การพัฒนากระบวนการคิดโดยใช้กิจกรรมเรียนรู้ไตรลักษณ์ตามศักยภาพผู้เรียนในแผนการจัดการเรียนรู้เดียวกันที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการคิดคำนวณวิชาวิทยาศาสตร์เพิ่มเติม (ฟิสิกส์) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4


วิจัยครูเครือข่ายวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน

การพัฒนากระบวนการคิดโดยใช้กิจกรรมเรียนรู้ไตรลักษณ์ตามศักยภาพผู้เรียนในแผนการจัดการเรียนรู้เดียวกันที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการคิดคำนวณวิชาวิทยาศาสตร์เพิ่มเติม (ฟิสิกส์) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

นางสมสุข   แสงปราบ 

โรงเรียนนางรอง  

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3

บทคัดย่อ               

           การศึกษาวิจัยในครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ประกอบด้วย 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพกิจกรรมเรียนรู้ไตรลักษณ์ตามศักยภาพผู้เรียนในแผนการจัดการเรียนรู้เดียวกัน มาใช้พัฒนากระบวนการคิดคำนวณวิชาวิทยาศาสตร์เพิ่มเติม (ฟิสิกส์) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา  2548 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐานกำหนด 80 / 80  2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการคิดคำนวณวิชาวิทยาศาสตร์เพิ่มเติม (ฟิสิกส์) ของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างจำนวน 2 กลุ่ม กลุ่มควบคุมที่ใช้การจัดการเรียนการสอนแบบปกติ  และกลุ่มทดลองที่จัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเรียนรู้ไตรลักษณ์ตามศักยภาพผู้เรียนในแผนการจัดการเรียนรู้เดียวกัน ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4  ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2548   3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนกลุ่มทดลองที่จัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเรียนรู้ไตรลักษณ์ตามศักยภาพผู้เรียนในแผนการจัดการเรียนรู้เดียวกัน    กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2548 โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงเป็น 2 กลุ่ม แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมจำนวน 43  คน  กลุ่มทดลองจำนวน  45  คน ตามจำนวนนักเรียนของการจัดห้องเรียนตามสภาพจริง  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ  กิจกรรมเรียนรู้ไตรลักษณ์ตามศักยภาพผู้เรียน แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติสำหรับกลุ่มควบคุม  แผนการจัดการเรียนรู้กิจกรรมเรียนรู้ไตรลักษณ์ตามศักยภาพผู้เรียนในแผนการจัดการเรียนรู้เดียวกันสำหรับกลุ่มทดลอง จำนวนกลุ่มละ 10 แผน สาระการเรียนรู้การคิดคำนวณวิชาวิทยาศาสตร์เพิ่มเติม (ฟิสิกส์) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนกลุ่มทดลอง   สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าสัมประสิทธิ์การกระจายของคะแนนรวม และสถิติทดสอบความแตกต่างของคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนของกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองโดยใช้ค่าที (t-test) 

           ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิภาพของกิจกรรมเรียนรู้ไตรลักษณ์ตามศักยภาพผู้เรียนในแผนการจัดการเรียนรู้เดียวกัน มีประสิทธิภาพ 90.1 / 89.0 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้  80 / 80  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการคิดคำนวณวิชาวิทยาศาสตร์เพิ่มเติม (ฟิสิกส์)  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4  ภาคเรียนที่  2 ปีการศึกษา  2548  ของนักเรียนกลุ่มทดลองที่จัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเรียนรู้ไตรลักษณ์ตามศักยภาพผู้เรียนในแผนการจัดการเรียนรู้เดียวกัน  สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ใช้การจัดการเรียนรู้แบบปกติ  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .01 และความพึงพอใจของนักเรียนกลุ่มทดลองที่จัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเรียนรู้ไตรลักษณ์ตามศักยภาพผู้เรียนในแผนการจัดการเรียนรู้เดียวกัน วิชาวิทยาศาสตร์เพิ่มเติม (ฟิสิกส์) มีความพึงพอใจในระดับ มากที่สุด

Full paper as below link:

http://gotoknow.org/file/lklomkul/Ajan_Somsuk.pdf

หมายเลขบันทึก: 320190เขียนเมื่อ 14 ธันวาคม 2009 12:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤษภาคม 2012 14:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท