เงินแห้ง หรือเงินสด อย่าลืมจดทุกรายการ


ระยะนี้ระบบราชการมีระบบรักษาก่อน จ่ายทีหลังค่อนค่างมาก    บางระบบจะต้องอาศัยเจ้าหน้าที่เราใส่ข้อมูล     ทางสถาบันต้องฝึกคนมาทำงานไอที   รู้ระบบลงโค้ด   ทั้งนี้ต้องอาศัยพยาบาลลงข้อมูลให้สมบูรณ์   งานDRGรวบรวมและตรวจสอบ   บางโรคเราสามารถเก็บส่วนเกิน   มีบางช่วงเราสื่อสารกันไม่ชัดเจนทำให้สถาบันเบิกเงินแห้งไม่ครบ   แต่โชคดีที่เรารู้ตัวและกำลังแก้ไขค่ะ    ขอความกรุณาพวกเราใส่ใจในการเติมข้อมูลให้สมบูรณ์เพื่อพวกเราจะได้มีเงินใช้จ่ายในการบริการผู้ป่วยค่ะ

คำสำคัญ (Tags): #ระบบการเงิน
หมายเลขบันทึก: 27013เขียนเมื่อ 5 พฤษภาคม 2006 14:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:51 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

จากการไปดูงาน IT จากหลายโรงพยาบาล จะเห็นได้ว่า การลงบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ใน Program นั้นต้องอาศัยความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่ทุกฝ่าย ส่วนเรื่อง DRG จะเน้นในเรื่องของการวินิจฉัยโรค (แพทย์) กิจกรรมการพยาบาลที่ได้ทำไป  (พยาบาล)แล้วเพื่อจะได้คิดเป็นเงินให้หมด การตรวจสอบสิทธิ (น้อง DRG หรืองานสถิติ) ถ้าจะประยุกต์ประสบการณ์ทั้งหลายที่เราไปดูกันมาให้เกิดประโยชน์มากที่สุด (บางที่มีดีบางอย่าง มีจุดด้อยบางอย่าง)  เราก็เลือกสิ่งดี ๆมาใช้ เช่นการลงข้อมูลในเชิงรุก โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง จำชื่อไม่ได้  เค้าจ้างเจ้าหน้าที่ระดับ ป.ตรี (4 คน) ทำหน้าที่ลงข้อมูลใน DRG ตรวจสอบสิทธิ และลงข้อมูลของกิจกรรมพยาบาลทุกอย่างที่เป็นเงินเป็นทอง ทุกวัน และ UPDate ด้วย ไม่ต้องมานั่งเสียใจเวลาเบิกเงินไม่ได้  และง่ายสำหรับการจำหน่ายด้วย  คือพยาบาลไม่ต้องมานั่งบวกเลข กดคลิกเดียว ออกมาหมดเลย

มีหลายคนที่ไปดูงาน IT อาจจะมีข้อเสนอดี ๆๆๆๆ มากมาย แต่ไม่กล้าก็ได้ และอยากให้ทบทวนกิจกรรมที่เรากำลังทำอยู่ ว่าเสียกำลังคนในการลง DRG มากไปไหม ถ้ารุกมากกว่านี้จะดีมาก

อย่าลืมว่า เป้าหมายของพวกเราอยู่ที่คนไข้ (แต่ต้องดูด้วยว่าต้นทุนต้องน้อย แต่คุณภาพต้องดีเยี่ยม ภายในบรรยากาศองค์กรที่ดี)

เรื่องการเรียกเก็บเงินค่ารักษาในระบบ DRG เท่าที่พอทราบมาว่าเงินหายไปประมาณ 2 ล้านนั้น จริงๆแล้วเกิดความผิดพลาดนิดหน่อยจากการ key ข้อมูลในโปรแกรมที่ส่งเรียกเก็บเงินจากกรมบัญชีกลาง ที่เจ้าหน้าที่ ผู้ keyไม่ทราบว่าผู้ป่วยเป็นโรคค่าใช้จ่ายสูงหรือโรคเรื้อรัง  จึงไม่ได้ติ๊กลงในโปรแกรม เพราะการจ่ายเงินคืน Rate จะไม่เท่ากัน จึงทำให้รายได้ส่วนนี้หายไป น่าจะเน้นตรงส่วนเจ้าหน้าที่การเงินที่รับผิดชอบในการลงข้อมูลให้ถูกต้อง เพราะปัจจุบันเจ้าหน้าที่ของ DRG ก็ตรวจสอบให้อยู่แล้ว เพียงแต่อาจจะผิดพลาดตรงที่คิดว่าน้องที่ key ข้อมูลเข้าใจเรื่องโรคค่าใช้จ่ายสูงและโรคเรื้อรังแล้ว  คงต้องสื่อสารให้เข้าใจตรงกัน ส่วนการ Input ข้อมูลในส่วนอื่นๆ นั้นก็ควรทำเป็นระบบเครือข่าย ตามโปรแกรม HOMC ที่เป็นฐานข้อมูลกลางของสถาบัน ให้ถูกต้องและช่วยกันตรวจสอบในส่วนพื้นฐานของตนเองก็พอแล้ว คิดว่าถ้าทำได้ระบบ IT จะใช้ประโยชน์ได้คุ้มค่า

ปัญหาที่เกิดทางโรงพยาบาลไม่เคยจะโทษใคร    ไม่มีปัญหาก็ไม่มีการพัฒนา    ขอบคุณทุกคนที่แจ้งปัญหามา   เราจะพัฒนาให้ดีขึ้นค่ะ

การบันทึกข้อมูลเป็นพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง

การจดบัญชี รับ-จ่ายทำให้เรารู้และระมัดระวังการจ่ายเงิน จริง ๆ ค่ะคุณหมอ บัญชีไม่ยากอย่างที่คิด เห็นด้วยกับคุณเอกเช่นกันค่ะ

เป็นวิธีการที่ดี แรกๆ ก็จดทุกอย่างค่ะ แต่พอนานๆ ไป ความขี้เกียจมาเยือนจึงเลิกจดไปโดยปริยาย

ขอบคุณที่มาช่วยให้แนวคิดและการปฏิบัติจริงค่ะ   ดิฉันเองเคยจดแล้วเลิกและมาเรื่มใหม่   ขณะนี้ก็เริ่มขี้เกียจอีกแล้วค่ะ

การจดทำให้เห็นข้อมูลและใช้เงินระวังขึ้นมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท