การทำนา แบบดั้งเดิม ของชาวบ้านตือโล๊ะกือมง


ประชุมเชิงปฏิบัติการเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร

          สวัสดีครับ.... ห่างหายไปนานสำหรับบร็อกองค์ความรู้จากเรื่องเล่า เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ที่ผ่าน สำนักงานเกษตรจังหวัดได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอ ครั้งที่ 1 มีเจ้าหน้าที่จากทุกอำเภอ จำนวน 60 คนเข้าร่วม แบ่งเจ้าหน้าที่ออกเป็น 4 กลุ่ม คละกันทุกอำเภอประมาณกลุ่มละ 15 คน  ครั้งงนี้จัดกันที่ห้องประชุมเทศบาลตำบลสะเตงนอกครับ ห่างจากตัวเมืองประมาณ 5 กม.เท่านั้นเอง

กูนิง  หรือข้าวเหลือง(ข้าวแข็ง) เป็นข้าวพันธุ์หนัก

            ครั้งนี้เราตั้งประเด็นในการเรียนรู้ไว้ชัดเจนครับ คือเรื่องการทำนา การปลูกข้าวของชาวบ้านแถวนี้ (สะเตงนอก) ว่าเขาทำกันอย่างไร กลุ่มที่ 1ว่าด้วยเรื่องพันธุ์ การตกกล้า กลุ่มที่ 2 ว่าด้วยเรื่องของการใส่ปุ๋ย การป้องกันกำจัดศัตรูพืช กลุ่มที่ 3 ว่าด้วยการเก็บเกี่ยวและวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว และกลุ่มที่ 4 คือกลุ่มของเคหกิจเกษตร ว่าด้วยเรื่องของการพัฒนางานสถาบันเกษตรกร

สมาชิกกลุ่มเลือกคุณอำนวย คุณลิขิตและทำความรู้จักวิทยากร

             ช่วงแรก ประธานคือเกษตรอำเภอเมืองยะลา  แจ้งเรื่องข้อราชการที่สำคัญ ต่อจากนั้นก็เชิญวืทยากร คุณแมโช  แยนา ได้มาเล่าถึงการทำนาของชาวบ้านในตำบลสะเตงนอก โดยสรุป  แล้วต่อด้วยคุณอารีฟ เจ้าหน้าที่ได้มาคุยเรื่องของการจัดการความรู้ ....แล้วก็พักรับประทานอาหารและเครื่องดื่ม

ทีมสำรวจพร้อม(ลุย)ปฏิบัติการค้นหาความจริง

            จากนั้นก็ลงแปลงเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเกษตรกร ซึ่งทางผู้ประสานงานคุณจิรพันธ์ เจ้าหน้าที่เกษตรจากอำเภอเมืองยะลาได้จัดเตรียมสถานที่และวิทยากรเกษตรกรไว้อย่างพร้อมเพรียง ...จากนั้นกระบวนการแลกเปลี่ยน/แบ่งปันก็เริ่มขึ้น

รายชื่อวิทยากรเกษตรกร ประจำกลุ่ม ครับ ขอชมเชย

               1.  นายดอเล๊าะ  เจะเล๊าะ

                2.  นายมะ  มูซอ

                3.  นายอับดุลวาหะ  ปะจูลี

ความงาม..ธรรมชาติ .. สีสรร(ยังมีหลงเหลืออยู่)

ประเด็นแรก**

พันธุ์ข้าว  ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์พื้นเมือง  ได้แก่  พันธุ์กูนิง  ปูเต๊ะ  และลือมูบาเซาะ

               1.  พันธุ์กูนิง  =  กูนิงเป็นภาษายาวี  แปลว่าเหลือง  หมายถึง  เมล็ดมีสีเหลือง  เป็นข้าวพันธุ์หนักปลูกในน้ำลึกหรือที่ลุ่ม  ลำต้นแข็งแรง  ทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดี

2.  พันธุ์ปูเต๊ะ  =  ปูเต๊ะ  เป็นภาษายาวี  แปลว่าขาว  หมายถึงเมล็ดข้าวสีขาว  ข้าวแข็ง  เป็นข้าวพันธุ์หนัก  ปลูกในที่ลุ่ม  ลำต้นแข็งแรง

3.  พันธุ์ลือมูบาเซาะ  =  ลือมูบาเซาะ  เป็นภาษายาวี  ลือมูหมายถึงวัว  บาเสาะหมายถึงเปียก   เป็นข้าวที่เปียกแฉะ  (ไม่แข็ง)  เป็นข้าวพันธุ์เบา  ปลูกในนาดอน  อายุเก็บเกี่ยวสั้นกว่าข้าว  2  พันธุ์แรก

สมาชิกกลุ่มที่ 3 เชิญทางนี้ครับ..ฮิๆๆ

การทำนาของเกษตรกรตำบลสะเตงนอก  เริ่มตั้งแต่

              -  เดือนสิงหาคม   เตรียมแปลงตกกล้า

              -  เดือนตุลาคม - เดือนพฤศจิกายน  เริ่มปักดำ

               -  เดือนมกราคม - กุมภาพันธ์  เริ่มตั้งท้อง

               -  เดือนมีนาคม - เมษายน  เก็บเกี่ยว

อยากรู้เรื่อง อะไร...ถามได้เลยครับ

การเตรียมแปลงตกกล้า  ทำได้  2  วิธี  คือ

               1.  ในพื้นที่ทั่วไป  ใช้จอบขุดปรับสภาพพื้นที่

               2.  ในพื้นที่นา  ถ้าดินแข็งก็มีการไถพรวน

การตกกล้า

              -  ใช้เป็นเมล็ด  2.5  กก./ไร่

              -  หว่านสำรวย  คือหว่านแห้ง

              -  หลังจากหว่านกล้าไปแล้วประมาณ  15  วัน  ถ้าต้นกล้าไม่สมบูรณ์ให้

                  หว่านปุ๋ยสูตร  16-20-0  จำนวน  1.5  กก./ไร่

การถอนกล้า

                -  ถอนโดยใช้แรงคน  โดยจัดเป็นมัด ๆ  ขนาดรอบกำมือ

                -  อายุกล้า 40 วัน  (สูตรชาวบ้าน)

                -  ตัดปลายตามความสูงของระดับน้ำ

ยังไม่จบครับ.......  (ภาพสวยประทับใจมากครับ)         ขอบตุณมากครับ

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 339713เขียนเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2010 20:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

สวัสดีค่ะพี่บ่าวยาว มาแลนาข้าว งามอย่างแรง

ขอบพระคุณชาวนา ผู้ยิ่งใหญ่ในแผ่นดิน ถิ่นสยามค่ะ

(ยิ่งใหญ่ทางใจ ในคุณค่า และความตระหนักรู้พระคุณ)

สวัสดีค่ะ

  • ชอบภาพนาข้าวภาพแรกค่ะ เห็นน้ำใสๆ น่าจะตกปลาได้ค่ะ
  • หลายๆพื้นที่ทางภาคใต้เปลี่ยนเป็นนากุ้ง และสวนยางพารา น่าเสียดายค่ะ
  • โดยเฉพาะเวลาเดินทางผ่านเห็นนากุ้งร้างแล้วก็ใจหายที่จริงเป็นนาข้าวแบบเดิมยังจะพอปลูกข้าวให้ทานได้ค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

ดีใจด้วยค่ะ ที่เพลี้ยกระโดด ไปเยื่ยมเยือน

น้อง poo

P

  • มาเร็วดีจัง  ตามติดทุกบันทึกไม่เคยขาด
  • ต้องขอบคุณมากๆ
  • เพียงแต่มาเล่าเพื่อย้ำเตือน..ความเป็นไทย
  • ชาวนาสุดยอดของอาชีพที่ต้องยกย่อง
  • ตนเรา จะกินอย่างอื่นได้อย่างไร..ทุกคนต้องกินข้าว
  • และการทำนาถือเป็นวัฒนธรรมไทย
  • เป็นตำนานเล่าขานกันมานมนาน
  • ขอบคุณมากครับ

น้องซัลเวีย

P

เห็นท้องนา นึกสำนวนที่ว่าในน้ำมีปลาในนามีข้าว

เมื่อสมัย 20-30 ปีก่อนถ้าไม่มีกับข้าว คว้าเป็ด(เป็ดตก) หรือสุ่มออกบ้านตอนเย็นๆ

กลับมามีปลาช่อน ปลาหมอ ปลาดุก เกือบครึ่งข้อง

เดี๋ยวนี้อย่าหวังเลยแม่แต่หอยขมสักตัว..ยังหาไม่ได้เลย

ขอบคุณมากครับ

สวัสดีครับครู

P

  • แถวนี้เพลี้ยกระโดดไม่กล้ามา
  • กลัวเสียระเบิด..มั่ง
  • แต่ก็มีหนู และปู คอยทำลายเช่นเดียวกัน
  • ขอบคุณมากครับ

กะว่าจะถามคุณเกษตรยะลาหน่อยค่ะ

ว่าในภาพนี้http://gotoknow.org/blog/envi-8/305920

เป็นวิธีทำนาแบบไหนคะ 

  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาเยี่ยมค่ะ และมาเป็นกำลังใจด้วยช่อดอกกุหลาบสวย ๆ ค่ะ

nana

P

  • ตามไปดูแล้วไม่มีรูปครับ
  • เลยให้คำตอบไม่ได้
  • ขอบคุณมากครับ

คุณบุษรา

P

  • กำลัง..ใจสำคัญมากครับ
  • คนเราถ้าไม่มีกำลังใจ...ก็ไม่มีแรง
  • ไมมีแรง..ก็ไม่มีความคิด..
  • พอไม่มีความคิด ..ทำอะไรก็ไม่สำเร็จ
  • ว่าเสียยาว
  • ขอบคุณมากครับ
  • สวัสดีครับพี่ไมตรี
  • ขอคุณที่นำองค์ความรู้ที่ดีๆมาแบ่งปันกัน
  • ต้องขอชื่นชมจริงเป็นรูปแบบที่ดี
  • ขอให้มีความสุขสนุกกับงานที่ทำนะครับ

สวัสดีค่ะพี่เกษตรยะลา

แวะมาเยี่ยมค่ะ...ที่บ้านมีแต่สวนยางไม่มีนา...เพราะว่าอยู่บนควน

ขอบคุฯค่ะ 

สวัสดีครับพี่เขียว

P

  • ที่เราจัดกันวันนั้นได้เพียงสิ่งที่ชาวบ้านทำกันเดิมๆ
  • ส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง
  • อาจจะเพราะว่าไม่มีใครแนะนำเขาก็ได้
  • หรือว่าเพราะความเคยชิน...อาจจะเป็นความนิยม ของเขาก็ได้
  • แต่ยังไงเกษตรต้องให้ในสิ่งที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์แก่ชาวบ้าน
  • ขอบคุณมากครับ

หนูรี

P

รู้แล้ว ...

ที่บ้านมีแต่สวนยางไม่มีนา...เพราะว่าอยู่บนควน

ขอบคุณมากครับ

         ทุ่งนาเขียว เย็นตาดีจังค่ะ  ดอกไม้สีเหลืองดอกอะไรค่ะ

          

               นาข้าว ยามเช้า ตะวันขึ้น

         

สวัสดีครับพี่ยาว

ดีจังครับ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการฯ ในพื้นที่ได้พบเกษตรกรตัวจริง

วันเดียวกันนี้ผมก็ร่วม DW เหมือนกัน แต่นั่งวาดฝันกันในห้อง (เหมือนเดิม) อดเดินชมทุ่งนา อดชื่นชมดอกกระถินทุ่งสวยๆ เลยครับ 

สวัสดีครับ คุณกานดา

P

เห็นทุ่งนาแล้วเย็นตา สบายใจ

ดอกสีเหลือง..ไม่ทราบเช่นกันครับ

ขอบคุณมากครับ

สวัสดีครับ น้องพิทักษ์

P

  • เรื่องเรียนเป็นไงบ้าง ความรู้คงเพียบซินะ
  • คนข้างกาย สบายดีหรือเปล่า
  • ในห้องหรือนอกห้อง ขึ้นอยู่กับประเด็น
  • นอกห้องก็ดีจะได้เห็นของจริง เป็นการสร้างชวัญและกำลังใจให้เกษตรกรไปด้วย
  • เจ้าหน้าที่ก็ไม่เบื่อ (แต่คนไม่เอาถ่านเบื่อหมดแหละ)
  • ขอบคุณมากครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท