ไอที อีกที ความฝันที่ต้องเป็นจริง


4พ.ค.49

วันนี้เราคุยกันในกรรมการไอทีอีกครั้งเนื่องจากโครงการที่เราส่งไปกรมและกระทรวงถูกตีกลับหลังจากที่ไม่มีใครไปชี้แจงกรรมการซึ่งเกิดจากความเข้าใจผิดบางประการ     เมื่อวานนี้รองศิริชัยก็มาปรับทุกข์กับดิฉันเรื่องระบบไอทีที่ติดขัดตลอด    ดิฉันบอกรองว่าดิฉันจะทำให้เสร็จภายในงบประมาณปี49    หลังจากเราได้ปรับทุกข์ถึงปัญหาของไอทีทั้งหมดเราพบว่าข้อมูลถูกใส่เข้าไปน้อยซึ่งคงเริ่มจากห้องบัตร    ดิฉันเชิญน้องหนูสุริวรรณมามอบภารกิจอันยิ่งใหญ่คือหาคนมาทำหน้าที่monitor  และ reporting  เพื่อดูว่าข้อมูลอะไรที่ควรใส่แต่ไม่ใส่    ดิฉันจะมาติดตามและพยายามempowerเจ้าหน้าที่เราให้ใช้ไอทีให้เต็มcompetencyของระบบ    ทั้งชุดเหลืองชุดฟ้าและชุดขาวคงต้องมาช่วยกันให้ฝันของเราเป็นจริง    ส่วนความเชื่องช้าของกระทรวงในการอนุมัตินั้นดิฉันได้โทรไปหาประธานของกระทรวงซึ่งทราบว่าคือหมอพรเทพ    คุณหมอขอโทษที่ทำให้ช้าและแนะนำวิธีเขียนขอให้อนุมัติได้เร็ว    ดิฉันแจ้งว่าวันจันทร์ดิฉันจะรีบดำเนินเรื่องไปที่กระทรวง    ผู้ที่คอยเครื่องกรุณาคอยอีกนิดนะคะ กำลังใช้พลังของประธานค่ะ      

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 26954เขียนเมื่อ 5 พฤษภาคม 2006 14:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
ไชโย......ดีใจจริงๆ ค่ะที่ทุกหน่วยงานจะสามารถใช้ไอทีในการ Input ข้อมูลได้ด้วยตัวเอง มีคุณหมอนภา, คุณหมอยุทธศักดิ์, น้องสุริวรรณ์เป็นแกนนำ และได้พลังสนับสนุนจาก ผอ. ให้เกิดความร่วมมือจากทุกหน่วยงานคงสำเร็ตามเป้าหมายได้แน่นอน

หลังจากข้าพเจ้าไปเรียนจบมา ได้เห็นความเปลี่ยนแปลงของสถาบันบำราศนราดูร อย่างเห็นได้ชัดเลยค่ะ ก่อนอื่นต้องขอแสดงความยินดี กับทุกท่านด้วยค่ะ ที่เหน็ดเหนื่อยทุ่มเทกับการทำงาน มาโดยตลอด จนทำให้ได้ HA มา ข้าพเจ้าภูมิใจที่ทุกท่าน เสียสละ ทุ่มเท แรงกายแรงใจ และการบริการที่ดี จากทุกหน่วยงาน ที่มีความยิ้มแย้ม แจ่มใส พูดจาไพเราะ ทุกท่านช่วยเหลือกัน เพื่อจะให้บำราศฯเป็นหนึ่งในหัวใจของประชาชนผู้มารับบริการ ในส่วนข้าพเจ้านั้นก็อยากจะมีส่วนเล็กๆ ในการที่จะพัฒนางาน ด้านข้อมูลผู้ป่วยนอก ที่ยังมีปัญหาท้าทายให้ทุกคนช่วยกัน ซึ่งข้าพเจ้าต้องขอโทษที่ต้องกล่าวเช่นนั้น ข้าพเจ้าจึงมีความคิดหรือแนวดิดที่จะเป็นทางเลือกหนึ่ง ที่จะให้งานข้อมูลผู้ป่วยนอกมีความสมบูรณ์ โดยมีการสร้างแรงจูงใจ ให้เกิดความสามัคคี ระหว่างเจ้าหน้าที่ทุกท่าน ที่มีการทำงานร่วมกัน ในแต่ละแผนก โดยการให้รางวัล ซึ่งรางวัลนั้น ก็มาจากผู้สนับสนุนทั้งภายในและภายนอก โดยไม่ใช้เงินงบประมาณหรือเงินใดๆของทางราชการ เพื่ อเป็นการช่วยเหลือกัน มีความเสียสละ แบ่งปัน ดังจะมีรายนามโดย ยกตัวอย่างดังนี้

ผู้สนับสนุนภายในองค์กร

  1. แพทย์หญิงนภา จิระคุณ
  2. นายแพทย์ยุทธศักดิ์ พีระกุล
  3. นายแพทย์กฤษฎา หาญบรรเจิด
  4. แพทย์หญิงรุจนี สุนทรขจิต

ผู้สนับสนุนภายนอกองค์กร

1.หจก.กรกานต์ เทรดดิ้ง กรรมการผู้จัดการ นายขุมทอง จิตต์สุข เป็นต้น

ซึ่งข้าพเจ้าคิดว่า บุคคลที่เอ่ยนาม จะต้องให้การสนับสนุน เงินรางวัล เพราะท่านเห็นความสำคัญของข้อมูลที่จะนำมาพัฒนา

งานมาโดยตลอด ซึ่งแต่ละแผนกก็จะรับผิดชอบร่วมกันในการทำให้ข้อมูลผู้ป่วยนอก ให้สมบูรณ์ โดยดูได้จาก รายงานผู้ป่วยนอก ข้อ 6.4 โดยที่ความสมบูรณืในเรื่อง ของการใช้โปรแกรมหน้าห้องตรวจ ประจำวัน โดยแต่ละแผนก จะมีเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล มีพยาบาล มีผู้ช่วยเหลือคนไข้ ที่จะทำงานประสานความร่วมมือกัน ในอันที่จะทำให้ระบบข้อมูลสนเทศมีความสมบูรณ์ ครบถ้วน ทันเหตุการณ์โดยแต่ละแผนกอาจจะมีวิธีการบริหารจัดการที่ไม่เหมือนกันก็ได้ โดยดูจากความเหมาะสม เพราะเจ้าหน้าที่มีอยู่อย่างจำกัดแต่ต้องบริหารจัดการอย่างไรให้คุ้มค่า มีประสิทธิภาพ มากที่สุด แล้วก็เกิดประสิทธิผลด้วย โดยแต่ละแผนกช่วยกันคิด โดยไม่แบ่งฝ่ายใด แต่คิดถึงผลของงานเป็นหลัก เพราะทุกท่านที่อยู่ในแผนกนั้นจะได้รางวัลร่วมกัน เพื่อให้เกิดขวัญและกำลังใจ เกิดความสามัคคี ร่วมแรงร่วมใจกัน ทำสารสนเทศข้อมูลข่าวสารของสถาบันให้เป็นเลิศ ควบคู่กับการบริการที่เลิศล้ำได้ค่ะ

โดยอาจจะมีกรรมการ Audit ประจำเดือน ให้รางวัลแผนกที่มีความสามารถในการทำให้ข้อมูลมีความครบถ้วน ถูกต้อง และทันเหตุการณ์ โดยอาจจะแบ่งระดับ การให้รางวัล ตามความเหมาะสมต่อไป ซึ่งข้าพเจ้าคิดว่า พวกเราชาวบำราศฯทำได้แน่นอน ซึ่งข้าพเจ้าแนบระเบียบวิธีปฏิบัติ มาไว้ให้ด้วยเพื่อทุกท่านจะได้ศึกษารายละเอียด และเห็นภาพ ของความสำเร็จ และข้าพเจ้าแนบตัวอย่างรายงานโรค ของปี 48 มาไว้ในที่นี้เพื่อให้ท่านดูผลงานในแต่ละแผนก ซึ่งจะสังเกตว่⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪

⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪

⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪

⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪⨪ู้ขึ้นมา โดยยังไม่ได้ปรึกษาผู้ใหญ่ เพราะข้าพเจ้าคิดว่า การแสดงออกที่ ผ่าน Internet เช่นนี้ จะทำให้ทุกท่านได้ Share ความคิดเห็นร่วมกัน และเกิดประโยชน์ร่วมกัน มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และเราจะได้มีความรู้ความเข้าใจที่ตรงกัน และเราก็จะได้เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้งานที่อาจจะไม่เกี่ยวกับเราโดยตรง แต่ก็สามารถช่วยได้โดยรู้ว่าใครทำอะไร

ที่ไหน อย่างไร เพื่ออะไร เหมาะสมหรือไม่ โดยแสดงความคิดเห็น หรือประสบการณ์ของท่านออกมา อันก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ของงาน

ขอขอบคุณค่ะ

 

ยื้มแย้ม เยือกเย็น ยืดหยุ่น ยกย่อง 9 พฤษภาคม 2549

จันทนา จิตต์สุข (ใหม่)
หลังจากข้าพเจ้าเรียนจบมา ก็ได้เห็นความเปลี่ยนแปลงของสถาบันบำราศนราดูร อย่างเห็นได้ชัดเลยค่ะ ก่อนอื่นต้องขอแสดงความยินดี กับทุกท่านด้วยค่ะ ที่เหน็ดเหนื่อยทุ่มเทกับการทำงาน มาโดยตลอด จนทำให้ได้ HA มา ข้าพเจ้าภูมใจทุกท่านที่ เสียสละ ทุ่มเท แรงกายแรงใจ และการบริการที่ดี จากทุกหน่วยงาน ที่มีความยิ้มแย้ม แจ่มใส พูดจาไพเราะ ทุกท่านช่วยเหลือกัน เพื่อจะให้บำราศเป็นหนึ่งในหัวใจของประชาชนผู้มารับบริการ ในส่วนข้าพเจ้านั้นก็อยากจะมีส่วนเล็กๆ ในการที่จะพัฒนางาน ด้านข้อมูลผู้ป่วยนอก ที่ยังคงมีปัญหาท้าทาย และการดำเนินการเป็นไปอย่างล่าช้า ที่ต้องให้ทุกคนช่วยกัน ซึ่งข้าพเจ้าต้องขอโทษที่ต้องกล่าวเช่นนั้น  ข้าพเจ้าจึงมีความคิดหรือแนวดิดที่จะเป็นทางเลือกหนึ่ง ที่จะให้งานข้อมูลผู้ป่วยนอกมีความสมบูรณ์  โดยมีการสร้างแรงจูงใจ ให้เกิดความสามัคคี ระหว่างเจ้าหน้าที่ทุกท่าน ที่มีการทำงานร่วมกัน ในแต่ละแผนก โดยการให้รางวัล ซึ่งรางวัลนั้น ก็มาจากผู้สนับสนุนทั้งภายในและภายนอก โดยไม่ใช้เงินงบประมาณหรือเงินใดๆของทางราชการ เพื่อเป็นการช่วยเหลือกัน มีความเสียสละ แบ่งปัน  ดังจะมีรายนามโดย ยกตัวอย่างดังนี้
                ผู้สนับสนุนภายในองค์กร
1.แพทย์หญิงนภา จิระคุณ
2.นายแพทย์ยุทธศักดิ์ พีระกุล
3.นายแพทย์กฤษฎา  หาญบรรเจิด
4.แพทย์หญิงรุจนี   สุนทรขจิต
ผู้สนับสนุนภายนอกองค์กร
1.หจก.กรกานต์ เทรดดิ้ง  กรรมการผจก.
นายขุมทอง จิตต์สุข   เป็นต้น  ซึ่งข้าพเจ้าคิดว่า บุคคลที่เอ่ยนาม จะต้องให้การสนับสนุน  เงินรางวัล เพราะท่านเห็นความสำคัญของข้อมูลที่จะนำมาพัฒนางานมาโดยตลอด  ซึ่งแต่ละแผนกก็จะรับผิดชอบร่วมกันในการทำให้ข้อมูลผู้ป่วยนอก สมบูรณ์ โดยดูได้จาก รายงานผู้ป่วยนอก  ข้อ 6.4  โดยที่ความสมบูรณืในเรื่องของการใช้โปรแกรมหน้าห้องตรวจ ประจำวัน   โดยแต่ละแผนก จะมีเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล มีพยาบาล มีผู้ช่วยเหลือคนไข้  ที่จะทำงานประสานความร่วมมือกัน ในอันที่จะทำให้ระบบข้อมูลสนเทศมีความสมบูรณ์ ครบถ้วน ทันเหตุการณ์
                โดยแต่ละแผนกอาจจะมีวิธีการบริหารจัดการที่ไม่เหมือนกันก็ได้ โดยดูจากความเหมาะสม  เพราะเจ้าหน้าที่มีอยู่อย่างจำกัด  แต่ต้องบริหารจัดการอย่างไร  ให้คุ้มค่ามีประสิทธิภาพ มากที่สุด แล้วก็เกิดประสิทธิผลด้วย  โดยแต่ละแผนกช่วยกันคิด โดยไม่แบ่งฝ่ายใด   แต่คิดถึงผลของงานเป็นหลัก เพราะทุกท่านที่อยู่ในแผนกนั้นจะได้รางวัลร่วมกัน เพื่อให้เกิดขวัญและกำลังใจ  เกิดความสามัคคี ร่วมแรงร่วมใจกัน ทำสารสนเทศข้อมูลข่าวสารของสถาบันให้เป็นเลิศ ควบคู่กับการบริการที่เลิศล้ำได้ค่ะ
  โดยอาจจะมีกรรมการ Audit  ประจำเดือน ให้รางวัลแผนกที่มีความสามารถในการทำให้ข้อมูลมีความครบถ้วน ถูกต้อง และทันเหตุการณ์  โดยอาจจะแบ่งระดับ การให้รางวัล  ตามความเหมาะสมต่อไป ซึ่งข้าพเจ้าคิดว่า พวกเราชาวบำราศฯทำได้แน่นอน  ซึ่งข้าพเจ้าแนบระเบียบวิธีปฏิบัติ มาไว้ให้ด้วยเพื่อทุกท่านจะได้ศึกษารายละเอียด และเห็นภาพ ของความสำเร็จ  และข้าพเจ้าแนบตัวอย่างรายงานโรค ของปี 48 มาไว้ในที่นี้เพื่อให้ท่านดูผลงานในแต่ละแผนก  ซึ่งจะสังเกตว่า มีรหัส ND,FD  ติดอันดับ TOP TEN  ซึ่งกรณีนี้แหล่ะค่ะที่เราจะมาช่วยกันกำจัดออกไปจากระบบ 
   และนี่ก็เป็นความคิดเล็กๆของข้าพเจ้า ที่อาจจะมีข้อผิดพลาด ขอให้ทุกท่าน ร่วมแสดงความคิดเห็นเข้ามา ก็จะได้นำเสนอผู้บริหารต่อไป   ขอขอบคุณค่ะ
ยิ้มแย้ม เยือกเย็น ยืดหยุ่น                 9 พฤษภาคม  2549

 

ขอบคุณทุกคนค่ะ   หมอจะจ่ายเงินส่วนตัวสมทบให้ค่ะ   

          ดีใจนะคะที่ได้อ่านแนวคิดของจูน เพราะจูนเป็นเด็กรุ่นใหม่ที่กล้าคิด, กล้าทำและกล้าแสดงความคิดเห็น ซึ่งมอมกับคุณหมอนภาฝากความหวังและรอคอยการกลับมาของจูน เพื่อมาเสริมกำลังของงานด้านข้อมูลที่น้องสุริวรรณ์กับอ้อมรับภาระหนักในช่วงที่ผ่านมา

          ที่จูนบอกว่า "มีรหัส ND,FD  ติดอันดับ TOP TEN  ซึ่งกรณีนี้แหล่ะค่ะที่เราจะมาช่วยกันกำจัดออกไปจากระบบ" แสดงการวิเคราะห์ถึงรากของปัญหาที่ต้องแก้ไขก่อนในภาวะเร่งด่วนค่ะ 

 รากของปัญหาคือความเข้าใจ ระบบโปรแกรมที่ต้องทำต้องทำไปพร้อมกับการบริการผู้ป่วย ที่ต้องอาศัยทุกคนที่อยู่ ณ ที่บริการตรงจุดนั้นช่วยกันบันทึกผ่านเข้าโปรแกรม   โดยรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ ที่ไม่เล็กอย่างที่คิด  เช่น การที่แพทย์ให้ส่งผู้ป่วยไปรักษาต่อแผนกอื่น โดยที่ไม่ได้ลงโรคผู้ป่วยในแฟ้มประวัติ  เจ้าหน้าที่ต้องทำการ  Refer ไปแผนกอื่นทันที  แล้วผู้รับทางแผนกนั้นก็ต้อง ตรวจสอบที่หน้าจอแผนกของตนเองว่า

มีผู้ป่วยท่านนี้มาที่แผนกเราหรือไม่ หรือการที่ผู้ป่วย มารักษาทั้งสองแผนก ก็ต้องทำการ Consult ไปให้ 

และถ้าผู้ป่วยไม่มารักษา หรือเปลี่ยนใจไม่รักษาก่อนพบแพทย์

ก็ต้องทำการ ยกเลิก ทันที

และการส่งแผนกที่มีรายละเอียดที่ค่อนข้างซับซ้อน เช่น ต้องรู้ว่าผู้ป่วยท่านนี้เป็น ของโครงการนภา ก็ต้อง ส่งมาที่แผนกที่ ถูกต้อง เช่น เด็ก ก็ต้องส่งว่า PED-M หรือผู้ใหญ่ก็ต้องส่งเป็น NAMED   หรือเป็นคนไข้ประกันสังคม ที่ต้องไปห้องประกันสังคม ก็ต้องส่ง INS เป็นต้น  ถ้าเห็นความสำคัญ ก็จะทำให้การมีรหัส ที่แปลว่า ไม่มีข้อมูล กับส่งผิดแผนก ก็จะน้อยมากหรือไม่มีเลย  ซึ่งต้องทำภายในวันนั้น  ถ้าส่งแฟ้มไปเก็บห้องบัตรแล้ว ก็จะทำให้แก้ไขอะไรไม่ได้

ขณะนี้จูนก็ไป observe แผนกเด็ก  ต้องขอขอบคุณพี่ทุกคน ในแผนกมากที่ พี่ทุกคนให้ความร่วมมือ และรู้ปัญหา ว่าแต่ก่อนจะไม่เข้าใจโปรแกรม ตรงที่ต้องส่งว่า Refer ก็ส่ง Consult ตลอด

ทำให้มียอดค้างที่ PED เยอะมาก และก็ไม่ได้ทำการยกเลิกผู้ป่วยที่ไม่ได้มาตรวจที่แผนกเลย ก็จะส่งแฟ้มคืนเลย เป็นต้น

คิดว่าตอนนี้ถ้าทุกคนรู้และเข้าใจตรงกันปัญหานี้จะค่อยๆ หมดไป โดยจูนต้องขออนุญาติที่จะไปทำความเข้าใจกับทุกแผนกโดยจะไป ตอนช่วงบ่าย ของแต่ละแผนกนะคะ

คู่มือปฏิบัติและข้อมูลสถิติผู้ป่วยนอกปี 48 อยู่ใน บล็อคชุมชุน

นะคะ หรือเข้ามาที่ gotoknow.org/statbi ได้เลยค่ะ

ขอบคุณจูนค่ะ

ตอนนี้ก็มี BLOG ของงานเวชสถิติและระบาดวิทยาแล้วนะคะ สามารถคลิ๊กไปดู ความก้าวหน้า ของงานเวชสถิติได้แล้วค่ะ เพราะเพิ่งเริ่มฝึก นำสิ่งที่อาจจะเป็นข้อมูลที่สื่อสารทำให้ได้ความเข้าใจ และเป็นการรับฟังความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์จากผู้มีความรู้ความสามารถ เพื่อนำมาปรับในงาน ในโอกาสต่อไปค่ะ

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท