กิจกรรมบำบัดเด็กสมาธิสั้น


         

                 

 

            เด็กสมาธิสั้นเป็นอย่างไรกันนะ

 

      พฤติกรรมเด็กสมาธิสั้น เช่น  ดื้อ  ซน  พูดไม่ฟัง  ไม่มีระเบียบวินัย  ไม่คิดก่อนทำ ไม่รอบคอบ  ประมาทเลินเล่อ  เอาแต่ใจตัวเอง  เขามักจะควบคุมตัวเองในการแสดงออกพฤติกรรมไม่ค่อยจะได้ ดังนั้นเราจึงต้องฝึกให้เขาอยู่นิ่ง ๆ

      เช่น น้องโบวี่ เมื่อตอนเด็ก ได้เข้ามาในคลินิกพัฒนาการเด็ก พบกับนักกิจกรรมบำบัด  วันนั้นเมื่อหลายปีก่อน น้องซนมาก จับให้นั่งไม่ค่อยจะทำตามเท่าไหร่ ตามวัย

     พบหมอที ก็ก่อกวนหมอจนปวดหัว

                     

                กิจกรรม

 

        เมื่อครั้งเด็ก ๆ พยายามให้เขานั่งสนใจในกิจกรรม เช่น เรามานั่งร้อยลูกปัดสีกัน ที่โรงพยาบาลมีอุปกรณ์มากมาย เยอะแยะ   พอมาอยู่ที่บ้านคุณแม่ปรับเล็กน้อย เราไปเดินตลาด ไปซื้อลูกปัดสีขนาดโต ๆ หลาย ๆ สีมา เยอะ ๆหน่อย สีมักจะเป็นสีสดใส ตามวัย เพราะกระตุ้นพัฒนาการ ให้ตื่นเต้น เข้าไว้ เช่น สีเหลือง สีแดง ชมพู ฟ้า เขียว ขาว ดำ บ้าง   พร้อมไม้หนีบผ้าหลาย ๆ สี   รู้หรือบ้านว่ามาทำอะไรค่ะ

 

      เมื่อลูก ๆ เริ่มซน หรือว่างสักหน่อย จะให้น้องมานั่ง พร้อมทำกิจกรรม คุณแม่ต้องหลอกล่อ สารพัดคำพูด เพื่อให้เขามานั่งนิ่งสักพัก  

 

     เริ่มจากร้อยลูกปัดสี 

 

     จับเขามานั่งบนตัก เพราะเด็กจะเรียนรู้ภาษากายจากคุณแม่  ความรัก ความอบอุ่นถูกถ่ายทอดซึ่งกันและกัน     

 

     เริ่มจับมือน้อง จับลูกปัดทีละสี จากสีแดง (หรืออะไรก่อนก็ได้ค่ะ) พูดและบอกให้ดู พร้อมกัน "สีแดง" จับร้อยลงรู ร้อยด้ายไว้ใช้อะไรที่ไม่แหลมร้อยนะค่ะ จะได้ปลอดภัย ประยุกต์ได้ค่ะ  จับเริ่มต้นก่อน ต่อมาให้เขาจับเอง เราพูด"สีแดง" ค่ะ ให้เขาหาเองที่พื้นที่เราวางไว้ อาจวางไว้ในกล่องก็ได้  จับสีแดง พูดสีแดง ทำสัก 5-6 เม็ด แล้วต่อด้วย สีต่าง ๆ  ทำไปเรื่อย เริ่มจากเวลาน้อย เพิ่มไปเรื่อย ๆ  ไม่ต้องเร่งค่ะ ทำทุกวัน สัก 5 นาทีแล้วค่อย ๆ เพิ่ม

 

      แน่นอนทีเดียว เริ่มเบื่อพอนานเข้าหลาย ๆ วัน คุณแม่ใช้ไม้หนีบผ้าที่ใช้ทุกวันเลือกสีสด ๆ มาให้เล่น  ทำคล้ายกันค่ะ   ประยุกต์สักหน่อยพาน้องตากผ้า  แค่เราพาหนีบเชือกไว้  "จับสีแดง มาสิค่ะ"  แล้วหนีบไว้ ทำหลายตัว ย้ำสีเดิมก่อนสัก 4-5 ตัว แล้วเปลี่ยนสีไปเรื่อย ๆ เด็กจะสนุก และอยู่นิ่งค่ะ 

 

      ต่อจากนี้เราค่อยกระตุ้นตามวัยเขาค่ะ  พอโตสัก 2-3 ขวบ เริ่มฝึกการช่วยเหลือตัวเอง เช่น กินข้าว  เข้าห้องน้ำ แปรงฟัน เป็นต้นค่ะ

 

 

*** บันทึกไว้เตือนความจำ เมื่อ 3 ขวบ

 

 

หมายเลขบันทึก: 315127เขียนเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2009 19:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

สวัสดีค่ะ คุณเพชรน้อย ที่คิดถึง

  • นับว่าการดูแลเด็กสมาธิสั้นต้องใช้ความอดทนมากเลยนะคะ
  • ยอมรับว่าเห็นใจผู้ที่ต้องทำหน้าที่ดูแลเด็กๆเหล่านี้มากค่ะ
  • แต่ยังไงก็แล้วแต่ขึ้นชื่อว่าเด็กๆความน่ารักสดใสในวัยของเขา
  • ก็ยังเป็นสิ่งที่น่าหลงไหลอยู่ดีนะคะ
  • ขอบคุณสำหรับความรู้ดีดีเช่นนี้ค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์

  • น้องซิลเวียแวะมาอ่านกิจกรรมบำบัดเด็กสมาธิสั้นค่ะ
  • ดูแล้วพี่ๆพยาบาลต้องสรรหาเทคนิคมากมายในการช่วยเหลือน้องๆที่สมาธิสั้น ให้สามารถอยู่นิ่งกับสิ่งตรงหน้าได้
  • น้องซิลเวียเคยเห็นบางโรงพยาบาลเขาให้พ่อแม่หรือพี่เลี้ยงมาร่วมกิจกรรมด้วยค่ะ
  • ขอเอาใจช่วยในงานที่ทำอยู่ค่ะ

มาเป็นกำลังใจให้กับพ่อแม่ที่มีปัญหานี้ทุกๆท่านค่ะ

ขอบคุณสำหรับบันทึกที่มีประโยชน์มากๆค่ะ

ที่โรงเรียนมีเด็กสมาธิสั้นอายุ 7-8 ขวบยังมีนะคะ เพราะพ่อแม่ไม่มีเวลาเลี้ยงดูน่ะค่ะ ไม่มีโอกาสบำบัดลูกก่อนเข้า ร.ร. จึงเป็นปัญหากับครูค่ะ

ขอให้พี่มีความสุขกับการทำงานน่ะครับ ได้กุศลมากเลย เป็นกำลังใจให้ครับ

         

                     อย่าว่าแต่เด็กสมาธิสั้นเลยค่ะ  ผู้ใหญ่สมาธิสั้นก็มี

                     แก้ปัญหาเด็กยังพอทน  แต่ปัญหาผู้ใหญ่สามธิสั้นนี่ลำบากสุดๆ

คุณ เพชรน้อย เป็นเพชรเม็ดงาม จริงๆ ครับ

สวัสดีค่ะ คุณเพชรน้อย

มาร่วมเรียนรู้การบำบัดเด็กสมาธิสั้นค่ะ

สวัสดีครูแป๋ม

- เด็ก ๆ ถึงอย่างไรก็น่ารักเสมอค่ะ

- พลอยทำให้เราสนุก เหมือนอยู่อีกโลกหนึ่งทีเดียวค่ะ

 สวัสดีค่ะ น้องซิลเวีย

  - การทำกิจกรรมบำบัด สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ คนในครอบครัวค่ะ

- และที่สำคัญคือ คนที่มีอิทธิพลกับครอบครัวค่ะ

 สวัสดีค่ะ ครูอี๊ด

 - ปัญหานี้ต้องร่วมด้วยช่วยกันค่ะ

- บางคนยังไม่รู้ว่านี้คือ ปัญหาสุขภาพ เพราะคิดว่าเป็นเรื่องปกติ

 - งานนี้จึงจำเป็นต้องให้หมอวินิจฉัย และรักษาบ้างค่ะ

- คุณครูที่โรงเรียนก็ต้องพลอยดูแลด้วยคนค่ะ

- ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะคุณวิไล วิไล บุรีรัตน์

 - โรคนี้เป็นในเด็กและพอโตขึ้นก็พลอยส่งผลถึงผู้ใหญ่ได้ค่ะ

- อย่างไรก็ตามสิ่งที่ทำได้ดี คือ เขาสามารถช่วยเหลือตนเองได้ อยู่ในสังคมได้

 สวัสดีค่ะเภสัช ศุภรักษ์

  - ขอบคุณมากค่ะอาจารย์

- "ลูก คือดวงใจพ่อแม่" จริง ๆ ค่ะ

สวัสดีค่ะคุณสามารถ

 - ขอบคุณมากค่ะ 

 ขอให้มีความสุขทั้งงานและชีวิตส่วนตัวเช่นกันค่ะ

 สวัสดีค่ะคุณครูนก

- ขอบคุณค่ะ

- ถ้ามีเด็กสักคนในห้อง ครูคงปวดหัวนะค่ะ

               

 

 

 

สวัสดีครับคุณ เพชรน้อย ไปถึงอยุธยาแล้ว ไกล้ถึงโนนไทย โอกาสต่อไปคงไปถึงโนนไทยครับ

สวัสดีค่ะท่านวอญ่า

- ขอบคุณค่ะ

- โอกาสหน้าคงได้เจอนะค่ะ

เป็นเทคนิคที่สร้างสมาธิ สำหรับเด็กสมาธิสั้น

เด็กสมาธิสั้น จะไม่อยู่นิ่ง บางคนเป็นเด็กอัจฉริยะ ที่ผู้ใหญ่มองข้าม

สวัสดีค่ะ อ.พรชัย

- เด็ก ๆ มักจะมีอะไรที่เรามองไม่เห็นค่ะ

- เราจึงหมั่นฝึกบรือ ให้เขาช่ำชอง หรือเปล่าค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท