ล่องเรือ...กับนักวิจัยเพื่อท้องถิ่น


...เราคาดหวังถึง การพัฒนาแบบมีส่วนร่วม ที่เป็นทั้ง “เป้าหมาย” และ “วิธีการ” ที่จะนำไปสู่การ “พึ่งตนเองได้” ของชุมชนในที่สุด

           ต้นฤดูฝน ป่าเขียวขจี สวยสด เป็นช่วงที่ผมชอบมากๆ ป่าช่วงนี้สดสวยและอากาศดีมาก สีเขียวของป่าตัดกับสีฟ้าเข้มๆ อากาศใส ไม่ร้อนจนเกินไป  


           ช่วงนี้ป่ามีชีวิตชีวามากครับ แม่น้ำก็มีน้ำมากพอที่จะเชี่ยวกราก แต่ก็อ่อนโยน และนุ่มนวล
           บรรดานักวิจัยเพื่อท้องถิ่น ที่แม่ฮ่องสอน เราทำงานวิจัยในประเด็น “การท่องเที่ยวโดยชุมชน”  โดยเฉพาะ "ชุมชนจีนยูนนานแม่ฮ่องสอน"  พวกเราได้นัดหมายกัน ล่องเรือยางแม่น้ำของ น้ำปาย ใช้เวลา ๒ วัน กับอีก ๑ คืน  นอนในป่า ศึกษาธรรมชาติ เวลา ๒วันนี่ เรียกได้ว่า  “สัมผัสธรรมชาติกันเต็มๆ” เลยหละครับ ชาร์ทแบตเตอรี่ชีวิตกันให้เต็มพิกัด เรื่องราว ของบรรดานักวิจัยเพื่อท้องถิ่น จะสนุกสนานอย่างไร  ติดตามอ่านเรื่องเล่าสนุกสนานได้จาก “ผจญภัยสายน้ำ”


          กิจกรรมที่น่าสนใจที่สุด เรานั่งทำเวที “นั่งนับดาว กลางป่า ก่อไฟผิง ปิ้งมัน”  คุยเรื่อง “งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น” กัน และบรรยากาศการแลกเปลี่ยนเป็นไปด้วยความสุข และบรรยากาศของความเอื้ออาทรต่อสรรพสิ่ง เป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ
           หาก Bloger ท่านใด หรือ ผู้ที่สนใจที่จะท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ล่องเรือคายัค แบบนี้ ติดต่อได้ที่ผู้เขียนบันทึกได้เลยครับ นอกจากจะสนุกสนานแล้ว ยังได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชุมชนท่องเที่ยว ที่ใช้กระบวนการวิจัยเพื่อท้องถิ่นเป็นเครื่องมือ ในการการทำงาน ...เราคาดหวังถึง การพัฒนาแบบมีส่วนร่วม ที่เป็นทั้ง “เป้าหมาย”  และ “วิธีการ”  ที่จะนำไปสู่การ “พึ่งตนเองได้” ของชุมชนในที่สุด

หมายเลขบันทึก: 28255เขียนเมื่อ 13 พฤษภาคม 2006 11:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • น่าไปจังเลยครับ
  • สนใจงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นครับ

เรียน พี่จตุพร

ผมสนใจข้อมูลเรื่องการพัฒนาเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืน หรือข้อมูลด้านอื่น ๆ เช่น ประชาคมท้อง วิถีชีวิตชุมชน และเศรษฐกิจชุมชน เป็นต้น ที่ส่งผลกระทบด้านบวกและด้านลบกับวิถีความเป็นอยู่ (ครอบครัว) ชุมชนท้องถิ่น และได้มีข้อมูลแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน

ซึ่งเมื่อวานผมได้เป็นฟังสัมมนาเวทีท้องถิ่นไทย 2549 Thai Local Forum ซึ่งได้เป็นนั่งฟังห้องของอาจารย์นที  ขลิบทอง ในเรื่องการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน ซึ่งขณะนี้ทางหน่วยงานได้ร่วมกับ ศูนย์ต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจน(ศตจ.) เพื่อทำการเก็บข้อมูลแต่ชุมชนของอปท.ทุกตารางนิ้ว เพื่อค้นหาสภาพความเป็นจริง เพื่อมาพัฒนาต่อยอดการใช้ทรัพยากรที่มีคุณค่าในท้องถิ่น ซึ่งมอง ๆ แล้วก็เหมือน ๆ นโยบายเดิม แหละ เพียงนำมาปรับปรุงและเพิ่มรายละเอียดอย่างมีเป้าหมายชัดเจนขึ้นเท่านั้นเองครับ....

ปล.ขอข้อมูลแลกเปลี่ยนกันบ้างนะครับ

แคปหมู

คุณแคปหมู...

                ขออภัยที่มา ลปรร.ช้าไปหน่อย ผมไปพักผ่อนมาครับ...ก็เลยห่างจากการเขียนบันทึกไป3-4 วัน ...ขอบคุณครับที่สนใจข้อมูลเหล่านี้ โดยทางกลุ่มทำงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นที่แม่ฮ่องสอน มีประเด็นที่เราทำวิจัยกันมาพอสมควรครับ และส่วนหนึ่งทาง โครงการฟื้นฟูชีวิตและวัฒนธรรมแม่ฮ่องสอน ก็ทำงานพัฒนาเชิงประด็นม่องเที่ยวอยู่

                 ในกระบวนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น เราได้ประเด็นปัญหาที่มาจากชุมชน ครับ ส่วนหนึ่งก็เป็นปัญหาพื้นฐาน เช่น เศรษฐกิจชุมชน วิถีชุมชนด้านต่างๆเป็นไปเพื่อการสืบสาน อนุรักษ์ เป็นต้น แต่ไม่ว่าประเด็นพัฒนาใดๆก็ตาม เราได้ลงไปคลุกคลีและทำเวทีกับชุมชนบ่อยๆ เราก็จะเห็นวิถีที่จริงๆของชุมชน เราได้เห็นธรรมชาติของการพัฒนา (ที่เราควรต้องทำความเข้าใจ) เห็นศักยภาพของท้องถิ่น (ที่มีมากกว่าที่คนทั่วไปคิด) ...และเห็นด้านลบผลของการพัฒนาแบบไม่เข้าใจในห้วงที่ผ่านมา  เห็นความไม่เท่าเทียมที่สังคมสร้างขึ้น ...เหล่านี้เป็นต้นครับ

             ก็น่าสนใจดีครับ ผมว่าเรานักพัฒนาเองก็ได้เรียนรู้กับประสบการณ์ตรงนี้ เป็นการเรียนรู้ต่อเนื่อง ร่วมกันกับชุมชน ...งานสนุกและท้าทาย หากว่าเราเข้าใจและยอมรับ "ศักยภาพและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์" ครับ

              ยินดีครับ คุณแคปหมู สำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในทุกสาระ ทุกเรื่อง เพื่อพัฒนาตนเองครับ

อาจารย์ขจิต และ อาจารย์ AW

ยินดีต้อนรับหากสนใจจะมาแอ่วเมืองสามหมอกครับ ...ผมจะรับจัดทริปให้ครับ รับรองความสนุกแบบไม่มีขีดจำกัดครับผม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท