คลังความรู้ชีวิตที่พอเพียง


การดำรงชีวิตด้วยเศรษฐกิจแบบพอเพียงตามแนวทางพระราชดำรินั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปได้และเป็นทางรอดของผู้คนในยุคนี้ โดยสิ่งที่ครอบครัวคุณก้องได้ใช้ชีวิตตนเองพิสูจน์และแสดงให้เห็น มี 3 ประเด็นหลัก

สวัสดีชาวชุมชน “ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น”  ชาวโพนนาแก้วยินดีที่ได้เป็นสมาชิกใหม่ของชุมชนนี้   ได้อ่านบันทึก ชีวิตที่พอเพียง 27 : เลี้ยงหมู เขียนโดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช  แล้วค่อนข้างชื่นชมในวิถีการดำเนินชีวิตที่พอเพียง   เร็วๆนี้ทางเราได้พบกับอดีต NGO เครือข่ายของผู้ใหญ่วิบูลย์  เข็มเจริญ  ที่กลับมาใช้ชีวิตกับครอบครัวในพื้นที่ บ้านแป้น หมู่ 10 ต.บ้านแป้น อ.โพนนาแก้ว จ.สกลนคร ประมาณ 5-6 ปีแล้ว คือครอบครัวคุณก้อง  โดยครอบครัวนี้ได้พยายามพิสูจน์ให้ชาวบ้านเห็นว่า  ท่ามกลางกระแสบริโภคนิยม การดำรงชีวิตด้วยเศรษฐกิจแบบพอเพียงตามแนวทางพระราชดำรินั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปได้และเป็นทางรอดของผู้คนในยุคนี้ โดยสิ่งที่ครอบครัวคุณก้องได้ใช้ชีวิตตนเองพิสูจน์และแสดงให้เห็น มี 3  ประเด็นหลักดังนี้
1.       การจัดการข้าว   ตั้งแต่ขั้นตอนการทำนาหว่านในพื้นที่นาโคก  การไม่ใช้สารเคมีในนาข้าว   การผลิตข้าวกล้องด้วยเครื่องสีข้าวกล้องไม้ไผ่ การเพิ่มมูลค่าของข้าว ฯลฯ
2.       การอนุรักษ์ป่าหัวไร่ปลายนาเพื่อใช้เป็น ซุปเปอร์มาร์เกต ของครอบครัวและชุมชนโดยการ เพาะและขยายพันธ์พืชในท้องถิ่น  สมุนไพรที่จำเป็นต้องใช้ รวมถึงพืชที่สามรถนำมาเพิ่มมูลค่าเพื่อเป็นสินทรัพย์ของครอบครัว โดยการดำเนินการในประเด็นนี้ได้รับความช่วยเหลือจาก พ่อเล็ก จากเครือข่ายอินแปลง อ.กุดบาก จ.สกลนคร
3.       การพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้เพื่อการพึ่งตนเอง  ทั้งด้านอาหาร  ยารักษาโรค   การแปรรูปและเพิ่มมูลค่าผักพื้นบ้านและพืชสมุนไพร
ผลการดำรงชีวิตของครอบครัวนี้ทำให้ครอบครัว ซึ่งเดิมมีหนี้สินกับธนาคาร ธกส.สามารถลดหนี้ลงได้  มีปัจจัย 4 พอเพียงในครอบครัวและมีเหลือเผื่อแผ่ให้ชุมชน  อีกทั้งสามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 30567เขียนเมื่อ 24 พฤษภาคม 2006 10:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวทางที่วิเศษสุดของชาวอีสานทุกจังหวัดอยู่แล้ว แต่ขาดอย่างเดียวเท่าที่ได้สัมผัสชาวอีสานขาดความภาคภูมิใจในพื้นถิ่นของตัวเอง ไม่กล้าเปิดเผยตัวเองว่ามาจากภาคอีสาน  กลัวคนที่เขาชอบดูถูกคนอื่นดูถูกว่าเป็นบ้านนอกที่สำคัญ "กลัวถูกหาว่าเป็นลาว"  แต่หารู้ไม่ว่าคนลาวอันหมายถึงคนทางภาคอีสาน มีสิ่งที่ดีๆอยู่ในตัวเองที่ภาคอื่นไม่มีตั้งมากมายรวมถึงความติดดิน ดำเนินชีวิตแบบไม่ฟุ้งเฟ้อ  ไม่ขี้เกียจเพราะคนอีสานส่วนมากขยัน แต่ขาดการจัดการชีวิตคือความรู้ ที่จะมาใช้ในการดำเนินชีวิต ไม่รู้จักออม มีเท่าไหร่กินให้หมด  แต่ที่สำคัญคนอีสานใจดี  ไม่ชอบมีเรื่องทะเลาะกับใครจนถูกมองว่าโง่ และบวกคำว่าเซ่อเข้าไป จนกลายเป็นที่ตลกขบขัน และไม่รู้จักใช้คำพูด คำจาที่มีมารยา แทรกเข้าไปในชีวิตประจำวัน คิดอย่างไรก็พูดอย่างนั้นแบบ "เว้าซื่อๆ"  หรือใครคิดว่าคนอีสานเป็นอย่างไร
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท