เครือข่ายอนุรักษ์ฯลำน้ำป่าสักจังหวัดสระบุรี


องค์กรชาวบ้านซึ่งมีจุดเริ่มต้นมาจากชมรมอนุรักษ์แม่น้ำป่าสักอำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี

แม่น้ำป่าสัก มีต้นกำเนิดมาจากเทือกเขาเพชรบูรณ์ในพื้นที่อำเภอด่านซ้ายจังหวัดเลย ไหลผ่าน 5 จังหวัดด้วยกัน จังหวัดเลย จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดลพบุรี จังหวัดสระบุรี และไหลไปบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยาที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

เมื่อพูดถึงแม่น้ำป่าสัก เราก็มักจะนึกถึงเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

 

จังหวัดสระบุรีเป็นจังหวัดหนึ่งที่อยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำป่าสักและมีแม่น้ำป่าสักไหลผ่านใจกลางเมืองและในอีก 5  อำเภอได้แก่ อำเภอวังม่วง อำเภอแก่งคอย อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอเมือง และไหลไปสิ้นสุดเขตจังหวัดสระบุรีที่ ตำบลเริงราง อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรีโดยมีระยะทางประมาณทั้งสิ้น 105 กิโลเมตร จึงถือว่าเป็นแหล่งน้ำหัวใจที่สำคัญของจังหวัดสระบุรีไหลผ่านชุมชนต่างๆ ชาวสระบุรีได้อาศัยใช้เป็นแหล่งน้ำอุปโภคบริโภค การเกษตร การอุตสาหกรรม การประมงและอื่นๆริมแม่น้ำป่าสักได้มีชุมชนขนาดใหญ่ต่างๆอาศัยอยู่ริมแม่น้ำป่าสักและยังมีส่วนที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อแม่น้ำป่าสักโดยเฉพาะในเรื่องของการปล่อยน้ำเสียลงสู่แม่น้ำป่าสักด้วยเช่นกัน

นอกจากนี้วิถีการพัฒนาประเทศที่เน้นตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจกับหลัก เปลี่ยนสังคมจากเกษตรกรรมสู่ภาคอุตสาหกรรม การค้า และการบริการ โดยการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้เพื่อการขยายการผลิต ได้ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต และทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และแม่น้ำป่าสักได้เสื่อมลง ทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำ น้ำเสีย พร้อมทั้งสูญเสียทรัพยากรป่าไม้และความหลากหลายทางชีวภาพ

น้ำเสียจากชุมชนก็ไม่น้อย อย่าโทษโรงงานอย่างเดียว

สิ่งแวดล้อมเสื่อม ปลาตายเป็นเบือ

ต่างคนต่างใช้ประโยชน์

เครือข่ายอนุรักษ์ลำน้ำป่าสักสระบุรี เป็นองค์กรชาวบ้านซึ่งมีจุดเริ่มต้นมาจากชมรมอนุรักษ์แม่น้ำป่าสักอำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี ได้ตระหนักและเห็นร่วมกันว่า การฟื้นฟู พิทักษ์สิ่งแวดล้อม แม่น้ำป่าสักเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเร่งดำเนินการโดยได้กำหนดเป้าหมาย ที่จะฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมแม่น้ำป่าสัก ฟื้นฟูสำนึกรักษ์ธรรมชาติสิ่งแวดล้อมของผู้คนทั้งสองฝั่งลำน้ำป่าสัก โดยการเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ กระตุ้นและปลูกจิตสำนึก สร้างความตระหนัก และหันมาร่วมกันฟื้นฟูคุณภาพน้ำที่กำลังวิกฤติ ฟื้นฟูชีวิตทั้งในน้ำ และริมสองฝั่งลำน้ำ ให้มีความสมบูรณ์หลากหลาย จัดการทรัพยากรน้ำ สัตว์น้ำ พืชน้ำ ให้มีโอกาสแพร่พันธุ์ในน้ำที่ใสสะอาด ได้อย่างเหมาะสม และให้เอื้อต่อการทำมาหากินของชาวบ้านที่เคยอาศัยแม่น้ำป่าสัก เป็นแหล่งทำมาหากิน ตลอดจนเอื้อต่อระบบเศรษฐกิจในภาพรวมได้อย่างเป็นธรรมและยั่งยืน บนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อให้สรรพชีวิตทั้งพืช สัตว์ คน ได้อาศัยและเติบโตอยู่ร่วมกันอย่างสมดุลและมีความสุข ภายใต้แนวคิด รักษ์น้ำป่าสัก เพื่อสรรพชีวิต ก่อนวิกฤติมาเยือน”

 

 

ร่วมกันวางแผนฟื้นฟูแม่น้ำป่าสัก

แสวงหาแนวร่วม

 

แผนที่ความคิด

ผลจากน้ำพักน้ำแรงของคนลุ่มน้ำป่าสัก มีมากมาย เช่น มีเครือข่ายเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อม 5 อำเภอ 31 ตำบล   มีเครือข่ายเยาวชนรักษ์ป่าสัก 15 โรงเรียน

สมาชิกที่ทำการเกษตรได้ผลผลิตที่ดี และมีรายได้เพิ่มขึ้น

ประชาชนในท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ลุ่มน้ำป่าสักมากยิ่งขึ้น

มีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์  ลุ่มน้ำป่าสักมีคุณภาพน้ำที่สามารถนำมาใช้ในการอุปโภค บริโภค และการเกษตรกรรมอย่างพอเพียง

วัดที่ติดกับแม่น้ำป่าสักในเขตอำเภอเสาไห้และเขตอำเภอเมืองมีการอนุรักษ์ปลาหน้าวัดกันอย่างแพร่หลายและมีพันธุ์ปลาหาอยากที่ใกล้จะสูญพันธุ์ไปแล้วในแม่น้ำป่ากลับมาให้เห็นอีกครั้งเช่น ปลาเสือพ่นน้ำ ปลาหมู ปลากระทิงเป็นต้น


ประชาชนมีจิตสำนึกและช่วยกันดูแลรักษาและเฝ้าระวังแม่น้ำป่าสักเพิ่มมากยิ่งขึ้น

ภาคีเครือข่ายต่างๆเข้ามาให้การสนับสนุนและเกิดการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการทำงานเพิ่มมากยิ่งขึ้น

ประเพณีวิถีวัฒนธรรมต่างๆหวนกลับอยู่คู่กับคนลุ่มน้ำเหมือนเดิมเช่น ประเพณีการแข่งขันเรือยาว ประเพณีทอดกฐินทางน้ำ

ปรับระบบการผลิต ลดการใช้สารพิษ

รณรงค์สร้างจิตสำนึก ขยายแนวร่วม

ประยุกต์วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นมาใช้ในงานสิ่งแวดล้อม

สืบชะตาแม่น้ำ

 

ขอขอบคุณ

พี่ทิสาปาโมกข์ ปรึกษากิ่ง ประธานเครือข่ายอนุรักษ์ลำน้ำป่าสักสระบุรี

กัลยาณมิตรในแวดวงสิ่งแวดล้อม ที่ช่วยให้มีโอกาสได้สัมผัสและเรียนรู้สิ่งดีของชาวลุ่มน้ำป่าสัก

 

 

หมายเลขบันทึก: 229985เขียนเมื่อ 16 ธันวาคม 2008 17:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:01 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

อาสาสมัครอนุรักษ์สร้างสรรค์ยิ่ง....     หมู่คนจริงผู้ยิ่งใหญ่เราได้เห็น

ชาวชุมชนคนสำคัญทุกท่านเป็น...      ยอดคนเด่นเป็นตัวอย่างนักสร้างไทย

ขอขอบคุณท่าน วิโรจน์ พูลสุข

ผมขออนุญาตส่งต่อบทกลอนของท่าน เพื่อเป็นกำลังใจให้กับเครือข่ายอนุรักษ์ฯลำน้ำป่าสักจังหวัดสระบุรี ชุมชนและอาสาสมัครที่ทำงานดูแลสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอื่นๆด้วยนะครับ

วันที่ 2 ธันวาคม 2552  เครือข่าย ทสม.จากทั่วประเทศประมาณ 200 คน จะไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในการทำงานและทำกิจกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับพี่น้องเครือข่ายลุ่มน้ำป่าสัก

โดยเดินทางไป 3 จุดสำคัญ คือ ช่วงเช้าไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการชุมชนกับการจัดการพื้นที่อนุรักษ์  ณ วัดหนองหลัว  ตำบลโคกสะอาด อำเภอหนองแซง จังหวัดสระบุรี  

ช่วงบ่าย เดินทางไป ตลาดท่าน้ำโบราณบ้านต้นตาล อำเภอเส้าไห้ รับประทานอาหารกลางวันบรรยากาศล้านนาแบบขันโตก ริมแม่น้ำป่าสัก รับฟังการบรรยาย วิถีชีวิตชาวไทย –ยวน และชมการแสดงพื้นบ้าน

หลังจากนั้นออกเดินทางไป วัดพระยาทดเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพิทักษ์ป่าชุมชน/อนุรักษ์ป่ายางโดยกระบวนการชุมชนท้องถิ่น และร่วมกิจกรรมบวชป่าเพื่อการอนุรักษ์พันธุ์ไม้และร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดพื้นที่การเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  และแวะนมัสการเจ้าแม่นางตะเคียน  ก่อนเดินทางกลับ

หวังว่าคงจะมีโอกาสได้ไปเรียนรู้ด้วยครับ

ผ่านไปแล้วด้วยความประทับใจ สำหรับการไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของเครือข่าย ทสม.จาก 11 จังหวัดในเส้นทางที่ 4 ลุ่มน้ำป่าสักกับเครือข่ายอนุรักษ์ฯลำน้ำป่าสัก ประทับใจทั้งความเสียสละทุ่มเทแรงกายแรงใจในการปกป้องดูแลฐานทรัพยากรและวิถีชีวิตของคนที่นั่น ประทับใจทั้งการต้อนรับอันดียิ่ง และ

ประทับใจที่ได้ร่วมกิจกรรมการบวชป่าที่สามารถนำหลักทางศาสนาและความเชื่อมาใช้ในการดูแลป่าได้อย่างดียิ่ง

จุดแรกที่เครือข่าย ทสม.ได้ไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คือ กลุ่มอนุรักษ์วิถีเกษตรกรรม อ.หนองแซง ที่ลุกขึ้นมาใช้สิทธิตามวิถีทางประชาธิปไตยที่กฎหมายได้รับรองไว้ เพื่อปกป้องฐานทรัพยากรและวิถีชีวิตวัฒนธรรมของท้องถิ่น ที่อาจจะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากโครงการโรงไฟฟ้าหนองแซง จ.สระบุรี ของบริษัท เพาเวอร์เจเนอเรชั่นซัพพลาย จำกัด ซึ่งจะไปตั้งอยู่ในพื้นที่ ตำบลหนองกบ อำเภอหนองแซง จังหวัดสระบุรี ขนาดพื้นที่300ไร่ และจะมีอ่างเก็บน้ำสำรองสำหรับใช้ในฤดูแล้งตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลหนองน้ำใส อำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ขนาดพื้นที่270ไร่ เป็นโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม ขนาด 1,600 เมกะวัตต์ ใช้ก๊าชธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้า และมีน้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิงสำรอง

ลงจากรถจุดแรกยังคึกคักทั้งเจ้าภาพและผู้มาเยือน

พี่ทิสาปาโมกข์ ประธาน ทสม.สระบุรีมาร่วมต้อนรับและนำสำรวจพื้นที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้าหนองแซง

ป้าตุ้ย แกนนำคนสำคัญในการประสานใจให้คนหนองแซงลุกขึ้นมาพิทักษ์รักษาพื้นที่และวิถีเกษตรกรรมของคนหนองแซง

ลุงตี๋ ตรัยรัตนแสงมณี ประธานกลุ่มอนุรักษ์วิถีเกษตรกรรม ที่คุ้นเคยกันดีในแวดวงผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการพัฒนา

ป้ายรณรงค์สะท้อนอารมณ์ความรู้สึกของชาวบ้านและอุณหภูมิของสถานการณ์ความขัดแย้งได้เป็นอย่างดี

ป้าตุ้ยเล่าประสบการณ์การใช้สิทธิปกป้องฐานทรัพยากรของท้องถิ่น

ประธาน ทสม.เลย ลุกขึ้นมาเล่าประสบการณ์ของจ.เลยที่ได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองทองคำ

เสื้อเขียวสัญลักษณ์การต่อต้านโครงการพลังงาน ซึ่งตอนนี้ประสานกันเป็นเครือข่ายทั่วประเทศแล้ว

ลุงวินบอกว่าที่นี่เป็นแค่โรงไฟฟ้าพลังก๊าซธรรมชาติ ไม่ทันสมัยเหมือนนครศรีธรรมราชบ้านแกที่กำลังจะมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ และนิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมี

 

หลังอำลาพี่น้องกลุ่มอนุรักษ์วิถีเกษตรกรรม ขบวน ทสม.ได้เคลื่อนต่อไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเครือข่ายอนุรักษ์ฯลำน้ำป่าสัก อ.เสาไห้

 

ด้วยน้ำใจของเครือข่ายอนุรักษ์ลำน้ำป่าสักจึงได้ลิ้มรสอาหารกลางวันแสนอร่อยที่ตลาดท่าน้ำบ้านต้นตาล อ.เสาไห้

ข้าวหมกไก่จัดไว้เป็นพิเศษสำหรับพี่น้องทสม.ที่เป็นมุสลิม

บรรยากาศแสนสบายและอบอุ่นบนแพ

ไปพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์และร่วมกันบวชป่าที่วัดพระยาทด

ขอคารวะด้วยหัวใจให้กับบุคคลสำคัญของเครือข่ายข่ายอนุรักษ์ฯลำน้ำป่าสักจังหวัดสระบุรี

ร่วมกันบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์และทำพิธีบวชป่ายางนาอายุนับร้อยปี

ของที่นำมาประกอบพิธีถือเป็นอาหารทิพย์ ยาทิพย์ที่ผู้เข้าร่วมจะได้แจกจ่ายกันชิมเพื่อเป็นสิริมงคล

บันทึกภาพความกิจกรรมทางวัฒนธรรมอันงดงาม

เอ้าเฮๆๆโอกาสหน้าเราจะมาร่วมกันเรียนรู้และทำสิ่งดีๆเพื่อสิ่งแวดล้อมอีก

 

 

ผู้แทนเครือข่าย ทสม.ที่ได้ไปแลกเปลี่ยนแต่ละเส้นทาง นำบทเรียนที่ได้รับมาแบ่งปันกัน

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท