ธรรมะเพื่อชีวิต (1) หนึ่งตัวอักษรธรรม พิมพ์ไว้ให้คนอ่าน กุศลเปรียบปานดั่งสร้างองค์พระปฏิมา


"หนึ่งตัวอักษรธรรม พิมพ์ไว้ให้คนอ่าน กุศลเปรียบปานดั่งสร้างองค์พระปฏิมา"

เตือนสติตัวเองไว้เสมอ

  1. จงอย่าลืมความตาย จงคิดว่าความตายอาจมีกับเราเดี๋ยวนี้ไว้เสมอๆ
  2. เคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ด้วยศรัทธาแท้ ตั้งใจไว้ว่า อย่าให้ภาพพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์คลายไปจากใจ
  3. มีศีลบริสุทธิ์เป็นปกติ
  4. ปฏิเสธการเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา นางฟ้า และพรหมในชาติต่อไป ทุกท่านเห็นนิพพานแล้ว ตั้งใจไปนิพพานโดยเฉพาะเท่านั้น ในที่สุดก็จะหนีอบายภูมิและไปนิพพานในที่สุด

วจีกรรม

            วจีกรรม คือ กรรมที่เกิดจากปาก วจีกรรมมีทั้งเจตนาและไม่เจตนา วจีกรรมคือการพูด การพูดคือเสียงจากใจ ใจตรงก็พูดตรง ใจไม่ตรงก็พูดไม่ตรง

            การชอบนินทาว่าร้ายผู้อื่น เสกสรรปั้นแต่ง แต่งเรื่องราวนี้คือวจีกรรมเจตนา ถ้าพูดเรื่องบกพร่องของคนอื่นโดยไม่ตั้งใจก็เป็นวจีกรรมไม่เจตนา แต่ก็เป็นวจีกรรมทั้งสิ้น

            ถ้าผู้อื่นมีความผิดพลาด จักต้องชี้ถึงส่วนดีของเขาก่อน จากนั้นจึงค่อยๆชี้แจงถึงส่วนบกพร่องของเขา ทำให้เขาได้สติ ถ้าเอาแต่พูดถึงส่วนบกพร่องของผู้อื่นอย่างสนุกปาก มักทำให้คนไม่พอใจ จนเกิดเป็นความแค้นเคือง ผู้พูดยังไม่ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริง ผู้ฟังก็เชื่อว่าเป็นความจริง จากปากหนึ่งแพร่สู่อีกปากหนึ่งถ่ายทอดกันเป็นสิบ เป็นร้อย เป็นพัน เป็นหมื่น ผู้ถูกนินทาแม้มีปากก็ไม่อาจโต้แย้งก่อให่เกิดความไม่เป็นธรรม วจีกรรมของผู้พูดบาปจึงหนักหนามาก ถึงแม้เป็นเรื่องจริงก็ต้องปิดส่วนไม่ดีของผู้อื่น จึงจะไม่เป็นการสร้างวจีกรรม

            ผู้ที่ปากคอจัดจ้าน ชอบวิพากษ์วิจารณ์นินทาทำให้ผู้อื่นเสื่อมเสียชื่อเสียง ล้วนแต่เป็นบาปแห่งวจีกรรมทั้งสิ้น แม้ว่าผู้พูดแต่เดิมเป็นคนมีบุญวาสนามาก เพราะวจีกรรมดังกล่าวจนต้องถูกตัดทอนบุญวาสนา ไม่มีใครอยากเข้าใกล้คบหาสมาคมด้วย ดังนั้นจึงควรพูดแต่น้อย อย่าสร้างวจีกรรมจนถูกตัดบุญวาสนา

            ดังนี้ผู้บำเพ็ญธรรมจักต้องนิ่ง สงบ สมาธิ พิจารณา บรรลุ เมื่อนิ่งก็เกิดความสงบ เมื่อสงบก็เกิดสมาธิ เมื่อมีสมาธิจึงสามารถพิจารณา เมื่อพิจารณาจึงสามารถบรรลุ

 

                        คนร่ำรวยไม่ยอมผ่อนปรนเปรอจะมีเภทภัย คนฉลาดไม่ยอมอภัยให้ผู้อื่นอายุจะถูกบั่นทอน

                        ผู้มีอำนาจสามารถข่มเหงคนอื่นได้แต่ไม่ทำ เรียกว่าบุญกุศล  มีกำลัง ทำบุญกุศลแต่ไม่ยอมทำนั่นแหละบาป

                        บุญกุศลดั่งรัตนมณี ตลอดชีวิตใช้ไม่หมด ใจเป็นเนื้อนาบุญ ไถหว่านร้อยชาติก็เก็บไม่หมด

                        พูดดีทั้งวันสู้ทำความดีหนึ่งครั้งไม่ได้ ทำดีทั้งชาติควรระวังความผิดพลาดหนึ่งครั้ง

            การที่ผู้คนส่วนใหญ่ มุ่งมั่นปฏิบัติตนตามศาสนพิธีอย่างเคร่งครัด มิได้เป็นเครื่องแสดงว่า เขาได้เข้าถึงแก่นแท้ของศาสนา ความเข้าใจในหลักธรรมและสามารถปฏิบัติได้อย่างต่อเนื่องต่างหากที่เป็นเป้าหมายสำคัญของการนับถือศาสนา

 

อาจารย์เก

หมายเลขบันทึก: 346982เขียนเมื่อ 25 มีนาคม 2010 09:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 เมษายน 2012 15:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณธรรมคติสู่อริยมรรคแห่งความพ้นทุกข์ค่ะ..

http://gotoknow.org/blog/nongnarts/346883

คุณนงนาทครับ

ศาสนาพุทธ เข้าถึงแก่นแท้ของธรรมชาติและชีวิตได้มากที่สุด แต่.การสอนศาสนาของพุทธนั้น เราไปเน้นให้ผู้คนเข้าถึงโลกกุตรธรรมกันทุกคน นั่นมันขัดกับข้อเท็จจริงของวิถีชีวิตปกติของมนุษย์ ชาวพุทธจึงอยู่ในสังคมปัจจุบันอย่างผสมกลมกลืนไม่ได้ นี่คือข้อด้อย เราต้องสอนให้ผู้คนเข้าใจหลักธรรมะ ไม่จำเป็นต้องเข้าถึง (คนที่เข้าถึง ก็ยกย่องให้เขาเป็นโลกกุตรธรรมไป) เป็นพระอริยเจ้า เป็นแบบอย่างที่ดีของสังคม เป็นผู้หลุดพ้น เพียงแต่เราต้องการให้คนส่วนใหญ่ใช้หลักธรรมในการดำรงชีวิตให้เป็นสุขเท่านั้น

อาจารย์เก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท