เมื่อบันทึกเทป "คุยกับหมอ" ช่อง True


ขอบคุณนศ.กิจกรรมบำบัดท่านหนึ่งที่แนะนำให้ทีมงานรายการ "คุยกับหมอ" ช่อง True ให้โอกาส ดร. ป๊อป ได้เสวนาเรื่อง "กิจกรรมบำบัด" นาน 1 ชม. ...ขอบคุณกรณีศึกษาที่อนุญาตให้เผยแพร่ภาพในรายการด้วยครับ

ประเด็นที่สนทนากับพิธีกรคุณหมอฟันในรายการ คุยกับหมอ ซึ่งจะแพร่ภาพในช่อง True (สำหรับสมาชิก) ช่วงเมษายนนี้...ผมเลยขอ ลปรร สำหรับผู้สนใจที่อาจไม่มีโอกาสชมรายการดังนี้

  • เริ่มจากผมแนะนำว่า กิจกรรมบำบัด คือ กิจกรรมหรือการกระทำที่ไม่อยู่ว่าง มีเป้าหมาย มีคุณค่า และมีความสุข ส่วนบำบัด คือ ทำให้มีความสามารถมากขึ้น ซึ่ง WHO ได้สนับสนุนให้มีสหพันธ์นักกิจกรรมบำบัดโลกหรือ WFOT พัฒนามาตราฐานกิจกรรมบำบัดสากลให้นานาประเทศสนใจวิชาชีพนี้ในฐานะ "ผู้ออกแบบทักษะชีวิตของมนุษย์ (Life Skills Designer)"
  • กิจกรรมบำบัด เพิ่งได้ประกอบโรคศิลปะเมื่อปี 2545 และยังขาดแคลนอย่างมากในประเทศไทย บางโรงพยาบาลศูนย์ก็มีนักกิจกรรมบำบัดน้อยมาก ไม่เพียงพอต่อจำนวนและประเภทของผู้รับบริการทางร่างกาย จิตใจ การเรียนรู้ และการพัฒนาเกี่ยวกับเด็ก เพื่อให้ประเมิน บำบัดฟื้นฟู ส่งเสริม ป้องกัน ให้มีความสามารถทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต ได้แก่ การดูแลตัวเอง การเรียน การทำงาน การใช้เวลาว่าง การพักผ่อน และการเข้าสังคม
  • พิธีกรชวนผมเล่าที่มาที่ไปของวิชาชีพกิจกรรมบำบัดสากล ที่เริ่มขึ้นในสงครามโลกครั้งที่ 1-2 จนมีการพัฒนาศาสตร์และศิลป์ในการประกอบวิชาชีพในปัจจุบัน และเล่าถึงกำเนิดวิชาชีพนี้ที่ รพ. สมเด็จเจ้าพระยา รพ.ศิริราช และเปิดสอนนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่ มช. เมื่อปี 2523 จน ม.มหิดล เพิ่มเปิดไปได้ 2 รุ่นในปัจจุบัน ทั้งนี้ยังแทรกถึงการใช้คำว่า นักอาชีวบำบัด ในช่วงแรกของการให้บริการทางกิจกรรมบำบัด มีการฝึกอาชีพผู้ป่วย แต่งานได้ขยายกว้างขวางและมีมาตราฐานสากลขึ้น จนเปลี่ยนเป็น กิจกรรมบำบัด ในมี่สุด
  • ผมยังได้ยกตัวอย่างกรณีศึกษาเด็กสายตาเลือนราง (การกระตุ้นระบบการรับความรู้สึกอย่างต่อเนื่องรวมถึงการปรับสิ่งแวดล้อมเพื่อการบำบัด) เด็กพิเศษ (การจัดกลุ่มบำบัดแบบพลวัต - มีการเคลื่อนไหวทำกิจกรรมอย่างมีลำดับ มีแรงบันดาลใจ และมีส่วนรวมคิดทำกิจกรรมอย่างแท้จริง) เด็กสมองพิการ (ผู้ปกครองร่วมประเมินและออกแบบการบำบัดองค์ประกอบของการทำกิจกรรมและพัฒนาให้เด็กปรับตัวกับทักษะการทำกิจกรรมในชีวิตจริงๆ) และผู้สูงอายุอัมพาต (เลือกกิจกรรมเล่นเพลงผ่านเครื่องอิเล็กโทน โดยสนใจและมุ่งมั่นที่จะฝึกแยกนิ้งมือที่อ่อนแรงให้ขยับได้และนำไปใช้งานได้ในกิจวัตรประจำวัน)
  • นอกจากนี้พิธีกรได้เชิญให้ผมแนะนำหนังสือที่เขียนพร้อมเล่นแรงบันดาลใจของการเขียน ได้แก่ ทักษะชีวิตเด็กออทิสติก (ร่วมกับคณาจารย์กิจกรรมบำบัด ม.มหิดล สปสช และมูลนิธิออทิสติกไทย) การจัดการตนเองเมื่อเป็นมะเร็ง (ร่วมกับผู้ป่วยมะเร็งที่มีคุณภาพชีวิตดีขึ้นหลังจากเข้ารับโปรแกรมการจัดการตนเอง - สงวนพลังงานและจัดการความล้าใน 6 สัปดาห์) และจิตสำนึก ฝึกสมอง หลังอัมพาต ที่แปลมาจากผู้ป่วยอัมพาตที่ใช้กิจกรรมรอบตัวบำบัดเองใน 8 ปีจนปกติ - ซึ่งจะจำหน่ายในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ร้านซีเอ็ด สนพ.แสงดาว ตั้งแต่ศุกร์ที่ 26 มี.ค. นี้)
  • และผมยังเล่าประสบการณ์ถึงการใช้กิจกรรมบำบัดจิตสังคมในผู้ป่วยซึมเศร้าและกรณีศึกษาในเชิงส่งเสริมป้องกันไม่ให้คนไทยมีความล้าและเจ็บป่วยเรื้อรังมากนัก
  • แถมท้ายให้ผู้สนใจติดต่อมาที่ Blog นี้ และที่คลินิกกิจกรรมบำบัด คณะกายภาพบำบัด ม.มหิดล เชิงสะพานปิ่นเกล้า คลิกที่ http://www.pt.mahidol.ac.th  
หมายเลขบันทึก: 346989เขียนเมื่อ 25 มีนาคม 2010 10:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 21:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เมื่อวันเสาร์ที่ 10 เมษายน 2553 รายการ คุยกับหมอ ตอน กิจกรรมบำบัด ได้ออกอากาศแล้ว ทางช่อง TNN2 True Vision 8 มีผู้สนใจติดต่อขอหนังสือการจัดการตนเองเมื่อเป็นมะเร็งและคู่มือการฝึกทักษะชีวิตสำหรับเด็กพิเศษจำนวน 3 ราย

ขอบคุณมากครับ

เมื่อวันจันทร์ที่ 12 เมษายน 2553 รายการ คุยกับหมอ ตอน กิจกรรมบำบัด ได้ออกอากาศอีกครั้ง ทางช่อง TNN2 True Vision 8 มีผู้สนใจติดต่อสอบถามขอคำปรึกษาที่คลินิก และได้พบญาติได้ติดตามรายการ รวมจำนวน 3 ราย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท