่อไปให้ผู้ปฏิบัติยืนในท่าเตรียม ให้ยืนนอกอาสนะ

ผู้ปฏิบัติคนไหนยืนไม่ไหว ให้ค่อยๆยืน

ส่วนผู้ปฏิบัติคนใดที่อายุมากให้ยืนอยู่ข้างๆเสา

เพราะป้องกันท่านหน้ามืด จะหกล้มลงได้

 

วิธีการกำหนดท่าเตรียม  โดยกำหนดจิตที่มือขวา  

 

กำหนด  ยก...หนอ       (วิธีปฏิบัติคือยกแขนขวาขึ้นระดับไหล่)

 

กำหนด  ไป...หนอ         (ยกแขนขวาลากไปด้านหลัง)

 

กำหนด  วาง...หนอ        (วางมือขวาไว้ที่เอว)

 

กำหนด  ยก...หนอ         กำหนดจิตที่แขนซ้าย (ยกแขนซ้ายขึ้นระดับไหล่)

 

กำหนด  ไป...หนอ         (ยกแขนซ้ายขึ้นระดับไหล่)

 

กำหนด  วาง...หนอ       (วางมือซ้ายทับซ้อนมือขวา และมือขวาจับข้อมือซ้ายหรือวางมือขวาทับซ้อน

มือซ้ายก็ได้)

 

แล้วกำหนดยืนหนอ ๕ ครั้ง พอกำหนดยืนแล้วมันจะมีอยู่ ๒ อย่าง

คือเมื่อเราจะนั่งและจะเดิน ขอแนะนำวิธีการนั่งก่อน

 

ติดตามอ่านตอนต่อไปที่นี่ค่ะ

 

อิสระแห่งจิต

 

http://gotoknow.org/blog/mindfreedom

 

ขอให้เจริญในธรรมทุกท่าน

 

บุญรักษา  ธรรมคุ้มครองค่ะ

 

หมายเลขบันทึก: 346992เขียนเมื่อ 25 มีนาคม 2010 10:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 22:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณมากค่ะ..จะเพิ่มการปฏิบัติตามแนวนี้นะคะ..

http://gotoknow.org/blog/nongnarts/346883

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท