ประเมินพฤติกรรมเด็กพิเศษด้วยกิจกรรมบำบัด


ขอบคุณนักกิจกรรมบำบัด รพ.ขอนแก่น ที่สนใจและพัฒนาการประเมินพฤติกรรมกรณีศึกษา 1 ราย ในขณะทำกิจกรรมศิลปะนาน 2 สัปดาห์ แต่ปรึกษาผมถึงการนำเสนอข้อมูลทางงานประจำสู่งานวิจัย

จากหัวข้อการประเมินควรมีข้อแก้ไขดังนี้

1. ร้อยละ คิดได้ไม่ชัดเจน

2. การวัดนาทีของการจดจ่องานควรมีระยะเวลาของการสังเกต เช่น ทุก 5 นาที แต่รวมแล้วเด็กจดจ่อกี่นาที

3. จำนวนครั้งของพฤติกรรมต้องปัดขึ้นไม่ควรมีค่าทศนิยมแม้ว่าจะเฉลี่ยจากผู้สังเกต

4. คะแนนการประเมินพฤติกรรมมีน้ำหนักต่างกันมากจึงยากในการวิเคราะห์รวม

5. พฤติกรรมต้องแยกทางบวกและทางลบ (รวมกันไม่ได้)

6. ส่วนคะแนนพฤติกรรม เนื่องจากสเกลและน้ำหนักไม่เท่ากัน เมื่อมาหาร้อยละจึงไม่ถูกต้องและคะแนนรวมลดลงนั้นแปลผลไม่ได้ เพราะมีข้อพฤติกรรมบวกลบปนกันและหน่วยนาทีปนกับครั้ง

จากนั้นผมลองวิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่ว่าจะนำเสนออย่างไรดีถึงจะดูเป็นรูปธรรมของงานประจำสู่งานวิจัยทางคลินิก

1. ลองแยกใหม่ คือ พฤติกรรมเชิงบวก ข้อ 3.1+3.2+4+5+6+7+8+9+10+11 = 30/65 = 46.15% (ครั้งที่ 1) เป็น 32.6/65 = 50.15% (ครั้งที่ 2)

2. พฤติกรรมลบ ข้อ 2+12+13+14 = 18/25 = 72% (ครั้งที่ 1) เป็น 15.5/25 = 62% (ครั้งที่ 2)

3. พฤติกรรมเชิงบวกมีคะแนนเพิ่มขึ้น  4% และพฤติกรรมเชิงลบมีคะแนนลดลง 10%

4. และคิดความถี่พฤติกรรมโดยระบุช่วงเวลาการสังเกตของผู้บำบัด 2 ครั้งๆ ละ 5 นาที รวม 10 นาที (เคยแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้เก็บข้อมูลก่อนหน้านี้)

5. พฤติกรรมของน้องหลิวหลังการเข้าโปรแกรมกิจกรรมบำบัด 2 สัปดาห์ มีความถี่ของพฤติกรรมที่เหมาะสมลดลง 10% (สบตาน้อยลง) จาก 4 ครั้ง/10นาที = 0.4 ครั้ง/นาที = 40% เป็น 3 ครั้ง/10นาที = 0.3 ครั้ง/นาที = 30%

6. และมีความถี่ของพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมลดลง 10% (เบี่ยงเบนความสนใจน้อยลง) จาก 4 ครั้ง/10นาที = 0.4 ครั้ง/นาที = 40% เป็น 3 ครั้ง/10นาที = 0.3 ครั้ง/นาที = 30%

ลปรรเพิ่มเติม...กรณีศึกษามีพฤติกรรมการทำกิจกรรมศิลปะที่เหมาะสมขึ้น แต่ข้อมูลนี่เป็นเพียงการประเมินโดยสังเกตพฤติกรรมขณะทำกิจกรรมศิลปะเท่านั้น ยังไม่มีข้อมูล/โอกาสสังเกตพฤติกรรมขณะทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตอื่นๆ และควรระบุว่าใน 2 สัปดาห์นั้นกรณีศึกษาได้รับการฝึกอะไรบ้าง กี่ครั้งต่อสัปดาห์ที่คลินิกกิจกรรมบำบัด หรือกี่ครั้งต่อสัปดาห์ที่บ้าน/โรงเรียน/อื่นๆ และต้องเพิ่มว่าครั้งละกี่นาทีอย่างไรโดยละเอียด เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือของงานประจำสู้งานวิจัยชิ้นนี้

 
หมายเลขบันทึก: 346983เขียนเมื่อ 25 มีนาคม 2010 09:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท