สรุปสาระสำคัญการบรรยายของอาจารย์ วิบูลย์ จุง


KM วิชาการวิเคราะห์และออกแบบระบบการจัดการความรู้ในองค์กร

สรุปสาระสำคัญการบรรยายของอาจารย์ วิบูลย์  จุง    ให้นักศึกษา     KM  รุ่น 4   วิชาการวิเคราะห์และออกแบบระบบการจัดการความรู้ในองค์กร   หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการความรู้ ม.ราชภัฏสวนสุดิต  เมื่อวันที่   17  มกราคม   2552 เวลา 9.30 – 17.00 น.    

           การจัดการความรู้ (Knowledge Management ; KM)          ในแนวคิดของอาจารย์ วิบูลย์  จุง      นั้น  คือ  ความรู้  Knowledge กับ  การบริหารจัดการ Management คำไหนสำคัญกว่ากัน   ในการดำเนินการจัดการความรู้ คือ จะสกัดความรู้ (Knowledge Captured) ได้อย่างไร และจะทำอย่างไรให้คนเข้าไปเรียนรู้  ซึ่งการสกัดความรู้ จะดำเนินการตามเป้าหมายที่ว่า เราทำ KM เพื่ออะไร อาจารย์ก็บอกว่า ความรู้จึงสำคัญกว่า การบริหารจัดการ หรือ เป็นสิ่งที่ควบคู่กันไปซึ่งหมายถึงการ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในทุกส่วนซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) และ(Explicit Knowledge)  และในการบรรยายครั้งนี้  ได้ยกตัวอย่างโรงพยาบาลเพื่อให้นักศึกษา KM 4 ตั้งคำถามว่าอยากรู้อะไรในโรงพยาบาลที่เกี่ยวกับระบบการจัดการความรู้ โดยให้นักศึกษาตอบคำถามแล้วมาแยกเป็นหมวดหมู่เพื่อนำมาวิเคราะห์โดยใช้หลักการที่ถูกต้องและสามารถสามารถเชื่อมโยงร่วมกันซึ่งมีเนื้อหาอยู่ในเรื่องการจัดการความรู้ เพื่อให้ทุกคนรู้จักคิดซึ่งเป็นเกมส์ที่ทุกคนให้ความร่วมมือ และได้แลกเปลี่ยนความรู้

 

การวิเคราะห์ปัญหาของโรงพยาบาล

 

                                ให้นักศึกษาเขียนปัญหาของโรงพยาบาล มาคนล่ะกี่ปัญหาก็ได้ แล้วก็ให้ไปวางไว้ที่ตรงอาจารย์ เมื่อทุกคนเขียนเสร็จก็มาแยกปัญหา  แล้วช่วยกันวิเคราะห์ว่าปัญหาอะไรที่สมควรจะแก้ไขก่อนจากปัญหาทั้งหมด โดยใช้ วิธีการระดมสมองของเพื่อนในห้องเรียน เพื่อหาข้อสรุป

 

                 คนแต่ละคนมีสภาพแวดล้อมต่างกัน องค์ประกอบและแนวคิดพื้นฐานย่อมต่างกัน เพราะมีประสบการณ์ที่ต่าง การคิดก็ต่างกัน ซึ่งบางคนอาจจะคิดทางบวก อาจจะเป็นเพราะเขาอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี หรือ มีพื้นฐานที่ดี บังคับตนเองให้ออกมาจากสิ่งที่ไม่ดี หรือ สร้างแนวความคิดที่ต่อต้านกับสิ่งเลวร้ายที่ประสบพบเจอ แต่บางคนก็อาจจะคิดทางลบ เขาอาจจะมีประสบการณ์ที่เลวร้ายในอดีต อาจจะโดยความโหดร้ายของสังคมทำร้าย และ เลือกแนวทางในการคิดที่เลวร้ายตามๆไปกับสิ่งแวดล้อม เพื่อจะได้อยู่รอดในสังคม โดยการทำร้ายคนอื่นเพิ่มมากขึ้น หรือ อย่างน้อยก็มองคนอื่นในแง่ไม่มีเป็นส่วนใหญ่

การคิดอย่างเป็นระบบ  (System Thinking)

                             มีเรื่องมากมาย มีปัญหามากมายขององค์กร และ การบริหารจัดการ ดังนั้น ความคิดอย่างเป็นระบบจึงมีผลอย่างมากกับการทำให้งานในองค์กรบรรลุวัตถุประสงค์ และ ดำเนินไปอย่างไม่ติดขัด โดยใช้ข้อมูลข่าวสาร สาระสำคัญ และ เวลา เป็นตัวกำหนดความเป็นไปของความสัมพันธ์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม สู่เป้าหมายที่กำหนดไว้
                              บุคคลจึงต้องเข้าใจถึงการใช้ข้อมูล และ คิดที่จะใช้ข้อมูลเหล่านั้น หรือ ดำเนินการต่างๆอย่างเป็นระบบ โดยคำนึงถึงเงื่อนไขของเวลา สถานที่ สิ่งแวดล้อม เพื่อคิดระบบให้สอดคล้องกันไป หรือ แม้นแต่การวิเคราะห์ก็ต้องใช้เงื่อนไขทางด้านเวลา ข้อมูล และ บริบท ในเรื่องต่างๆ เพื่อชี้ให้เห็นถึงแนวทาง หรือ วิธีการที่จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ หรือ อาจจะพูดอีกแนวหนึ่งคือ บุคคลต้องเป็นผู้หาขุมทรัพย์ให้กับองค์กร และ หาขุมทรัพย์ให้กับตนเอง ไม่ใช่รอให้เกิดขุมทรัพย์ขึ้นมา ดังนั้น การขวนขวายต่างๆ จึงขึ้นอยู่กับความคิดของบุคคลเชิงกลยุทธ์นั้นๆ
                            สมมติ ว่าเจอหัวหน้างานที่มักจะตัดสินใจเอาแต่ความคิดตนเองเป็นหลัก ก็ต้องมองให้ออกถึงแนวทางที่เขาจะนำมาใช้ คนเหล่านี้เชื่อมั่นในตนเองสูง ใช้ประสบการณ์และความเข้าใจของตนเองเป็นหลัก แต่ขาดการนำเอาข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางใหม่ๆ หรือ หาทิศทางที่ถูกต้องขององค์กร ดังนั้น บุคคลเชิงกลยุทธ์ที่ดี จะนำเอาข้อมูลที่มีมาวิเคราะห์ และนำเสนอเหมือนกับเป็นความคิดของหัวหน้างาน แต่ออกมาจากความคิดจากการวิเคราะห์ ทำให้เหมือนเจ้านายเป็นคนคิด เพื่อให้องค์กรประสบความสำเร็จ แต่ถ้าเจอบุคคลเชิงกลยุทธ์ที่แข็งกร้าว ก็จะเอาข้อมูลที่วิเคราะห์มาหักล้างกับเจ้านาย ซึ่งเจอเจ้านายที่ไม่ยอมรับฟังเชื่อมั่นในตนเองมากไป อาจจะไม่ยอมรับ หรือ เสียหน้าทั้งนี้ผลร้ายก็จะตามมาถึงตัวของบุคคลเชิงกลยุทธ์เอง
                            
ทั้งนี้ แนวคิดเชิงบวกยังนำมาใช้ได้กับแนวคิดเชิงบริบท การส่งผ่านความคิด มาทางสื่อไม่ว่าจะชนิดใด มันจะส่งผ่านแนวคิด ว่าคนนั้นมีลักษณะเป็นเช่นใดมาด้วย บุคคลเชิงกลยุทธ์จะนำวิเคราะห์แนวคิดของแต่ละคนเพื่อใช้ในการบริหารจัดการคนๆนั้น เช่น การติดต่อ หรือ แม้นแต่การวางแผน ให้สอดคล้อง เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดของตนเองและองค์กร หรือ อย่างน้อยก็จะเข้าใจแนวคิดของคนๆนั้นว่าเป็นเช่นใด ซึ่งอาจจะนำมาใช้ในอนาคตก็อาจจะเป็นไปได้

การสร้างความคิดอย่างเป็นระบบ

              การสร้างความคิดอย่างเป็นระบบ และสามารถลำดับเหตุการณ์นั้น กลายเป็นคนฝึกคิดเรื่องนี้อยู่ตลอดเวลาและ ต้องทำความเข้าใจในขั้นตอน ต้องจัดลำดับก่อนหลังให้ดี แล้วให้ อาจารย์ก็ให้พูดถึงการแปรงฟันว่าเราทำอะไรบ้าง และอธิบายขั้นตอนการแปลงฟัน สรุปทุกคนช่วยกันบอกว่าเป็นอย่างไร
 ผลสรุปคือ  อาจารย์เลยเฉลยให้ฟัง ว่า
เดินเข้าห้องน้ำที่อ่างล้างหน้า
หยิบแปรงสีฟัน
หยับยาสีฟัน
บีบยาสีฟันเข้าแปรงสีฟัน
บ้วนปาก
เอาแปรงสีฟันเข้าปากแล้วขัดถูด้านหน้า ขึ้นลง
เอาแปรงไปด้านขวา แล้วถูด้านหน้าขึ้นลง ถูตรงกลางเป็นแนวระนาบ ถูด้านในขึ้นลง
แล้วเลื่อนแปรงมาด้านซ้าย
แล้วแปลงเหมือนด้านขวา..

            อีกเยอะไปหมด แบบว่า ถ้าเราสามารถคิดเป็นขั้นตอนการแปลงฟันได้ว่า เราทำอะไร เราจะเห็นว่า มันมีเรื่องต่างๆที่มีการทำอย่างเป็นขั้นตอน    นี่เป็นที่มาว่า เวลาคิด ก็จะคิดเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นขั้นเป็นตอน หากคิดเรื่องนี้อยู่แล้วพบว่าลืมเรื่องใด ก็จะคิดเรื่องที่ลืมนั้นให้ถึงจุดของมัน ดังนั้น ส่วนใหญ่ จะใช้คอมพิวเตอร์ให้การคิดต่างๆ ใช้การเขียนเพื่อจดจำ แทรกสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นก่อนหลัง เวลาทำอย่างนี้เป็นประจำ แนวความคิดต่างๆก็จะเป็นระบบระเบียบของมันเอง สามารถคิดขั้นตอน ที่ลึกซึ้ง หรือ คิดในมุมที่คนอื่นมองไม่เห็นหรือเห็นว่ามันเป็นเรื่องธรรมดาได้

 

การคิดเป็นเชิงระบบแตกต่างกับอย่างไร    การคิดเป็นระบบคือการฝึกคิดเป็นระบบในทุกๆเรื่องและมีหลักการที่ถูกต้อง ส่วนการคิดเป็นเชิงกลยุทธ์เป็นการคิดทุกอย่างอย่างรอบคอบมีแบบแผนและรูปแบบของการตัดสินใจต่าง ๆ หรือการดำเนินการ เพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์อย่างที่ต้องการโดยรู้ว่าอะไรคือจุดอ่อนและอะไรคือจุดแข็ง

คำสำคัญ (Tags): #kmsdu
หมายเลขบันทึก: 239023เขียนเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2009 22:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 19:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

... เข้ามาดู ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท