ภาษาพม่าง่ายๆ สไตล์เรา (12 - ตะนาคา เลงมลา = ทาตะนาคาไหม)


...

วันนี้เราจะมาคุยกันเรื่อง "ตะนาคา (Thanaka)" ซึ่งชาวพม่าทากันมาตั้งแต่เด็ก ตะนาคาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตชาวพม่า

พอโตขึ้นก็ใช้ทาแก้มกันแดด อากาศร้อน... ใช้ทาแก้ร้อน เป็นผดผื่นคัน... ใช้ทารักษาโรค กล่าวกันว่า เวลาแต่งหน้าศพก็จะทาตะนาคากันเป็นครั้งสุดท้าย

...

ภาพเด็กๆ ทาตะนาคา บริเวณตะวันออกเฉียงใต้ของเขตอิระวดีที่เพิ่งถูกพายุนาร์กิสถล่ม (มิถุนายน 2551) 

  • สายๆ วันนี้มีคณะชาวพม่าและชาวไทยร่วมกันเข้าไปเลี้ยงข้าวต้ม (ข้าวต้มเปล่าๆ ใส่นมพอให้มีกลิ่น) แจกขนม สบู่ แผ่นผ้าใบสำหรับใช้มุงหลังคา และมีหมอ-พยาบาลพม่าเข้าไปตรวจรักษาโรคให้ชาวบ้าน

...

 

ภาพเด็กๆ ทาตะนาคา บริเวณตะวันออกเฉียงใต้ของเขตอิระวดีที่เพิ่งถูกพายุนาร์กิสถล่ม (มิถุนายน 2551) 

  • โปรดสังเกตว่า ขนาดเป็นข้าวต้มเปล่าๆ ไม่มีกับอะไร ใส่แต่นมนิดหนึ่งพอให้มีกลิ่น กินกันแบบนี้ก็ยังยิ้มได้ ชาวพม่าถูกสอนให้มีความเข้มแข็งและอดทนมาตั้งแต่เล็ก

...

  • ชาวบ้านแถวนั้นบอกว่า หมู่บ้านใกล้เคียงกัน (ติดทะเล) มี 300 คนก่อนพายุเข้า... หลังพายุเข้าเหลืออยู่ 30 คน
  • แม้แต่ชื่อ "เมียนม่าร์ (Myanmar)" ก็ยังมาจากคำว่า "เมี่ยน" แปลว่า เร็ว (ชาวพม่าทำอะไรเร็วๆ ทุกเรื่องหรือเปล่าก็ไม่ทราบ) และ "ม่าร์" ที่แปลว่า แข็งแรง

...

Hiker

สำนวนว่า "ทาตะนาคาไหม" พูดเป็นภาษาพม่าว่า "ตนาคา เลง มลา"

  • ตนาคา = ตะนาคา / แป้งฝนจากไม้ตะนาคาฝนกับแผ่นหิน ผสมน้ำ ได้เป็นแป้งน้ำสีเหลืองนวล
  • เลง = ทา / โปรดสังเกตว่า เสียงคล้ายคำว่า "ละเลง" หรือทาในภาษาไทยเดิม
  • มลา = หรือ / เป็นคำลงท้ายประโยคคำถาม บอกเวลาอนาคตคล้ายคำว่า "จะ__หรือ"

...

ชาวพม่าเป็นคนจริงจังกับเรื่องหลายเรื่อง โดยเฉพาะเวลาพูดนี้ถ้าไม่ระบุว่า ปัจจุบันหรืออนาคต... พวกหม่องๆ มะๆ (หม่อง = คำนำหน้าหรือชื่อผู้ชาย; มะ = คำนำหน้าผู้หญิง เพศหญิง) จะงงและหงุดหงิดขึ้นมาทันที

ชีวิตชาวพม่านั้น... เรื่องอื่นทนได้ แต่จะให้พูดโดยไม่บอกว่า ปัจจุบันหรืออนาคตนี่... ทนไม่ได้เป็นอันขาด เพราะฉะนั้นถ้าจะพูดพม่าจะต้องแยกคำลงท้ายให้ดีว่า ปัจจุบันหรืออนาคตดังต่อไปนี้

...

Hiker

คำลงท้ายประโยค "หรือ" คำเต็ม คำย่อ
ปัจจุบัน ตลา ลา
อนาคต มลา ลา

...

ทีนี้ถ้าจะทาอย่างอื่นก็ "ละเลง (ภาษาไทย)" หรือ "เลง (ภาษาพม่า)" เข้าไปได้เลย ตัวอย่างเช่น

  • ปองดา = แป้ง
  • ปองตา เลง มลา = ทาแป้งไหม

...

Hiker

คำว่า "ปองดา" มาจากคำ 'powder' ในภาษาอังกฤษ แปลว่า ผง หมายถึงแป้งทาตัว (talcum powder)

การตอบว่า ทาหรือไม่ทา... จะตอบแค่ "ทา" แบบภาษาไทยแบบนั้นไม่ได้ พวกหม่องและมะ (ชาวพม่า) จะไม่ยอมขึ้นมาทันที เพราะคำว่า "ทา" ภาษาไทยยังไม่บอกเวลาปัจจุบันหรืออนาคต จึงต้องมีคำบอกเวลากำกับเสมอดังต่อไปนี้

...

ภาษาไทย ภาษาพม่า คำแปล
ทาแป้งไหม ปองดา เลง มลา แป้ง + ทา + (จะ)ไหม
ทาตะนาคาไหม ตนาคา เลง มลา ตะนาคา + ทา + (จะ)ไหม

...

Hiker

ภาษาไทย ภาษาพม่า คำแปล
ทา (ตะนาคา) ตนาคา เลง แหม่ ตะนาคา + ทา + จะ
ไม่ทา (ตะนาคา) ตนาคา มะ เลง บู ตะนาคา + ไม่ + ทา
ทา (แป้ง) ปองดา เลง แหม่ แป้ง + ทา + จะ
ไม่ทา (แป้ง) ปองดา มะ เลง บู ปองดา + ไม่ + ทา

...

ถ้ากำลังทาอยู่จึงจะพูดว่า "เลง แด (แด = คำจบท้ายประโยค บอกเวลาปัจจุบัน)" หรือ "กำลังทาอยู่" ได้ดังต่อไปนี้

ภาษาไทย ภาษาพม่า คำแปล
ทาแป้ง ปองดา เลง แด แป้ง + ทา + ปัจจุบัน (กำลังทา)
ทาตะนาคา ตนาคา เลง แด ตะนาคา + ทา + ปัจจุบัน (กำลังทา)

...

Hiker

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรา (คนไทย) เข้าใจ และได้เมตตาในชาวพม่า ขอให้ชาวพม่าเข้าใจ และได้เมตตาในคนไทยไปนานๆ ครับ

...

ภาษาอังกฤษสบายๆ สไตล์เรา                     

...

ศัพท์ที่น่าสนใจตอนนี้มาจากเนื้อเรื่องคือ "แป้งทาตัว" คำเต็มภาษาอังกฤษคือ 'talcum powder' หรือ 'talc powder'

  • 'powder' ออกเสียง [ เพ้า' - เด่อ ] ย้ำเสียง (accent) ที่คำหน้าตรง "เพ้า"
  • 'powder' เป็นคำนาม (noun) = แป้ง ฝุ่น ผง
  • 'powder' เป็นคำกริยา (verb) = ป่นให้เป็นแป้ง ฝุ่น หรือผง
  • ฟังเสียงเจ้าของภาษา > คลิกเครื่องหมาย "ธงชาติ" หรือ "ลำโพง" > [ Click ]

...

ถ้าจะระบุให้แน่ชัดลงไปว่า นี่เป็นแป้งทาตัว ไม่ใช่แป้ง ฝุ่น หรือผงอย่างอื่น ให้เรียกว่า 'talcum powder'

  • 'talcum' ออกเสียง [ ทั้ล' - ขั่ม ] ย้ำเสียงตรง "ทั้ล" > [ Click ]
  • 'talc' ออกเสียง [ ทั่ล' - ขึ ] ย้ำเสียงตรง "ทั่ล" เสียง "ขึ" ให้พูดสั้นๆ และเบาลง > [ Click ]
  • 'talcum powder' ออกเสียง  [ ทั้ล' - ขั่ม / พ่าว' - เด่อ ] > [ Click ]

ขอแนะนำ                                                

  • ขอแนะนำให้อ่านตั้งแต่ตอนที่ 1
  • "ภาษาพม่าสบายๆ สไตล์เรา" ตอน 1 > [ Click ]

...

ที่มา                                                     

  • กราบขอบพระคุณ > ท่านพระอาจารย์ธัมมานันทภัททันตมหาเถระ อัครมหาบัณฑิต (สมณศักดิ์พม่า) และท่านพระอาจารย์ชนกะ วัดท่ามะโอ
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง > นักเรียนภาษาพม่าชั้นอนุบาล > สงวนลิขสิทธิ์บทความในบล็อก > ยินดีให้นำไปใช้ส่งเสริมสุขภาพ หรือเผยแพร่ความรู้ได้ ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า > 16 ธันวาคม 2551.
หมายเลขบันทึก: 229993เขียนเมื่อ 16 ธันวาคม 2008 18:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • นกเคยอ่านบทความของคุณหมอแต่ก็เพียงผ่านๆไม่ได้เน้นมากนักมาวันนี้พอมีเวลาอ่านบทความของคุณหมอเต็มๆก็พบว่าภาษาพม่านั้นเป็นวัฒนธรรมที่น่ารักจริงๆอ่านแล้วอดยิ้มไปด้วยไม่ได้ค่ะ
  • วันนี้ก็มีเรื่องภาษาพม่าไปเล่าให้น้องที่ทำงานฟังพรุ่งนี้แล้วค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

สวัสดีคะคุณหมอ

ครั้งหนึ่งเมื่อเป็นนักศึกษา

เคยโบกรถจากขอนแก่นไปเชียงใหม่

เพื่อไปทำบ้านดิน (บ้านพี่โจ คนยโสธร) ที่แม่ริม เรียนรู้วิถีชีวิต

เรียนรู้ป่าที่แม่แตง ที่แม่ริมได้มีโอกาสได้ร่วมกิน นอน ทำกิจกรรมร่วม

กับสาวๆพม่าที่อพยพมา อยู่กินเรียนรู้ ฝึกอาชีพ

ทุกๆวันจะเห็นสาวๆเค้าทาตะนาคา กัน เหมือนเราปะแป้ง

แล้วทำเป็นลายๆนะคะ จะเอารากหรือกิ่งตะนาคามาฝน ใช่ไหมคะ

ผิวของเค้าสวยมาก คม อิอิ ลองทาบ้าง

แต่พอเราไปเที่ยวแถวแม่สาย ซื้อแป้งตะนาคาที่เป็นตลับๆทำมาขาย

รู้สึกว่าจะไม่ได้ใจเท่ากับที่เค้าเอากิ่งตะนาคามาฝนทาเอง

ขอบคุณคุณหมอที่หาภาษา พม่า สำเนียงน่ารักๆมาฝากนะคะ

ตนาคา เลง มลา = ทาแป้งบ่จ้า = ทาแป้งไหมคะ

ขอขอบคุณอาจารย์ครูเทียนน้อย...

  • ขอขอบคุณมากๆ สำหรับประสบการณ์ตรงเพียบเลย

ตะนาคาเป็นกิ่งไม้ นำไปฝนกับแท่นฝนเป็นหินหยาบๆ ใช้น้ำช่วยตอนฝนนิดหน่อย

  • ถ้าสังเกตดีๆ จะพบว่า "ตะนาคา" ภาษาไทยมีสระ "อะ"

"ตนาคา" เวลาผมเขียนภาษาพม่าจะไม่มีสระ "อะ" เป็นสระจม (ไม่เขียน "-ะ") เนื่องจากชาวพม่านิยมออกเสียงสระ "อะ" สั้นกว่าภาษาไทย

มิงกลาบ่าสะหย่าหวุ่น.เนเกาลา วันนี้แวะเข้ามาเยี่ยมชมและขอเป็นลูกศิษย์ภาษาพม่าด้วยคนนะคะดิฉัน เคยมีเพื่อนเป็นพม่าและเขาก็เคยสอนให้อยู่เหมือนกันแต่ว่านานมาแล้ว ลืมๆไปบ้างแล้วค่ะแต่ถ้าได้ฟื้นอีกสักนิดก็คิดว่าน่าจะใช้คุยได้พอไม่อดข้าวตายนะคะ อาจารย์ไปเรียนจากที่สำนักไหนคะอยากไปเรียนมั่งจังเลย. จะมะ ติ่นฉื่นแด่ สะหย่าหวุ่นติ่นเปมลา ขอบคุณล่วงหน้าด้วยค่ะ.

มิงกลาบา คามยา = สวัสดีครับ

  • ผมไปเรียนที่วัดท่ามะโอ ลำปางครับ
  • ท่ามโอ เจา หม่า (= ที่วัดท่ามะโอ) , อู เซน ซานากะ จะน่อ โก่ ติ่น แด (= พระอาจารย์ชนะสอนผมอยู่)

วั้น ต่า บ่า เด หนอ (= ยินดีต้อนรับครับ)

 

ทาหน้าค้า ในภาษาไทยใหญ่

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท