ค่ายคนวัยใส ฯ : มือใหม่ไฟแรง...


มีการสร้างโจทย์เรียนรู้ที่กลมกลืนระหว่างชุมชนกับสถานศึกษา พร้อมๆ กับการใช้กระบวนการของการถอดความรู้เป็นเครื่องมือของการบริหารจัดการค่ายให้มีประสิทธิภาพ

ปีนี้ไม่ค่อยได้มีโอกาสไปเยี่ยมค่ายบ่อยนัก  เพราะติดพันกับภารกิจของการบริหารจัดการในสำนักงานที่นับวันก็ดูจะเพิ่มขึ้นทีละนิดทีละน้อย  แต่ถึงกระนั้นผมก็ไม่เคยละเฉยที่จะพาตัวเองออกไปเยี่ยมเยียนให้กำลังใจกับชาวค่าย 

          บางค่ายก็แอบแว้บไปแบบส่วนตัวๆ  ขับรถคู่ชีพไปเองชนิดไม่รีบไม่ร้อน  ชมวิวทิวทัศน์ไปเรื่อยๆ 
         
ขณะที่บางค่ายก็ไปในระบบราชการ มีคนขับรถให้เสร็จสรรพ ไม่ต้องพะวงซักไซ้ไล่
ถามเกี่ยวกับเส้นทางให้เมื่อยปาก    

ขึ้นรถปุ๊บก็หลับปั๊บแบบไม่ต้องเกรงใจใคร 

เฉกเช่นกับเมื่อวันที่ ๒๑  มีนาคม  ๒๕๕๒  ที่ผ่านมาผมและทีมงานส่วนหนึ่งก็ได้ออกเดินทางไปเยี่ยมค่ายของชมรมวัยใสใส่ใจสุขภาพที่จัดขึ้น ณ โรงเรียนบ้านหนองบัวตาคง  ต.กู่ อ.ปรางค์กู่  จ.ศรีสะเกษ   

 

 

  

ค่ายดังกล่าวนี้มีชื่อว่า โครงการวัยใสสัญจร ครั้งที่ 2 : คนวัยใสอาสาสร้างเสริมสุขภาพวิถีพอเพียง  
ซึ่งมี
เจ้าโฟน กิตติศักดิ์  นพมณี  และคมสันต์  ผุยหัวดง  นิสิตจากคณะสาธารณสุขศาสตร์  เป็นแกนนำ  
พาเพื่อนๆ  แบกเป้ความฝันสัญจรออกไปเรียนรู้ชีวิตนอกห้องเรียนไกลถึงเมืองศรีสะเกษ

 

จะว่าไปแล้ว  ชมรมวัยใสใส่ใจสุขภาพ  เป็นชมรมที่เพิ่งจัดตั้งขึ้นครั้งแรกในปีการศึกษา ๒๕๕๑  แต่พอถกคิดถึงผลงานในรอบปี  กลับเป็นที่มหัศจรรย์ใจยิ่งนัก  เพราะผลงานที่รังสรรค์ขึ้นนั้น  มีผลลัพธ์ราวกับไม่ใช่องค์กร มือใหม่  และที่น่าทึ่งไม่แพ้กันก็คือ  การจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องมาหลายครั้งหลายครา

เกี่ยวกับเจ้าโฟน-กิตติศักดิ์ นพมณี นั้น  ผมรู้จักมักจี่กับเจ้าตัวมากเป็นพิเศษ  ส่วนหนึ่งเพราะสนิทชิดเชื้อกันตามวิถีของ กลุ่มไหล  ที่น้องเขามักติดสอยห้อยตามไปเป็นระยะๆ  รวมถึงการมองเห็นถึงความใฝ่รู้ที่มีอยู่อย่างเต็มเปี่ยมในตัวตนของเขา  เมื่อมีโอกาส  ผมจึงพยายามส่งข่าวและมอบงานให้เขาพร้อมทีมงานได้ขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆ ตามแบบฉบับของเขาเอง

รวมถึงการเฝ้าฝันไปเองว่า  ชมรมนี้จะกลายเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในวิถีกิจกรรมที่มุ่งไปสู่การบริการทางสังคมที่เกี่ยวกับ สุขภาพๆ  พอๆ กับการเป็นเครื่องจักรทางปัญญาในการรณรงค์ให้นิสิตได้ตระหนักถึงเรื่องราวของการดูแลสุขภาพ หรือสุขภาวะของตัวเอง

 

 

         

 

โดยส่วนตัวผมมองว่า  เรื่องราวในวิถีกิจกรรมที่ว่านั้น  ไม่เหลือบ่ากว่าแรงของพวกเขาแน่   เพราะทั้งปวงนั้น  ล้วนเกี่ยวข้องกับทักษะส่วนตัวของพวกเขาแทบทั้งสิ้น  เพราะดูจากทีมงานแล้ว  แกนนำของชมรมฯ ก็ล้วนเรียนในสาขาสาธารณสุข หรือไม่ก็หลีกไม่พ้นเกี่ยวกับสาขาแพทย์และพยาบาลด้วยกันทั้งนั้น    หากต้องนำเอาทักษะวิชาชีพที่เรียนในห้องเรียนมาแปรรูปเป็นการให้บริการสังคมในแบบ กิจกรรมนิสิต  จึงไม่ใช่เรื่องยากเข็ญเกินกว่าจะทำได้  

          เว้นเสียแต่พวกเขาทั้งหลายจะถอดใจ  หรือพลัดหลงไปสู่ห้วงบรรยากาศอื่นๆ  จนสิ้นไร้ไฟฝันแห่งความเป็นคนจิตอาสาเท่านั้นเอง  และผมก็ได้แต่หวังว่า  สภาพการณ์เช่นนั้น  จะไม่เกิดขึ้น หรือถ้าเกิดขึ้นจริง  ก็น่าจะไม่ใช่เวลาอันใกล้นี้อย่างแน่นอน

          อย่างไรก็ตาม  เมื่อพิจารณาเนื้อในของโครงการดังกล่าวจะเห็นได้ชัดว่าโครงการนี้มีอะไรน่าสนใจเอามากๆ  เพราะเป็นกิจกรรมที่ผูกโยงระหว่างโรงเรียนกับชุมชนเข้าหากันได้อย่างน่าทึ่ง  โดยเฉพาะกรอบแนวคิดที่เน้นไปสู่การสร้างกระบวนการส่งเสริมสุขภาพ (Health  promotion)  และการป้องกันโรค  (Health prevention)  ผ่านการทำงานใน ๔  มิติ ได้แก่  กาย จิต สังคม และปัญญา (จิตวิญญาณ)

 

 

 

 

 

          กิจกรรมหลักๆ ที่มีขึ้นในค่ายนั้น ต้องถือว่าเป็นกิจกรรมบูรณาการ หรือ สหกิจกรรมโดยแท้  เพราะมีกิจกรรมให้ออกแรงการเรียนรู้อย่างหลากหลาย  เป็นต้นว่า  การปรับปรุงโรงอาหารให้ถูกสุขลักษณะ  ทั้งห้องครัว  ที่นั่งรับประทานอาหาร  อ่างล้างมือ อ่างล้างจาน  ทาสีรั้วและอาคารเรียน  ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้เหมาะแก่การส่งเสริมสุขภาพ  อาทิ  การจัดสวนสุขภาพ (สมุนไพร)  เพื่อเป็นอุทยานความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในโรงเรียน

          นอกจากนี้  ยังมีกิจกรรมการปรับปรุงห้องสมุด  โดยจัดมุมเรียนรู้สำหรับเด็ก  จัดนิทรรศการสุภาวะเรื่องต่างๆ  อาทิ  บุหรี่  สุรา  สุขภาพฟัน  การกินอยู่  รวมถึงการนำหนังสือที่รับบริจาคมาจัดหมวดหมู่เข้าสู่ชั้นหนังสือ  เป็นต้น

          และที่สำคัญก็คือ  การมอบหมายให้ชาวค่ายได้มีโจทย์การศึกษาชุมชน ทั้งด้านวัฒนธรรมประเพณี  และพุ่งเป้าไปสู่ทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของชุมชน  พร้อมๆ กับการร่วมเรียนรู้กับปราชญ์ชาวบ้านในวิถีชีวิตที่พอเพียง

 

 

 

 

          เกี่ยวกับประเด็นชุมชนนั้น  เห็นได้ชัดว่านิสิตได้ค้นพบสาระในอีกมุมหนึ่งอย่างน่ายกย่อง  โดยเฉพาะวัฒนธรรมการดำเนินชีวิตที่ยังคงผูกยึดอยู่กับภูมิปัญญาเก่าก่อน  ไม่ว่าจะเป็นการกินดิน ความเชื่อเรื่องผีฟ้า (แกลมอ)  ซึ่งล้วนเกี่ยวกับวิถีสุขภาพและการบำบัดรักษาโรคของชาวบ้านที่นิสิตหลายคนยังไม่เคยพบเจอมาก่อนเลยก็ว่าได้

          ไม่เพียงเท่านั้น  นิสิตชาวค่ายยังคงมีกิจกรรมเสริมสร้างการเรียนรู้อื่นๆ อีกอย่างต่อเนื่อง ทั้งการให้ความรู้ในเรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์  โรคไข้เลือดออก  รวมถึงการเต้นแอโรบิคในทุกวัน แถมยังมีกิจกรรมกีฬาร่วมกันระหว่างชาวค่ายกับชาวบ้าน

          อีกทั้งยังเรียนเชิญ รต.ต.วิชัย  สุริยุทธ  มาเป็นวิทยากรร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชาวค่ายและชาวบ้านในประเด็นการปลูกป่าเพื่อสังคมโลก  ซึ่งกิจกรรมที่ว่านี้  ก็กลายเป็นสีสันของค่ายนี้ไปโดยปริยาย

          พอตกดึก  ก็มีกิจกรรมรอบกองไฟให้ชาวค่ายและชาวบ้านได้ร่วมสนุกสนานกันอย่างใกล้ชิด  แถมยังมีกระบวนการที่สำคัญปิดท้ายค่ำคืนโดยการประชุมสรุปงานในแต่ละวัน  เรียกได้ว่าเป็นการ ถอดบทเรียน  ขนานแท้  ว่าในรอบวันที่ผ่านมานั้น  ทำอะไรไปบ้าง...
         ...ได้อะไร  
           ...
และต้องปรับแก้อะไรบ้าง
 
        
ซึ่งทั้งหมดนั้น  มีการบันทึกไว้เพื่อต่อยอดกันอย่างเป็นรูปธรรม

 

 

 

 

 

          ทั้งหลายทั้งปวงนั้น  ต้องถือได้ว่าเป็นการบริหารจัดการค่ายสู่การเรียนรู้ได้อย่างมีพลัง  ชาวค่ายสามารถผูกโยงให้โรงเรียนกลายมาเป็นศูนย์รวมการทำกิจกรรมร่วมกับนิสิตได้เป็นอย่างดี  พอๆ กับการหลอมละลายนิสิตเข้าสู่การเรียนรู้ชุมชนอย่างง่ายงาม  โดยมีกระบวนการของ พ่อฮักแม่ฮัก  เป็นกลไกของการขับเคลื่อน

          ยิ่งในพิธีปิดค่ายนั้น  ยิ่งเห็นได้ชัดว่า  ชุมชนได้รวมพลังกันออกมาร่วมเป็นเกียรติส่งลูกหลานกลับมหาวิทยาลัยอย่างแน่นหนา  มีผู้หลักผู้ใหญ่พาเหรดมาร่วมกิจกรรมอย่างพร้อมหน้า  อีกทั้งยังเห็นว่าชาวบ้าน รวมถึงหน่วยงานภาครัฐและเอกชนจำนวนมาก ต่างลงขันสมทบงบประมาณในการซ่อมแซมโรงอาหารอย่างพร้อมเพรียง  เรียกได้ว่าเป็นอีกภาพสะท้อนหนึ่งของการมีส่วนร่วมของท้องถิ่น

          และนั่นคือภาพกว้างๆ ที่ผมพยายามประมวลมาไว้ในบันทึกนี้  เพื่อชี้ให้เห็นว่าค่ายดังกล่าว  เป็นค่ายอาสาพัฒนาที่น่าสนใจอย่างยิ่งยวด  เพราะมีการสร้างโจทย์เรียนรู้ที่กลมกลืนระหว่างชุมชนกับสถานศึกษา  พร้อมๆ กับการใช้กระบวนการของการถอดความรู้เป็นเครื่องมือของการบริหารจัดการค่ายให้มีประสิทธิภาพไปในตัว

 

 

 

          แน่นอนครับ  ชมรมคนวัยใสใส่ใจสุขภาพ ถึงแม้จะเป็นองค์กรใหม่ที่เพิ่งแจ้งเกิดในปีการศึกษา ๒๕๕๑  แต่ต้องยอมรับว่า ระยะทางแห่งการเดินทางบนถนนสายกิจกรรมนั้น ดูไม่ธรรมดาเอาเสียเลย

         

          

 

หมายเลขบันทึก: 260742เขียนเมื่อ 12 พฤษภาคม 2009 20:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (30)
  • กิจกรรมยอดเยี่ยมค่ะ
  • ชื่นชมเด็ก ๆ และผู้นำค่ะ
  • การใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ การฝึกให้มีจิตสาธารณะ การฝึกให้มีจิตอาสา เป็นสิ่งดี ๆ ที่ผลนั้นจะเกิดแก่ส่วนรวมค่ะ
  • น่าชื่นชมเป็นอย่างยิ่ง
  • ภาพถ่ายชัดเจนดีจัง โฟกัสความหมายของภาพได้เป็นอย่างดี ว่าแต่ละภาพต้องการสื่ออะไรกับผู้อ่าน
  • ยอดเยี่ยมสมกับเป็นบล็อคเกอร์มือหนึ่งค่ะ
  • ชื่นชมค่ะ

หวัดดีครับพี่นัส

บ่ได้เข้ามาเบิ่งโดนแล้ว

พี่นัสเปลี่ยนไปครับ

นอกจากฝีมือการเขียนที่รู้ดีอยู่แล้ว

มาเทื่อนี่ เหมือนว่า เรืองคอม กับกราฟิคนี่ เพิ่นสุดยอดเด้อครับ

เบิ่งจาก header เท่ห์ซะขนาดนั้น

พี่นัสสบายดีบ่ครับ

ฝากความคิดถึงถึงพ่เจียบนำ แล้วก้อ นัสน้อยขี้ดื้อนำแน่เด้อครับ

เอ้อ ผมสบายดีครับ ยังทำงานอยู่ชลคือเก่า

ตั้งท่าว่าสิเปลี่ยนงานตอนต้นปี แต่สำลักแฮมเบอร์เกอร์ซะก่อน ^^

ระลึกถึงครับ

เสก มอซอ

ปล. เห็นกุ้งน้ำแดง มันอยากเป็นลูกน้องพี่ว่าสั้น บ่ฮู้ว่าได้บ่ครับ

"เว้นเสียแต่พวกเขาทั้งหลายจะถอดใจ หรือพลัดหลงไปสู่ห้วงบรรยากาศอื่นๆ จนสิ้นไร้ไฟฝันแห่งความเป็นคนจิตอาสาเท่านั้นเอง และผมก็ได้แต่หวังว่า สภาพการณ์เช่นนั้น จะไม่เกิดขึ้น หรือถ้าเกิดขึ้นจริง ก็น่าจะไม่ใช่เวลาอันใกล้นี้อย่างแน่นอน"

ขอเป็นกำลังใจให้อีกคนครับอาจารย์

สวัสดีค่ะ คุณแผ่นดิน

ชื่นชมกับการเข้าค่ายสู่การพัฒนาการเรียนรู้นะคะ

โชคดี มีสุขค่ะ

แวะมาอ่านการถ่ายทอดกิจกรรมที่น่าสนใจครับ

สวัสดีค่ะพี่อ.แผ่นดิน

มาชื่นชมยินดีค่ะ ^_^ เห็นภาพแล้ว

ปลื้มจังค่ะ  คิดถึงๆค่าย

พี่แผ่นดินสบายดีนะคะ

มีความสุขกับการทำงานค่ะ ^_^

สวัสดีค่ะ

  • เห็นภาพและอ่านบันทึกแล้ว..ปลื้มและมีความสุขค่ะ
  • ขอเป็นกำลังใจให้นะคะ
  • แบบอย่างที่ดี..ควรรักษา ชื่นชม และส่งเสริมโอกาสของคนดีค่ะ

สวัสดีค่ะ

ดีใจมาดที่อ.พนัสมาบันทึกเรื่องดีๆให้อ่าน

ขอชื่นชมและเป็นกำลังใจให้นะคะ...ที่มีกิจกรรมดีๆ

ผู้เฒ่าผู้แก่ เด็กๆคงดีใจที่มีคนมาให้ความรู้...พร้อมกิจกรรมค่าย

ประทับใจการออกค่าย...มากค่ะ

สวัสดีค่ะ

  • ตามมาประทับใจ  คนหนุ่มสาวรุ่นใหม่ไฟแรงมา
  • พัฒนางานเพื่อชุมชน ค่ายนี้ ...มีคุณค่ามากมาย
  • พรุ่งนี้ 14 พ.ค.52 จะมีโอกาสมา มมส.จะมีโอกาสเจอท่านแผ่นดินหรือเปล่าหนอ
  • ฝากสหวิชาไว้ให้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้อีกหนึ่งสถานที่นะคะ
  • หากมีเวลาแวะแสดงความคิดเห็น และโหวตห้าดาวให้ด้วยเผื่อจะมีโอกาสก้าวต่อไปในโลกไซเบอร์ใบนี้ค่ะ

 

สวัสดีครับคุณ แผ่นดิน ตามมาดูค่าย ของนิสิต สาธารณสุข (คนพนธ์หายาก) ขอเป็นกำลังใจให้ชาวค่ายครับอาจารย์

สวัสดีค่ะ หน.ฯ

ไม่ได้เข้า G2K ซะนาน

วันนี้ดีใจที่ได้มาอ่านเจอ blog นี้ 

ขอเจิมด้วยเม้นท์ ซู๊ดดดด  ยอด จ้ะ

สวัสดีคะอาจารย์พนัส

มาชื่นชม ค่ายใส ๆคะ

ชอบสีรั้วมากคะ สีน่ารักดี ใส ๆ เหมาะกับวัยรุ่น วันเด็ก

คิดดีทำดีเยี่ยมมากๆ

เก็บคำพูดป๊ะเบมาคะ...ชื่นชมจากใจ

สวัสดีครับ  อ.วรางค์ภรณ์ เนื่องจากอวน

ผมต้องขอภัยนะครับทื่เพิงกลับมาตอบบันทึก  เพราะมีราชการนอกมหาวิทยาลัยฯ  เมื่อวานก็ตะลุยพื้นที่แถวๆ อ.ยางสีสุราช จ.มหาสารคาม เย็นก็ตรงไปหมู่บ้านในเขต อ.เมือง .กาฬสินธุ์  กลับที่พักในตอนตี 2

วันนี้ในช่วงที่รอกล่าวเปิดงานการอบรมของเจ้าหน้าที่หอพัก เลยพลอยมีเวลาได้เข้ามาทักทาย...ก่อนจะพาตัวเองกลับเข้าสู่วังวนของการมหกรรมแห่งงานและชีวิตในรอบวันอีกครั้ง

...

ค่ายที่ผมพูดถึงนี้  มีเสน่ห์ตรงที่ความหลากหลายในการเรียนรู้  ไม่โฟกัสไปแต่เพียงงานค่ายที่เน้นการสร้างเท่านั้น แต่มีกระบวนการของการเรียนรู้ที่หลากหลาย ลงสู่วิถีชุมชน และยังดึงให้ชุมชนเข้ามาเรียนรุ้รวมกันในบริบทของโรงเรียนได้อย่างดียิ่ง

และที่สำคัฯก็คือ ผมเห็นความพยายามของชาวค่ายในการที่บริหารัดการค่ายด้วยกระบวนการของการจัดการความรู้ มีการถอดบทเรียนแต่ละวันและนำบทเรียนนั้นๆ ไปเป็นแผนของการทำงานในวันถัดไปอย่างชัดเชน

ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ น้องเสก. แสงเดือน ตะวันฉาย

สบายดีนะครับ
ส่วนพี่ก็ยังสภาพไม่ต่างเดิม ยังต้องทำโน่นทำนี่อยู่เรื่อยๆ เพียงแต่ปัจุบันภาระความรับผิดชอบดูเยอะกว่าเดิมเท่านั้นเอง

กรณีการสอบคัดเลือกนั้น  บอกตามตรงเลยนะครับ ไม่มี การล็อกโหวต เสมอภาคและเท่าเทียม วัดกันเลยว่าใครมีผลึกความรู้ในเรื่องกิกรรมโดยแท้ ใครทำจริง..และทำมากน้อย...พี่เองก็หนักใมก เพราะแต่ละคนมีจุดเด่นที่สามารถเติมเต็มระบบงานได้เป็นอย่างดี

วันนี้เรามีตัวเลือกเยอะมาก แต่อัตราเพียง 2 อัตรา งดูน้อยนิดอย่างน่าใจหาย..

ขอบคุณครับ

 

สวัสดีครับ  ขอแค่ได้เขียน

ขอบคุณสำหรับกำลังในครับ เมื่อวานเพิ่งเอเด็กๆ กลุ่มนี้ ผมเองก็เอ่ยขอโทษเขาไปบ้างแล้ว เพราะกว่าเขียนถึงเรื่องราวของพวกเขาได้ ก็ใช้เวลานานเนิ่นเหลือเกิน

ยืนยันครับว่าชมรมนี้ฯ เป็นน้องใหม่ไฟแรง.จริงๆ และที่สำคัญมีทักษะของการบริหารจัดการค่ายที่น่าสนใ และยิ่งเป็นกลุ่มที่พยายามนำความรู้เฉพาะทางของตนเองออกมาประยุกต์ใช้ในมิติกิกรรมเช่นนี้  ยิ่งช่วยให้กิกรรมดูมีพลังและเป็นรูปธรรมอย่างที่เห็น...

ผมกำลังจับตาดูว่า ปีหน้า ชมรมนี้จะเดินทางไปในทิศทางใด, ..ยืนหยัดได้ หรือสะดุดล้ม
แต่ก็ได้แต่ภาวนานะครับ-ภาวนาให้พวกเขาเข้มแข็งและแข็งแรงขึ้นในเส้นทางสายกิจกรรมฯ

ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ  ครูจิ๋ว

ค่ายในลักษณะนี้ กำลังให้แรงใกบพวกเขา เพราะพวกเขาะเป็นทางเลือกที่ดีของการออกค่ายในด้านของการสร้างเสริมสุขภาพ

ผมคิดว่า ปีหน้าพวกเขาจะตกผลึก-ชัดเจน-และฉะฉานมากกว่าปีนี้

ขอบคุณครับ

  • พี่แวะมาชมกิจกรรมของคนจิตอาสาพาไป
  • เห็นภาพแล้วปลื้อมใจจริง
  • สาธุ อนุโมทนากับคนคิดดี ทำดี เช่นนี้ค่ะ
  • ประเทศไทยเรามีความน่ารัก น่าอยู๋ก็ตรงนี้แหละค่ะ
  • ถือเป็นวัฒนธรรมดีงาม
  • ที่ควรรักษา ให้ดำรงอยู่ เราจะสงบสุขกันทุกแห่งหน
  • หากทุกคน ทุกหมู๋เหล่ามีจิตให้เป็นเครื่องนำทาง
  • แบบนย้องๆสาธารณสุข สมชื่อเลยค่ะ
  • เห็นเด็กน้อยลากจูงใบไม้แล้วหวลคิดถึงวัยเด็ก ครูต้อยชอบเอามาเล่นเป็นพาหนะนั่งโดยสารกันคะ ต่อจากนั้นก็เอามาทำหลังคาบ้าน ช่วยกันมุงเป็นที่หลบแดดยามเล่นเหนื่อย รวมทั้งหลบแม่ด้วยอิอิ

 

สวัสดีครับ คุณ ปรเมศร์ ธำรงค์รัตน์

ด้วยความที่ว่าค่ายนี้ ผมไม่ได้ไปฝังตัวกับเด็กๆ เลย งไม่อาเขียนเชิงลึกที่เห็นนาฏกรรมของค่ายอย่างที่ควระเป็น แต่พยายามประมวลมาจากการสังเกตในวันที่ไปร่วมพิธีปิดค่าย..

แต่เท่าที่ดูเนื้องานแล้ว  น้องๆ ชาวค่ายทำค่ายได้ดีไม่แพ้ค่ายอื่นๆ อีกทั้งยังน่าสนใจมาก เพราะมีกิจกรรมการบูรณาที่หลากหลาย...ซึ่งลักษณะเช่นนั้น เป็นสิ่งที่ผมอยากให้เกิดขึ้นมาที่สุดในกระบวนการของค่ายอาสาพัฒนา

ขอบคุณครับ

ขอคุณมากนะครับ

ที่เขียนบล็อกให้ชมรมคมวัยใส ใส่ใจสุขภาพ

เห็นแบบนี้แล้วไม่ถอดใจแน่นอนครับ

สวัสดีครับ..เทียนน้อย

สบายดีนะครับ...ตอนนี้ผมยังเป็นนักเดินทางเหมือนเดิม  ไปโน่นไปนี่อยู่เรื่อยๆ ..จนโต๊ะทำนเริ่มรกร้างไปแล้ว..

ช่วงนี้ไม่สบายนิดๆ หน่อยๆ อันเป็นผลพวงของการไม่พักผ่อน..
แต่ยังมีความสุขกับการทำงานเหมือนเคย..

...

เช่นกันครับ..
รักษาสุขภาพ
มีพลังชีวิตเยอะๆ
ผมเป็นกำลังใจให้ นะครับ

สวัสดีครับ พี่ ครูคิม

ผมหวังเองลึกๆ ว่าค่ายของชมรมคนวัยใสฯ  เป็นทางเลือกของค่าบบูรณาการของมหาวิทยาลัย และเป็นค่ายต้นแบบของการสร้างเสริมสุขภาพของที่นี่

การให้กำลังใลให้คำปรึกษาแบบให้เขารู้สึกไม่อึดอัดนัก คือสิ่งที่ผมและทีมงานกำลังทำอยู่ในปัจุบัน

ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ พี่แดง

ค่ายทุกค่าย ผมจะพยายามย้ำเสมอว่า ชาวค่ายต้องเรียนรู้ให้ครบกระบวนการของความสัมพันธ์ระหว่าง บ้าน-วัด-โรงเรียน  หรือ "บวร" นั่นเอง

ขอบคุณครับ

เรียน อ.pandin

ขอความกรุณาให้ความเห็นต่อ (บทความฉบับร่าง)

 http://gotoknow.org/blog/chaneyim/263757

 จันทร์ยิ้ม กำลังรวบรวมความรู้ด้านการพัฒนาคุณธรรม(MQ)เยาวชน เพื่อใช้ประโยชน์ต่อเยาวชนต่อไป

แต่ด้วยรู้สึกว่าองค์ความรู้ที่มียังเพียงพอ และบางข้อความอาจไม่เหมาะสม

จึงขอความเห็นจากท่านผู้รู้กรุณาให้ความเห็นเพิ่มเติม

ทีมจันทร์ยิ้มขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี้

สวัสดีครับ.. เบดูอิน

ขอบคุณที่แวะมาให้กำลังใจนะครับ..

ค่ายครั้งนี้  ในทางเนื้อหาอาจยังไม่ตกผลึกทั้งหมด  แต่กระบวนการ และทิศทางการทำงานนั้น ต้องถือว่า น่าสนใจ และน่าชื่นชมเอามากๆ ..

ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ..phayorm แซ่เฮ

ผมเพิ่งได้กลับมาตอบบันทึก หลังจากทิ้งช่วงไปนาน..
สบายดีนะครับ
ตกลงหลานสาวมาเรียนที่ มมส หรือเปล่า
ขณะนี้ มมส เปลี่ยนแปลงไปเยอะครับ ..เติบโตแบบก้าวกระโดด
พวกผมเองก็รับบทหนักอยู่มากโขต่อการดูแลนิสิต...

เป็นกำลังใจให้นะครับ

สวัสดีครับ...วอญ่า-ผู้เฒ่า-natachoei--

ขอบคุณสำหรับกำลังใจนะครับ  ตอนนี้เจ้าของค่ายก็เข้ามารับรู้ด้วยตนเองแล้ว..

เด็กกลุ่มนี้ จิตใจดี -คิดดี-ทำดีเรื่อยมาครับ  ยังเหลือแต่เฉพาะประสบการณ์เท่านั้นเอง  แต่เชื่อว่า ไม่ยากเกินกำลังการเรียนรู้ของเขาเองแหละครับ

สวัสดีครับ เจ้DSS "work with disability" ( หนิง )

ค่ายนี้เป็นค่ายบูรณาการครับ มีหลากหลายการเรียนรู้ ไม่จมอยู่กับการสร้างอย่างเดียว...

ผมว่าเขาทำได้ดีไม่แพ้ค่ายอื่นๆ ..
เรื่องดีๆ ก็ต้องให้กำลังใจกัน-ใช่ไหมครับ

กลับมาขอบคุณครับ

เป็นข้อคิดที่ชัดเจนมาก

ขอนำไปใช้อ้างอิงในบันทึกต่อไปนะครับ

uploadแล้วจะเชิญให้ตรวจครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท