อมร ไกรเทพ
นาง อมร ไกรเทพ วรรณมณี ไกรเทพ

46.จะสร้างสรรค์บรรยากาศการเรียนรู้อย่างไร


บรรยากาศการเรียนรู้

 

จะสร้างสรรค์บรรยากาศการเรียนรู้อย่างไร

 


ในห้องเรียนแต่ละห้อง หรือศูนย์การเรียนแต่ละแห่งมีสิ่งที่เรียกว่า "สภาพบรรยากาศ" เช่นเดียวกับเวลาที่เราพูดถึงสภาพอากาศ หรือบรรยากาศในเมืองต่างๆ ในทางอุตุนิยมวิทยา กล่าวว่า มีร้อน มีหนาว ฝนตก แดดออก ฯลฯ สำหรับสภาพบรรยากาศในห้องเรียนนั้น เป็นที่ที่เราสามารถรู้สึกถึงบางสิ่งบางอย่างได้ อาทิเช่น วิธีที่ผู้คนมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน วิธีที่ผู้คนได้ยิน และสิ่งที่ผู้คนพูด เป็นต้น

การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ในห้องเรียนหรือ ศูนย์การเรียนให้เหมาะสมและเอื้อแก่การจัดการเรียนรู้นั้น ถือได้ว่ามีความสำคัญอย่างมาก เพราะมีความเกี่ยวพันโดยตรงกับการประสบความสำเร็จของเด็ก ทั้งนี้ การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ในการจัดการเรียนการสอนของครูจะเป็นตัวบ่งชี้ว่าครูเองมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด และสามารถเป็นผู้นำที่ดีของเด็กได้หรือไม่ ครูสามารถจัดห้องเรียนหรือศูนย์การเรียนให้เป็นสถานที่ที่น่าเรียนหรือไม่ เด็กๆ รู้สึกปลอดภัยในห้องเรียนไหม เด็กทราบหรือไม่ว่าครูคาดหวังอะไรในตัวเด็กบ้าง

เทคนิควิธีการต่างๆ ที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ จะช่วยให้ครูสามารถพัฒนาสภาพแวดล้อมที่จะสนับสนุนการเรียนรู้ เพื่อให้เด็กบรรลุเป้าหมายที่ครูตั้งใจไว้

 



สภาพบรรยากาศของห้องเรียนประกอบด้วยปัจจัย 4 ประการคือ คุณค่า สภาพแวดล้อม รูปแบบของการปฏิสัมพันธ์ และผู้คน หากครูนำปัจจัยดังกล่าวทั้งสี่มาทำงานร่วมกัน และเสริมกำลังซึ่งกันและกัน การจัดการเรียนการสอนของครูจะเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น และตัวเด็กเองก็จะประสบความสำเร็จมากขึ้น คำถามที่เป็นกุญแจสำคัญที่ครูต้องถามตนเองคือ "หากมีคนแปลกหน้าเดินเข้ามาในห้องเรียนครั้งแรก เขาจะคิดอย่างไร?"

  1. ค่านิยม (Values) คือแนวคิดหลักหรือมโนทัศน์ที่ครูต้องการให้เด็กเรียนรู้ แม้ครูจะตั้งเป้าหมายและหัวข้อต่างๆ ไว้มากมายก็ตาม แต่สิ่งเหล่านี้มักจะประกอบด้วยแนวคิดหลักๆ เพียงไม่กี่เรื่องเท่านั้น โดยแนวคิดหลักเหล่านี้ควรจะสะท้อนออกมาในวัตถุประสงค์ในการจัดการเรียนรู้ของครู ซึ่งใช้คำนิยามสั้นๆ เพียงไม่กี่คำ

    การเขียนวัตถุประสงค์ในการเรียนรู้เป็นเรื่องที่ควรทำเป็นขั้นตอนแรก โดยให้เด็กเข้ามามีส่วนในกระบวนการนั้นด้วย นอกจากนี้ พยายามมองหาแนวทางที่จะเสริมกำลังแนวคิดหลักในทุกส่วนของแผนการเรียนที่ครูกำหนด สมมุติว่าแนวคิดหลักของครูมีคำว่า "ชุมชน" ให้ครูนำตะกร้าที่ใส่รูปภาพของเด็กทุกคนในชั้นเรียนมาวางไว้ในห้อง ตะกร้าใบนี้จะนำมาซึ่งกิจกรรมต่างๆ ในการสร้างเสริมความเป็นชุมชนในห้องเรียนแต่ละวัน อาทิเช่น ให้เด็กทุกคนใส่รูปของตนเองไว้ในแผนภูมิที่แสดงการเข้าเรียน หากไม่มีรูปเด็กคนใดในแผนภูมิ เด็กจะคิดเองโดยอัตโนมัติว่า "วันนี้มีบางคนในห้องของเราไม่มาเรียน มีใครบ้างนะที่ไม่อยู่ในที่นี้ ?"

    หากแนวคิดหลักของครูคือเรื่องของความร่วมมือ นักเรียนก็ควรได้เห็นครูทำงานร่วมกับเพื่อนครูคนอื่นๆ มิเช่นนั้นครูอาจสื่อความถึงเด็กในทางตรงข้ามก็ได้ ครูควรระลึกเสมอว่า ยิ่งสังคมภายนอกเต็มไปด้วยสิ่งที่ตรงข้ามกับเรื่องที่ครูต้องการสอนมากเท่าใด ครูก็ยิ่งต้องใช้โอกาสทุกทางที่จะช่วยเสริมกำลังความเชื่อและพฤติกรรมที่ต้องการปลูกฝังให้เกิดขึ้นกับเด็ก
  2. สภาพแวดล้อม (Environment) หมายถึง สภาพทางกายภาพในห้องเรียนหรือศูนย์การเรียน ครูอาจจะควบคุมทุกอย่างไม่ได้ แต่ครูสามารถควบคุมได้หลายอย่าง เป็นต้นว่า การจัดห้องเรียน การตกแต่งผนังห้อง และการใช้พื้นที่ภายในห้องเรียนของเด็ก ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ควรสะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดหลักของครู กุญแจสำคัญในเรื่องนี้คือการจัดสภาพแวดล้อมให้ตอบสนองวัตถุประสงค์ที่ครูกำหนด เพราะการสอนคือการปฏิบัติอย่างจงใจที่ครูจะต้องเสริมกำลังทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รายรอบตัวเด็ก

 

นอกจากนี้ ครูต้องรู้จักใช้วิธีการจัดโต๊ะเรียนให้เกิดประโยชน์และตอบสนองเป้าหมายมากที่สุด เช่น รูปแบบสำหรับการเรียนเดี่ยวหรือการเรียนแบบร่วมมือ เรียนเป็นกลุ่มหรือเป็นคู่ ในส่วนของผนังห้องเรียน หากผนังห้องเป็นผ้าใบ ครูจะวาดหรือใส่อะไรลงไป แน่นอนว่าคำตอบที่ถูกต้องไม่ได้เป็นสูตรสำเร็จเพียงคำตอบเดียว สิ่งที่ครูเลือกทำจะอยู่บนพื้นฐานของของแนวคิดหลักที่ครูต้องการสอนเด็ก อย่างไรก็ดี โดยหลักๆ แล้วสิ่งที่ควรแขวนไว้บนผนังประกอบไปด้วยรูปถ่ายของเด็กๆ ผลงานที่เด็กทำ แผนภูมิของงาน ตารางเวลาปฏิบัติงาน รูปถ่ายของบุคคลอื่นๆ ในชุมชนของครูและนักเรียน บทกวี สุภาษิตที่สะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดหลักที่ต้องการสอน ชีวประวัติ หรือคำคมประจำวัน เป็นต้น

คำตอบที่ผิดมีอย่างเดียวคือครูไม่คิดทำอะไรเลย หรือทำในสิ่งที่ไม่ได้ช่วยเสริมกำลังแนวคิดหลักที่ครูต้องการสอน ตัวอย่างเช่น ครูไม่จำเป็นต้องติดบทกวีหรือคำคมไว้บนผนังถ้าชั้นเรียนของครูไม่ได้มุ่งเน้นในเรื่องการใช้ภาษามากนัก การทำเช่นนี้อาจไม่ใช่เรื่องผิด แต่เป็นการใช้พื้นที่บนผนังอย่างไม่คุ้มค่า ที่ถูกต้องคือควรใช้พื้นที่เหล่านั้นมาช่วยเสริมกำลังในจุดที่ต้องการเน้นจริงๆ ของครู และถ้าครูนำคำคมประจำวันไปติดไว้ที่ผนังห้อง ครูจะมีวิธีการสอนเด็กอย่างไร อย่างน้อยที่สุดครูควรจัดอภิปรายเกี่ยวกับคำคมประจำวัน หรืออาจมอบหมายให้เด็กๆ เลือกคำคมที่ตนเองชอบขึ้นมาคนละชิ้น และให้อธิบายว่าทำไมนักเรียนจึงคิดว่าคำคมนั้นมีความสำคัญ

ข้อแนะนำ กิจกรรมการเรียนบางประเภทอาจจำเป็นต้องใช้พื้นที่ในการปฏิบัติการค่อนข้างมาก และอาจทำให้ครูต้องย้ายห้องไปเรื่อยๆ ในแต่ละวัน สภาวการณ์เช่นนี้อาจทำลายบรรยากาศของความรู้สึกปลอดภัยและความเป็นชุมชนที่ครูพยายามสร้างให้เกิดขึ้นกับเด็ก ดังนั้นครูจึงควรเตรียมตัวให้พร้อมอยู่เสมอกับการต้องเผชิญกับสถานการณ์ทำนองนี้ โดยให้ครูพยายามเก็บงานและสื่อวัสดุที่สร้างสรรค์ไว้ในที่เก็บที่เด็กคุ้นเคย และเป็นที่ที่เด็กสามารถหยิบใช้ได้ง่าย และครูนำติดตัวไปไหนมาไหนได้ ลองใช้เทคนิควิธีตารางปฏิบัติงานและป้ายประกาศงาน ที่ครูสามารถนำติดตัวไปในสถานที่แห่งไหนก็ได้

 

 

3.รูปแบบของการปฏิบัติ (Patterns of Action) คือ รูปแบบของการปฏิสัมพันธ์ในห้องเรียนที่ครูคาดหวัง รูปแบบเหล่านี้จะผูกพันกับค่านิยมที่ครูกำหนดไว้ สิ่งที่ดีที่สุดประการหนึ่งที่ครูสามารถทำได้คือการช่วยเด็กให้เข้าใจและรับรู้ในสิ่งที่ครูคาดหวัง วิธีการนี้หมายรวมถึงการมอบหมายงานที่เด็กต้องรับผิดชอบพิเศษ ตารางเวลาปฏิบัติงานที่แน่นอน และการกำหนดกฎระเบียบพื้นฐาน (ทั้งหมดนี้สามารถนำมาทำเป็นแผนภูมิขนาดใหญ่แขวนไว้บนผนังห้อง ดังนั้น จึงควรใช้สภาพแวดล้อมเพื่อสะท้อนแนวคิดที่จะนำไปสู่รูปแบบในการปฏิบัติการ)

ตารางการปฏิบัติการถือเป็นเครื่องมือทรงพลังอย่างหนึ่งที่จะสอนเรื่องค่านิยม การปล่อยให้เด็กตกอยู่ในสถานการณ์ที่รอคอยให้ครูสั่งว่าต้องทำอะไรเมื่อไรจะทำให้เด็กหมดพลังในการเรียนรู้โดยที่ครูเองอาจไม่ได้ตั้งใจ ส่วนแผนภูมิการปฏิบัติงานเป็นเครื่องมือที่ดีในการสอนเด็กเรื่องความรับผิดชอบและสร้างความภาคภูมิใจในผลงานที่เด็กทำ นอกจากนี้แล้ว รูปแบบของการปฏิบัตินั้นยังหมายรวมถึงด้านพฤติกรรมด้วย เช่น เวลาอยู่นอกห้องเรียนเด็กปฏิบัติตนอย่างไร ทั้งนี้ เป้าหมายส่วนหนึ่งของครูควรจะชี้นำรูปแบบเหล่านี้ในด้านบวก ดังนั้นครูจึงควรระมัดระวังรูปแบบในการปฏิบัติของตัวครูเองในระหว่างที่ครูอยู่กับเพื่อนร่วมงานหรืออยู่กับเด็ก

4.ผู้คน (People) เป็นส่วนสำคัญที่สุด ครูควรระลึกเสมอว่าคนจำนวนมากสามารถช่วยเหลืองานของครูได้ เพียงแต่ถ้าครูรู้จักเลือกใช้คนเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็น รปภ.ไปจนถึงพ่อแม่ผู้ปกครองและคนในชุมชน ทุกคนสามารถเป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอนของครูได้ทั้งสิ้น ตัวอย่างเช่น หากหนึ่งในเป้าหมายของครูคือการให้นักเรียนปฏิบัติตนเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน ครูจะแสดงให้เด็กเห็นถึงการนำไปสู่สิ่งเหล่านั้นอย่างไร มีรูปภาพประกอบหรือไม่ มีแขกรับเชิญจากภายนอกมาพูดคุยกับเด็กบ้างไหม ฯลฯ

บรรยากาศในห้องเรียนเป็นสิ่งที่ครูทุกคนสร้างได้ หากครูมีความตั้งใจจริงที่จะพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของตนเองให้ไปสู่เป้าหมายที่วางไว้

                       

 

                                  ที่มาข้อมูล : http://www.newschool.in.th

หมายเลขบันทึก: 238018เขียนเมื่อ 27 มกราคม 2009 20:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (26)
  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาทักทาย
  • และมาอ่าน มาเรียนรู้
  • ขอบคุณนะคะ
  • ขอให้มีความสุขกับการทำงานค่ะ
  • ครูอิงเป็นคนสงขลาค่ะ

จากประสบการณ์พบว่า

  1. การสร้างบรรยากาศให้ผ่อนคลาย(ไม่เกร็ง ไม่กลัวผิด ไม่กลัวครูดุ) จะช่วยส่งเสริมการคิดอย่างสร้างสรรค์ของผู้เรียนได้มากขึ้นกว่าสภาพปกติ
  2. การใช้คำถามกระตุ้นให้คิด และให้อภิปราย โดยครูทำตัวเป็น facilitator ช่วยกระตุ้นการคิดอย่างมีวิจารณญาณได้มากค่ะ

สวัสดีค่ะ.. คุณอิงจันทร์

  • ขอบคุณค่ะที่แวะมาทักทาย
  • ขอบคุณที่มาอ่าน มาเรียนรู้
  • ขอบคุณในไมตรีจิต
  • ขอให้มีความสุขเช่นกันค่ะ
  • ครูอมรเป็นคนตรังค่ะ

พี่ครูอมรคะ   ^o^

ดีใจจังค่ะ  ที่มีการส่งเสริมเรื่องการสร้างรรยากาศที่ดีๆ ในโรงเรียน ให้เด็กๆ ได้คุ้นเคย  ชอบมากและขอบคุณค่ะ   

 

 

สวัสดีค่ะ คุณจิด้า

  • ขอบคุณค่ะที่แนะนำ
  • ขอบคุณในไมตรีจิต
  • ยินดีรู้จักนะคะ

       

สวัสดีค่ะ น้อง..Moon smiles on Venus

  • ขอบคุณค่ะที่มาทักทาย
  • ขอให้มีความสุขนะคะ

 

แวะมาเรียนรู้ และทักทายค่ะ

มีความสุข สุขภาพแข็งแรง นะคะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ น้องสายธาร..

  • ขอบคุณค่ะที่แวะมาทักทาย
  • ขอบคุณในไมตรีจิต
  • มีความสุข มีโชคลาภ สุขภาพแข็งแรงตลอดไป

แวะมาอ่นและชมการสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนค่ะพี่อมร

เมื่อมีบรรยากาศที่ดี..เด็กๆก็อยากเรียนรู้นะคะ..

ครุก็มีความสุขด้วย

ขอให้พี่อมรมีความสุขกับนักเรียนนะคะ

สวัสดีค่ะ น้องแอ๊ดคนสวย..

  • ขอบคุณค่ะที่แวะมาทักทาย
  • ขอบคุณในความเป็นกัลยาณมิตรกัน
  • ขอให้น้องมีความสุข มีโชคลาภ สุขภาพแข็งแรงตลอดไป

             

อิอิ..คำทักทายของพี่อมรทำเอาสะดุด..อิอิ

  อ้าวก็สวยจริง ๆ นี่นา

  • ขออภัยนะพี่อมรชอบ..คำนี้แอบ copy  มาค่ะ  

              

  • ชื่อหนังสือคุ้นๆๆครับ
  • เหมือนเคยเขียนให้
  • ฮ่าๆๆๆๆๆ
  •  http://www.newschool.in.th

ครูอ้อยมาอ่านรับความรู้ค่ะ  เยี่ยมๆๆ

สวัสดีค่ะ ...อาจารย์ขจิต ฝอยทอง

  • ขอบคุณค่ะที่มีหนังสือดี ๆ
  • ขอบคุณ gotoknow ที่ทำให้รู้จักอาจารย์
  • ยินดีรู้จักนะคะ ได้รับความรู้มากทีเดียวค่ะ
  • หากมีหนังสือดี ๆ อย่างนี้ขอสมัคร...เป็นพี่สาวได้ไม๊

                      

สวัสดีค่ะ ...ครูอ้อย

  • ขอบคุณค่ะที่มาทักทาย
  • ขอบคุณ gotoknow ที่ทำให้มีกัลยาณมิตร
  • ครูอมรไม่ทราบว่า..ดร.ขจิต เขียน
  • http://www.newschool.in.th ไม่มีชื่อผู้เขียนค่ะ
  •  ขอบคุณอาจารย์จริง ๆ

สวัสดีค่ะ

  • บรรยากาศเป็นเรื่องสำคัญทำให้ผู้เรียนจิตใจสบาย
  • และมีความสุขในการเรียน
  • บางวัน..ครูคิมบอกนักเรียนว่า..ขอสวมวิญญาณนางร้ายสักวันได้ไหม
  • เด็ก ๆบอกว่า..ไม่ได้กลัววิญญาณไม่ออกจากร่าง
  • ฮ่า ๆ ๆ ๆ
  • รอรับเมล็ดถั่ว  นะคะ

สวัสดีค่ะ..ครูคิม

  • ค่ะบรรยากาศเป็นเรื่องสำคัญทำให้ผู้เรียนจิตใจสบาย และมีความสุขในการเรียน
  • บางวัน..ครูอมรก็สวมวิญญาณนางยักษ์
  • เด็ก ๆบอกว่า..ไม่กลัว..
  • ฮ่า ๆ ๆ ๆ ขอบคุณนะคะ
  • บรรยากาศการประชุมผู้ปกครองโรงเรียนครูอมร

                

สวัสดีครับอาจารย์ ขอบพระคุณครับที่กรุณาให้เกียรติไปเยี่ยมเยียน ผมทำงานพัฒนาในพื้นทีครับ   ตอนนี้หน่วยของเราเน้นนโยบายที่สำคัญคือการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาทำให้เป็นรูปธรรม จากประสบการณ์และจากการได้อ่านเอกสารหลายสำนักและการพูดคุยกับเกษตรกรที่ถือได้ว่าประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิต พออยู่  พอกิน การบันทึกค่าใช้จ่ายต่างๆ(บัญชีครัวเรือนอย่างง่ายๆ) น่าจะเป็นกิจกรรมเบื้องต้นของการทำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติ    ผมกำลังจะหาเด็กนักเรียนที่เป็นอาสาสมัครเข้าร่วมกิจกรรมนี้ สัก 2 - 3 คน   ถ้าโรงเรียอาจารย์มีเด็กนักเรียนที่สนใจ"อาสาสมัคร" ผมจะส่งเอกสารมาให้ครับ

ตามมาสวัสดีและขอบคุณค่ะที่ไปเยี่ยม

ยินดีมากเลยค่ะที่อาจารย์เดินทางไกลจากตรัง...ไปอยุธยา แค่คลิกนิดเดียวทำให้เราได้รู้จักกัน

รู้สึกว่ากลุ่มครูอาจารย์ในG2K นี่เข้มแข็ง เข้มข้น เอาจริงในการสร้างสรรการเรียนการสอนมากเลยนะคะ เป็นกำลังใจให้ค่ะ

สวัสดีค่ะคุณ..หนุ่ม กร~natadee

  • ยินดีค่ะ..ที่โรงเรียนมีโครงการเปิดบ้านคุณธรรม
  • และโครงการโรงเรียนคุณธรรมชั้นนำ
  • ฯลฯ เป็นโรงเรียนขยายโอกาส

 

 

สวัสดีค่ะ..คุณนายดอกเตอร์

  • อยุธยามาหลายครั้งแล้วค่ะ..ชอบมากๆ ค่ะ..
  • เมื่อปีที่แล้วมาไหว้พระ ๙  วัด
  • ขอบคุณ G2K ที่มีโอกาสได้กัลยาณมิตร
  • ขอให้มีความสุขทุกวันและตลอดไปนะคะ

ลูกสาวของดิฉันเรียนอยู่โรงเรียนสาธิต มข. วันหนึ่งเธอเคยเล่าให้แม่ฟังว่า

โรงเรียนได้เชิญผู้ปกครองของเด็กซึ่งมีอาชีพแตกต่างกัน ไปเล่าว่าตนเองทำงานอย่างไร

ทำให้เด็กได้สัมผัสวิชาชีพนั้นๆแบบตัวเป็นๆค่ะ..เยี่ยมจริงๆค่ะ

ถ้าอยากได้พยาบาลไปพูด ดิฉันยินดีค่ะ..ไม่ได้โม้นะ..

สวัสดีค่ะ ขอบคุณที่แวะไปเยี่ยมค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณลดา

  • คอมเสียค่ะเพิ่งได้ตอบคุณลดา
  • ต้องขออภัยนะคะ
  • ขอบคุณมากนะคะ ถ้ามีโอกาสคงเจอกันนะ

              

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท