เมื่อกฏหมายไทยเห็นคุณค่าของคนดี


กฎหมายไทยเห็นคุณค่าของคนดี

         เรามักจะได้ยินข่าวอยู่บ่อย ๆ ว่ามีพลเมืองดีเก็บเงินได้แล้วคืนเจ้าของและเจ้าของเงินก็จะให้เงินแก่ผู้เก็บเงินได้ไปส่วนหนึ่ง บางรายสื่อมวลชนทราบเรื่องก็จะยกย่องให้ ถ้าสื่อมวลชนไม่ทราบก็ไม่ได้รับการยกย่อง ท่านผู้อ่านอาจสงสัยว่ามีกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องแบบนี้บ้างหรือไม่  ขอตอบว่ามีอยู่ในประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์

           มาตรา ๑๓๒๓ บุคคลเก็บได้ซึ่งทรัพย์สินหาย ต้องทำอย่างหนึ่งอย่างใด ดั่งต่อไปนี้
                (๑) ส่งมอบ ทรัพย์สินนั้น แก่ผู้ของหาย หรือ เจ้าของ หรือ บุคคลอื่น ผู้มีสิทธิจะรับ ทรัพย์สินนั้น หรือ
                (๒) แจ้งแก่ ผู้ของหาย หรือ เจ้าของ หรือ บุคคลอื่น ผู้มีสิทธิจะรับ
ทรัพย์สินนั้น โดยมิชักช้า หรือ
                (๓) ส่งมอบ
ทรัพย์สินนั้น แก่เจ้าพนักงานตำรวจ หรือ พนักงานเจ้าหน้าที่อื่น ภายใน สามวัน และ แจ้งพฤติการณ์ ตามที่ทราบ อันเป็นเครื่องช่วย ในการสืบหาตัวบุคคล ผู้มีสิทธิจะรับ ทรัพย์สินนั้น
            แต่ถ้า ไม่ทราบตัวผู้ของหาย เจ้าของ หรือ บุคคลอื่นผู้มีสิทธิจะรับ ทรัพย์สิน ก็ดี หรือ บุคคลดั่งระบุนั้น ไม่รับมอบ ทรัพย์สิน ก็ดี ท่านให้ดำเนินการ ตามวิธีอันบัญญัติไว้ ในอนุมาตรา (๓)
            ทั้งนี้ ท่านว่า ผู้เก็บได้ซึ่งทรัพย์สินหาย ต้องรักษา
ทรัพย์สินนั้น ไว้ด้วยความระมัดระวัง อันสมควร จนกว่าจะส่งมอบ


           มาตรา ๑๓๒๔ ผู้ใดเก็บได้ซึ่งทรัพย์สินหาย อาจเรียกร้องเอารางวัลจากบุคคลผู้มีสิทธิ์

จะรับทรัพย์สินนั้นเป็นจำนวนร้อยละสิบแห่งค่าทรัพย์สินภายในราคาสามหมื่นบาท และถ้าราคาสูงกว่านั้นขึ้นไป ให้คิดให้อีกร้อยละห้าในจำนวนที่เพิ่มขึ้น  แต่ถ้าผู้เก็บได้ซึ่งทรัพย์สินหายได้ส่งมอบทรัพย์สินแก่ตำรวจหรือพนักงานเจ้าหน้าที่อื่น ท่านว่าให้เสียเงินอีกร้อยละสองครึ่งแห่งค่าทรัพย์สินเป็นค่าธรรมเนียมแก่ทบวงการนั้น ๆ เพิ่มขึ้นเป็นส่วนหนึ่งต่างหากจากรางวัลซึ่งให้กับผู้เก็บได้ แต่ค่าธรรมเนียนนี้ท่านจำกัดไว้ไม่ให้เกินหนึ่งพันบาท 

           ถ้าผู้เก็บได้ซึ่งทรัพย์สินหายมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติในมาตราก่อนไซร้ ท่าน ว่าผู้นั้นไม่มีสิทธิ์จะได้รับรางวัล

          อธิบายได้ว่าถ้าผู้ใดเก็บของมีค่าที่ผู้อื่นทำหายได้ให้ปฏิบัติตามมาตรา ๑๓๒๓ จะมีสิทธิ์ได้รับรางวัลตามตรา ๑๓๒๔ คืออาจเรียกร้องเอารางวัลจากบุคคลผู้มีสิทธิ์จะรับทรัพย์สินนั้นเป็นจำนวนร้อยละสิบแห่งค่าทรัพย์สินภายในราคาสามหมื่นบาท และถ้าราคาสูงกว่านั้นขึ้นไป ให้คิดให้อีกร้อยละห้าในจำนวนที่เพิ่มขึ้น ตัวอย่าง ถ้าเก็บของที่ผู้อื่นทำหายมูลค่า ๒๕,๐๐๐ บาทอาจเรียกร้องรางวัลได้ ๒,๕๐๐ บาท ถ้าเก็บได้มูลค่า ๕๐,๐๐๐ บาท อาจเรียกร้องรางวัลได้ ๔.๐๐๐ บาท การเรียกร้องนี้มีกฎหมายรองรับด้วย เห็นไหมเฃล่าครับว่ากฎหมายไทยเห็นคุณค่าของคนดี

หมายเลขบันทึก: 315118เขียนเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2009 17:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 10:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

แต่ถ้าเก็บได้แล้วไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1323 ยึดถือเอาไว้เป็นของตนจะมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 352 วรรค 2

          มาตรา 352 ผู้ใดครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่น หรือซึ่งผู้อื่น เป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานยักยอก ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

          ถ้าทรัพย์นั้นได้ตกมาอยู่ในความครอบครองของผู้กระทำความผิด เพราะผู้อื่นส่งมอบให้โดยสำคัญผิดไปด้วยประการใด หรือเป็นทรัพย์สินหายซึ่งผู้กระทำความผิดเก็บได้ ผู้กระทำต้องระวางโทษแต่เพียง กึ่งหนึ่ง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท