พุทธศาสนาบนเวทีแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน


ผลกระทบจากภาวะโลกร้อน

คงเป็นเพราะการขาดความตระหนัก ความเข้าใจถึงภัยในภาวะโลก ร้อน คนส่วนใหญ่จึงยังเห็นว่าภาวะโลกร้อนเป็นเรื่องไกลตัว และขาดการกระทำที่จะมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหานี้อย่างจริงจัง

โรคความจำเสื่อมอันเนื่องมาจากอากาศที่ร้อนมากขึ้น การแพร่กระจายของโรคระบาดที่รวดเร็วขึ้น ความอบอ้าว น้ำท่วม พายุที่ทวีความรุนแรง ฤดูกาลที่เปลี่ยนไป แผ่นดินที่ถูกกลืนด้วยผืนน้ำจนโฉนดที่ดินเป็นเพียงเศษกระดาษและเจ้าของที่ต้องไร้ที่อยู่อาศัย การขาดแคลนน้ำจืด การแก่งแย่งอาหารระหว่างสัตว์ป่ากับมนุษย์ที่อยู่ในละแวกใกล้เคียง การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ เหล่านี้เป็นเรื่องที่มนุษย์ต้องเผชิญเมื่อโลกร้อนมากขึ้น

ประเทศไทยจัดเป็นอันดับต้นๆของประเทศที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ ปี 2004 ไทยปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศเป็นอันดับที่ 24 ของโลก โดยมีกรุงเทพมหานครปล่อยก๊าซเป็น 40 % ของทั้งหมด

มีการพยากรณ์ที่ค่อนข้างแน่ชัดจาก ดร. อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา ว่ากรุงเทพจะจมอยู่ใต้น้ำภายใน 30 ปีข้างหน้าจากภาวะโลกร้อนนี้ http://www.GreenTheEarth.info

แล้วคนไทย ให้ความสำคัญกับปัญหาโลกร้อนมากน้อยแค่ไหน

( ธารน้ำแข็งในเปรู เมื่อปี 1978เปรียบเทียบกับปี 2000 น้ำแข็งละลายจนลดระดับลงถึง 1,100 เมตร )

นาๆชาติให้การยอมรับว่าวิธีที่เคยใช้ในการแก้ไขปัญหาไม่ได้ผล และเห็นว่าหลักอริยสัจ 4 ในพุทธศาสนา มีความเป็นวิทยาศาสตร์พอที่จะเป็นวิธีอันสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้

1.3 การพัฒนาอย่างยั่งยืนตามแนวปฏิบัติพุทธศาสนา การพัฒนาอย่างยั่งยืนตามแนวความคิดของสหประชาชาติที่เกิดขึ้นจากการประชุมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาที่ให้ไว้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1992 ในแผนปฏิบัติการที่ 21 ของแผนปฏิบัติการโลกไว้ว่า การพัฒนาที่ยั่งยืนคือ การพัฒนาที่บรรลุความต้องการในการดำรงชีวิตของคนในปัจจุบันโดยต้องไม่ทำให้ความสามารถในการที่จะบรรลุความต้องการในการดำรงชีวิตของอนุชนในอนาคตลดลง ( WCED,1987 และ Kirkpatrick, C., and Norman, L. ( eds.) ม 1997 : 63 64 ) นี้ สามารถนำมาปฏิบัติตามหลักพุทธศาสนาที่เรียกว่าอริยสัจสี่ประการอันประกอบด้วย ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ด้วยการปฏิบัติตามแนวทางสายกลางคือ มัชฌิมาปฏิปทา หรืออริยมรรคแปด ได้อย่างเป็นรูปธรรม ( WCED, 1987; Kirkpatrick, C., and Norman, L. ( eds.) , 1997 : 63-64 และพระธรรมปิฏก (ประยุทธ ปยฺโต), 2543)

เหล่านี้คือ ถ้อยความในหนังสือ สิ่งแวดล้อมและการพัฒนา เล่ม 1 ที่ ดร.นงนภัส คู่วรัญญู เที่ยงกมล ได้แต่งไว้เมื่อปี 2551

(ยอดเขาคิริมันจาโร ในปี 2000 สูญเสียน้ำแข็งที่ปกคลุม ลดลงจากปี 1912 ถึง 82%)

เนื่องจากอริยสัจ 4 เป็นหลักการปฏิบัติที่เป็นระบบ มีขั้นตอนชัดเจน อันก่อให้เกิดทัศนคติที่ถูกต้อง ความสำนึกรับผิดชอบ และการกระทำ ที่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างยั่งยืน

อริยสัจ 4 อันประกอบด้วย ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

ทุกข์ คือ ภาวะบีบคั้นที่มนุษย์ได้รับในปัจจุบัน และจะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในอนาคต

สมุทัย คือ เหตุแห่งทุกข์ ที่ผ่านมา มนุษย์นำเอาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่มาสนองความต้องการ ความอยากที่ไม่มีที่สิ้นสุดของมนุษย์เอง เพื่อให้บรรลุมาตรฐานการเป็นอยู่คือมีคุณภาพชีวิตที่ดี

หากแต่การนำสิ่งดังกล่าวมาใช้ ไม่สามารถสนองความต้องการมนุษย์ทุกคนได้ มีเพียงประชากร 20 % ของโลกเท่านั้นที่ได้รับการตอบสนอง แต่อีก 80 % แค่ปัจจัยพื้นฐาน ยังไม่สามารถมีให้ครบได้ จึงเกิดความเหลื่อมล้ำเป็นอย่างมาก

นิโรธ การสิ้นสุดของปัญหา เป็นที่ยอมรับว่า ปัญหาโลกร้อนนั้นแก้ได้ยาก และปัจเจกชนไม่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ แต่ในระดับท้องถิ่น ยังพอแก้ไขได้ และยังมีความหวังว่า เมื่อมีการแก้ไขในระดับท้องถิ่น จนเกิดจิตสำนึกร่วมกัน อาจขยายวงไปสู่ระดับชาติ ระดับนานาชาติได้

มรรค ทางแก้ปัญหา ถ้าจะแก้ปัญหานี้อย่างยั่งยืน เมื่อมนุษย์เป็นผู้ก่อ ก็ต้องแก้ที่มนุษย์ นั่นคือลดกิเลส ลดความต้องการอย่างฟุ่มเฟือยลง มาเป็นความต้องการที่พอเพียงต่อการดำรงชีวิตเท่านั้น

มรรคมีองค์แปด หมายถึงวิธีทั้ง 8 ที่รวมเป็นหนึ่งทางในแก้ปัญหานั้นคือ

1 สัมมาทิษฐิ ความเห็นชอบ มนุษย์ต้องมีทัศนคติต่อทรัพยากรโลก การใช้ทรัพยากร การเปลี่ยนแปลงของทรัพยากร สาเหตุของปัญหา และการแก้ไขอย่างถูกต้อง

2 สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ คือ มีความคิดอันถูกต้อง ในการที่จะแก้ปัญหา และไม่เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างปัญหา เช่น มีความคิดที่จะลดการใช้พลังงาน มีความคิดที่จะใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า

3 สัมมาวาจา เจารจาชอบ คือสื่อสารในอันที่เผยแพร่ข้อมูลอันเป็นความจริง ในอันที่จะช่วยลด หรือแก้ปัญหา เช่น บอกแม่ค้าว่าไม่ขอรับถุงพลาสติกใส่สินค้า บอกสมาชิกในบ้านให้ช่วยประหยัดพลังงาน เป็นต้น

4 สัมมากัมมันตะ การงานชอบ หรือการกระทำชอบ มีการกระทำที่ช่วยในการแก้ปัญหา และไม่เป็นส่วนหนึ่งของปัญหา เช่น ดื่มน้ำเปล่าแทนน้ำอัดลม เพราะการผลิตน้ำเปล่าใช้กระแสไฟฟ้าน้อยกว่า เลือกอาหารสดมาปรุงรัปประทานแทนอาหารแช่แข็ง เพราะอาหารแช่แข็งใช้พลังงานในการรักษาคุณภาพอาหารมากกว่าอาหารสดถง 10 เท่า นำสิ่งของที่ไม่จำเป็นออกจากหลังรถเพื่อลดน้ำหนักบรรทุก อันเป็นการช่วยประหยัดน้ำมัน นำปิ่นโตไปใส่อาหารเมื่อจะซื้ออาหารสำเร็จรูป เพื่อช่วยลดการใช้ถุงพลาสติก

หรือมีการกระทำที่ช่วยให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนักถึงความสำคัญของปัญหานี้ในวงกว้าง ชักชวนลูกออกไปเดินเล่นในสวนสาธารณะเพื่อแยกเด็กจากการเล่นเกมในคอมพิวเตอร์อันช่วยประหยัดพลังงาน ชักชวนเด็กๆสังเกตธรรมชาติรอบตัว เช่น ลักษณะของใบไม้ ดอกไม้ เพื่อบ่มเพาะความรัก และหวงแหนในธรรมชาติ เหล่านี้เป็นต้น

(ตัวอย่างการจัดเรียงของใบไม้)

ศิลปะ จึงเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ธรรมชาติ มาเป็นผู้ร่วมแก้ไขปัญหา มิใช่เพียงบันทึกความงามตามธรรมชาติแต่เพียงอย่างเดียว เพราะการวาดภาพที่ต้องอาศัยการสังเกตุอย่างถี่ถ้วน มีส่วนช่วยให้ผู้วาดเกิดความผูกพันกับธรรมชาติ อันนำไปสู่การอนุรักษ์

5 สัมมาอาชีวะ ประกอบอาชีพชอบ ไม่ประกอบอาชีพที่มีผลต่อการลดลงของทรัพยากระรรมชาติ เช่น เผาป่าเพื่อทำไร่ คนบางกลุ่ม อาจต้องลดความต้องการในการหารายได้โดยมิชอบลง เช่นการตัดไม้ทำลายป่า

6 สัมมาวายามะ พยายามชอบ คือพยายามละ ลด พฤติกรรมที่ทำร้ายโลก และพยายามเพิ่ม และรักษา พฤติกรรมในการเยียวยาโลกที่ได้ริเริ่มทำขึ้นแล้ว

7 สัมมาสติ ระลึกชอบ มีสติระลึกรู้อยู่เสมอ ว่าการกระทำใดๆที่กำลังจะกระทำ หรือกระทำอยู่จะมีผลต่อโลกอย่างไร เช่น เมื่อจะออกจากห้อง ให้ระลึกว่าควรทำอะไรก่อนเดินออกจากห้องไป นั่นคือ ปิดไฟ ปิดแอร์ ถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น

8 สัมมาสมาธิ มีสมาธิชอบ หรือตั้งมั่นชอบ มั่นใจว่าทำในสิ่งที่ถูกต้องไม่หวาดเสียวต่อคำนินทาจากสังคมที่ยังไม่เห็นความสำคัญอันเนื่องเพราะการกระทำที่ผิดแผกจากผู้อื่น อีกทั้งการมีสมาธิ จะช่วยให้จิตมีพลังเพียงพอที่จะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น นำไปใช้คิดหาหนทางแก้ไขปัญหาต่อไป

ปัญหาโลกร้อน เป็นปัญหาของเราทุกคน เราทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการแก้ไข เพราะมหันตภัย อาจไม่ได้มาถึงในรุ่นลูกหลานอย่างที่เราเคยได้ยิน หากเรายังบริโภคกันอย่างฟุ่มเฟือย และขาดจิตสำนึกในการอนุรักษ์ธรรมชาติ ขาดการกระทำในทางแก้ไข มหันตภัยจะมาถึงเราไวกว่าที่เราคาดการณ์ไว้

นอกจากกรุงเทพจะจมอยู่ใต้น้ำ แผ่นดินในจังหวัดชายทะเลสูญหายเพราะถูกน้ำทะเลท่วมถึงถาวร สินค้าเกษตรราคาสูงขึ้นเนื่องจากขาดแคลนพื้นที่เพาะปลูก สิ่งเหล่านี้ เราจะได้เห็นในอีก 30 ปี ข้างหน้านี้เอง

.............................................

อ้างอิงเรื่องและรูป

วันฟ้าใส มหันตภัยโลกร้อนฉบับเยาวชน พิมพ์ครั้งที่2 สำนักพิมพ์ฟรีมายด์ 27/33 ซ.ศรีบำเพ็ญ ถ.พระราม 4 แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาธทร กรุงเทพ

ดร.นงนภัส คู่วัญญู เที่ยงกมล สิ่งแวดล้อมและการพัฒนาเล่ม 1 พิมพ์ครั้งที่ 2 ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพ

Cristina Brodie Drawing and Painting Plants Timber Press Inc. The Haseltine Building 133 S.W. Second Avenue, Suite 450 Portland, Oregon 97204-3527, U.S.A.

หมายเลขบันทึก: 320191เขียนเมื่อ 14 ธันวาคม 2009 13:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 ตุลาคม 2013 09:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (44)

สร้างบล็อคใหม่ค่ะ เลยนำบันทึกเก่ามาเพิ่มข้อมูล และแปะเป็นบันทึกแรก

สวัสดีค่ะ

แวะมาอ่านด้วยความตระหนักถึง ภัยโลกร้อน ค่ะ

ได้ไปร่วมการประชุมหนึ่งเมื่อปลายเดือนที่แล้ว มีนายทหารอากาศท่านหนึ่ง ใช้ชื่อว่า เสธ ฯ ต่าย ท่านกล่าวไว้คล้าย ๆ กันค่ะ และยังโยงถึงเหตุการณ์ 2012 ที่จะถึงและมีคนกล่าวไว้อย่างกว้างขวาง .... เมื่อบรรยายจบ คนไม่มีรากและอีกหลายคน ถามด้วยความประหวั่นพรั่นพรึงว่า ... แล้วเราจะทำอย่างไร หากวันนั้นมาถึง... ท่านตอบว่า....

ปฏิบัติธรรม เรียนรู้จิต.... คือทางรอดทางเอกครับ

ขอบคุณค่ะ

(^___^)

สวัสดี ครับ คุณ ณัฐรดา

การพยากรณ์ จากนักวิทยาศาสตร์  มีความน่าเชื่อถือค่อนข้างสูง

ประกอบกับ ข้อมูลต่าง ๆ ที่ ไม่ใช่การสร้างกระแส....แต่เป็นการสร้างความตระหนักรู้

อ่านแล้ว ก็ใจหาย...ครับ

...

เวลาที่เหลืออยู่อาจไม่ใช่หนทางรอด แต่..คือสิ่งเดียวที่ต้องทำ และทำให้ได้

หนัก...คงบรรเทาลงไปได้บ้าง

(ภาพน้ำท่วมที่สุราษฎร์ เมื่อ ปี 2532)

ขอบพระคุณมาก นะครับ

สวัสดีค่ะพี่ณัฐ

ด้วยความตระหนักรู้ความสำคัญของการรักษ์สิ่งแวดล้อม และความร่วมมือร่วมใจของทุกคน คาดว่า น่าจะ เลือนเวลาออกไป ได้นานขึ้นอีกสักหน่อยไหมคะ

ชอบแนวทางแก้ปัญหาด้วย ธรรมะ  ขอบคุณค่ะ  

สวัสดีค่ะคุณแสงแห่งความดี

เราคงได้แต่ยืดเวลาออกไปค่ะ

แต่ไม่ทราบจะได้นานแค่ไหน ตราบใดที่คนเรายังไม่ค่อยเห็นความสำคัญของปัญหา

ขอบคุณที่แวะมานะคะ

สวัสดีค่ะ  P

- เชื่อในคำทำนายของ ดร.อาจอง  ค่ะ  ครูใจดีศรัทธาท่านมาก  ยิ่งได่มีโอกาสได้พูดคุยกับท่านด้วยแล้ว ยิ่งศรัทราท่านมากขึ้น

- อาจให้ทุกๆ คน ตระหนักในปัญหาที่เกิดขึ้น  จากการติดตามข่าวสาร การประชุมที่ผ่านมา  ประเทศอุตสาหกรรม ที่เป็นตัวการก่อปัญหา... ไม่ค่อยจริงใจในการแก้ไขปัญหานี้สักเทาไหร่....

- น่าอดสูใจ จังเลย.... รุ่นเราไม่เท่าไหร่.... รุ่นลูห หลาน เหลน ซิคะ...เขาจะประสบชะตากรรมอย่างไรก็ไม่รู้

- เมื่อเป็นเช่นนี้ เราควรดำรงชีวิตอยู่ในศีลธรรม สร้างแต่ความดีต่อกันไว้ ดีที่สุดค่ะ

- ขอให้มีความสุขมากๆ นะคะ

 

สวัสดีค่ะคุณ poo

เราคงได้แต่เลื่อนเวลาออกไปค่ะ แต่สุดท้ายก็ยากที่จะหลีกเลี่ยง

เพราะความไม่จริงใจของประเทศอุตสาหกรรมใหญ่ด้วยค่ะ ที่พยายามผลักภาระไปให้ประเทศด้อยพัฒนา

น่าสังเวชใจค่ะ

สวัสดีค่ะ ไม่อยากให้เป็นเช่นนั้นเลย   ขอบคุณความรู้ ดีๆค่ะ..สบายดีน่ะค่ะ

  งั้น...ขอไปสำรวจ  โลกใหม่ก่อนน่ะค่ะ..

ให้ข้อคิดและให้ธรรมาสติที่ดีมากครับ

มาสวัสดีปีใหม่ครับ

เห็นภาพแล้ว...ล้วนเกิดจากฝีมือคนเราทั้งนั้นรึเปลานะนี่...

ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นล้วนมีเหตุปัจจัยสืบเนื่องกันมาจากรุ่นสู่รุ่น

ขอบพระคุณครับที่ไปเยี่ยม

สวัสดีค่ะ

  • มาส่งยิ้มและทักทายยามบ่ายค่ะ
  • ไม่อยากอายุยืนแล้วค่ะ .... หากวันนั้นมาถึง ขออยู่ในบ้านพร้อมกับ คุณแม่ และลูกๆ ไม่ดิ้นรนหนี ถ้าจะตายก็ตายไปพร้อมๆ กัน
  • ระลึกถึงค่ะ

 

มาชม

ทายทักแบบสบาย ๆ ใกล้ปีใหม่...

เห็นทีคนกรุงเทพฯ ต้องหาที่อยู่ใหม่แล้วนะครับ

สวัสดีปีใหม่เช่นกันครับผม

สวัสดีค่ะ คุณณัฐรดา

  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาเยี่ยมด้วยความระลึกถึงค่ะ
  • มีสุขภาพกายแข็งแรง สุขภาพใจเข้มแข็ง ให้มีแต่ความสุขตลอดปี และตลอดไปนะค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

มาสวัสดีปีใหม่ครับ คุณณัฐรดา

มีความสุขสมหวังดังตั้งใจไว้นะครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์

  • น้องซิลเวียเอาภาพรณรงค์..สู้เพื่อโลก (ไม่ให้โลกร้อน)มาฝากค่ะ

 

  • สวัสดีค่ะ คุณณัฐรดา
  • ขอบคุณข้อมูลดี ๆ ยิ่งดูหนังวันสิ้นโลก
    อ่านคำพยากรณ์ของพระพุทธเจ้า  อ่านบทความอื่น ๆ ประกอบ
    ก็มองเห็นเค้าว่าจะเกิดขึ้นจริงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
  • มนุษย์ทำลายธรรมชาติ  สุดท้ายดาบนั้นคืนสนอง เป็นกฎแห่งกรรมที่หลีกเลี่ยง
    ไม่ได้   คงต้องช่วยกันพยุงโลกใบนี้ก่อนจะสายเกินไปนะคะ
  • ถือโอกาสส่งความรักและความปรารถนาดีในช่วงปีใหม่ด้วยการ์ดใบนี้ค่ะ

 

สวัสดีค่ะคุณณัฐรดา..ขอบคุณค่ะที่นำมาให้รู้สำนึกว่าจะใช้อะไรต้องคิดอย่างรอบคอบเพื่อโลกของเรานะคะ

ขอให้คุณณัฐรดา P  และครอบครัวมีความสุข และความเจริญค่ะ
สวัสดีปีใหม่ค่ะ
  • เครื่องร่วนค่ะ ช่วยลบข้างบนทิ้งได้ค่ะ
  •  สวัสดีปีใหม่ 2010
  • อวยพร ขอให้มีความสุข และความเจริญค่ะ

สวัสดีค่ะพี่ณัฐรดา Vij แวะมาอวยพรปีใหม่ค่ะ


ระลึกถึงเสมอค่ะ

                                                  สวัสดีปีใหม่ ๒๕๕๓ 

                           ขอให้คุณณัฐรดา และครอบครัวมีความสุขม๊ากๆ นะค่ะ =)

สวัสดีครับ พี่ตุ๊กตา 

        ขออนุญาตแสดงความเห็นแบบตรงไปตรงมาดังนี้ครับ

 

        1) เรื่องภาวะโลกร้อน (Global Warming) นั้น ถ้าจะให้ตรงประเด็น ก็น่าจะพูดถึง การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Climate Change) 

 

        2) การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศจะส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางแน่นอน และดูเหมือนจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นสิ่งที่คน (แต่ละคน) ชุมชน (กลุ่มคน) สังคม (แต่ละสังคม - อาจหมายถึงประเทศ) และประชาคมโลก (ภาพรวมทั้งหมด) ต้องทำคือ

              2.1) การปรับตัวให้เข้ากับสภาพใหม่

              2.2) การปรับพฤติกรรมในแต่ละระดับ (คน, ชุมชน, สังคม & ประชาคมโลก) เพื่อชะลอ บรรเทา หรือ (ถ้าเป็นไปได้ & มุ่งมั่นเพียงพอ) หยุดการเปลี่ยนแปลงบางอย่าง

 

        3) การที่มีคน หรือองค์กร ออกมาเตือนเรื่องภัยพิบัติมีข้อคำนึงบางแง่มุม

              3.1) หากใช้หลักการทางวิชาการถูกต้อง หลักฐานข้อเท็จจริงเชื่อถือได้ & มีศิลปะในการนำเสนอ ก็จะเป็นการสร้างความตระหนักแก่สาธารณชน (public awareness) ซึ่งนับเป็นเรื่องดี เพราะอาจจะทำให้เกิดการตื่นตัวในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์

              3.2) หากใช้หลักการทางวิชาการไม่ถูกต้อง หลักฐานล้าสมัย จริงปนเท็จ และเจือปนด้วยอคติส่วนตัวมาก ก็จะเป็นการสร้างความเข้าใจผิด ความเข้าใจคลาดเคลื่อน และมายาคติ (หรือถึงขั้นอวิชชาได้ทีเดียว) จนก่อให้เกิดความตระหนก (panic) และ ที่สำคัญคือ แก้ปัญหาไม่ตรงจุด 

              ยิ่งถ้าผู้ให้ข้อมูล (คน หรือองค์กร) ดูน่าเชื่อถือ ก็จะทำให้ความเข้าใจผิดกระจายออกไปในวงกว้าง เพราะสื่อสารมวลชนและสื่อประชาชนให้ความสนใจ

 

        4) สำหรับกรณีของ ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา ในบันทึกนี้ ผมมีความเห็นว่า น่าจะเข้าข่าย 3.2) มากกว่า นั่นคือ ข้อมูลไม่น่าเชื่อถือ

            ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ครับ

            4.1) ท่านไม่ได้ทำงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านที่เกี่ยวข้องกับ ศาสตร์เกี่ยวกับโลก (Earth Science) และการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Climate Change) สังเกตว่าท่านอ้างข้อมูลจากแหล่งต่างๆ โดยเลือกบางแง่มุมมานำเสนอเท่านัน (เข่าข่าย Confirmation Bias คือ เลือกเฉพาะหลักฐาน หรือข้อมูลที่สนับสนุนความเชื่อของตนมาแสดง)

           4.2) เมื่อปลายปี 2551 ต่อต้นปี 2552 ถ้ายังจำกันได้ว่าอากาศหนาวจัดเป็นระยะ ท่านได้ทำนายว่า ประเทศไทยอาจจะมีหิมะตก

           แต่ในที่สุดก็ไม่มีหิมะตก และยังไม่ปรากฏว่าผู้พูดแสดงความรับผิดชอบใดๆ 

          4.3) ย้อนกลับไปหลายก่อน ท่านเคยให้สัมภาษณ์ นสพ.กรุงเทพธุรกิจ ว่าจะเกิดภัยพิบัติขนานใหญ่ในอีก 12 ปีข้างหน้า (นับจากวันที่พูด) โดยอ้างว่า "...ได้ทำการคำนวณ...." แต่ก็ไม่ได้ระบุว่าจะเกิดอะไร อย่างไร ที่ไหน เมื่อไร ฯลฯ  

          4.4) ย้อนกลับไปนานกว่า 10 ปี ท่านเคยอ้างเรื่องความสามารถในการเรียก UFO ต่อหน้าคนจำนวนมาก แต่ไม่ปรากฏแม้แต่ครั้งเดียวว่าสามารถทำต่อหน้าสื่อสารมวลชนได้ (มีแต่ข้อกล่าวอ้าง)

 

สรุป :

          หากเป็นคนทั่วไปที่มีวิจารณญาณที่ดี การที่มีใครก็ตามออกมาเตือน ก็พึงรับฟังไว้ แต่ก็ควรจะตรวจสอบให้รอบด้านก่อนจะเชื่อ ไม่เชื่อ หรือรอข้อมูลเพิ่มเติม  

          ยิ่งเป็นชาวพุทธ หลักกาลามสูตรน่าจะตรงกับกรณีในบันทึกนี้ไม่น้อยไปกว่าหลักอื่น

 

เพิ่มเติม :

        หากถามผมว่า แล้วในกรณีเรื่องโลกร้อนนี้ควรฟังใคร (ที่น่าเชื่อถือ) จากความรู้และประสบการณ์ของผม ขอตอบว่า ข้อมูลจาก ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา และหน่วยงานของท่านคือ START (จะหาชื่อเต็มมาให้ภายหลัง หากสนใจ) เป็นข้อมูลที่มีความเป็นวิชาการ มีความน่าเชื่อถือสูง ตรวจสอบได้ และมีคำแนะนำต่างๆ ที่เป็นรูปธรรม  

-------------------------------------------------------------------------------------------

 

ขอบคุณพี่ตุ๊กตาที่สละเวลาอ่านซะยาวเชียว....เป็นทรรศนะของคนที่ทำงานด้านวิทยาศาสตร์คนหนึ่งครับ ^__^

 

มาส่งความสุขความปรารถนาดีก่อนใกล้ปี 2553 นะครับ คุณณัฐรดา

ขอร่วมเป็นห่วง กทม.และโลกของเราด้วยค่ะ..มาร่วมด้วยช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมให้ดีที่สุดกันนะคะ...ขอให้มีความสุขในทุกวันค่ะ..

 

 

สวัสดีครับพี่ณัฐรดา

ผมได้ขนมแล้วครับ อร่อยมากๆครับ ต้องขอบคุณสำหรับขนมที่ฝากมาให้ผมนะครับ :)

Merry x'mas ครับ

Picture0008

พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

ในวาระดิถีขึ้นปีใหม่ พ.ศ. ๒๕๕๓

ขอให้คุณณัฐรดาและครอบครัวมีความสุขดังบทบาลีที่ว่า เต อัตถลัทธา สุขิตา วิรุฬหา พุทธสาสเน อโรคา สุขิตา โหถะ สหสัพเพหิ ญาติภิ. ขอให้ครอบครัวของท่านพร้อมด้วยหมู่ญาติ จงประสบสุขในสิ่งที่ปรารถนา มีสุขภาวะที่สมบูรณ์ปราศจากโรคภัยและเจริญงอกงามไพบูลย์ในพุทธธรรมตลอดไป เทอญ.

เชิญไตรรัตน์พิพัฒน์พร้อมนำสุข 

ปราศจากผองทุกข์ ปรีเปรมเกษมศานต์ 

จตุรพิธผลดลบันดาล

ทรัพย์ตระการตลอดปีใหม่เทอญ

 

เจริญสุขสวัสพิพัฒน์ยิ่งเนื่องในวันปีใหม่นะคุณ ณัฐ เจริญพร

สวัสดีค่ะคุณณัฐรดามาอวยพรปีใหม่ค่ะ

สวัสดีค่ะ ไม่ค่อยได้แวะมา ระลึกถึงเสมอค่ะ และขอมาส่งความสุขปีใหม่นะคะ คนดี ๆ หัวใจธรรม ขอให้พบพานแต่สิ่งดี ๆ ค่ะ

     

ขอโทษครับๆ คุณแม่ณัฐรดา เมื่อกี้ดูจากรูปนึกนาเป็นคุณพี่ แต่พอเข้าไปเยี่ยมบล็อกแม่แล้วจึงรู้ว่าเป็นคุณแม่ ^_^

(ใส่ภาพได้ยังไงครับผมทำไมเป็นช่วยแนะนำด้วยครับ)

ได้ความรู้แบบบูรณาการพุทธกับวิทยาศาสตร์ชัดเจนครับ

ขอชื่นชมครับ เปรียบเทียบ ศิลปะ กับการอนุรักษ์ธรรมชาติได้ดีครับ

ศิลปะ คือธรรมชาติแยกกันไม่ออก ...... ศิลปะ สร้างสมาธิ

ปัจจุบันวงการศึกษาพูดถึง จิตปัญญา กับการศึกษาใน ศาสตร์ต่างๆ

ถ้าพิจารณา สาระส่วนหนึ่ง... ก็มาจาก กระบวนการทำงาน และเนื้อหาของงานศิลปะ นั่นเองครับ

ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท