เป็นแรงบันดาลใจให้คนเรียนรู้ : ศาสตราจารย์แพทย์หญิงศิริกุล อิศรานุรักษ์


.....ครูที่สอนให้คนได้เรียนรู้ได้อย่างแจ่มแจ้ง ถือว่าเป็นครูดี แต่ครูที่เป็นแรงบันดาลใจให้ผู้คนเกิดพลังชีวิตที่จะเดินออกไปเรียนรู้ด้วยตนเองต่อไปนั้น นับว่าเป็นยอดแห่งครู และผมซึ่งได้ทำงานร่วมกับอาจารย์อยู่หลายปีนี้ ก็คิดว่าอาจารย์เป็นครูอย่างหลังนี้....

           ผมได้ร่วมงานกับท่านอาจารย์ศิริกุลหลายโอกาสด้วยกัน นับตั้งแต่สมัยที่ รองศาสตราจารย์ ดร.บุญยง เกี่ยวการค้า เป็นผู้อำนวยการ สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล (๒๕๔๔-๒๕๔๗) อาจารย์ก็เป็นรองผู้อำนวยการ ส่วนผมเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการ อาจารย์ก็สนับสนุนให้ก่อตั้งและพัฒนาศูนย์วิจัยปฏิบัติการเครือข่ายประชาสังคมเพื่อพัฒนาสุขภาพชุมชน รวมทั้งเป็นฝ่ายวิชาการช่วยอาจารย์ดูแลโครงการจัดประชุมวิชาการประจำปี งานบริการวิชาการ กับโครงการอบรมและประชุมสัมมนาที่สำคัญ รวมทั้งเป็นที่ปรึกษางานบริหาร กรรมการ และคณะทำงานต่างๆ

           ต่อมาอาจารย์ก็ได้รับเลือกสรรให้เป็นผู้อำนวยการและได้รับการเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัยมหิดล แต่งตั้งขึ้นเป็นผู้อำนวยการหญิงคนที่ ๒ ของสถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน หรือสถาบันพัฒนาสุขภาพในปัจจุบัน ซึ่งอาจารย์ก็ให้ความไว้วางใจ ให้ผมได้ร่วมเป็นทีมบริหารโดยเป็นรองผู้อำนวยการ (๒๕๔๘-๒๕๕๒) ร่วมกับ รองศาสตราจารย์ ดร.จิราพร ชมพิกุล และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมศักดิ์ วงศาวาส กับผู้ช่วยผู้อำนวยการอีก ๒ ท่าน คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษ  ดร.เนตร หงษ์ไกรเลิศ และ คุณสุมาลี อำไพรัตน์ จึงเป็นโอกาสที่ดีที่สุดครั้งหนึ่งในชีวิตการทำงานของผมที่ได้ทำงานกับอาจารย์ ได้ร่วมสร้างสรรค์และพัฒนางานต่างๆกับอาจารย์ทั้งเพื่อสถาบัน มหาวิทยาลัยมหิดล กระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานของกระทรวงทบวงกรมต่างๆ ได้ทำประโยชน์ ได้เรียนรู้ และได้ความประทับใจมากมายในชีวิตการทำงาน

                             

                             ศาสตราจารย์แพทย์หญิงศิริกุล อิศรานุรักษ์ (ยืนกลาง) ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาสุขอาเซียน คนที่ ๕ และ ดร.วิรัตน์ คำศรีจันทร์ กับรองศาสตราจารย์ ดร.จิราพร ชมพิกุล สองรองผู้อำนวยการในทีมของอาจารย์ (๒๕๔๘-๒๕๕๒)

                            

                             แพทย์หญิงสุพัตรา ศรีวณิชชากร (ซ้าย) ในฐานะผู้อำนวยการและผู้นำทีมบริหารของสถาบันชุดที่ ๖ (๒๕๕๒-๒๕๕๕) กับ ศาสตราจารย์แพทย์หญิงศิริกุล อิศรานุรักษ์ (ขวา)

            ผมชอบให้ความสนใจเรื่องพลังชีวิตและพลังการเรียนรู้ของมนุษย์ ดังนั้น ปูมชีวิตแทบจะทุกขั้นตอนของอาจารย์ศิริกุลจึงเป็นศูนย์กลางความสนใจสำหรับผมเหมือนกับการได้อ่านหนังสือที่เต็มไปด้วยเรื่องราวน่าตื่นเต้น บันทึกนี้จึงเป็นการถ่ายทอดบทเรียนรายทางที่ผมได้จากอาจารย์อย่างครูพักลักจำ 

           พื้นเพอาจารย์เป็นคนจังหวัดนราธิวาส  ซึ่งในยุคที่อาจารย์ก่อเกิดเมื่อ ๕๐-๖๐ ปีก่อนนั้นต้องถือว่าเป็นชนบท หลายแห่งยังเป็นพื้นที่สีชมพูไปจนถึงสีแดง แต่ด้วยความเป็นคนเรียนเก่งก็ทำให้อาจารย์สามารถข้ามทุ่งมาจากชนบทเมืองนราธิวาสเข้ามาเรียนจนจบแพทยศาสตร์ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในกรุงเทพมหานคร ซึ่งก็นับว่าเป็นเดี่ยวมือหนึ่งมากแล้ว ทว่า ยังไม่หยุดอยู่แค่นั้น

            หลังจากจบแพทย์ อาจารย์ก็ได้รับการบรรจุเข้าเป็นข้าราชการของกระทรวงสาธารณสุข ต่อมาก็ขึ้นไปเป็นหมออยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ ภาคเหนือของประเทศ และต่อมาก็ได้รับเลือกให้มาเป็นเลขานุการของผู้บริหารระดับอธิบดีของกระทรวงสาธารณสุข จากนั้นก็มาเป็นอาจารย์ของคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล แล้วก็นำเอาประสบการณ์ทั้งหมดมาใช้ทำงานอยู่กับพวกเรา ขึ้นเป็นผู้อำนวยการต่อจาก รองศาสตราจารย์ ดร.บุญยง เกี่ยวการค้า แล้วก็ได้รับทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์อยู่ที่สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน เส้นทางชีวิตของอาจารย์จึงช่างมีพลังแห่งความเติบโตงอกงาม ดีงาม และเป็นไปเพื่อร่วมสร้างประโยชน์สุขแก่ผู้คนอย่างกว้างขวางอยู่ตลอด  

                            

                             ศาสตราจารย์แพทย์หญิงศิริกุล อิศรานุรักษ์ นอกจากเป็นครูอาจารย์ทั้งของศิษย์ชาวไทยและชาวต่างประเทศที่มาจากภูมิภาคต่างๆทั่วโลกแล้ว อาจารย์เป็นผู้มีความอ่อนน้อมและกตัญญูู เป็นผู้บริหารที่ผสมผสานวัฒนธรรมที่ดีของสังคมไทยให้สืบทอดเข้าสู่องค์กรสมัยใหม่ ในภาพ  : อาจารย์ริเริ่มนำชาวสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน จัดงานแสดงมุทิตาจิตแด่คณาจารย์อาวุโสของสถาบัน ๔ ท่าน โดยเชิญให้ทุกท่านมาบรรยายถ่ายทอดประสบการณ์ให้แก่ชาวสถาบันและเลือกสรรค์ผลงานตีพิมพ์เผยแพร่เหมือนกับเป็นการส่งไม้ต่อให้แก่คนรุ่นใหม่ ประกอบด้วย ศาสตราจารย์นายแพทย์ ดร.กระแส ชนะวงศ์ (หมอแมกไซไซ) รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงเยาวรัตน์ ปรปักษ์ขาม  ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.พันธุ์ทิพย์ รามสูต นายแพทย์จำรูญ มีขนอน อดีตรองปลัดกระทรวงสาธาารณสุข ในภาพจะเห็นผู้มีบทบาทสำคัญต่อวงวิชาการและการพัฒนาสาขาต่างๆของประเทศและของเวทีนานาชาติ เช่น จากแถวหน้าศาสตราจารย์นายแพทย์ธีระ รามสูต อดีตอธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (คนที่ ๒ จากซ้าย) พล.ร.ท.มรว.ปุสาณ สวัสดิวัฒน์ ประธานมูลนิธิเพื่อชีวิตพัฒนา (คนที่ ๕ จากซ้าย) ซึ่งมาร่วมพัฒนาโครงการวิจัยด้านผู้สูงอายุกับสถาบัน นายแพทย์พิทยา จารุพูนผล (คนแรกจากริมขวา) คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์  ศิษย์เก่าดีเด่นของสถาบัน และรางวัลผู้บริหารดีเด่นระดับประเทศ ศาสตราจารย์ ดร.วีระพงศ์ ปรัชชาสิทธิกุล (คนที่ ๒ จากริมขวา) คณบดี คณะเทคนิคการแพทย์ อดีตรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และรางวัลศิษย์เก่าดีเด่น คณะวิทยาศาสตร์ และรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น  Lund University ประเทศสวีเดน

                             

                            

                             แพทย์หญิงสุพัตรา ศรีวณิชชากร ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน นำชาวสถาบันจัดงานขอบคุณให้กับ ศาสตราจารย์แพทย์หญิงศิริกุล อิศรานุรักษ์ ในฐานะผู้อำนวยการคนที่ ๕ พร้อมกับอาจารย์ครบวาระเกษียณอายุราชการและขออำลาชีวิตราชการ

            นอกจากได้ร่วมงานและร่วมเป็นทีมบริหารให้อาจารย์แล้ว ผมชอบเป็นนักเรียน เรียนรู้กับอาจารย์แบบครูพักลักจำด้วย ซึ่งก็ได้สัมผัสความเป็นอาจารย์ว่าอาจารย์เป็นแพทย์ อาจารย์ นักวิจัย และนักวิชาการ ที่เป็นองค์รวมและบูรณาการหลายอย่างอยู่ในตนเอง

            อาจารย์ทำวิจัยและเชี่ยวชาญในด้านการพัฒนาเด็กและครอบครัว ทั้งในมิติการแพทย์ สาธารณสุข จิตวิทยาสังคม การพัฒนาการศึกษาเรียนรู้ รวมไปจนถึงนวัตกรรม สื่อ และเครื่องมือการทำงานพัฒนาสุขภาพที่มีความเหมาะสมสำหรับชุมชนและคนส่วนใหญ่ที่เป็นชาวบ้านของประเทศกำลังพัฒนา

             ผมเคยเชิญอาจารย์มาเป็นครูนั่งถ่ายทอดความรู้และพัฒนาทักษะปฏิบัติเพื่อการพัฒนาเด็กอย่างเป็นองค์รวมสำหรับครอบครัวและชุมชน ในเวทีกิจกรรมชมรมชีวเกษมซึ่งผมกับชุมชนพุทธมณฑลร่วมกันทำให้เป็นเวทีเรียนรู้เพื่อพึ่งตนเองในการสร้างสุขภาพของประชาชนในทุกวันเสาร์อาทิตย์ที่กลางสนามหญ้าหน้าสถาบันพัฒนาการสุขภาพอาเซียน ก็เป็นที่ประทับใจและสร้างความซาบซึ้งให้แก่เครือข่ายชุมชนเป็นอย่างยิ่ง

           หลายครั้งที่ผมได้ไปบรรยายหรือไปทำวิจัยตามต่างจังหวัด ก็มักได้เจอกับคนที่มาแนะนำตนเองว่าเป็นลูกศิษย์อาจารย์ ซึ่งมีอยู่เสมอที่จะบอกว่าอาจารย์เป็นครูและเป็นตัวแบบอุดมคติในการทำงานสำหรับเขา ซึ่งบางทีก็เป็นเพียงเหตุผลเดียวที่ทำให้ผมรับฟังและต้องเดินทางตะรอนๆไปไกลๆเพื่อไปเป็นวิทยากรหรือที่ปรึกษางานวิจัยให้กับเขา เพราะผมเชื่อว่าคนมีครูนั้นจะมีพลังและแรงบันดาลใจเพื่อทำงานสู้สิ่งยากให้กับสังคมได้มากกว่าปรกติ ซึ่งในทางการศึกษานั้น ครูของผมอีกสองท่าน คือ ศาสตราจารย์นายแพทย์ ดร.กระแส ชนะวงศ์ กับรองศาสตราจารย์  ดร.สุวัฒน์  นิยมค้า แห่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวตรงกันว่า ครูที่สอนให้คนเรียนรู้ได้อย่างแจ่มแจ้ง ถือว่าเป็นครูดี แต่ครูที่เป็นแรงบันดาลใจให้ผู้คนเกิดพลังชีวิตที่จะเดินออกไปเรียนรู้ด้วยตนเองต่อไปนั้น นับว่าเป็นยอดแห่งครู และผมซึ่งได้ทำงานร่วมกับอาจารย์อยู่หลายปี ก็คิดว่าอาจารย์เป็นครูอย่างหลังนี้

            อาจารย์ขึ้นเป็นผู้อำนวยการของสถาบัน เมื่อสถาบันเริ่มเข้าสู่ทศวรรษที่ ๓  ซึ่งนอกจากสถาบันจะเริ่มมีความเก่าแก่เลยความเป็นวัยรุ่นแล้ว  สภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมทั้งในและนอกมหาวิทยาลัยก็มีความแตกต่างจากห้วงเวลาอื่นๆ ที่สำคัญคือ ถึงรอบที่คนรุ่นอาวุโสที่เคยเป็นหลักอันเข้มแข็งของสถาบันหลายคนเกษียนอายุราชการ ขณะเดียวกัน กำลังคนของสถาบันที่เป็นรุ่นถัดไปที่พอจะขึ้นมาสานต่องานในรุ่นอาจารย์กับผู้บริหารในรุ่นของอาจารย์ก็ห่างทิ้งช่วงกันไปนับ ๑๐ ปี สิ่งที่อาจารย์ต้องเผชิญอันดับแรกเลยจึงเป็นทั้งการขาดคนพร้อมๆกับที่จะต้องสร้างคนไว้ให้สถาบันเพื่อการทำงานหลายอย่างให้สืบเนื่องสู่อนาคต

            นอกจากนี้  ก็เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านของมหาวิทยาลัยเพื่อพัฒนาไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาล  แนวนโยบายและระบบดำเนินการต่างๆจึงอยู่ในภาวะไม่แน่นอน ต้องทำไปก็พัฒนาระบบต่างๆขึ้นมาด้วย ก่อให้เกิดภาวะกดดันต่อการบริหารงานในองค์กรเล็กๆอย่างสถาบันเป็นอย่างมาก แต่ด้วยความแม่นยำ เคร่งครัด ส่งเสริมการมีส่วนร่วมเพื่อระดมพลังกันของชาวสถาบัน และให้ความไว้วางใจเป็นอย่างมากต่อน้องๆที่เป็นผู้บริหาร ก็ทำให้อาจารย์สามารถนำการพัฒนาสถาบันให้ประสบความสำเร็จในทุกด้าน

            อาจารย์นำชาวสถาบันให้ขยายบทบาทระดับนานาชาติที่สะท้อนถึงการพัฒนามาก่อนหน้านั้นมากยิ่งๆขึ้น  เช่น การพัฒนาเครือข่ายนานาชาติ ในหลายกรอบ  ทั้งการเป็นศูนย์ประสานความร่วมมือทางวิชาการนานาชาติเพื่อพัฒนาสาธารณสุขมูลฐานขององค์การอนามัยโลก  การพัฒนาเครือข่ายสนับสนุนทางวิชาการเพื่อการดำเนินงานด้านเอดส์ในกลุ่มประเทศอินโดจีน  การจัดประชุมนานาชาติเรื่อง Global Health ซึ่งทำให้ศิษย์เก่าผู้จบการศึกษาจากสถาบันจากภูมิภาคต่างๆทั่วโลก ได้มาร่วมประชุม นำเสนอผลงานวิจัยและผลงานที่ประสบความสำเร็จในประเทศของตน พร้อมกับตั้งชมรมศิษย์เก่าขึ้นมาเป็นเครือข่ายนานาชาติ ตลอดจนพัฒนาการวิจัยและสร้างยุทธศาสตร์การพัฒนาของสถาบันรองรับการริเริ่มของคนในสถาบันอย่างกว้างขวาง  นับว่าอาจารย์ได้นำความสำเร็จให้เกิดขึ้นอย่างที่สุดกับสถาบันในสถานการณ์ที่มีข้อจำกัดมาก

             อาจารย์เป็นคนละเอียดอ่อน ใส่ใจและพิถีพิถันในรายละเอียดที่มีความหมายต่อจิตใจและผู้คนทุกระดับ  มีรสนิยมที่เรียบง่าย ประหยัด ยึดถือความถูกต้องและซื่อตรง รักษาผลประโยชน์และเกียรติภูมิของราชการเป็นอย่างยิ่ง  มีความศรัทธาต่อศาสนธรรมและการปฏิบัติเพื่อความดีงาม เป็นผู้นำองค์กรในการส่งเสริมความนิยมไทยและใช้ทรัพยากรต่างๆอย่างมีความหมายมากเป็นอย่างยิ่ง  อาจารย์ใช้กระดาษหมุนเวียนทั้งสองด้าน และยังนำเครื่องพิมพ์แบบ Dot Matrix ของตนเองซึ่งเป็นเทคโนโลยีตกรุ่นไปตั้งแต่ยุคอนาล็อก มาพิมพ์งานฉบับร่างเพื่อปรับปรุงแก้ไขจนได้ต้นฉบับขั้นสุดท้ายแล้วจึงจะใช้เครื่องพิมพ์ดิจิตอลมาพิมพ์งานของส่วนรวมในขั้นสำเร็จออกมา เหล่านี้เป็นต้น

                             

                            

                             บน : แมกไม้ร่มรื่นและสวยงามด้านหน้าสถาบัน และล่าง : ชมรมชีวเกษม กลุ่มประชาคมสุขภาพกลุ่มหนึ่งในอำเภอพุทธมณฑลและชมรมผู้สูงอายุ ใช้สนามหญ้าใต้ร่มไม้อันร่มรื่นด้านหน้าสถาบัน เป็นแหล่งออกกำลังกายสร้างสุขภาพและทำกิจกรรมตามความสนใจในวันเสาร์-อาทิตย์

               อาจารย์รักความเป็นธรรมชาติ  ประหยัดทรัพยากรและลดการใช้พลังงาน  แต่เน้นให้สถาบันมีความร่มรื่น  เป็นสภาพแวดล้อมที่สวยงามด้วยธรรมชาติและเอื้อต่อการใช้ชีวิตอยู่เพื่อการศึกษาเรียนรู้อย่างมีความสุข อาจารย์จึงนำชาวสถาบัน ทำสถาบันและสภาพแวดล้อมให้มีความเป็นองค์กรสร้างเสริมสุขภาพ มีแหล่งทำกิจกรรมและนั่งสนทนากลุ่มแบบสบายๆกลางแจ้ง โดยรอบสถาบันอาจารย์ก็ระดมพลังชาวสถาบันให้ช่วยกันปรับปรุงด้วยการปลูกต้นไม้สารพัด  ทำแนวสำหรับเดินและวิ่งออกกำลังกายได้จากหน้าอาคารหอพักอาเซียนเฮาส์ อ้อมไปด้านหลัง กระทั่งออกไปสู่สนามหญ้าติดกับถนนด้านหน้าของมหาวิทยาลัย

             ตลอดแนวทางเดินโดยรอบสถาบันดังกล่าว  อาจารย์ก็ปลูกต้นลีลาวดีหลากสี  และด้านติดกับถนนด้านหน้ามหาวิทยาลัย ก็ปลูกเป็นแนวหลายชั้นสลับกับต้นดอกปีบและไม้ยืนต้นที่มีอยู่แต่เดิม หากงอกงามเติบโตเต็มที่ก็จะเป็นสวนลีลาวดีที่สวยงาม ร่มรื่น เหมือนกับความเป็นทั้งหมดของอาจารย์ ที่ฝากให้เป็นที่รำลึกถึงและเป็นกำลังใจกันต่อทุกคนที่เคยทำงานด้วยกันที่สถาบัน.

หมายเลขบันทึก: 318661เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2009 12:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้าจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (53)

สวัสดีค่ะอ.วิรัตน์

อ่านบันทึกนี้อย่างเต็มอิ่มค่ะ อ่านไปยิ้มไป พยักหน้าไป ด้วยความปิติสุข...

การได้อ่านเรื่องราวของ "ครู" ทำให้โลกทัศน์กว้างขึ้น ตระหนักชัดมากขึ้นในความมุ่งมั่นเสียสละของ "ครู" และพาให้คิดต่อไปว่าจะมี "ครู" เช่น ศาสตราจารย์แพทย์หญิงศิริกุล อิศรานุรักษ์ อีกมากมายสักเพียงไหนหนอ

...ครูที่สอนให้คนเรียนรู้ได้อย่างแจ่มแจ้ง ถือว่าเป็นครูดี แต่ครูที่เป็นแรงบันดาลใจให้ผู้คนเกิดพลังชีวิตที่จะเดินออกไปเรียนรู้ด้วยตนเองต่อไปนั้น นับว่าเป็นยอดแห่งครู...

...อาจารย์เป็นคนละเอียดอ่อน ใส่ใจและพิถีพิถันในรายละเอียดที่มีความหมายต่อจิตใจและผู้คน ทุกระดับ  มีรสนิยมที่เรียบง่าย ประหยัด ยึดถือความถูกต้องและซื่อตรง รักษาผลประโยชน์และเกียรติภูมิของราชการเป็นอย่างยิ่ง  มีความศรัทธาต่อศาสนธรรมและการปฏิบัติเพื่อความดีงาม เป็นผู้นำในองค์กรในการส่งเสริมความนิยมไทยและใช้ทรัพยากรต่างๆอย่างมีความหมายมากเป็นอย่างยิ่ง  อาจารย์ใช้กระดาษหมุนเวียนทั้งสองด้าน และยังนำเครื่องพิมพ์แบบ Dot Matrix มาพิมพ์งานฉบับร่างเพื่อปรับปรุงแก้ไขจนได้ต้นฉบับขั้นสุดท้ายแล้วจึงจะใช้เครื่องพิมพ์งานของส่วนรวม พิมพ์ชิ้นงานขั้นสำเร็จออกมา รวมทั้งความรักความเป็นธรรมชาติ  ประหยัดทรัพยากรและลดการใช้พลังงาน  แต่เน้นให้สถาบันมีความร่มรื่น ...

ความดีที่ควรยกย่องเหล่านี้ หากไม่มีผู้เล่าขาน บันทึกไว้แล้ว... สังคมคงสูญเปล่า "ต้นทุน" ไปอย่างน่าเสียดายยิ่ง...

อยากให้มีคนมาอ่านบันทึกเช่นนี้มาก ๆ ค่ะ

ขอบพระคุณค่ะ

(^___^)

  • สวัสดีค่ะ อาจารย์
  • ความดี ความงดงาม ของสรรพสิ่งใดๆก็ตาม สมควรที่จะได้รับการยกย่องค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ อาจารย์วิรัตน์ คำศรีจันทร์

  • ครู ที่มุ่งมั่น เฝ้าเพียรสอนสั่ง ทำให้เด็กเกิดการเปลี่ยนแปลงในชีวิต
  • ครู ที่พากันเรียนรู้ ทำให้ดู อยู่ให้เห็น
  • ครู ที่สร้าง และเป็นแรงบันดาลใจให้กับศิษย์ ได้เติบโตแข็งแรงต่อไป

เห็นด้วยกับคุณคนไม่มีราก ค่ะว่าสมควรบันทึกไว้ให้สังคมที่กำลัง “พร่อง” ในหลายๆ เรื่องในสถานการณ์ปัจจุบัน ให้ได้รับรู้ว่ายังมีครูดีๆ แบบนี้ในสังคมไทย และยังมีเพื่อนร่วมงานที่เกื้อกูล สานประโยชน์ และจิตใจงาม อย่างครูวิรัตน์เช่นกันค่ะ

อาจารย์ทำให้คิดถึงคำพูดของอาจารย์หมอกระแส ชนะวงษ์ นะค่ะ "Add value to people" ^^

  • สวัสดีค่ะอาจารย์
  •  ตามน้องโก๊ะ มาอ่านบันทึกที่งดงาม และเป็นประโยชน์ต่อสังคม
  •  อ่านไป คิดไป ไตร่ตรองดู
  • คุณครูที่ดี......สมควรได้รับการยกย่อง สรรเสริญ และเผยแพร่
  •  ขอบคุณอาจารย์ค่ะ

สวัสดีค่ะ

คุณคนไม่มีรากไปตามให้มาอ่านบันทึกนี้ ขอบคุณฝากไว้ที่นี้ด้วยค่ะ

อ่านแล้วไม่สงสัย ทำไมคุณคนไม่มีรากจึงประทับใจมาก

ขอบคุณอาจารย์ ขอบคุณคุณคนไม่มีราก สำหรับทั้งการตามมาอ่าน และในความเห็นที่ได้อ่านจากท้ายบันทึกนี้ค่ะ

สวัสดีครับ ตามมาอ่านจากคำแนะนำของคุณคนไม่มีรากเช่นกันครับ

  • อ่านแล้วซาบซึ้งและเกิดความประทับใจอย่างยิ่งครับ
  • จึงไม่เห็นผิดไปจากคุณคนไม่มีรากครับ ถึงเรื่องราวดีๆ และคุณความดีของท่าน
  • ขอบคุณท่านอาจารย์ คุณคนไม่มีรากครับที่ช่วยนำเรื่องราวดีๆมาแบ่งปันกันครับ

สวัสดีค่ะ...อาจารย์ P วิรัตน์ คำศรีจันทร์

มาอ่านบันทึกนี้ตามคำแนะนำของคนไม่มีรากค่ะ

ขอบคุณอาจาย์มากค่ะสำหรับเรื่องราวที่มีคุณประโยชน์สำหรับคนที่ได้ชื่อว่า "ครู" โดยแท้

และขอบคุณคนไม่มีรากที่แนะนำค่ะ

 

 

สวัสดีครับคนไม่มีราก ดีใจแล้วก็เห็นด้วยกับคุณคนไม่มีรากเป็นอย่างยิ่งครับที่เห็นคุณค่าและความเป็น 'ต้นทุน' ของสังคมอย่างนี้ แง่มุมเหล่านี้คนมักไม่ค่อยเห็นความสำคัญเพราะมันไม่เป็นผลงาน อีกทั้งสังคมทั่วไปก็มักมองข้าม ซึ่งบางที มีไม่น้อยที่ 'ต้นทุน'เหล่านี้อาจจะทำหน้าที่เสมือนเป็นก้อนอิธและฐานยืนให้กับความสำเร็จที่เห็นได้ของผู้คนและสังคม มากมาย เลยอยากบันทึกและนำมาแบ่งปันกัน เพื่อคนทำงานได้อ่านและเห็นความงดงามของปัจเจก และได้ความชื่นชูใจเป็นโอสถบำรุงกำลังชีวิตน่ะครับ

สวัสดีครับ pa daeng ครับ : เห็นด้วยเช่นกันครับ เป็นการช่วยกันส่งแรงกระเพื่อมพลังของสิ่งดีอีกด้วยครับ

สวัสดีครับอาจารย์ณัฐพัชร์ : พลังการมองเชิงบวก ให้คุณค่าและความสำคัญต่อผู้อื่นนี่ สะท้อนถึงกระบวนการเรียนรู้และเปลี่ยนแปลงออกจากตนเองมากมายหลายอย่างนะครับ อาจารย์ณัฐพัชร์ก็มีวิธีปฏิบัติอย่างในคำพูดของคุณหมอกระแส มากๆด้วยนะครับ

วิธีคิดในทางพุทธถือเป็นการยกย่องความดีงามของผู้อื่นที่เกิดขึ้นพร้อมกับการปฏิบัติกำราบและคลายออกจากความเป็นตัวกูของกู แล้วก็การมองเห็นผู้คนแวดล้อมเป็นครูก็เป็นการจัดความสัมพันธ์กับโลกรอบข้างด้วยท่าทีของผู้เรียนรู้อยู่เสมอด้วยความอ่อนน้อมครับ จึงต่างเป็นกัลยาณมิตรกันและกันกับผู้อื่น ให้ได้ความงอกงามอยู่เสมอนะครับ

สวัสดีครับคุณเอื้องแซะครับ : ดีใจที่มีความสุขกับการได้อ่าน แล้วก็คงได้แรงบันดาลใจไปทำงานด้วยความสุขอีกด้วยนะครับ

น้องโก๊ะนี่ท่านใดหนอ | คนไม่มีราก | padaeng | อาจารย์ณัฐพัชร์ ชื่อเล่นแปลกดีครับ ที่บ้านนอกบ้านเกิดผม อำเภอหนองบัว นครสวรรค์ ซึ่งชาวบ้านเป็นคนลาว เวลาใครได้ชื่อว่าโก๊ะนี่ ก็มักจะเป็นคนที่มีผมจุกตรงกลางกระหม่อมคล้ายๆกะลาครอบครับ เขาจะเรียกผมอย่างนั้นว่าหัวโก๊ะ และเวลาผู้ใหญ่เจอในกลุ่มเด็กๆแต่ไม่รู้จักชื่อก็จะเรียกว่า โก๊ะ-โก๊ะ จากบุคลิกไปเลย

สวัสดีครับคุณณัฐรดา : นี่สงสัยจะต้องมีเวทีย่อยสำหรับสันถวะชมรมลูกช้างเชิงดอยเสียแล้วละครับ ขอบคุณที่แวะมาเยือนกันในวันหยุดครับ

สวัสดีครับคุณณัฐวรรธน์ครับ : คุณณัฐวรรธน์เป็นนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วย ได้เรียนรู้บทเรียนจากประสบการณ์ของบุคคลแล้ว คงได้แนวคิดและแรงบันดาลใจดีๆสำหรับนำไปใช้ทำงานอยู่บ้างนะครับ

สวัสดีครับครูอี๊ดครับ : ขอบคุณที่แวะมาเยือนและได้แบ่งปันความรู้สึกงดงามให้กันครับ

  • สวัสดีค่ะ  คุณวิรัตน์ คำศรีจันทร์
  • ในชีวิตของคนคนหนึ่ง  อาจพานพบครูดีที่เป็นต้นแบบในชีวิตเพียงไม่กี่คน
    หรือบางคนอาจไม่เคยได้พบ....
  • เรื่องราวดี ๆ จากมุมมองที่เห็น  เรื่องราวที่อ่าน  ย่อมสร้างแรงบันดาลใจ
    ในการทำสิ่งดีเพื่อผู้อื่น   เพื่อสืบต่อความงดงามในสังคมไม่มีที่สิ้นสุด
  • ขอบพระคุณบันทึกที่เปี่ยมล้นด้วยคุณค่า
  • ขอบพระคุณ "คุณคนไม่มีราก"  ที่แนะนำให้อ่านค่ะ 

สวัสดีครับคุณครูธรรมทิพย์ครับ : ขอบพระคุณครับที่ได้แวะมาเยือน พร้อมกับให้คำชมและเสริมกำลังใจอย่างยิ่งครับ

สวัสดีค่ะ อ.วิรัตน์

แวะมาซึมซับความดี ความงามค่ะ

ด้วยความขอบคุณ

คงต้องขอขอบคุณคนไม่มีรากไปกับทุกท่านด้วยอีกคนครับ หลายท่านบอกว่าคุณคนไม่มีรากแนะนำและพูดถึง เลยก็ตามเข้ามาอ่าน

สวัสดีครับคุณพานทอง : คงได้ความรู้สึกดีและงามให้เป็นความอิ่มใจเล็กๆกลับออกไปลุยงานในวันพรุ่งนี้ต่อไปอย่างเบิกบานใจนะครับ 

ตลอดแนวทางเดินโดยรอบสถาบันดังกล่าว  อาจารย์ก็ปลูกต้นลีลาวดีหลากสี  และด้านติดกับถนนด้านหน้ามหาวิทยาลัย ก็ปลูกเป็นแนวหลายชั้นสลับกับต้นดอกปีบ

อาจารย์หมอชอบเหมือนอ้อยเล็กเลยแต่อ้อยเล็กปลูกแค่ต้นเดียว..เอง...

สวัสดีครับน้องคุณครูอ้อยเล็ก : เคยไปเห็นที่หลวงพระบาง ประเทศลาวน่ะครับ ปลูกต้นจำปาแทบจะทั้งภูเขา ตั้งแต่เชิงเขาไปจนยอดเขาเลย

อาจารย์ครับ ดีจังเลยได้พบแต่คนดีๆๆมีความสามารถในหน่วยงานถือว่าได้กำไรชีวิตครับ มาชวนไปเที่ยวงานเกษตรกำแพงแสนครับ เอาผักมาล่อก่อนครับ ฮ่าๆๆ

ขออนุญาตตอบนะครับ น้องโก๊ะนี่คือคนไม่มีราก จาก สกศ ครับอาจารย์ บางทีก็เรียกว่าน้อง 12 (โหลครับ ฮาไหมเนี่ย)

P...ไปแค่เวียงจันทน์ก็นับว่าเป็นบุญของน้องแล้วค่ะที่ได้มีดวงไปต่างประเทศกะเขาน่ะค่ะ..เกิดมาปีนี้จะ45 ได้ไปแค่3ประเทศ..คือพม่า ลาว และเขมรค่ะ..ฮาๆเลย..แต่ก็พูดให้สนุกค่ะจริงๆอยู่ในประเทศไทยก็สวยเยอะๆแล้วและที่สำคัญเมืองไทยประเทศของตัวเองแท้ๆยังไปไม่ทั่วเลยค่ะ..

น้องชายเคยไปติดตั้งคอมพิวเตอร์ในประเทศพม่า..แกเลยไปเที่ยวเจดีย์ชเวดากอง..น้องเล่าให้ฟังว่า พม่าเขาภาคภูมิใจมากเขาบอกว่าเจดีย์ของเขาใหญ่และสวยที่สุดในโลก..มิใยที่น้องชายจะเถียงว่าองค์พระปฐมเจดีย์ที่บ้านเราใหญ่กว่าของเขาตั้งหลายเท่า เขาไม่เชื่อค่ะ..เขาบอกคนไทยโกหก..เฮ้อ..คิดว่าต้องเอาอย่างพม่าบ้างแล้ว คือยิ่งใหญ่ในใจเขาไงคะ..ของคนอื่นประเทศอื่นจะใหญ่กว่ายังไงไม่สน..ของที่เขามีของที่เขาเคารพ ของที่เขาถือเป็นศิลปะวัฒนธรรมของชาติที่เขาสัมผัสในชีวิตเขาทุกเมื่อเชื่อวัน..ยิ่งใหญ่และมีความสำคัญต่อเขาเสมอเลย..

สวัสดีครับอาจารย์ขจิตครับ : ขอบคุณครับผม อยากไปจังเลยครับ ลูกกลมๆเหมือนแทนตาลูปกับฟักทองน่ากินจัง รูปผักของอาจารย์อีกชุดหนึ่งผมทำเป็นเอกสารไว้ให้คนอ่านเขาโหลดได้นะครับ

ขอบคุณครับอาจารย์ขจิตครับ พอจะเข้าใจแล้วครับ แถวบ้านนั้นหากเป็นผู้หญิงก็มีเรียกว่าโก๊ะเหมือนกันครับ แต่จะไม่ได้หมายถึงเด็กหัวจุก จะหมายถึงเด็กผู้หญิงที่กำลังโตแขนขายาวๆยังไม่ลงตัวแบบโก๊ะ-โก๊ะ ขอบคุณครับ

ตัวหนังสือและงานความคิดของคุณคนไม่มีรากนี่นิ่ง ลุ่มลึก และชวนให้คิดแยบคายดีนะครับ เวลาอ่านแล้วมีความไหลของอารมณ์เหมือนงานวรรณกรรม สัมผัสได้ถึงความพิถีพิถัน บางครั้งมีวิธีเข้าสู่เรื่องที่ให้ทรรศนะเชิงวิพากษ์ แปลกดีครับ อ่านแล้วเหมือนได้อารมณ์ภาวนา

P..ขออนุญาตตอบนะครับ น้องโก๊ะนี่คือคนไม่มีราก จาก สกศ ครับอาจารย์ บางทีก็เรียกว่าน้อง 12 (โหลครับ ฮาไหมเนี่ย)

ฮาค่ะ..ขออนุญาตโพสต์น้อง 24 ขวดกับน้อง 12 โหลนะค่ะพี่อาจารญืดร.วิรัตน์..ให้ชมค่ะว่าน้องทั้งสองแกหน้าเด็กทั้งคู่แต่ความคิดไม่เด็กเลยค่ะ..ชื่นชมๆ

น้อง 12 โหล กะน้อง 24 ขวดค่า..

สวัสดีครับน้องคุณครูอ้อยเล็ก : นี่ถ้าหากคนส่วนใหญ่มีวิธีคิดอย่างคุณครูอ้อยเล็กนี่ รับรองว่าไม่มีทางทะเลาะและถึงกับรบรากันได้นะครับ เป็นชาตินิยมแบบภูมิใจในสิ่งที่ต่างคนต่างมี

ผมได้มุมมองที่น่าสนใจดี เมื่อสองสามวันนี้ มีน้องคนหนึ่งเขาบอกว่า ในสังคมไทยนั้นไม่ค่อยมีคนไทยหรอก กลุ่มก้อนคนไทยแบบดั้งเดิมนั้นถูกต้อนให้ไปอยู่ในพม่ามากกว่าอยู่ในสังคมไทยในปัจจุบัน ในขณะที่คนไทยในปัจจุบันก็เป็นคนมาจากเมืองต่างๆที่อยู่โดยรอบเหมือนกัน ก็เป็นข้อสังเกตที่น่าสนใจดีครับ

สวัสดีค่ะพี่ชาย อาจารย์ ดร.วิรัตน์ คำศรีจันทร์

เรื่องราวที่ผ่านมา สวยงามอยู่ในใจเราเสมอ

นึกถึงยามใดก็มีความสุข  

อ่านแล้วได้ พลังความดีงาม ไปทำงานต่ออีกค่ะ

ขอบพระคุณค่ะ 

 

เป็นการให้ฉายาคนกันเองที่แปลกดีครับ

เตรียมสอบอยู่ใช่ไหมน้องนก : คุณครูจุฑารัตน์ ขอให้ประสบความสำเร็จนะครับ

สวัสดีค่ะ..คนไม่มีรากแนะนำให้มาอ่าน..ไม่ผิดหวังจริงๆค่ะอยากอ่านเรื่องราวเกี่ยวกับพลังชีวิตและพลังการเรียนรู้ของมนุษย์อีกค่ะ..ขอบคุณเรื่องราวดีดีนะคะ

ขอบคุณครับ ศน.add : ที่เข้ามาเยือนและสะท้อนเสริมกำลังใจให้กันครับ มองในแง่เป็นการพัฒนาวิธีศึกษา สร้างความรู้ และพัฒนาการเรียนรู้่ แล้วละก็ วิธีทำกรณีศึกษาหรือ Case Study ผสมกับการมีประสบการณ์ตรงทางการปฏิบัติด้วยกัน (Interactive Learning Through action) แล้วถ่ายทอดออกมาใหม่ในฐานะผู้ชมและผู้เรียนรู้ (Participatory observation)นี่ เป็นวิธีหนึ่งที่น่าสนใจมากครับ

เป็นทั้งการบันทึก  เผยแพร่และสื่อสารเพื่อการเรียนรู้อย่างมีพลัง และเป็นการพัฒนาระเบียบวิธีเพื่อการศึกษาให้เราทำวิจัยและศึกษาค้นคว้าบางสิ่งที่ต้องการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ผสมผสานไปกับการทำงานและสิ่งต่างๆอย่างไม่แยกส่วน ได้อย่างดีมากเลยครับ

สวัสดีค่ะอ.วิรัตน์

คนไม่มีรากมีหลายชื่อค่ะ เพราะไม่ค่อยยึดติดกับชื่อ ใครอยากเรียกอะไร... ไม่ค่อยขัดข้องค่ะ ชื่อเล่นที่บ้านเรียกน่ะ คือ "โหล" เพื่อนสนิทมักเรียก "โหลโก๊ะ" เพราะชอบทำอะไรเอ๋อ ๆ แปลก ๆ ทั้งคิดทั้งพูดทั้งทำ สิ่งที่คนเขาเข้าใจได้โดยไว คนไม่มีรากจะไม่ค่อยเข้าใจ สีหน้าจะมีคำถามและดูเหมือนงง ๆ และยังมีอีกหลายชื่อ เช่น "ปิง" (มาจากการเล่าเรื่องไกด์จีนที่ชื่ออาปิง และมีพฤติกรรมคล้าย ปิงกบน้อยในสระมหัศจรรย์-หนังสือแปล) นกแห่งอรุณรุ่ง ปูนิ่ม ...ฯลฯ ค่ะ

แต่ไม่เคยทราบว่า..อ.ขจิตชื่อ 24 ขวดหรือคะ... ฮามาก ๆ (เอาคืน ๆ ๆ )

นิสัยอีกประการหนึ่งของคนไม่มีรากคือ หากอ่านแล้วชอบ โดนใจบันทึกใด มักจะไปทำลิงก์ชวนเพื่อน ๆ ที่สนิท ๆ และคุยทักทายกันเสมอ ๆ มาอ่านด้วยค่ะ...

ส่วนตรงนี้ เป็นปลื้มและรู้สึกดีใจที่อาจารย์มองทะลุตัวตนบางอย่างของคนไม่มีราก ซึ่งไม่เคยมีใครบอกได้ตรงใจ (80%) ขนาดนี้ค่ะ...

ตัวหนังสือและงานความคิดของคุณคนไม่มีรากนี่นิ่ง ลุ่มลึก และชวนให้คิดแยบคายดีนะครับ เวลาอ่านแล้วมีความไหลของอารมณ์เหมือนงานวรรณกรรม สัมผัสได้ถึงความพิถีพิถัน บางครั้งมีวิธีเข้าสู่เรื่องที่ให้ทรรศนะเชิงวิพากษ์ แปลกดีครับ อ่านแล้วเหมือนได้อารมณ์ภาวนา

และคงต้องเรียนอาจารย์ว่า...ตอนเขียนบันทึก คนไม่มีรากอยู่ในอารมณ์ภาวนาหรือไม่ก็กึ่ง ๆ ภาวนาเลยค่ะ

ขอบคุณค่ะ

(^___^) 

ปล. พี่อ้อยเล็กตัดต่อภาพซะ... น้องตกใจเลย...

P..น้องคนไม่มีราก..24 ขวดพี่อ้อยเล็กตั้งให้น้องดร.แกเอง..ตัวแกเองยังไม่รู้หรอกฮาๆ..รักดอกจึงหยอกเล่น..เรื่องตัดต่อภาพพี่อ้อยก็ตกใจ..2 คนพี่น้อง 12 โหลกับ 24 ขวดนี่..หูกางเหมือนกันเลยอิๆๆๆๆ

สวัสดีครับคนไม่มีราก : ชื่อเล่นที่คนอื่นตั้งให้เยอะนี่เป็นตัวบอกว่าเพื่อนเยอะและได้ความคุ้นเคยจากเพื่อนๆดี ได้เหมือนกันนะครับ เพื่อนๆแต่ละกลุ่มก็คงอยากได้ความเฉพาะ ทั้งลักษณะส่วนตัวของเราและบทสรุปในความเป็นเราในมุมมองของเขาที่กลั่นออกมาจากการได้สัมผัสชีวิตจิตใจของกันและกัน จะว่าไปแล้วมันช่วยให้จำตัวตนของเพื่อนได้อย่างซึ้งใจดีอีกด้วย

เมื่อวานนี้ผมผ่านไปเห็นที่คนไม่มีรากชวนคนเข้ามาอ่านบันทึกนี้ในบันทึกของคุณณัฐรดาเหมือนกันครับ เห็นแล้วก็ประทับใจครับ ไม่ใช่เพราะชวนมาอ่านบันทึกที่ผมเขียนนะครับ แต่ประทับใจความเป็นกัลยาณมิตรและสิ่งแวดล้อมสำหรับการได้ขยายประสบการณ์ของคนอื่นน่ะครับ เป็นเรื่องเล็กน้อย แต่มีนัยะต่อความเป็นกลุ่มและชุมชนแห่งการเรียนรู้อย่างหนึ่งเหมือนกันครับ ผมมักบอกน้องๆและเพื่อนร่วมงานผมในเรื่องอย่างนี้อยู่เรื่อยๆครับ

วิถีปฏิบัติอย่างนี้มักอยู่ในกลุ่มนักอ่านหนังสือ แต่ในชีวิตการทำงานผมก็มีกลุ่มเพื่อนๆพี่ๆและคนที่เคารพนับถือกันในการทำงาน ที่มีวิถีปฏิบัติอย่างนี้ต่อกันจนเป็นวัฒนธรรมที่สะท้อนความเป็นชุมชนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เหมือนกันครับ เช่น มีบทความ มีหนังสือ และมีสิ่งที่ตนเองคิดว่าดี ก็ใช้เป็นสื่อแบ่งปันความมีน้ำใจและสื่อความปรารถนาดีต่อกันสำหรับคนที่เราอยากสื่อสะท้อนว่าตัวเขาเป็นเหตุผลแห่งการคิดและทำดีของเราในสถานการณ์นั้นๆ

เมื่อมีกลุ่มและเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างนี้ ก็จะทำให้เรามีโอกาสมากขึ้นที่จะเกิดการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงทั้งชีวิตด้านในและการพัฒนาการปฏิบัติต่อโลกรอบข้าง การมีเพื่อนที่ชวนกันเรียนรู้และการเป็นกัลยาณมิตรเพื่อการเรียนรู้ให้กับผู้อื่น จึงเป็นเงื่อนไขพื้นฐานของสังคมแห่งปัญญานะครับ ในสังคมไทยต้องเห็นความเป็น Solft-culture structure ที่สำคัญของสิ่งนี้เหมือนกันครับ ไม่อย่างนั้นแล้ว สังคมแห่งการอ่าน สังคมแห่งการพูดและฟังอย่างใช้เหตุผล สังคมแห่งการเรียนรู้ สังคมที่ใช้ความรู้และปัญญาเป็นเครื่องแก้ปัญหาอย่างศานติ ก็จะหยั่งรากไม่ลึกและก่อเกิดในเงื่อนไขแวดล้อมต่างๆอย่างผิวเผิน คุยลึกไปหน่อยเพราะเห็นแรงคิดคนไม่มีรากเยอะน่ะครับ

คนไม่มีรากเขียนหนังสือแบบถ่ายทอดความคิดและภาวะภายในได้ดีครับ เป็นด้านที่ทำให้งานเขียนมีความเป็นศิลปะและสุนทียภาพทางการอ่าน-เขียน มีพลังในการสื่อภาษาของหัวใจ ขอเสริมกำลังใจแก่คนรุ่นใหม่น่ะครับ

หากมองในวิธีการแบบโยนิโสมนสิการ ก็เรียกกระบวนการคิดพูดเขียนอย่างนี้ว่าเป็น วิภัชชวาทธรรม คือเป็นการพูด เขียน และแสดงออกทางการปฏิบัติที่เห็นภายนอกเหมือนอย่างทั่วๆไป ทว่า เป็นคนละชนิด เพราะเป็นการกระทำและอาการแสดงของใจ สะท้อนการตื่นรู้ และเมื่อปฏิบัติแล้ว ก็เป็นแรงสะเทือนที่ส่งเข้าไปกล่อมเกลาและเลี้ยงดูจิตใจของผู้กระทำเสียอีก คนอื่นก็จะสามารถเห็นและสัมผัสความลึกซึ้งนั้นได้ ในขณะที่วิถีปฏิบัติโดยทั่วไป แรงกระทำดังกล่าวจะส่งแรงสะเทือนออกข้างนอก (ขออนุญาตไว้ก่อนนะครับว่าจะขอเอาไปเขียนอีกต่างหากเป็นหัวข้อหนึ่งเมื่อมีโอกาส) จึงเห็นความหมายระดับการกระทำแต่ไม่สามารถเห็นจิตใจกัน ได้ยินเสียงและภาษาพูด เข้าใจภาษา แต่ไม่สามารถเข้าใจกันและกัน อ่านหนังสือและการเขียนออก แต่ไม่สามารถสร้างความกระจ่างแจ้งในตนและไม่สามารถสร้างความรู้ให้ผุดขึ้นจากการอ่านที่ได้ความเป็นตัวของตัวเอง เหล่านี้เป็นต้นนะครับ เรื่องนี้สำคัญมากสำหรับการพัฒนาการศึกษาเรียนรู้ของสังคมมากเหมือนกันนะครับ เลยยาวเลย

สวัสดีครับน้องคุณครูอ้อยเล็ก : บอกว่าหูกางเหมือนกันเลยนี่ผมต้องหัวเราะในใจเลย กำลังนึกอยู่พอดีครับว่า บุคลิกไหนที่เพื่อนเรียกคนไม่มีรากว่า โหล ผมเป็นคนทำงานโสตและชอบจัดเครื่องเสียงดีๆ ก็เลยนึกออกมาจากประสบกรณ์เก่าๆ จากบุคลิกโก๊ะ-โก๊ะ ของคนไม่มีรากว่า เวลาจะพูดไมโครโฟนเธอคงจะตื่นๆและชอบพูดว่า โหลๆๆๆๆๆ เพื่อลองเสียง พร้อมกับเงี่ยหูฟังแบบตื่นๆ คนเห็นแล้วประทับใจก็เลยเรียกว่า โหล พอคิดๆอยู่อย่างนี้ก็เห็นหูทั้งสองท่านกางแบบเงี่ยหูฟัง โหลๆๆๆๆ  คุณครูอ้อยเล็กก็โผล่มาบอกว่าหูกางเหมือนกันเลย แม๊!!!

สวัสดีค่ะ อาจารย์วิรัตน์ คำศรีจันทร์  พี่ครูอ้อยเล็ก  คุณคนไม่มีราก  และอาจารย์ขจิต ฝอยทอง

  • ทำไมใครๆ ก็หูกางค่ะ? ตอนนี้ดิฉันหูตูบอยู่คนเดียว อ๋อ เพราะปั่นงานไม่ทัน ฮ่าา ^^"
  • แวะมาบอกอาจารย์วิรัตน์ค่ะว่า อาจารย์ธนิตย์ สุวรรณเจริญ (เจ้าของรางวัลสุดคะนึงประจำเดือนพฤศจิกายนค่ะ) เป็นชาวกำแพงเพชร แล้วอาจารย์เพิ่งพูดถึงอำเภอพรานกระต่าย ก็เรียก ทอดมัน ว่า ปลาเห็ด ด้วย .. เลยส่งบันทึก "ขึ้นไม่มีลง ธงอนามัย"  ให้อาจารย์ธนิตย์เธออ่านด้วยค่ะ
  • ประชาสัมพันธ์ได้โลห์ไหมค่ะ อิ อิ ^^

สวัสดีครับอาจารย์ณัฐพัชร์

  • ปีหน้านี้ก็จะเปลี่ยนจากปีวัวเป็นปีเสือแล้ว ที่หูตูบนี่คงจะเป็นเพราะอิทธิพลของปีวัวมาครอบนะผมว่า เลยต้องทำงานหนัก แต่ก็ดีครับ ความหลากหลายเป็นความมั่นคงแล้วก็เป็นความงามอย่างหนึ่ง กางมั่ง ตูบมั่ง หลากหลาย สมดุล และงามดีครับ
  • ผมเลยได้แวะเข้าไปบ้าน อาจารย์ธนิตย์ สุวรรณเจริญ ไปด้วยเลยครับ อาจารย์ดูมันดีนะครับ หนุ่มมาดผู้ใหญ่ลีใส่แว่นตาดำผสมกับคอนร่มแบบชาลีแชปปลิ้นบวกกับนักกิจกรรมค่ายมาดเซอร์สำนัก มอชอ.ที่นั่งอยู่ข้างๆนี่คงเป็นสหายผู้ลูก เข้มขรึมชีวิตทั้งพ่อลูกเลยนะครับ

                         

  • เห็นคนเข้ามาเยือนหัวข้อเรื่องราวของอาจารย์หมอศิริกุลมากขึ้นอย่างพรวดพราด เลยนึกถึงครั้งหนึ่งผมเคยเขียนเรื่องของ อาจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ที่บล๊อกโอเคเนชั่นของคุณสุทธิชัย หยุ่น เลยลิ๊งค์มาฝากด้วยเสียเลยครับ เป็นหัวข้อที่พอเขียนก็มีคนเข้ามาอ่านเยอะดีเหมือนหัวข้อนี้ในนี้เลยครับ
  • แง่หนึ่งก็เป็นเรื่องเรียนรู้และสัมผัสแง่งามของชีวิตเพื่อได้พลังเติบโตและได้กำลังใจจากการเรียนรู้เรื่องราวชีวิตปัจเจกคนอื่นๆ
  • ในแง่ของการพัฒนาวิธีสร้างความรู้และสร้างกระบวนการเรียนรู้อย่างเราๆ ก็เป็นวิธีพัฒนาการทำกรณีศึกษา ฝึกฝนให้มีพลังไปเรื่อยๆของตนเอง เป็นการเรียนรู้ผู้อื่น เพื่อเคารพและน้อมตนเองลง  ซึ่งเป็นวิธีพัฒนาการเรียนรู้ที่น่าสนใจดีครับ ช่วยเสริมและเติมเต็มส่วนขาดของการเรียนรู้ที่มักทำให้ปัจเจกมักมุ่งเรียนรู้ที่เกิดตัวกูของกูและมีความเป็นเอกเทศ แยกส่วนแบบในกระแสหลักของการพัฒนาทั่วๆไป ซึ่งเกินพอดีเอาได้ง่ายๆ
  • อีกแง่หนึ่งที่น่าจะให้ความคิดส่งเสริมกัน กล่าวคือ อาจารย์หมอศิริกุลนั้นท่านทำงานเรื่องการพัฒนาเด็กและมารดา ทั้งในทางการแพทย์ สาธารณสุข และตอนหลังก็เพิ่มความสนใจในวิถีชุมชน เครือข่ายครอบครัว กับปัจเจกและเครือข่ายประชาสังคม ด้วย ซึ่งอาจารย์ ดร.ป๋วยนั้น ใครที่สนใจงานของท่านก็คงจะรู้จักงานความคิดและความหวัง : จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน ของท่าน ซึ่งต่อมากระทั่งถึงปัจจุบันนี้ เป้าหมายและตัวชี้วัดการพัฒนาอย่างเป็นองค์รวมทั้งของประเทศไทยและนานาประเทศ หลายอย่างก็เหมือนอย่างที่อาจารย์เคยเสนอไว้นะครับ
  • งานความคิดชุดนี้ของอาจารย์ ดร.ป๋วยถือเอาเรื่องความเป็นองค์รวมของปัจเจกตั้งแต่ก่อเกิดจนตลอดช่วงวัย เป็นแกน.

อาจารย์ธนิตย์ แกรักลูกชายมาดเซอร์แกมาก..พี่วิรัตน์เห็นมือแกป่ะ..ขณะถ่ายรูปแกยังเอามือมาแปะไว้ที่หน้าขาลูกแกเลย...บ่งบอกให้รู้ว่าแม้ลูกจะโตใหญ่สักเพียงไหน..สำหรัพ่อแล้ว ลูกคือลูกชายที่น่ารักของพ่อเสมอ..ซึ้งนะคะเนี่ย..อ้อยคิดไปเองอีกหรือเปล่าอิๆๆๆ

เฉลยฉายา..น้องอาจารย์ดร.ขจิต..ที่ว่าแก 24 ขวด หมายความว่าหน้าแกอ่อนค่ะพี่วิรัตน์

เหมือนชายหนุ่มอายุ 24 ขวบ..แต่แบบว่าพูดไม่ชัด..เสียงเลยเพี้ยนเป็น 24 ขวดค่าอิๆๆๆ

  • อ้าวมีนินทา
  • ฮ่าๆๆ
  • ไม่ได้หน้าอ่อน
  • มันอ่อนเอง
  • ที่หูกางก็กางเอง
  • ฮ่าๆๆๆๆๆๆ

P..เอ้ามาไว..ทันเห็นพี่นินทาด้วยหรือนี่..เอ้านินๆๆๆๆๆๆๆๆทา..ฮาๆๆๆๆ

สวัสดีครับน้องอ้อยเล็กและอาจารย์ขจิต

  • เห็นด้วยครับน้องอ้อยเล็ก
  • รู้สึกได้เลยถึงความนิ่งและสงบในชีวิต ดูเป็นความรักความผูกพันที่หนักแน่นและมั่นคงดีครับ ทำไมบุคลิกของอาจารย์กับลูกทำให้ผมนึกถึงเพลงบลูกับงานของหลุยส์ลามูก็ไม่ทราบ มันเหมือนกับรู้สึกแต่คิดไม่ออกว่าทำไม นี่ขอร่วมคุยเพื่อร่วมแสดงความยินดีกับอาจารย์ในการเป็น Blogger of the month นะครับ
  • เห็นด้วยอีกเช่นกันครับที่ว่าอาจารย์ขจิตหน้าอ่อน คงเป็นเพราะดูยิ้มแย้มอยู่เสมอ
  • อืมมม อาจารย์หูกางจริงๆด้วยครับอาจารย์ขจิต ดีครับ น่าจะได้ยินชัดดีกว่าหูรุ่นทั่วๆไปนะครับ

สวัสดี ครับ ท่านอาจารย์วิรัตน์

บันทึกนี้ อ่านแล้วรู้สึกอิ่มใจ กับการกระทำที่มีแต่ให้

อิ่มใจกับ..ปูมชีวิตของอาจารย์ศิริกุล....ชื่นชมท่านผ่านตัวอักษรที่อาจารย์วิรัตน์เขียนถึง

อิ่มใจภาพของแม่ที่นั่งข้างอาจารย์(ผมศรัทธาในความเป็นตัวตนของอาจารย์นะครับ ศรัทธา วิถีชีวิตของอาจารย์...อาจารย์เป็นบุคคลอีกท่านหนึ่งที่สมควรได้รับการกอดจากศิษย์ รวมทั้งตัวผมด้วย...

ยิ่งอ่านก็ยิ่ง...ศรัทธาสิ่งที่อาจารย์เขียนและเล่าผ่านบันทึก

....

ชีวิตของใคร หลาย ๆ คน ที่ได้อ่านข้อเขียนของอาจารย์แล้ว  อยากเอาไปเป็นแบบอย่างให้กับอนุชน คนรุ่นหลัง ที่นับวัน จะละเลย...การเข้าใจถึงชีวิตอย่างแท้จริง

วันนี้ได้เพียงแค่กราบขอบพระคุณ บันทึกที่เปี่ยมไปด้วย...คุณค่าแห่งตน...

 

....

ผมถือโอกาส ใช้ช่วงเวลานี้ กราบสวัสดีปีใหม่ 2553 ที่จะมีมาถึงอีกในไม่ช้านี้ กับอาจารย์นะครับ

ด้วยความเคารพ

 

 

สวัสดีครับคุณแสงแห่งความดีครับ : คุณแสงแห่งความดีนี่ช่างนอบน้อม พิถีพิถัน มากเลยครับ ขอบคุณมากอย่างยิ่งครับที่สะท้อนอย่างให้ความรู้สึกงดงามในใจ ข้อสังเกตของคุณแสงแห่งความดีตรงที่แม่ผมได้ไปนั่งถ่ายภาพหมู่ร่วมกับคนในที่ทำงานเดิมของผมนั้นผมเองก็ประทับใจและซาบซึ้งใจมากอย่างยิ่งครับ

ขอขอบคุณ สคส วัดพระบรมธาตุไชยา และคำอวยพรที่มอบให้เนื่องในปีใหม่ด้วยครับ ขออาราธนาคุณพระรัตนตรัย สิ่งอันเป็นที่เคารพนับถือ รวมทั้งความดีงามทั้งหลาย จงเป็นพลวัตรปัจจัยให้คุณแสงแห่งความดี ประสบความสุข มีความงอกงาม มีความสำเร็จ ได้พบสิ่งที่ทำให้มีแรงบันดาลใจและให้พลังชีวิต เพื่อได้ทำสิ่งต่างๆดีๆ ทั้งต่อตนเองและต่อผู้อื่นอยู่เสมอครับ.

เนื่องจาก วันที่ 17 ธ.ค.2552 เป็นวันคล้ายวันเกิดของท่าน อ.ดร.วิรัตน์ คำศรีจันทร์ ผมในฐานะอดีตผู้ใต้บังคับบัญชา ขออนุญาตอวยพรวันเกิดให้แก่อาจารย์ ในปี 2552 ดังนี้ ครับ

สุขสันต์วันเกิดแด่… อาจารย์ ดร.วิรัตน์ คำศรีจันทร์

สุข สมหวัง ดั่งมนัส ปรารถนา ไร้โรคา ประสพสุข ทุกวิถี

สันต์ ศานติ สุขสงบ ดวงฤดี แด่คนที่ ชื่อวิรัตน์ คำศรีจันทร์

วัน เวลา ผ่านไป ได้พิสูจน์ ทั้งการพูด การกระทำ นำสุขสันต์

เกิด มาเพื่อ ทำงาน ที่สำคัญ สร้างแรงบรร- ดาลใจ ให้มวลชน

แด่ ผู้มี ดวงจิต สาธารณะ ชาวประชา เทศไทย ได้โภคผล

อาจารย์ ผู้ สอนความรู้ นำผู้คน ได้เห็นผล กับตา มาหลายปี

ดร. ผู้ ได้รับ ปริญญาเอก เซียนเหยียบเมฆ ด้านความรู้ ในโลกนี้

วิรัตน์ แก้ว วิเศษ แอคเซลเลนซี่ เป็นสิ่งที่ ประเสริฐ เลิศราคา

คำ ทองคำ ทรงคุณค่า อยู่ในตัว แก่ครอบครัว แก่สังคม ทั่วแหล่งหล้า

ศรี มิ่งขวัญ มงคล ดลจากฟ้า* หยาดรินมา คนทั้งหลาย ได้ยินดี

จันทร์ ดวงเดือน แสงราตรี ที่นวลผ่อง ทาบทาทอง ในคืนเพ็ญ เด่นดิถี

วรพร วาระเลิศ วันเกิดนี้ ขอเป็นปี แห่งความสุข ทุกวันเอยฯ

*อาจารย์ ดร.วิรัตน์ คำศรีจันทร์ เกิดที่จังหวัดนครสวรรค์ ผมเลยใช้คำว่า "ดลจากฟ้า" คือ ท่านเกิดและมาจากจังหวัดนครสวรรค์ ครับ

จาก... สนั่น ไชยเสน สถาบันอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล 17 ธันวาคม 2552

สวัสดีค่ะท่านอาจารย์วิรัตน์

 วันนี้ตั้งใจมากราบสวัสดีเนื่องในวาระดิถีวันปีใหม่ เทศกาลแห่งความสุข ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ดลบันดาลให้ท่านอาจารย์และครอบครัว ประสบความสุข มีสุขภาพสมบูรณ์ คิดสิ่งใดให้สมหวังดั่งใจปรารถนานะคะ

 และจึงได้ทราบว่าวันนี้เป็นวันพิเศษ ขออนุญาตแสดงความยินดีในวันคล้ายวันเกิด ด้วยเจ้าค่ะ  

ขอบคุณครับ พี่สนั่น

อุตส่าห์ประพันธ์สรรบทกลอน อวยพรให้

ผมอ่านด้วยด้วยจิตคารวะ น้อมความงดงามสู่ใจ

สัมผัสได้ถึงไมตรีที่จรดจาร

 

ขอสวัสดิรักษา สรรพมงคล

เป็นมรรคผล คืนสู่พี่ในทุกสถาน

อีกทั้งลูกเมีย ญาติมิตร บริวาร

ได้แจ่มใส เบิกบาน ทุกกาลไป

 

ทั้งชีวิต การงาน การสังคม

ได้ชื่นชมความสำเร็จ ดังหวังไว้

ความดีงามที่สร้างสม จงเป็นพลวัตรปัจจัย

เกื้อหนุนให้ประสบสุข ทุกวัน เทอญฯ

สวัสดีครับคุณ poo : ขอบคุณทั้งรูปสวัสดีปีใหม่และการทักทายเยี่ยมไข้กันครับ เห็นรูปพระ แผ่นน้ำที่สงบเย็น และบรรยากาศแดดอ่อน ก็รู้สึกสบายดีจังเลยนะครับ

คบบัณฑิต บัณฑิตพาไปหาผล

ใบพ้อพันห่อหุ้ม กฤษณา

หอมระรวยรสพา เพริศด้วย

คือคนเสพเสน่หา นักปราชญ์

ความสุขซาบฤาม้วย ดุจไม้กลิ่นหอม

(โคลงโลกนิติ)

  • อ่านบันทึกแล้ว ... ต้องขอบพระคุณอาจารย์อีกคราวครับ ที่นำ “ประกายงาม” จาก “ค่าแห่งครู” ของศาสตราจารย์ แพทย์หญิง ศิริกุล อิศรานุรักษ์ มาให้ได้ร่วมรำลึกถึง ....
  • บ่อยครั้งครับ... ท่ามกลางประชาคมชาวสถาบันฯ ศ.พญ. ศิริกุล อิศรานุรักษ์ เน้นย้ำถึง “พรหมวิหารธรรม” สำหรับการบริหาร .... เพื่อ “เป็นอยู่ร่วมกัน” และอยู่กัน “ฉันท์น้องพี่” เป็นสำคัญ
  • การครองตน ครองคน และ ครองงานของท่าน จึงก่อเกิด “แรงบันดาลใจให้คนเรียนรู้” .....
  • นับว่าเป็น “โชคดี” เป็น “กำไรชีวิต” อันงาม และทรงค่ายิ่งครับ  สำหรับชาวสถาบันพัฒนาการสุขภาพอาเซียน ที่ช่วงหนึ่งของชีวิตมีโอกาสได้ทำงานกับ “ครูใหญ่ใจดี” ท่านนี้ พร้อมกับทีมงานบริหารของท่าน ....

สวัสดีครับหลานช้างน้อยมอมแมม : หลานช้างน้อยมอมแมม นอกจากโชคดีแล้ว ความเป็นผู้เห็นโอกาสที่จะทำให้ตนเองได้วางทรรศนะและทำงานต่างๆได้ดีอยู่เสมอของหลาน ก็เหมือนกับมีเครื่องรับที่ดี จึงนับว่าเป็นความโชคดีด้วย แต่เดี๋ยวนี้โลกเปลี่ยนไปมาก นอกจากการที่เราจะส่งเสริมให้ผู้คนมุ่งคบหาบัณฑิตเพื่อความงอกงามแห่งชีวิตแล้ว หลานต้องมุ่งทำงานที่ให้แรงบันดาลใจแก่บัณฑิต ในอันที่จะเดินออกไปคบกับคนที่ขาดโอกาสในสังคมเพื่อช่วยให้สังคมมีแรงในการพยุงตัวให้โน้มไปสู่สิ่งดีด้วยกัน อีกทั้งคงต้องช่วยกันดูแลคนพาล รักษาคนให้คลายจากสิ่งที่เป็นพาลแก่ชีวิตตนเองและผู้อื่น หรือรักษาคนและไม่ได้สู้เพื่อขจัดตัวคน แต่ร่วมกันสู้กับสิ่งไม่ดีภายในตัวคน สังคมก็จะมีกำลังเพิ่มโอกาสเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งดีๆได้มากยิ่งๆขึ้น

ขอให้หลานอายุมั่นขวัญยืน มีความสุข มีความงอกงาม และมีพลังชีวิตอยู่เสมอๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท