โครงการพัฒนาสมรรถนะการบริหารจัดการอาชีวศึกษายุคใหม่รุ่นที่ 1


ผมอยากให้การเรียนรู้ และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ต้องทำอย่างต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่องจึงจะเห็นผล

สวัสดีครับลูกศิษย์อาชีวศึกษาทุกท่าน

 

ขอต้อนรับทุกท่านเข้าสู่บรรยากาศของการเรียนรู้กับโครงการพัฒนาสมรรถนะการบริหารจัดการอาชีวศึกษายุคใหม่ รุ่นที่ 1 จำนวน 80 คน ครับ  การจัดการเรียนรู้สำหรับโครงการนี้ แบ่งเป็น 2 รุ่น ครับ รุ่นแรก จัดในวันที่ 17-19 กันยายน 2551  ส่วนรุ่นที่ 2 จัดในวันที่ 22 – 24 กันยายน 2551 ณ โรงแรมอิมพีเรียล ภูแก้ว ฮิลล์ เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์

 

            ผมได้มีการพัฒนาหลักสูตรให้เหมาะสมสำหรับผู้บริหารระดับสูงในอาชีวศึกษา เพื่อที่จะนำการเรียนรู้ไปพัฒนาและสร้างการต่อยอดให้กับ สำนักพัฒนาสมรรถนะครู และบุคลากรอาชีวศึกษา ครับ 

 

เพื่อเป็นช่องทางแห่งการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้   ผมก็ได้เปิด Blog นี้และคาดหวังว่าทุกท่านจะใช้ Blog เป็นช่องทางในการแลกเปลี่ยนความรู้กัน และเป็นคลังสมองของพวกเรา และก็คงจะเป็นประโยชน์สำหรับชาว Blog ที่สนใจด้วย

 

                                    จีระ หงส์ลดารมภ์

คำสำคัญ (Tags): #อาชีวศึกษารุ่น 1
หมายเลขบันทึก: 207570เขียนเมื่อ 10 กันยายน 2008 17:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (78)

สวัสดีครับ

            วันนี้เป็นช่วงบ่ายแก่ ๆ วันจันทร์ซึ่งผมและทีมงานกำลังเตรียมงานซึ่งมีเป้าหมายที่จะให้ท่านผู้อำนวยการทุกท่านได้รับประโยชน์สูงสุดจากการเรียนรู้ร่วมกันในครั้งนี้ ในวันพุธนี้ก็คงจะได้พบกันและตลอด 10 วันที่จะได้อยู่ด้วยกันทุกคนต่างก็มีเป้าหมายเดียวกันคือร่วมกันทำประโยชน์ให้แก่การอาชีวะของประเทศไทย

            ขอต้อนรับทุกท่านครับ

            จีระ หงส์ลดารมภ์

Workshop

จากการบรรยายของ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และ บทสัมภาษณ์ในเทปโทรทัศน์ ท่านได้เรียนรู้อะไร เสนอ 2 เรื่องที่คิดว่าจะนำไปใช้

กลุ่มที่ 1

1. คนเป็นส่วนที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้องค์กรดีขึ้น จึงนำประเด็นสำคัญของคนพูดก่อน เริ่มจากการเปลี่ยนความคิดก่อน ถ้าเปลี่ยนความคิดได้ ชีวิตก็จะเปลี่ยน เป็นลักษณะค่อยเป็นค่อยไป ภูเขาใหญ่โต ก็ทลายเป็นถนนได้ ต้องเปลี่ยนทัศนคติของคนให้ได้ก่อนเอากระบวนการเปลี่ยนความคิด ผ่านกระบวนการทางสังคม เพื่อสู่ความยั่งยืน

2. การใช้องค์ความรู้ในการเปลี่ยนแปลง และให้ทุกคนมีส่วนร่วมทำให้รักองค์กรมากยิ่งขึ้น

อาจารย์จีระเสริมว่า เรื่อง Mindset เป็นสิ่งสำคัญ และอยากให้เข้าไปอ่าน Blog ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ซึ่งตอนนี้ เป็นผู้ตรวจการความรู้ของ กฟภ. ไปแล้ว ดังนั้น รุ่น 1 ต้องเอาจริงกับการทำ Follow up

กลุ่มที่ 2

1. จากเอกสาร บทบรรยาย และจากเทปนั้น ถือว่า การสื่อสารในองค์กรน่าจะมีความสำคัญมาก เนื่องจากทำให้เข้าใจว่าทุกคนในองค์กรจะเดินทางไปทางไหน มีผู้บริหารหลายคน สามารถพูดภาษาต่างชาติได้เยอะ แต่ขาดภาษาคน ทำให้เกิดปัญหามากมาย

2. วัฒนธรรมการเรียนรู้ สร้างขึ้นในมหาวิทยาลัย และวิทยาลัยก่อน ในสถาบันการศึกษา น่าจะเป็นผู้ที่ใฝ่การเรียนรู้โดยตลอด ไม่ใช่รู้เป็นคนสุดท้าย

อาจารย์จีระ เสริมว่า เรื่องวัฒนธรรมการเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญ ในความคิดผม ไม่ได้อยู่ที่ความรู้ ทุกคน มีความรู้ แต่ขาดการนำมาผสมผสาน ขาดการแบ่งปัน และวิเคราะห์การสร้างมูลค่าเพิ่ม ทฤษฎีสังคมการเรียนรู้ สามารถนำไป

1. แก้ปัญหาทุกวัน

2. จัดการกับความไม่แน่นอน

3. ทำทฤษฎี Blue Ocean ทฤษฎีใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น

กลุ่มที่ 3

1. การเรียนรู้ ที่เราเคยอยู่ซ้ำแนวเดิม สอนแบบยัดเยียด อยู่แบบเดิม ๆ สร้างทฤษฎีให้ ทำให้บุคลากรที่มีอยู่ทำแบบเกิดสั่งการ อยากให้เกิดอะไรใหม่ ๆ สอนให้ลูกศิษย์คิดเป็น ทำเป็นหรือเปล่า ให้ผู้ที่อยู่ในสถาบันการศึกษาคิดเป็น วิเคราะห์เป็น ที่มีปัญหาอยู่ปัจจุบัน เนื่องจากไม่ได้คิดเป็น วิเคราะห์ไม่เป็น ดังนั้นในฐานะผู้บริหารจึงทำอย่างไรให้ลูกศิษย์คิดเป็นวิเคราะห์เป็น แก้ปัญหาเป็น เกิดผลลัพธ์ที่มีคุณค่า

2. การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ทำอย่างไรจึงดึงแนวคิดจากปูนมาสร้างเป็นต้นแบบให้กับครู และอาจารย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหาร ทำอย่างไร จึงไม่ต้องเดินตามเจ้านายไปเป็นกระบวน คนพันธุ์ R มีอะไรในสมอง มีความคิดหรือไม่ว่าจะเป็นคนที่มีประสิทธิภาพของคนในอาชีวศึกษา สร้างวัฒนธรรมองค์กรให้มีความสุขในการทำงาน และมีบรรยากาศที่ดี

3. อยากฝากให้ผู้บริหารเป็นกำลังใจที่ดีต่อลูกน้อง นำเอาแนวคิดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มาใช้ ทำงานอย่ารองบประมาณ อยากให้วัฒนธรรมองค์กรของอาชีวศึกษาเมื่อจัดอบรมแล้วให้มีความต่อเนื่อง และหวังมีการเปลี่ยนแปลงเหมือนเป็นผู้นำสหรัฐฯ ที่เห็นความสำคัญเรื่องการเปลี่ยนแปลง

กลุ่มที่ 4

1. เราต้องเป็นตัวอย่างที่ดีก่อนในการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้

2. เปลี่ยนอะไรต้องดูพื้นฐานมีการประเมินผล ดูการศึกษา เอาครูเป็นศูนย์กลาง

3. องค์กรมีความสำคัญ การเปลี่ยนแปลงต้องเปลี่ยนแปลงที่องค์กรก่อน

4. เปลี่ยนแปลงการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาให้ดีขึ้น

5. คนมีความสำคัญ ถ้าคนไม่เปลี่ยนแปลงทุกอย่างก็ไม่เปลี่ยนแปลง

6. โดยทั้งสิ้น ควรเปลี่ยนแปลงเริ่มจากคนก่อน

กลุ่มที่ 5

1. การทำงานต้องการคุณภาพ ซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จ ทำอย่างไรให้คนมีคุณภาพ ได้สรุปว่า คนมีความสามารถ ส่งผลถึงคุณภาพ และความสำเร็จ คนมีความสามารถ เราจะทำอย่างไร ในแต่ละปัญหา ซึ่งปัญหาแต่ละที่ไม่เหมือนกัน

2. เราต้องเปลี่ยน ในฐานะที่เป็นผู้บริหาร อะไรที่ประสบ มีอะไรบ้างที่ต้องเปลี่ยนเพื่อที่จะนำไปสู่การทำงานที่มีคุณภาพ และการปฏิบัติเพื่อองค์กร

อาจารย์จีระ เสริมว่า ขอให้เอาจริงกับเรื่อง Change อันไหนก่อน อันไหนหลัง อย่าเล่นทุกประเด็น ดูประเด็นที่โป๊ะเช๊ะ แล้ว เอาไปปฏิบัติกับความจริง จังหวะในการพูดต้องปะทะกันพอดี

กลุ่มที่ 6

การพัฒนาคน การบริหารจัดการคนเป็นเรื่องสำคัญ ให้คนฟังเยอะ ๆ มีส่วนร่วมเยอะ ๆ คิดอย่างมีกลยุทธ์ มีชั้นเชิง อย่างวิเคราะห์ มีรูปแบบ ลงมือทำจากสิ่งที่ง่ายสุด ไม่ต้องฝากใคร

กลุ่มที่ 7

การบริหารการบุคคลในองค์กรโดยผู้นำ ผู้นำมีส่วนสำคัญในการนำไปสู่สิ่งที่ดีและไม่ดีได้ จึงมีกรณีศึกษาว่า ถ้าผู้นำจะทำอะไรก็ตาม แล้วมีการพัฒนาสร้างสรรค์แล้วจะทำให้องค์กรพัฒนาดีขึ้นได้ มีสถานศึกษาหนึ่งหลังจากเด็กเข้าแถวแล้ว เอากลุ่มเล็ก ๆ ในสถาบันการศึกษามาคุยกัน เป็นกลุ่ม แม่บ้าน นักการภารโรง ยาม การประชุมมีการจดบันทึกกิจกรรมที่ทำโดยเลขาฯ มีผลต่อเนื่องว่าจะทำอะไร แล้วจะทำอะไรต่อ ให้ผู้บริหารเข้าร่วมฟังได้ เป็นการเปิดโอกาสให้กลุ่มเล็ก ๆ ได้แสดงออกทุกคน ทำให้ผู้บริหารรับฟังความเห็นจากกลุ่มเล็ก เป็นการเปิดใจกว้างในการรับฟังปัญหา การร่วมกันทำงานเป็นทีมเพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีขึ้น การพัฒนาเล็กเป็นต้นแบบสู่การพัฒนาอื่น ๆ ผลพลอยได้ ทำให้ผู้บริหารใกล้ชิดลูกน้องอย่างชัดเจน เพื่อแก้ปัญหาได้ถูกจุด สร้างคุณธรรมให้เกิดขึ้น ผู้ใต้บังคับบัญชา รู้ว่ามีความรับผิดชอบเช่นไร ผู้บริหารไม่จำเป็นต้องยืนคุม แต่สามารถปรับกลยุทธ์ในการบริหารงานที่ดีขึ้นได้

กลุ่มที่ 8

1. ที่เรามาสัมมนาครั้งนี้พูดถึงคุณค่าความเป็นคน คนไม่ใช่เครื่องจักร เราจะเปลี่ยนแปลงองค์กรอย่างไรให้เป็นธรรมชาติและคนรู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลง

2. การบริหารคนในองค์กร ในวิทยาลัยซึ่งมีนักศึกษาจำนวนมาก ๆ จะบริหารงานอย่างไร ก็เป็นปัญหา ซึ่งผู้อำนวยการในวิทยาลัยนั้น มีปัญหาแตกต่างจากวิทยาลัยอื่น ๆ

3. จากเทป การสื่อสาร การตัดสินใจให้โอกาสเพื่อร่วมงาน มีคุณธรรม มีความรับผิดชอบ แบ่งหน้าที่ ต้องรู้จักยืดหยุ่นให้ได้

4. การสร้างความรัก ความผูกพันในองค์กร ให้ดูแลตั้งแต่เริ่มเข้ามาก้าวแรกในองค์กร อยู่และทำงานร่วมกัน ซึ่งชาวอาชีวศึกษามีมาก เปรียบเสมือนไผ่ในกอเดียวกัน แต่สุดท้ายก็กลับมาบ้าน กลับมาพัฒนาองค์กร

5. การดึงเอาสิ่งที่ดีของผู้บริหารมาให้คนอื่นดูเป็นตัวอย่างและดำเนินรอยตาม

6. ถ้าเรารักและผูกพัน เอาใจเขามาใส่ใจเรา การบริหารก็สำเร็จ เน้นการทำเพื่ออนาคต

อาจารย์จีระเสริมว่า

1. สิ่งแรกที่ประทับใจคือ ขนาดของจำนวนคนที่เข้าประชุมพอดี ทุกคนมีส่วนร่วม ผู้บริหารอาชีวศึกษาอย่าโลภในปริมาณ และเอาจริงในเรื่องคุณภาพ

2. กลุ่มสุดท้าย พูดเรื่องผู้นำ มีหลักสูตรเรื่องผู้นำ 3 ชั่วโมงในวันศุกร์นี้ ฟังมาทั่วประเทศ สิ่งที่เอามาเป็นประสบการณ์หลาย ๆ ด้าน อยากให้ทุกท่านนำบางส่วนไปใช้

3. โดยทั่ว ๆ ไป ทั้ง 8 โต๊ะ น่าจะมี 3 แนว

- เรื่องคน ใน 3 วันนี้ Session เรื่องคนมากหน่อย ใน 3 วันแรก ไม่ได้สอนว่าทำอะไร ทำอย่างไร ทำอย่างไรถึงจะประสบความสำเร็จ ฟังแล้ว ก็จะฟังอีก การเรียนรู้ ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ทันที

- องค์กรแห่งการเรียนรู้ ถ้าผู้อำนวยการในห้องนี้เปิดใจกว้าง แบ่งปันความรู้ ใฝ่รู้ และหาความรู้ร่วมกันเป็นทีม ฟังให้ดี ออกความเห็นให้ดี ลดความเป็นอัตตาของตัวเอง เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของครูในอาชีวศึกษาในเรื่องสังคมการเรียนรู้ยาก แต่ควรเริ่มต้น

- การเปลี่ยนแปลง เป็นเรื่องที่ไม่ได้เปลี่ยนหนเดียว ต้องเปลี่ยนตลอด จะประมวลความรู้มาสู่ความเป็นเลิศ ครูไม่ควรเลิศ ควรมีการโป๊ะเช๊ะ และควรยกย่องคนที่มีความคิดนอกกรอบ Thinking Outside the box มี Innovation เก่งเรื่องการค้า เรื่องการท่องเที่ยว อย่าบ้าครั้งเรื่อง Industrial and Agriculture มากเกินไป ต้องให้ความสำคัญเรื่อง Entrepreneurship (การเป็นคนเก่งและสำเร็จ)

- เรื่องคน จะพูดมากขึ้น ในทฤษฎี HRDS อยากให้เอาไปคิด

o การบริหารคนให้มีความสุขในการทำงานก่อน ,

o ถ้าจะทำงานร่วมกับคนอื่น ต้องให้เกียรติคน และยกย่องคน อย่ายกย่องคนที่ใหญ่กว่าเท่านั้น มีความเข้าใจมนุษย์อย่างลึกซึ้ง

o ต้องให้ศักดิ์ศรี ไม่ว่าจน เรือรวย

o ต้องมีความยั่งยืน บุคลากรที่ผลิตไปอย่าแต่ผลิต จะเป็นผู้อำนวยการที่ดีต้องทิ้งความยั่งยืนให้แก่ลูกน้อง ตัว ผอ. ต้องเอาจริงเรื่องสุขภาพอนามัย และใฝ่รู้

นายเชือบ จิตสามารถ

1.      การเปลี่ยนแปลบงของของโลกยุคโลกาภิวัตน์มาจาก

1.1.  เศรษฐกิจ การค้าเสรี WTO, FTA

1.2.  การเมือง การสงครามทรัพยากร มีการก่อการร้าย

1.3.  สังคม บทบาทของมหาอำนาจทางการเมืองประชากรโลก อินเดีย จีน สังคม คนอินเดีย ตะวันออกกลาง

1.4.  สิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ภัยธรรมชาติ โรคระบาด พลังงาน ภาวะโรคร้อน

ผลกระทบ อาชีวศึกษาต้องปรับตัว ต้องจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้องค์กรอยู่ในการแข่งขัน ต้องพัฒนาองค์กรให้มีลักษณะยืดหยุ่น

นายสมหมาย สว่างศรี

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้

1. การบริหารคน คุณภาพของคน

2. ขบวนการคิดเชิงบริหารคน เชิงกลยุทธ์

3. นวัตกรรม และเทคโนโลยี การมองคน บุคลิกภาพของคน

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้

1. วิธีแนวคิด

2. การบริหารการเปลี่ยนแปลง

3. เข้าศึกษาเรียนรู้กระแสโลกาภิวัตน์

4. การบริหารทีมงาน

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้

1. การเปลี่ยนแปลงสัมมนาการเรียนรู้ขององค์กร

2. การเปลี่ยนแปลงวิธีการของการทำงานในองค์กร

- การตัดสินใจในองค์กรต้องเร็ว

- จัดให้มีการกระจายอำนาจ

ที่ได้เรียนรู้มากยิ่งขึ้นคือการบริหารตัดสินใจ การทำความเข้าใจกับนวัตกรรม การทำงานเป็นทีม

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้

1. เรียนรู้ลักษณะลีลาของวิทยากร ที่มีความรู้ ความสามารถจริงว่าจะดำเนินการไปอย่างเรียบง่ายมีจังหวะ นุ่นนวล แต่จริงจัง จริงใจ

2. เรียนรู้ การบริหารที่ถูกต้องสมบูรณ์ที่สุดนั้นคือการบริหารคนให้สมบูรณ์ก่อนการบริหารงาน บริหารเงิน

นางสาวชมพูนุช บัวบังศร

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้

1. กลยุทธ์การสร้างทีมงานที่เข้มแข็ง และมีประสิทธิภาพ

2. การบริหารที่ก้าวทันโลกาภิวัตน์ และองค์กรก้าวหน้า

3. หลักการบริหารที่ทำให้ผู้นำประสบความสำเร็จในการปฏิบัติงาน

4. การพัฒนานวัตกรรมในองค์กรให้เจริญก้าวหน้า

นายสุริยะ หินเชาว์

สิ่งที่ได้เรียนรู้วันนี้

1. การสร้างและการพัฒนาทีมงาน

2. คนคือทรัพยากรที่มีค่าและสำคัญที่สุดในองค์กร

3. การทำกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์

4. การสร้างและรักษาคนให้อยู่ในองค์กร แรงจูงใจ

5. แนวคิดและหลักการสร้างนวัตกรรม

6. หลักการเรียนรู้ในแบบ 4L’s

ว่าที่ พ.ต. วานิช สมชาติ

สิ่งที่ได้เรียนรู้วันนี้

1. คนคือทรัพยากรที่สำคัญ ควรได้รับการพัฒนาและสนใจเป็นกรณีพิเศษ

2. 4L’s เพื่อการเรียนรู้และสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้

3. กลยุทธ์การสร้างและบริหารทีมงานเพื่อประสิทธิภาพ

สิ่งที่ได้เรียนรู้วันนี้

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

1. การเรียนรู้ สอนให้คนคิดเป็น แก้ปัญหาเป็นรู้จักคิดเชิงวิเคราะห์

2. การบริหารงานบุคคลและบริหารองค์กร อาทิ

- การพัฒนาบุคลากร

- การสร้างขวัญและกำลังใจแก่บุคลากร

- การสร้างประสิทธิภาพและประสิทธิผลให้องค์กร

3. การนำ การบริหารองค์กรสู่ความเป็นเลิศ

4. การนำแนวคิดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.ต มาเป็นหลักคิดในการทำงาน

สรุป การคิดเป็นทำเป็นแก้ปัญหาเป็นรู้จักคิดเชิงวิเคราะห์เป็นการสร้างประสิทธิภาพให้องค์กร การบริหารงานบุคคลในองค์กร ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

ดร.เฉลิมพล เกิดมณี

1. แนวคิดการทำงานในยุคโลการภิวัตน์ คุณภาพชีวติกับนวัตกรรมและเทคโนโลยี

2. กลยุทธ์การสร้างและบริหารทีมงาน การกำหนดบทบาทให้ความสำคัญกับทีมงาน การเปลี่ยนแบบเพื่อความสำเร็จของทีมงานการบริหารบุคคลโดยใช้ความสุขภาพจัดคนทำงานให้เหมาะสมความรู้ความสามารถ เพื่อขับเคลื่อน

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้

1. การเรียนรู้ การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้

2. แนวคิดในการทำงานให้สำเร็จ

3. การสร้างทีมงาน

4. การเปลี่ยนแปลงของอาชีวะในทางที่ดี

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้

1. แนวคิดในการพัฒนาองค์กร

2. ทรัพยารกที่สำคัญที่สุดในองค์กรคือทรัพยากรมนุษย์

3. แนวคิดในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

4. แนวคิดในการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กร

5. คุณธรรม จริยธรรมในการบริหารองค์กร

6. การบริหารธุรกิจไม่ใช้เพื่อมุ่งเป็นผลกำไรเพียงอย่างเดียว แต่ต้องทำเพื่อลูกค้าและบุคลากรขององค์กรด้วย

7. ปัญหาขององค์กรโดยเฉพาะภาครัฐคือการตัดสินใจจะต้องมอบอำนาจและการกระจายอำนาจในองค์กรขนาดใหญ่

8. วัฒนธรรม การเรียนรู้ขององค์กร

เพิ่มสุข นิติสิงห์

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้

1. จากการบรรยายของท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

- ทฤษฎีที่สำคัญของการเรียนรู้ประยุกต์ใช้กับการทำงานของอาชีวศึกษา HR Architecture

- โลกาภิวัตน์และผลกระทบ

- หลักของพระเจ้าอยู่หัว รวมถึงแนวคิดกับ 6 หลักการของ

พระองค์ท่านทฤษฎี 4L’s

2. จากการบรรยายของท่าน ดร.เฉลิมพล เกิดมณี รวมถึงกิจกรรมกลุ่ม เรื่อง

- โลกาภิวัตน์ เทคโนโลยีและผลกระทบต่อการทำงานของอาชีวศึกษา

- กลยุทธ์การสร้างและบริหารทีมงานเพื่อประสิทธิภาพ

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้

1. แนวคิด

2. วิสัยทัศน์

3. กติกามารยาท

4. ยุทธศาสตร์การเรียนรู้

5. เทคนิคการบริหาร

6. ความกระตือรือร้น

7. การปรับปรุงคุณภาพงาน

8. คุณภาพในการทำงาน

พิสิทธิ์ พัฒนาอนุสรณ์

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้

ดร.เฉลิมพล เกิดมณี

1. การพัฒนาที่ยั่งยืน ประกอบด้วย เทคโนโลยี ทรัพยากร คุณภาพมนุษย์

2. คุณภาพบุคลากรขึ้นอยู่กับกระบวนการพัฒนาตั้งแต่ลดต้นทุน คุณภาพ สร้าง Brand นวัตกรรม Emotion

3. การคัดเลือกคนเข้าทำงานโดยคำนึงถึงคุณลักษณะซึ่งดูได้จากบุคลิกภาพของคนภายใต้ ดูคนออก บอกคบได้ ใช้คนเป็น เล่นตามบท

4. กระบวนการคิดเชิงกลยุท์ การคิดเชิงนวัตกรรม อุปสรรคของการคิดเชิงนวัตกรรม

5. การสร้างทีม บริหารทีมงาน ตั้งแต่การเปิดใจ การยอมรับในความแตกต่าง การสื่อสาร บอกได้ รับได้ ทำเป็น กล้าคิด ให้โอกาส

6. การจัดความสำคัญ ตามเป้าหมาย แยกได้ อะไรสำคัญ อะไรด่วน สร้างความทักทายส่งเสริมบรรยากาศมิตรภาพในทีม

ศ.ดร.จีระ หงส์ดลารมภ์

ทฤษฎีสำคัญของการเรียนรู้ ประยุกต์ใช้กับการทำงานของอาชีวศึกษา “คน” เป็นทรัพยากรที่มีความเด่นที่สุดขององค์กร การจะได้คนมาทำงานกับเราอย่างมีความสุขควรดำเนินการอย่างไร

1. สร้างปรับกฎการทำงาน บนพื้นฐานของความเชื่อความศรัทธา

2. การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งภาษา ITC

3. การปรับเปลี่ยนความคิด พฤติกรรมในการทำงาน โดยคำนึงถึงความหลากหลายวิธีตามบทบาทนั้น ๆ บนความรู้สึกว่าทุกคนมีคุณค่าของตัวของเขาเอง

4. การสร้างความผูกพัน สร้างบรรยากาศของการทำงาน ให้ทุกคนมีความรู้สึกว่าเขาเน้นส่วนหนึ่งขององค์กร

5. สร้างคุณธรรม จริยธรรม ธรรมเนียม โดยเฉพาะผู้นำ

ว่าที่พันตรี วาฑิต พิมพะนิตย์

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้

1. แนวคิดในการบริหารงานบุคคล ตามแนวคิดตามทฤษฎีต่าง ๆ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในสถานศึกษา ให้พัฒนายิ่งขึ้น

2. การสร้างทีมงานให้มีประสิทธิภาพ

3. แนวทางในการเลือกคนให้เหมาะสมกับงานตามความสามารถทำให้ทราบจุดอ่อน จุดแข็ง ของตนเอง

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้

1. ทฤษฎีของการเรียนรู้ เพื่อประยุกต์ใช้กับการทำงาน

2. หลักการทำงานของพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งนำมาใช้ในการทำงาน

3. องค์กรแห่งการเรียนรู้

4. ความสำคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

5. การอยู่ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในยุคกระแสโลกาภิวัตน์

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้

1. ทรัพยากรที่สำคัญที่สุด คือ มนุษย์

2. การพัฒนาเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต้องทำอย่างต่อเนื่อง ต่อเนื่องและต่อเนื่อง

3. การบริหารที่มีประสิทธิผล ต้องเกิดจากภายในสู่ภายนอกเรียนรู้กันด้วยความสัมพันธ์อันดี พร้อมด้วยการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้

หลักสูตรในการฝึกอบรมเนื้อหาพอสังเขป

1. แนวคิดในการทำงาน ทฤษฎีการทำงาน หลักการทำงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

2. การทำงานกลุ่มการประเมินผล และบุคลิกภาพของคน

3. กระบวนการคิดเชิงกลยุทธ์

4. Mind set

5. การสร้างและการบริหารทีมงาน

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้

1. ทรัพยากรมนุษย์สำคัญที่สุด

2. เทคโนโลยี นวัตกรรม เป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการเปลี่ยนแปลงคน

สุวัฒน์ชัย ศรีสุพัฒนะกุล

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้

1. ทรัพยากรมนุษย์เป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุด

2. เทคโนโลยีนวัตกรรมมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลง

3. กลยุทธ์การสร้างทีมงาน

สุคนธ์ นาเมืองรักษี

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้

1. แนวคิดในการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมในการทำงานของครูให้รักองค์กร มองลูกศิษย์สำคัญที่สุด

2. การสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ของครู นศ.ใน วท.สุวรรณภูมิ ให้ได้ รู้ข้ามศาสตร์

3. การสื่อสารระหว่างบุคลากรในวิทยาลัยให้มีความเข้าใจในวิสัยทัศน์และการทำงานให้ตรงกัน

4. การศึกษาบุคลิกภาพของคนและแนวทางการสร้างทีมงาน

อุดมภูเบศวร์ สมบูรณ์เรก์

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้

1. การให้ความสำคัญกับบุคลากรในสถานศึกษา ปรับเปลี่ยนวิธีคิดและทัศนคติต่อการทำงานของบุคลากรทุกฝ่าย มองที่ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เพื่อดึงความสามารถของแต่ละบุคคลให้เกิดประโยชน์มากที่สุด

2. มองภาพการเปลี่ยนแปลงของโลกาภิวัตน์ต่อกระบวนการจัดการศึกษาด้านวิชาชีพ ทำให้สามารถวางแผนการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง

3. กระบวนการสร้างทีมงานและกลยุทธ์กรบริหารทีมงานที่ประสบความสำเร็จ

วุฒิพงษ์ วงศ์สุวรรณ

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้

ภาคเช้า ได้รับความรู้ในเรื่องของทฤษฎี หลักคิดในการทำงาน การพัฒนาองค์กรในด้านต่าง ๆ โดยเน้นที่การพัฒนาคนเป็นหลัก และเรื่องของการเปลี่ยนแปลงของโลกจำต้องนำมาประยุกต์ใช้ในการทำงานจัดการในสถานศึกษาเพื่อให้เกิดคุณภาพและความยั่งยืนในโลกของการแข่งขัน

ภาคบ่าย โลกาภิวัตน์ เทคโนโลยีและผลกระทบต่อการทำงานของอาชีวศึกษาในเรื่องต่าง ๆ เช่นเรื่องของเทคโนโลยี ทรัพยากรและคุณภาพของมนุษย์ ข้อคิดในการแก้ปัญหาในลักษณะต่าง ๆ เพื่อให้เข้ากับหน้าที่ / ภาระงาน

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้

1. การสร้างผู้นำอาชีวศึกษาแบบใหม่

2. การบริหารต้องมองที่ภาพใหญ่ จาก Macro ไปสู่ Micro

3. เรื่องการให้ความรู้เรื่องของโลกาภิวัตน์

4. การสร้างความเป็นผู้นำ

5. บทเรียนและภูมิหลังของวิทยากรจะนำไปสู่การบริหารงาน – คนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้

1. หลักการบริหารโครงการ

2. โอกาสในการทำ Project

3. ความจากทฤษฎีของการเรียนรู้ ประยุกต์ใช้กับการทำงานบริหารงานของอาชีวศึกษา

4. การทำงานยุคใหม่

5. การใช้ทรัพยากรมนุษย์ทั้งภายในสถานศึกษาและภายนอก (ชุมชน)

6. การกระทบกับทรัพยากรองค์กรทั้งภายนอกและภายในต่อเรา

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้

1. กลยุทธ์และแนวทางการสร้างการบริหารทีมงานแบบประสิทธิภาพ

2. กลยุทธ์บริหารแบบ IQ EQ และ SQ

3. การจัดคู่กับบุคลากรของเราเข้ากับงานในการปฏิบัติงาน

4. การสื่อสาร

5. การสร้างทีมงานที่ประสบความสำเร็จ

6. การจัดลำดับความสำคัญของการบริหารงาน

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้

1. ทฤษฎีที่สำคัญของการเรียนรู้ประยุกต์ใช้กับการทำงานของอาชีวศึกษา

- การพัฒนาบุคลากร

- การสร้างวัฒนธรรมองค์กร

- การสร้างความสัมพันธ์กับองค์กร

2. การสร้างผู้นำอาชีวศึกษาแบบเดิมและ Ram Charan

- คุณธรรมจริยธรรมของผู้บริหาร

- การนำเทคโนโลยีการบริหารงานองค์กร

- การพัฒนาผู้นำองค์กร

3. โลกาภิวัตน์ เทคโนโลยีและผลกระทบต่อการทำงาน และกลยุทธ์การสร้างทีมงาน

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้

ภาคเช้า การเป็นผู้นำ วิธีคิด วิธีบริหารจัดการ และทฤษฎีต่าง ๆ ในการบริหาร

ภาคบ่าย โลกาภิวัตน์ เทคโนโลยี และผลกระทบต่อการทำงานของอาชีวศึกษา แนวคิดแบบวิทยาศาสตร์ เพื่อประยุกต์กับการบริหารงานในสถานศึกษา

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้

1.มุมมองเรื่องของการเรียนรู้เพื่อนำไปใช้กับการทำงานของสถานศึกษา อาชีวศึกษา ทฤษฎี 4 L’s และทฤษฎี 2 R’s

2. หลักของการทำงานและดำรงชีวิตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่ชัดเจนยิ่งขึ้น

3. การใช้วิทย์ฯ และเทคโนโลยีประกอบการเรียน การสอนและการพัฒนาอาชีวศึกษา

4. กลยุทธ์การสร้างและการบริหารทีมงานเพื่อประสิทธภาพในการพัฒนาคน (นศ.) ทฤษฎี 4 Qs

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้

-แนวคิดในการพัฒนาองค์กร

-การบริหารองค์กรโดยการกระจายอำนาจ โดยการมอบอำนาจอย่างจริงจัง

-การสื่อสารในองค์กร

-วิธีการสร้างมูลค่าเพิ่ม ให้กับบุคลากร

-การคิดนอกกรอบ (เชิงวิเคราะห์)

-การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ – คน

-ทำอย่างไรจึงจะประสบผลสำเร็จในการทำงาน

-การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้

-การทำงานเป็นทีม

-ในองค์กรของการทำงาน จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้

1.มุมมองเรื่องของการเรียนรู้เพื่อนำไปใช้กับการทำงานของสถานศึกษา อาชีวศึกษา ทฤษฎี 4 L’s และทฤษฎี 2 R’s

2. หลักของการทำงานและดำรงชีวิตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่ชัดเจนยิ่งขึ้น

3. การใช้วิทย์ฯ และเทคโนโลยีประกอบการเรียน การสอนและการพัฒนาอาชีวศึกษา

4. กลยุทธ์การสร้างและการบริหารทีมงานเพื่อประสิทธภาพในการพัฒนาคน (นศ.) ทฤษฎี 4 Qs

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้

- แนวคิดในการพัฒนาองค์กร “คน”

- วัฒนธรรมการเรียนรู้

- การเปลี่ยนแปลงของโลก โลกาภิวัตน์

- การทำงานเป็นทีม

- การสื่อสาร Communication ระดับชาติ

- การบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามทฤษฎี HRDS

- การสร้างสวัสดิการ และขวัญกำลังใจ

- เทคโนโลยีและผลกระทบ

- การพัฒนาที่ยั่งยืน

- กระบวนการคิดเชิงกลยุทธ์

ศิริวัฒน์ สมใจเพ็ง

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้

1. ได้ Concept ในคำว่า Project และคำว่า Change คน ต้องมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และต้องเปลี่ยนไปในเชิงบวก

2. ต้องมีความเชื่อว่าคนมีความสามารถ และจะทำอย่างไรที่จะให้ “คน” ได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

3. ในฐานะที่เป็นผู้นำ ต้องปรับเปลี่ยนตัวเราก่อนในบางเรื่องให้เข้ากับสถานการณ์การบริหารของเรา

4. ในแนวคิดในการนำ ICT มาประยุกต์ในการบริหารการตัดสินใจ

5. ลักษณะการคิดเชิงบริหารโดยใช้หลักความต่างและความเหมือน โดยมี 4 Qs เป็นตัวพิจารณาประกอบ โดยมี เหตุ และผลพิจารณาแยกแยะ

พูลจิตร์ สุคนธปฏิภาค

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้

ทรัพยากรที่สำคัญคือคน และการพัฒนาคนต้องศึกษาโลกาภิวัตน์ว่ามีผลกระทบอะไรบ้าง การสร้างความสามารถในการแข่งขัน การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การเติบโตอย่างยั่งยืน การสร้างวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ การศึกษาสภาพแวดล้อมภายในและภายนอก และวิธีคิด 4 แนว รู้รักสามัคคี 6 หลักการในการทำงาน ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทฤษฎี 4 L’s ทฤษฎี 2R’s เป็นต้น

ความเข้าใจโลกาภิวัตน์เทคโนโลยี ผลกระทบการเตรียมพร้อมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง การขับเคลื่อนผลงานที่เป็นเลิศ การพัฒนาที่ยั่งยืน การเรียนรู้พฤติกรรมมนุษย์ และการสร้างทีมงาน การบริหารทีมงานให้มีประสิทธิภาพ เป็นต้น

กาญจนสิทธิ์ กุลวงศ์

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้

กระบวนการคิดเรื่องการเปลี่ยนแปลง

- งานในองค์กร ยิ่งพัฒนายิ่งมีคุณค่า (คุณภาพงาน)

- เครื่องมือ – เครื่องจักร ยิ่งอยู่นาน ราคายิ่งตกต่ำ (คุณภาพทรัพย์สิน)

- คน (บุคลากรในองค์กร) ยิ่งอยู่นานยิ่งมีราคาสูง (คุณภาพคน)

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้

1. ความเข้าใจและความสำคัญเกี่ยวกับทรัพยากรมนุษย์ : คน (ทรัพยากรมนุษย์เป็นรากฐานสำคัญของสังคมทุกระดับ)

2. การบริหารทรัพยากรมนุษย์ โดยทฤษฎี HRDS

3. ได้ – ได้รับการกระตุ้นให้เกิดพลังในการทำงานจาก ดร.จีระ

- ได้ความมั่นใจ ได้หลักคิดและหลักในการทำงาน

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้

ในวันนี้ข้าพเจ้าได้เรียนรุ้จาก ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบันที่ผู้บริหารจำเป็นจะต้อง รู้เรื่องรอบตัวที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเศรษฐกิจ และสังคมที่มีผลกระทบต่อการอาชีวศึกษา และเรื่องของทรัพยากรบุคคล ที่เป็นสิ่งสำคัญที่สุด เพราะคุณจะเป็นผู้ปฏิบัติและกระทำให้งานสำเร็จ

สำหรับเรื่องที่ได้รับจาก ดร.เฉลิมพล เกิดมณี ที่ชี้ให้เห็นช่วงเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลง ที่เป็นส่วนผลักดันให้เราต้องก้าวให้ทันและมีการเปลี่ยนแปลงความคิดและคิดค้นนวัตกรรมเพ่อนำมาใช้

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้

1. การเปลี่ยนของโลกในยุคโลกาภิวัตน์ องค์กรต่าง ๆ ต้องมีการแข่งขันกันทั้งในเรื่องปริมาณและคุณภาพ ดังนั้นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญมากที่สุดคือเรื่องของคน

2. องค์กรทุกองค์กรต้องพัฒนาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ และมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

3. เข้าใจเรื่องของคนในองค์กร ว่ามีความแตกต่างและวิธีการสร้างทีมงานอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้

1. ปฐมนิเทศ และทฤษฎีสำคัญ ของการเรียนรู้ HR Architecture , Macro ไปสู่ Micro ,โลกาภิวัตน์ วิธีคิด 4 แนวของพระเจ้าอยู่หัวฯ หลักในการทำงานของพระเจ้าอยู่หัวฯ ทฤษฎี 4 L’s กฎของ Peter Senge ทฤษฎี 2 R’s 7 Habits for Highly Effective People 8K’s ทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการ วิธีการเรียน Learning Methodology

2. โลกาภิวัตน์ เทคโนโลยี – กลยุทธ์การสร้างและบริหารทีมงาน (ดร.เฉลิมพล เกิดมณี) – โลกาภิวัตน์ วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี Environment การพัฒนาที่ยั่งยืน สมองซีกซ้าย – ขวา 4 Qs บุคลิกภาพคน กระบวนการคิดเชิงกลยุทธ์ นวัตกรรม การสื่อสาร กลยุทธ์การสร้างทีมงาน วิสัยทัศน์

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้

ภาคเช้า 1. รู้เรื่องทฤษฎีการบริหารจัดการอาชีวศึกษา

2. รู้เรื่องการบริหารจัดการบุคลากร

3. รู้เรื่ององค์กรแห่งกาเรียนรู้

ภาคบ่าย 1. รู้เรื่อง กระบวนการคิดเชิงกลยุทธ์

2. รู้เรื่อง การคิดเชิงนวัตกรรม

3. เข้าใจเรื่องการบริหารทีมงาน

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้

จาก ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ การให้ความสำคัญกับคำว่าคน เพราะคำว่าคนไม่จำเป็นต้องจบปริญญา ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญกับคน ผู้บริหารเป็นผุ้นำในองค์กร การบริหารจะประสบความสำเร็จ ต้องมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น ผู้บริหารต้องมีการพัฒนาองค์กรอยู่ตลอดเวลา

จาก ดร.เฉลิมพล เกิดมณี โลกาภิวัตน์ กับการเปลี่ยนแปลงของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การให้อยู่อย่างฉลาดในสังคม การบริหารงานที่ดี การนำปัญหาเล็ก ๆ มาบริหารไปจนถึงปัญหาใหญ่ๆ กับการพัฒนาเทคโนโลยี ทรัพยากร คุณภาพของมนุษย์ การพัฒนาองค์กรต้องมีการปรับเปลี่ยนทุกแห่ง

เศรษฐศิษฏ์ ณุรงค์ศรี

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้

- ได้แนวคิดในการบำรุงรักษาคนในองค์กร

- ทรัพยากรที่สำคัญคือคน เพราะคนคือผู้สร้างและคนคือผู้ทำลาย

- การอยู่ร่วมกัน การทำกิจกรรมร่วมกัน สู่แนวทางของคนสำเร็จ

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้

1. การพัฒนาคนเป็นสิ่งสำคัญ โดยมีกระบวนการดังนี้

- สร้างปรัชญาและความเชื่อในองค์กร

- การบริหารงานบุคคล

- การสร้างทุนมนุษย์

- การเพิ่มมูลค่าบุคคล

2. การพัฒนาองค์กร

- พัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งกาเรียนรู้

- ผู้บริหารต้องเป็นแบบอย่างในการพัฒนาองค์กร

จากอาจารย์ กุศยา เรียนรู้เทคโนโลยีการเงิน ที่จำเป็นต่อการเปลี่ยนแปลง

พิสิทธิ์ พัฒนาอนุสรณ์

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้

จากอาจารย์กุศยา

- แนวคิดเพื่อการบริหารการเงิน รวดเร็ว ถูกต้อง งอกเงย ตามความเป็นจริงตามสถานะ

- การวางแผน การบริหารเงินอย่างมีประสิทธิภาพ ให้มีความเสี่ยงน้อยที่สุด แต่ประโยชน์สูงสุด ภายใต้ทรัพยากรที่เรามีอยู่

- การวางแผนกลยุทธ์ ให้สอดคล้อง สอดรับกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ การวิเคราะห์ สภาพแวดล้อมภายใน ภายนอก ที่มีผลกระทบต่อการใช้งบประมาณ

ท่านอาจารย์(ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์)ที่เคารพอย่างสูง

ผมเดินทางกลับถึงบ้านที่พิจิตรด้วยความเรียบร้อยและรีบเขียนส่งข่าวถึงท่าน

อาจารย์ทันทีครับ ขณะนั่งรถกลับได้คุยกับ ผอ.มณู ค้มกล่ำ วก.บรรพตพิสัย

นครสวรรณ์ ถึงช่วงเวลาที่ได้เรียนรู้จากท่านอาจารย์ตลอดทาง... ว่าช่างโชคดี

และโอกาสดีที่ได้รับการปลุกสติจากท่านอาจารย์เกี่ยวกับทรัพยากรณ์มนุษย์ทำให้

ผมคงต้องรีบดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทุนมนุษย์ในสถานศึกษา ซึ่ง

ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญแห่งความสำเร็จของสถานศึกษา....และคงจะต้องมีเรื่อง

ปรึกษาท่านอาจารย์ เกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากรในโอกาสต่อไปนะครับ..

ขอขอบคุณท่านอาจารย์แทนผู้เข้าอบรมและแทนคนไทยทุกคนที่มีนักพัฒนา

ทรัพยากรณ์มนุษย์พันธุ์แท้อย่างท่านอาจารย์ หากมีสิ่งใดให้ผมได้รับใช้อาจารย์..

ผมจะถือเป็นเกียรติอย่างยิ่ง...

ณรงค์ สมบัติใหม่

วิทยาลัเทคนิคพิจิตร

ผอ.สุวัฒน์ชัย ศรีสุพัฒนะกุล

สวัสดีดีครับอาจารย์ ศ.ดร.จีระที่เคารพ

ผมเข้าอบรมรุ่นแรกแต่เพิ่งจะ Blog ก็เห้นเป็นแหล่งเรียนรู้ได้เป็นอย่างดีและผมคิดว่าผมคงจะต้องเรียนรู้อยู่ตลอดเวลาตามที่อาจารย์ได้แนะนำ อาจารย์ผมได้หรือเปล่าผมอยู่ที่วิทยาลัยการอาชีพนครไทยครับ ผมต้องขอขอคุณอาจารย์ที่ให้ความรู้ผมอย่างมากมาย ตอนนี้ผมก็ต้องมาอบรมอยู่ที่กรุงเทพตั้งแต่ 23 ก.ย. 51 เลยไม่ได้มีโอกาสไปดูแลอาจารย์ เรื่องที่ผมอบรมก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับการบริหางานในเรื่องกระบวนการวิเคราะห์ปัญหาและกระบวนการตัดสินใจครับ วันนี้ขออนุญาตเพียงแค่ครับวันหลังมีโอกาสจะเข้ามาขอความรู้จากอาจารย์ครับขอบคุณครับ

ประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนปฏิบัติการแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552

ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวิทยา ชิณโย

ระว่างวันที่ 23 - 24 กันยายน 2551

ผอ.นายวิทยา ชิณโย วิทยาลัยการอาชีพพยัคฆภูมิพิสัย

ประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนปฏิบัติการแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552

ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวิทยา ชิณโย

ระหว่างวันที่ 23 - 24 กันยายน 2551

วิทยาลัยการอาชีพพยัคฆภูมิพิสัย เป็นสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา จัดการเรียนการสอนในระดับ ปวช. ปวส. ในประเภทวิชาอุตสาหกรรม พาณิชยการ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องจัดทำปฏิบัติราชการ 4 ปี และแผนปฏิบัติการประจำปี พ.ศ.2552 ตามระบบงบประมาณแบบมุ้งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์โดยยึดแนวการทำงานแบบมีส่วนร่วมของบุคลากร ทุกฝ่ายในสถานศึกษาและเครือข่ายภายนอกสถานศึกษา เพื่อให้การบริหารจัดการสถานศึกษาดำเนินการด้วยความเรียบร้อยเกิดผลสัมฤทธิ์สูงสุด ดังนั้นเพื่อสร้างความเข้าใจและให้บุคลากรทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552 ตามระบบงบประมาณแบบมุ้งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ วิทยาลัยการอาชีพพยัคฆภูมิพิสัยจึงจัดประชุมเชิงปฏิบัติการแบบ " SPBB " ประจำปีงบประมาณ 2552

ถึงลูกศิษย์ รุ่น 1 และรุ่น 2 อาชีวะทุกท่าน

            ผมมีโอกาสได้ไปพบ ท่านเลขาเฉลียว และได้คุยกันกว่า 2 ชั่วโมงโดยการเชิญจากประธาน รุ่นที่ 2 ผ.อ.พิศ โนรี และประธานรุ่นที่ 1 ผ.อ.เด่นดวง คำตรง  มาร่วมด้วย งานเรื่องคน ต้องทำต่อ และต้องทำให้ดี

            วันนี้ผมมาที่ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อเป็นการอุ่นเครื่อง ก่อนที่ อาชีวะ รุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 จะมาในประมาณเดือนพฤศจิกายนนี้ จากการเชิญของคณะเศรษฐศาสตร์ พูดให้กับนักศึกษาปริญญาโท หัวข้อ ทรัพยากรมนุษย์กับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย  ให้กับนักศึกษาประมาณ 63 คนด้วยครับ

                          จีระ  หงส์ลดารมภ์

ดรุณี ญาณวัฒนา (อาชีวศึกษารุ่น 1)

ส่งการบ้าน

หัวข้อเรื่องที่จะจัดทำวิจัย เรื่อง การพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงานของครู โดยใช้ ICT เป็นเครื่องมือในการกำกับติดตามนิเทศและประเมินผลของวิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี

นายสหรัฐ สีมานนท์

ส่งการบ้าน

หัวข้อวิจัย

เรื่องศึกษาศักยภาพการพัฒนาองค์กรสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้วิทยาลัยสารพัดช่าง

เพชรบูรณ์

วัตถุประสงค์

1.เพื่อศึกษาการรับรู้ศักยภาพในการพัฒนาไปสู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของบุคลากรวิทยาลัยสารพัดช่างเพชรบูรณ์

2. เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของวิทยาลัยสารพัดช่างเพชรบูรณ์

3. เพื่อนำไปสู่การพัฒนาวิทยาลัยให้เป็นองค์แห่งการเรียนรู้ที่ยั่งยืน

กรอบแนวคิด

องค์กรแห่งการเรียนรู้ตาม องค์ประกอบ 5 ประการ

ของ Michael J. Marquardt

กลุ่มตัวอย่าง

ผู้บริหาร ครู และเจ้าหน้าที่ทุกคนในสถานศึกษา

ส่งงาน ครับ

หัวข้องานวิจัย

ชื่อเรื่อง บทบาทของครูที่ปรึกษาตามความคิดเห็นของครูที่ปรึกษาและนักเรียน นักศึกษา ของวิทยาลัยเทคนิคสระแก้ว

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ

1. การศึกษาความคิดเห็นของครูที่ปรึกษามีต่อบทบาทหน้าที่ของครูที่ปรึกษาใน 4 ด้าน คือ ด้านการแนะนำและการให้คำปรึกษา ด้านการพัฒนานักเรียน ด้านการมีปฏิสัมพันธ์กับนักเรียน นักศึกษาและด้านการให้ความช่วยเหลือและประสานงานกับนักเรียน นักศึกษา

2. ศึกษาความต้องการของนักเรียน นักศึกษาที่มีต่อบทบาทของครูที่ปรึกษาใน 4 ด้านฯ

3. เปรียบเทียบความคิดเห็นของครูและนักเรียน นักศึกษาต่อบทบาทของครูที่ปรึกษาตามสถานภาพของครูที่มีต่อบทบาทของครูที่ปรึกษาโดยรวม 4 ด้าน

4. เปรียบเทียบความคิดเห็นของนักเรียน นักศึกษาที่มีบทบาทของครูที่ปรึกษาโดยรวมและเป็นรายด้าน จำแนกตามระดับชั้น ปวช. หรือ ปวส.

5. ศึกษาปัญหาในการปฏิบัติหน้าที่อาจารย์ที่ปรึกษาตามความคิดเห็นของครูที่ปรึกษาและปัญหาในการเข้ารับการให้คำปรึกษาตามความคิดเห็นของนักเรียน นักศึกษา

ขอบเขตการวิจัย

1. การวิจัยครั้งนี้ศึกษาบทบาทของครูที่ปรึกษาในวิทยาลัยเทคนิคสระแก้ว

2. ประชากรที่ใช้ ครูที่ปรึกษา 80 คน ในวิทยาลัยเทคนิคสระแก้ว

นายเสรี เมืองสง

สวัสดีครับ อาจารย์ ศ.ดร.จีระ ที่เคารพ

ในช่วง 1 เดือนที่ผมได้เข้าอบรมในรุ่นที่ 1 ได้นำความรู้ที่ได้มาพัฒนา "คน" ในองค์กร โดยจัดอบรมดังนี้

1. โครงการจัดอบรมความรู้คอมพิวเตอร์ด้าน E-Learning ด้วยโปรแกรม Moodel ระหว่างวันที่ 30 กันยายน ถึง 2 ตุลาคม 2551 เป็นระยะเวลาจำนวน 3วัน

2. โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ 4 ปีและแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2552 ระหว่างวันที่ 6-7 ตุลาคม 2551 เป็นระยะเวลา 2 วัน

3. โครงการอบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากรสู่การประกันคุณภาพ ประจำปีการศึกษา 2551 ระหว่างวันที่ 8-9 ตุลาคม 2551 เป็นระยะเวลา 2 วัน

อดิพล ไผ่แสวง

วิทยาลัยการอาชีพเกษตรวิสัย

เรียนท่าน ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และท่านผู้บริหารที่เข้าร่วมโครงการทุกท่าน

1.วันนี้ได้มีโอกาสเปิดBlog ได้เห็นความคืบหน้าของผู้บริหารที่ได้มีการติดต่อทาง Blog แล้ว รู้สึกดีใจที่ผู้บริหารได้ร่วมแสดงความคิดเห็นและส่งการบ้านให้ท่านอาจารย์ สำหรับความคืบหน้าในการพบกันครั้งต่อไป ทาง สสอ.กำลังรอการจัดสรรงบประมาณจาก สอศ.ให้ชัดเจนก่อน และจะแจ้งกำหนดการให้ทราบต่อไป ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นช่วงธันวาคม 2551

2.ขอประชาสัมพันธ์ให้กับ ผอ.ทุกท่าน คือข้อมูลสรุปการบรรยายของ รมว.ศธ. และผู้บริหารระดับสูงของ สอศ.(วันที่15-16 ต.ค. 2551 ณ โรงแรมเอเชีย แอร์พอร์ท)ได้ส่งข้อมูลให้ทาง Electronic mailของ Boga ให้ทุกวิทยาลัยแล้ว ส่วน VTR ที่มีการนำเสนอ 2 เรื่อง และข้อมูลสรุปการบรรยายดังกล่าว เมื่อ สสอ.Write เสร็จเรียบร้อยแล้วจะจัดส่งให้กับวิทยาลัยอีกครั้ง

3.ทีมงานของกลุ่มพัฒนานักบริหารฯ ทุกคนยังระลึกถึงบรรยากาศทางวิชาการและการสร้างกิจกรรมสัมพันธ์ที่เขาค้อ และคาดว่าอีกไม่นานจะได้พบบรรยากาศเดิมที่ จ.เชียงใหม่ และจ.เชียงราย

สวัสดีคะ

อนงค์

1. SWOT ของการพัฒนาและบริหาร "คน" ของวิทยาลัยการอาชีพปราสาท

จุดแข็ง คือ ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ บริหารจัดการศึกษาแบบเทียบโอนฯ และทำความร่วมมือด้านวิชาชีพกับสถานประกอบการและ อปท. อย่างได้ผล ครูปฏิบัติหน้าที่ได้หลายหน้าที่ 

จุดอ่อน คือ  ครูมีจำนวนจำกัด  ครูและบุคลากรได้รับการพัฒนาด้านวิชาการน้อยมาก

โอกาส คือ รัฐบาลและสอศ. สังคม ชุมชน และสถานประกอบการให้ความร่วมมือในการพัฒนากำลังคนด้านอาชีวะ

อุปสรรค คือ ภัยคุกคามจากธรรมชาติ และเทคโนโลยี ปัญหาเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง  ส่งผลกระทบให้การพัฒนาคนไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร  งานวิจัยเพื่อพัฒนาคนมีน้อย  คนไร้คุณธรรมไม่สนใจพัฒนาตนเอง

 

วิธีแก้ไขปัญหาเรื่องคน  มีดังนี้

     ผู้บริหารยุคใหม่ควรอาศัยกระบวนการต่างๆ เช่น รู้จักวิเคราะห์งาน  รู้จักออกแบบงาน  มีการวางแผนและพยากรณ์กำลังคน มีวิธีสรรหาบุคคลอย่างเหมาะสม  มีกระบวนการคัดเลือกบุคลากรอย่างรอบคอบ  มีการปฐมนิเทศน์ก่อนการบรรจุเข้าทำงาน  ให้สวัสดิการแก่บุคคล  ส่งเสริมสนับสนุนการอบรมพัฒนาคน  มีวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงาน  จากกระบวนการดังกล่าวสามารถใช้กลยุทธในการทำกิจกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องคนหลายประการ  เช่น  มีการวิเคราะห์ SWOT จัดทำแผนพัฒนาบุคลากร  แร่งรัดและพัฒนาระบบคุณวุฒิวิชาชีพ  พัฒนาครูและบุคลากรให้ได้มาตรฐานครูวิชาชีพ ส่งเสริมครูให้มีการฝึกอบรม ศึกษาดูงาน และศึกษาต่อ  สร้างครูและพัฒนาผู้บริหารให้มีจรรยาบรรณวิชาชีพ  เพิ่มปริมาณครูให้พอเพียง จัดสวัสดิการให้ครู

 

2. หัวข้อวิจัยที่สนใจ

     "การพัฒนาการบริหารจัดการศึกษาแบบเทียบโอนประสบการณ์อาชีพสู่วุฒิวิชาชีพ"  และ  "การส่งเสริมอาชีพแบบบูรณาการตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อแก้ปัญหาความยากจนแบบยั่งยืน"

นายพิสิทธิ์ พัฒนาอนุสรณ์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพกาญจนบุรี

SWOT Analysis

1. จุดแข็ง

1.1 ครูมีคุณวุฒิตามสาขางาน

1.2 ครูได้รับการพัฒนาสม่ำเสมอ (ด้านวิชาชีพ)

1.3 ครูทุกคนมีความสามัคคีในการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมนำเสนอ (หลักธรรมาภิบาล)

1.4 ครูมีความสามารถมากกว่า 1 ด้าน (หลากหลาย) และทำงานเป็นทีม

2. จุดอ่อน

2.1 ครูมีจำนวนไม่เพียงพอ

2.2 ครูได้รับการพัฒนาด้านภาวะการเป็นผู้นำอยู่ในเกณฑ์ต่ำ

2.3 ครูมีภาระงานมากเกินไป

2.4 ครูขาดการเสียสละ

3. โอกาส

3.1 ครูมีการสร้างเครือข่ายกับสถานประกอบการและขุมชนฯ

3.2 วัฒนธรรม ค่านิยม ความเชื่อตัวครู ได้รับการยอมรับจาก ผู้ปกครอง ชุมชน สถานประกอบการ

4. อุปสรรค

4.1 ร้านค้าภายนอกซึ่งติดกับสถานศึกษาขายของมึนเมา สิ่งเสพติด

4.2 กิจกรรมภายนอกสถานศึกษา ที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น ขอตัวครูไปปฏิบัติหน้าที่นอกสถานศึกษาบ่อยครั้ง ทำให้ขาดครูสอน

นายพิสิทธิ์ พัฒนาอนุสรณ์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพกาญจนบุรี

วิธีทางการแก้ไขที่ได้ดำเนินการ

จัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อตอบสนองภารกิจในการแก้ปัญหาจะทำให้เรารู้ทั้งด้านงบประมาณ ครุภัณฑ์ กิจกรรมทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษาและยังตอบสนองนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สังคม ผู้ปกครอง ชุมชน สถานประกอบการ ในขณะเดียวกันยังสามารถพัฒนาบุคลากร สร้างภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร สร้างความผูกพันของบุคลากรต่อองค์กร เช่น

- โครงการศึกษาหลักสูตรเทียบโอนความรู้และประสบการณ์เพื่อคุณวุฒิ ระหว่างวิทยาลัยการอาชีพกาญจนบุรี กับ กองพบทหารช่าง ค่ายบุรฉัตร จังหวัดราชบุรี ซึ่งเป็นโครงการตามนโยบายฯ และเป็นการสร้างภาพลักษณ์ ขีดความสามารถของบุคลากรให้กับบุคคลภายนอกได้รับรู้

- โครงการคุณธรรม จริยธรรม เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักศึกษาให้มีการลดละเลิกสิ่งอบายมุข เพื่อให้ครูมีโอกาสค้นคว้าสิ่งใหม่ ๆ นวัตกรรม มาพัฒนานักศึกษาและตนเองสม่ำเสมอ

- โครงการภาวะผู้นำ เพื่อให้บุคลากรที่มีแวว จะได้รับการพัฒนาเพื่อทดแทนผู้ช่วยผู้บริหาร และผู้บริหารของสถานศึกษาสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาต่อไปในอนาคตเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับครูในสายบริหาร นอกเหนือการปฏิบัติการสอน

- โครงการพัฒนาครูพิเศษ (อัตราจ้าง) เพื่อให้มีประสิทธิภาพสามารถทดแทนครูประจำที่ขาด (ไม่เพียงพอ) ทั้งด้านสายอาชีพ สายสามัญ เพื่อคุณภาพของนักศึกษา จะได้มีทักษะในการปฏิบัติงาน มีคุณลักษณ์อันพึงประสงค์ในการทำงาน

2. หัวข้อวิจัย "การประเมินผลแลลมีส่วนร่วมโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน"

กรณีศึกษา โครงการเลี้ยงสุกรแบบเกษตรธรรมชาติ หรือหมูหลุม

ต............ อ. ............... จ..........

นายสุคนธ์ นาเมืองรักษ์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคสุวรรณภูมิ

เรียน       ศ.ดร.จีระ   หงส์ลดารมภ์   ที่เคารพ

 หลังจากที่ได้ประชุมสัมมนาที่อำเภอเขาค้อแล้ว  ผมได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการให้กับคณะครูและเจ้าหน้าที่ของวิทยาลัย  2 เรื่อง คือ 

      1.  การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้แบบฐานสมรรถนะ เพื่อนำร่องก่อนที่หลักสูตรฐานสมรรถนะของ สอศ. จะประกาศใช้ในปีการศึกษา 2552 มีกรอบแนวคิดให้ครูได้วิเคราะห์คำอธิบายรายวิชา ปรับคำอธิบายรายวิชาเป็นสมรรถนะวิเคราะห์หลักสูตร และจัดทำหน่วยการสอนตลอดภาคเรียน 2/2551 โดยจัดให้มีการนิเทศการสอนหลายรูปแบบตามความต้องการของครู ทั้งนี้ได้ประชุมเชิงปฏิบัติการเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2551 และจะดำเนินการจนกระทั่งสิ้นสุดภาคเรียนที่ 2/2551

      2. จัดทำแผนพัฒนาวิทยาลัยระยะกลาง 3 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2552-2554 และแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2552 โดยใช้กรอบแนวคิดจากการประกันคุณภาพภายในและการประเมินคุณภาพภายนอก โดยวิเคราะห์ SWOT กำหนดกลยุทธ์ และจัดทำโครงการพัฒนาแผนทางวิชาการต่าง ๆ เพื่อเป็นแผนพัฒนาวิทยาลัยต่อไป โดยการประชุเชิงปฏิบัติการในวันที่ 14-16 ตุลาคม 2551

     3. ผมขอเสนอโครงการวิจัยเรื่องการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโดยใช้การนิเทศแบบใหม่ในวิทยาลัยเทคนิคสุวรรณภูมิ  จังหวัดร้อยเอ็ด โดยมีเค้าโครงการวิจัย ดังนี้

 

บทที่ 1

1.  ภูมิหลัง

 วิทยาลัยเทคนิคสุวรรณภูมิ เป็นสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้เปิดทำการเรียนการสอนในปีการศึกษา 2540 จนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2551) ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) จำนวน 8 สาขาวิชา, ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) จำนวน 8 สาขาวิชา มีจำนวนนักศึกษา 996 คน และข้าราชการครูจำนวน 6 คน, ครูพิเศษและพนักงานราชการจำนวน 38 คน ซึ่งจากการรายงาน และสรุปผลการปฏิบัติงาน ประจำปีการศึกษา 2550 พบว่า การจัดการเรียนการสอนของบุคลากรยังขาดประสิทธิภาพ ทั้งนี้เนื่องจากบุคลากรส่วนใหญ่เป็นสาขาวิชาชีพที่ขาดแคลนไม่มีประสบการณ์การสอน ทำให้ขาดเทคนิควิธีการสอน ขาดหลักการวัดและประเมินผลการเรียน ขาดทักษะและประสบการณ์ในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้แบบฐานสมรรถนะ(วิทยาลัยเทคนิคสุวรรณภูมิ.   2551 : 2)  จากการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการของบุคลากรในวิทยาลัยฯ พบบุคลากรขาดความรู้ ความเข้าใจในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้แบบฐานสมรรถนะ (วิทยาลัยเทคนิคสุวรรณภูมิ.   2551 : 3)  ดังนั้นจึงควรมีการพัฒนาให้บุคลากร มีทักษะในการจัดทำแผนการเรียนรู้ เพื่อให้บุคลากรตระหนักถึงความสำคัญของการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ และมีความเข้าใจในการบูรณาการคุณธรรมและจริยธรรม เข้ากับแผนการจัดการเรียนรู้ สามารถจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้แบบฐานสมรรถนะ และนำแผนการจัดการเรียนรู้แบบฐานสมรรถนะไปปฏิบัติการสอนให้เกิดผลได้จริง

                จากเหตุผลดังกล่าวผู้ศึกษาค้นคว้าในฐานะผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคสุวรรณภูมิ เห็นว่ามีความจำเป็นจะต้องพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถและทักษะในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้แบบสมรรถนะ โดยการประชุมเชิงปฏิบัติการและมีการนิเทศภายในที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของบุคลากร เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุดต่อการจัดการศึกษาด้านวิชาชีพเพื่อพัฒนาคน พัฒนาชาติต่อไป

   2.  ความมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า

       เพื่อพัฒนาการบริหารงานวิชาการโดยใช้กระบวนการนิเทศแบบใหม่ ในวิทยาลัยเทคนิคสุวรรณภูมิ  จังหวัดร้อยเอ็ด

 3.  ความสำคัญของการศึกษาค้นคว้า

                 1.  เป็นการพัฒนากระบวนการนิเทศในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้แบบฐานสมรรถนะ วิทยาลัยเทคนิคสุวรรณภูมิ

                2.  เป็นการพัฒนาบุคลากรในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้แบบฐานสมรรถนะวิทยาลัยเทคนิคสุวรรณภูมิ

                3.  เป็นรูปแบบสำหรับวิทยาลัยเทคนิคอื่นๆ ที่สนใจนำไปประยุกต์ใช้ เพื่อพัฒนาการนิเทศต่อไป

 4.  ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า

           1.  กลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาค้นคว้า

                  1.1  ผู้ร่วมศึกษาค้นคว้า (Research Participants จำนวน 44 คน

                  1.2  กลุ่มเป้าหมาย (Tangiest) จำนวน 382 คน ประกอบด้วย

                          1.2.1  นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) จำนวน 236 คน

                          1.2.2  นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) จำนวน 146 คน

           2.  กรอบแนวความคิดในการศึกษาค้นคว้า

                  2.1  นวัตกรรม

                          2.1.1  การประชุมเชิงปฏิบัติการ

                          2.1.2  การนิเทศภายใน

          3.  วิธีการศึกษาค้นคว้า

               การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ใช้วิธีการวิจัยปฏิบัติการ (Action Research) ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือการวางแผน (Planning) การปฏิบัติ (Action) การสังเกตการณ์ (Observation) และการสะท้อนผล (Reflection) ตามแนวคิดของ Kemmis และ McTaggart

          4.  ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า

               การศึกษาค้นคว้าได้ดำเนินการในระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2551 ถึง 20 กุมภาพันธ์ 2552

 

บทที่  2

เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

                 ในการศึกษาการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโดยใช้การนิเทศรูปแบบใหม่ใน วิทยาลัยเทคนิคสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ผู้ศึกษาค้นคว้าได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องดังจะเสนอตามลำดับหัวข้อต่อไปนี้

  1. การนิเทศภายใน
  2. การประชุมเชิงวิชาการ
  3. การพัฒนาบุคลากร
  4. การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้แบบสมรรถนะ
  5. บริบทวิทยาลัยเทคนิคสุวรรณภูมิ
  6. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

          6.1 งานวิจัยในประเทศ                                     

          6.2 งานวิจัยต่างประเทศ

 

บทที่ 3

 วิธีการดำเนินการศึกษาค้นคว้า

                 การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ผู้ศึกษาค้นคว้าได้ดำเนินการตามขั้นตอนในการศึกษาค้นคว้าดังนี้

  1. กลุ่มผู้เกี่ยวข้องกับการศึกษาค้นคว้า
  2. ขั้นตอนดำเนินการศึกษาค้นคว้า
  3. เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
  4. วิธีการสร้าง และการหาคุณภาพของเครื่องมือ
  5. การเก็บรวบรวมข้อมูล
  6. การจัดกระทำและการวิเคราะห์ข้อมูล
  7. การตรวจสอบคุณภาพของข้อมูล

 

การวิเคราะห์ SWOT การพัฒนาและบริหารคนของวิทยาลัยสารพัดช่างสุรินทร์

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

1. จุดแข็ง ( Strength )

1.1 บุคลากรส่วนใหญ่อยู่ในวัยหนุ่มสาวมีพลังพร้อมที่จะพัฒนาการทำงาน

1.2 วุฒิทางการศึกษาอยู่ในระดับ ปริญญาตรีและปริญญาโท

1.3 จำนวนบุคลากร มีความเหมาะสมกับขนาดขององค์กร

1.4 มีวุฒิทางการศึกษาตรงกับสาขางาน

2. จุดอ่อน ( Wearkness )

2.1 บุคลากรขาดการทำงานเป็นทีม

2.2 ขาดความเข้าใจในระบบการทำงาน รอรับคำสั่งขาดการคิดในเชิงสร้างสรรค์

2.3 บุคลากรส่วนใหญ่เป็นครูอัตราจ้าง เกิดความรู้สึกไม่มั่นคงในอาชีพ

2.4 แบ่งพรรคแบ่งพวกขาดการประสานสามัคคี

2.5 ทีมผู้บริหารขาดการประสานงานในเชิงระบบ แบ่งแยกกลุ่มคนในการทำงาน

2.6 เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม

3. โอกาส ( Opportunities )

3.1 สร้างกระบวนการทำงานในเชิงระบบ จัดกระบวนการฝึกอบรม

3.2 พัฒนาคุณภาพทางด้านวิชาชีพ

3.3 บริหารงานภายใต้ความขัดแย้งและปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์

3.4 พัฒนาศักยภาพความเป็นผู้นำของบุคลากรในองค์กร

4. อุปสรรค ( Threat )

4.1 บุคลากรไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง

4.2 ยึดติดกับกรอบและแนวปฏิบัติดั้งเดิม ( ทำงานโดยรอคำสั่ง, ขาดความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์)

ปัญหาที่พบนั้นศึกษาได้จากการวิเคราะห์ SWOT ในส่วนที่เป็นจุดอ่อนและเป็นอุปสรรคในการพัฒนาบุคลากรภายในองค์กร ซึ่งวิธีการแก้ไขปัญหาหรือทางออกที่เป็นไปได้นั้นได้สรุปออกเป็นกิจกรรม ดังต่อไปนี้คือ

1. การจัดกิจกรรมการพัฒนาองค์กร ( Organizational Development : OD ) การจัดองค์การแห่งการเรียนรู้ ( Learnning Organization : LO ) เชิญวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญและชำนาญเฉพาะด้าน มาทำหน้าที่โดยวิทยาลัยจัดเป็นโครงการฝึกอบรมให้กับบุคลากร เพื่อปรับเปลี่ยนแนวความคิดใหม่ ซึ่งจะส่งผลต่อการทำงานและเกิดการพัฒนางานเชิงบวก ในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการให้อภัยซึ่งกันและกัน การประสานสามัคคี และลดความขัดแย้ง ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม

2. พัฒนาและฝึกอบรมการทำงานเชิงระบบ ( System Approch )โดยการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ( Balance Scorecard :BSC )การอบรม Mild Map อบรมวางแผนการทำงาน ( Planning System ) และการอบรมภาวะความเป็นผู้นำ ( Leardership )

3. การสร้างขวัญกำลังใจ มีกิจกรรมที่สอดคล้องในการสร้างขวัญกำลังใจหลายด้านไม่ว่าจะเป็นการศึกษาดูงานนอกสถานที่ การจัดกิจกรรมและให้คำชมเชย ให้การสนับสนุนบุคลากรในการพัฒนาวิชาชีพ

หัวข้อวิจัยที่สนใจและเป็นประโยชน์ต่อการทำงานในองค์กรและอาชีวศึกษาในอนาคต เรื่อง รูปแบบของการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมโดยนำหลักการเรียนรู้แบบทวิภาคี : กรณีวิทยาลัยสารพัดช่างสุรินทร์

นายวรชัย ลิขิตายน ผอ.วท.ท่าหลวงซิเมนต์ไทยอนุสรณ์ จ.สระบุรี

การวิเคราะห์SWOTเพื่อการพัฒนาและบริหารคน

ผลการศึกษาสภาพแวดล้อม

สภาพแวดล้อมภายนอก

ปัจจัยทางด้านสังคมและวัฒนธรรม

ปัจจัยทางด้านเทคโนโลยี

ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ

ปัจจัยทางด้านกฎหมายและการเมือง

สภาพแวดล้อมภายใน

ปัจจัยด้านโครงสร้างและนโยบาย

ปัจจัยด้านผลผลิตและบริการ

ปัจจัยด้านบุคลากร

จุดแข็ง(+)

1.บุคลากรเป็นผู้มีความรู้ความสามารถตรงตามสาขาวิชาชีพ ทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ

2.บุคลากรได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทำให้สามารถ นำความรู้ที่ทันสมัยมาใช้ในการเรียนการสอน

3.บุคลากรมีจรรยาบรรณในวิชาชีพทำให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน

4.ครูผู้ทำการสอนมีแผนการเรียนครบทุกรายวิชาทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ

5.มีการสรรหาบุคลากรตรงตามความต้องการ

จุดอ่อน(-)

1.ครูบางคนขาดการพัฒนาตนเองทำให้ขาดประสิทธิภาพในการทำงาน

2.ผู้ที่ได้รับการพัฒนาหรือฝึกอบรมมาแล้วไม่ได้นำมาถ่ายทอดให้บุคลากรอื่นในสถานศึกษา

3.บุคลากรไม่ค่อยมีโอกาสไปศึกษาดูงานหรือเข้ารับการฝึกงานจริง กับภาคอุตสาหกรรมทำให้ไม่สามารถนำความรู้ที่ทันสมัยมาพัฒนางาน

4.บุคลากรบางคนทำหน้าที่พิเศษมากทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง

5.มีการใช้บุคลากรซ้ำซ้อนหลายงานทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง

6.บุคลากรบางส่วนขาดความรับผิดชอบในภาระหน้าที่ทำให้ผลงานไม่สำเร็จเท่าที่ควร

ปัจจัยด้านประสิทธิภาพทางการเงิน

ปัจจัยทางด้านวัสดุอุปกรณ์ ปัจจัยทางด้านบริหารจัดการ

งานวิจัยที่สนใจ:

การนำเสนอหัวข้องานวิจัย

เรื่อง

รูปแบบการพัฒนาครูเพื่อการจัดการเรียนการสอนและการประเมิน

อิงฐานวิจัยสำหรับครูวิทยาลัยเทคนิคท่าหลวงซิเมนต์ไทยอนุสรณ์

นายวรชัย ลิขิตายน

วิทยาลัยเทคนิคท่าหลวงซิเมนต์ไทยอนุสรณ์

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

กระทรวงศึกษาธิการ

1. ความสำคัญของปัญหา

จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้ คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียนไปในทางที่ดีขึ้นตามวัตถุประสงค์การเรียนที่กำหนดไว้ (สุชาติ ศิริสุขไพบูลย์. 2549) เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุจุดมุ่งหมายของการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับศักยภาพและความสามารถในการเรียนรู้ของผู้เรียน จึงเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนเพิ่มสูงขึ้น การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนดังกล่าวเป็นบทบาทหน้าที่ของครูผู้สอน

การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนในระยะที่ผ่านมา ครูผู้สอนเป็นผู้พัฒนาเองโดยใช้ความรู้ความสามารถตามศักยภาพของแต่ละคน จึงมีความหลากหลายตามรูปแบบที่ได้ศึกษา หรือเคยได้รับการถ่ายทอดจากสถาบันการศึกษา หรือจากการฝึกอบรมด้านการพัฒนาหลักสูตร การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอน หรือการจัดทำแผนบทเรียนแบบต่างๆ และกระบวนการที่ใช้ในการพัฒนายังไม่มีรูปแบบที่มีความชัดเจน ส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้กระบวนการวิเคราะห์วิจัยที่เหมาะสม จึงทำให้ผลงานหรือนวัตกรรมที่ได้จากการพัฒนาขาดความน่าเชื่อถือ

จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องพบว่า การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนที่ใช้มีการดำเนินงานโดยใช้วิธีการวิเคราะห์ 2 วิธี ได้แก่ วิธีการวิเคราะห์งาน (Job Analysis) และวิธีการวิเคราะห์หน้าที่ (Functional Analysis) (สุชาติ กิจพิทักษ์. 2550) ซึ่งวิธีการวิเคราะห์ทั้ง 2 วิธีให้ผลการวิเคราะห์แตกต่างกัน แต่สามารถนำไปเป็นแนวทางการพัฒนานวัตกรรมที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนเช่นเดียวกัน สำหรับกระบวนการที่ใช้ในการพัฒนาจัดการเรียนการสอนโดยอิงฐานวิจัย เป็นกระบวนการหนึ่งที่ให้ผลการพัฒนาที่มีความน่าเชื่อถือ (กฤษณีย์ อุทุมพร. 2550) เนื่องจากเป็นกระบวนการที่นำเอากระบวนการวิจัยมาเป็นแนวทางในการดำเนินการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน สอดคล้องกับรายงานผลงานวิจัยของมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เรื่อง โครงการศึกษาเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรม เสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยสำคัญของการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิต คือ ด้านกำลังคน หรือกำลังแรงงานทั้งคุณภาพและปริมาณ การพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตของประเทศไทย จำเป็นที่จะต้องก้าวเข้าสู่การพัฒนาที่เป็นแรงงานใช้ฝีมือ หรือมุ่งเน้นการพัฒนาแรงงาน ให้มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีความเชี่ยวชาญ หรือความชำนาญเฉพาะทางเป็นสำคัญ ดังนั้น สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ผลิตบุคลากรให้ภาคอุตสาหกรรม จึงต้องพัฒนาการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้สามารถผลิตกำลังคนให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ดังกล่าว โดยเริ่มพัฒนาจากครูผู้สอนก่อนแล้วให้ครูผู้สอนพัฒนาการจัดการเรียนการสอนต่อไป

คำถามของงานวิจัยครั้งนี้ คือ ต้องการศึกษารูปแบบที่เหมาะสมในการดำเนินงานพัฒนาครูเพื่อการจัดการเรียนการสอนและการประเมินโดยอิงฐานวิจัย สำหรับพัฒนาครูวิทยาลัยเทคนิคท่าหลวงซิเมนต์ไทยอนุสรณ์ให้มีความรู้ความสามารถในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน และการประเมินโดยอิงฐานวิจัย

คำตอบที่ได้ คือ รูปแบบการพัฒนาครูเพื่อการจัดการเรียนการสอนและการประเมินอิงฐานวิจัย ซึ่งประกอบด้วย รูปแบบและคู่มือการดำเนินงาน ชุดฝึกอบรมพัฒนาครูให้มีความรู้ด้านการวิจัยพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา และแบบประเมินผลครูที่ผ่านการพัฒนา ที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับสถานศึกษาที่สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา นำไปใช้เป็นต้นแบบในการพัฒนาครูให้มีความรู้ความสามารถในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน และการประเมินโดยอิงฐานวิจัยต่อไป สอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาด้านการพัฒนาบุคลากร นโยบายด้านการศึกษาของรัฐบาล ในการพัฒนาหลักสูตร ปรับระบบการผลิตครูให้มีคุณภาพและคุณธรรมอย่างทั่วถึงและต่อเนื่องและก้าวทันการเปลี่ยนแปลงในยุกต์โลกาภิวัตน์ และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจที่จะดำเนินการศึกษาวิจัยเพื่อหาคำตอบที่จะใช้แก้ไขปัญหาดังกล่าว ต่อไป

2. วัตถุประสงค์ของการวิจัย

2.1 เพื่อศึกษารูปแบบการดำเนินงานพัฒนาครู เพื่อการจัดการเรียนการสอนและการประเมินอิงฐานวิจัย

2.2 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังของการดำเนินงานพัฒนาครูเพื่อการจัดการเรียนการสอนและการประเมินอิงฐานวิจัย

2.3 เพื่อศึกษาความพึงพอใจผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับโครงการพัฒนาครูเพื่อการจัดการเรียนการสอนและการประเมินอิงฐานวิจัย

3. สมมติฐานในการวิจัย

3.1 หลังการดำเนินงานพัฒนาครูเพื่อการจัดการเรียนการสอน และการประเมินอิงฐานวิจัยครูมีผลงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรทางการศึกษาเพิ่มสูงขึ้น

3.2 ค่าเฉลี่ยของความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ต่อการดำเนินงานพัฒนาครูเพื่อการจัดการเรียนการสอนและการประเมินอิงฐานวิจัย อยู่ในระดับมาก

4. กรอบแนวคิดในการวิจัย

งานวิจัย เรื่อง รูปแบบการพัฒนาครูเพื่อการจัดการเรียนการสอน และการประเมินอิงฐานวิจัยสำหรับครูวิทยาลัยเทคนิคท่าหลวงซิเมนต์ไทยอนุสรณ์ ครั้งนี้ มีกรอบแนวคิดกระบวนการดำเนินงาน 5 ขั้นตอนหลัก ประกอบด้วย กระบวนการพัฒนาความรู้และทักษะด้านการจัดทำนวัตกรรมและการวิจัย การออกแบบนวัตกรรมทางการศึกษาและเครื่องมือวิจัย การหาคุณภาพนวัตกรรมและเครื่องมือวิจัย การทดลองใช้นวัตกรรมและเก็บรวบรวมข้อมูล และการสรุปและจัดทำรายงานผลการวิจัย ดังรายละเอียดที่แสดงไว้ในภาพที่ 1-1

ภาพที่ 1-1 แสดงกรอบแนวคิดการดำเนินการศึกษาวิจัย

5. ขอบเขตในการวิจัย

งานวิจัย เรื่อง รูปแบบการพัฒนาครูเพื่อการจัดการเรียนการสอนและการประเมินอิงฐานวิจัยสำหรับครูวิทยาลัยเทคนิคท่าหลวงซิเมนต์ไทยอนุสรณ์ ครั้งนี้ ครอบคลุมเนื้อหาตามกรอบแนวคิดและรูปแบบการดำเนินงานในการพัฒนาครู เพื่อการจัดการเรียนการสอนและการประเมินโดยอิงฐานวิจัย ประกอบด้วยกระบวนการดำเนินงาน 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย กระบวนการพัฒนาความรู้และทักษะด้านการจัดทำนวัตกรรมและการวิจัย การออกแบบนวัตกรรมทางการศึกษาและเครื่องมือวิจัย การหาคุณภาพนวัตกรรมและเครื่องมือวิจัย การทดลองใช้นวัตกรรมและเก็บรวบรวมข้อมูล และการสรุปและจัดทำรายงานผลการวิจัย การวิจัยนี้จะศึกษาวิจัยกับคณะครูของวิทยาลัยเทคนิคท่าหลวงซิเมนต์ไทยอนุสรณ์ มีระยะเวลาในการศึกษาวิจัย 1 ปี 6 เดือน

6. ประโยชน์ของผลการวิจัย

6.1 รูปแบบการพัฒนาครูเพื่อการจัดการเรียนการสอนและการประเมินอิงฐานวิจัยสำหรับครูวิทยาลัยเทคนิคท่าหลวงซิเมนต์ไทยอนุสรณ์ ที่ได้จากการวิจัยนี้ สถานศึกษา ในสังกัดของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา นำไปใช้เป็นต้นแบบในการดำเนินงานรูปแบบการพัฒนาครูเพื่อการจัดการเรียนการสอนและการประเมินโดยอิงฐานวิจัย สำหรับครูวิทยาลัยเทคนิคท่าหลวงซิเมนต์ไทยอนุสรณ์ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจของวิทยาลัย และนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

6.2 ผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงานและความพึงพอใจ ของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับการดำเนินงานการพัฒนาครูเพื่อการจัดการเรียนการสอน และการประเมินอิงฐานวิจัย สำหรับครูวิทยาลัยเทคนิคท่าหลวงซิเมนต์ไทยอนุสรณ์ ที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ วิทยาลัยเทคนิคท่าหลวงซิเมนต์ไทยอนุสรณ์ สามารถนำไปใช้ในการปรับปรุงการดำเนินงานให้ประสบผลสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

7. วิธีการวิจัย

การศึกษาวิจัย เรื่อง การศึกษารูปแบบการพัฒนาครูเพื่อการจัดการเรียนการสอนและการประเมินอิงฐานวิจัย สำหรับครูวิทยาลัยเทคนิคท่าหลวงซิเมนต์ไทยอนุสรณ์ครั้งนี้ จะดำเนินการศึกษาสาระสำคัญ ประกอบด้วย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือการวิจัย วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล การจัดกระทำข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล และการสรุปผลการศึกษาวิจัย ดังรายละเอียดที่แสดงไว้ในภาพที่ 1-2

ภาพที่ 1-2 แสดงขั้นตอนการดำเนินการศึกษาวิจัย

7.1 ประชากร และกลุ่มตัวอย่าง

1. ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัย คือ คณะครูวิทยาลัยเทคนิคท่าหลวงซิเมนต์ไทยอนุสรณ์

2. กลุ่มตัวอย่าง (Sampling) เลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 30 คน

7.2 เครื่องมือวิจัย

7.2.1. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม ข้อมูลตัวแปรต่างๆที่ผู้วิจัยสนใจศึกษา

7.2.1.1 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับ รูปแบบการพัฒนาครูเพื่อการจัดการเรียนการสอนและการประเมินอิงฐานวิจัย ใช้แบบสอบถาม (Questionnaire)

ตอนที่ 1. สถานะภาพของผู้ตอบแบสอบถาม (Checklist)

ตอนที่ 2. ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับ รูปแบบการพัฒนาครูเพื่อการจัดการเรียนการสอนและการประเมินอิงฐานวิจัย ใช้แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ

ตอนที่ 3. ข้อเสนอแนะ

7.2.1.2 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ ก่อนและหลัง เข้ารับการพัฒนา ของครูเพื่อการจัดการเรียนการสอนและการประเมินอิงฐานวิจัย ใช้แบบทดสอบ (Test)

ตอนที่ 1. สถานะภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม (Checklist)

ตอนที่ 2. ข้อทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังเข้ารับการพัฒนา ของครูเพื่อการจัดการเรียนการสอนและการประเมินอิงฐานวิจัย

ตอนที่ 3. ข้อเสนอแนะ

7.2.1.3 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ต่อรูปแบบการพัฒนาครูเพื่อการจัดการเรียนการสอนและการประเมินอิงฐานวิจัย ใช้แบบสอบถาม (Questionnaire)

ตอนที่ 1. สถานะภาพของผู้ตอบแบสอบถาม (Checklist)

ตอนที่ 2. ความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ต่อรูปแบบการพัฒนาครูเพื่อการจัดการเรียนการสอนและการประเมินอิงฐานวิจัย ใช้แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ

ตอนที่ 3. ข้อเสนอแนะ

7.2.3 การออกแบบสร้างเครื่องมือการวิจัย

7.2.3.1 วิธีการเลือกเครื่องมือการวิจัย

ก. ตัวแปรตามประเภท "ความคิดเห็น, ทัศนะ" ใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ

ข. ตัวแปรตามประเภท "ความพึงพอใจ" ใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ

7.2.3.2..การได้มาของเครื่องมือวิจัย

ผู้วิจัยสร้างเองโดยใช้วิธีปรับปรุงจากเครื่องมือของผู้วิจัยอื่น ที่วัดตัวแปรตัวเดียวกันหรือคล้ายคลึงกัน

7.2.3.3..คุณภาพของเครื่องมือวิจัยที่ดี

ก. ความเที่ยงหรือความตรง (Validity) คือ เครื่องมือที่วัดได้ครอบคลุมสิ่งที่ต้องการวัด โดยผู้เชี่ยวชาญไม่ต่ำกว่า 5 คน (เป็นเลขคี่เพื่อการสรุปผล)

ข. หาค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of congruence) IOC ข้อที่ใช้ได้ต้องมีค่า IOC ตั้งแต่ 0.5 ขึ้นไป

ค. อำนาจจำแนก (Discrimination)

ง. ความเชื่อมั่นหรือความเชื่อถือได้ (Reliability)

จ. ความยากง่าย (Difficulty) กรณีแบบทดสอบ

7.2.3.4 วิธีสร้างเครื่องมือการวิจัย

ก. วิเคราะห์วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อพิจารณาตัวแปรที่ต้องศึกษา

ข. ศึกษาทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับตัวแปรที่ต้องศึกษา โดยเฉพาะตัวแปรตาม

ค. ให้คำจำกัดความของตัวแปรโดยเฉพาะตัวแปรตาม ในรูปของนิยามปฏิบัติการ (Operation definition)

ง. เขียนข้อคำถามให้สอดคล้องกับนิยามปฏิบัติการ

จ. หาคุณภาพด้านความเที่ยงตรง โดยอาศัยผู้เชี่ยวชาญ

ฉ. ทดลองใช้ (Try-out ครั้งที่ 1 ) เพื่อหาคุณภาพรายข้อ เช่นอำนาจจำแนก

ช. ทดลองใช้ครั้งที่ 2 เพื่อหาคุณภาพทั้งฉบับ ได้แก่ ความเชื่อมั่น

ซ. ปรับปรุงครั้งสุดท้ายให้สมบูรณ์

ดังรายละเอียดของขั้นตอนการออกแบบสร้างเครื่องมือ ที่แสดงในภาพที่ 1-3

ภาพที่ 1-3 แสดงขั้นตอนการดำเนินการสร้างเครื่องมือศึกษาวิจัย

7.3 วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

1. แนวทางการเก็บรวบรวมข้อมูล

- ตอบสนองความมุ่งหมายของการวิจัยทุกข้อ

- ครอบคลุมตัวแปรตามและตัวแปรอิสระทุกตัว

2. ถูกต้องตามเทคนิคการเก็บข้อมูล ของเครื่องมือแต่ละประเภทที่ใช้

3. เก็บข้อมูลได้ครบถ้วนตามจำนวนกลุ่มตัวอย่าง

4. กระตุ้นให้กลุ่มตัวอย่างตอบด้วยความจริงใจ

ดังรายละเอียดของขั้นตอนการทดลองและเก็บข้อมูล ที่แสดงในภาพที่ 1-4

ภาพที่ 1-4 แสดงขั้นตอนการทดลองและเก็บข้อมูล

ขั้นตอนการทดลองและเก็บข้อมูล ดังรายละเอียด ที่แสดงในภาพที่ 1-5

ภาพที่ 1-5 แสดงขั้นตอนการทดลองและเก็บข้อมูล

7.4 การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูล คือการนำข้อมูลมาแจงนับ จัดกระทำและวิเคราะห์เพื่อตอบปัญหาการวิจัย แล้วนำเสนอผลการวิจัย มีขั้นตอนดังรายละเอียด ที่แสดงในภาพที่ 1-6

ภาพที่ 1-6 แสดงขั้นตอนการวิเคราะห์และนำเสนอผลการวิจัย

7.5 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

1. สถิติพื้นฐาน

ก. ร้อยละ

ข. ค่าเฉลี่ย

ค. ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน

2. สถิติที่ใช้หาคุณภาพเครื่องมือ

ก. ค่าความเที่ยงตรง ใช้ IOC

ข. อำนาจจำแนก ใช้สหสัมพันธ์ (Item total correlation)

ค. ความเชื่อมั่น

3. สถิติที่ใช้ทดสอบสมมุติฐาน

ก. เปรียบเทียบค่าเฉลี่ย 2 กลุ่มที่ไม่เป็นอิสระจากกัน (Dependent sample) ใช้สถิติการทดสอบค่าที (T-test) เมื่อข้อมูลระดับอันตรภาคชั้น ใช้กับการวิจัยเปรียบ เทียบผลก่อน-หลังทดลอง

ข. เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มตัวอย่างที่มากกว่า 3 กลุ่มขึ้นไป ที่เป็นอิสระจากกัน โดยข้อมูลระดับอันตรภาคหรือสัดส่วนใช้สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA)

8. แผนการดำเนินงาน

ขั้นตอนการดำเนินงานวิจัย ระยะเวลาการดำเนินงาน (เดือน) เริ่มเดือนมกราคม 2552 สิ้นสุดเดือนพฤษภาคม 2553 หมายเหตุ

มค กพ มีค เมย พค มิย กค สค กย ตค พย ธค มค กพ มีค เมย พค

1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 16

1. ศึกษาข้อมูลเบื้องต้น  

2. ออกแบบเครื่องมือ 

3. กำหนดประชากร 

4. ทดลองใช้และเก็บข้อมูล             

5. วิเคราะห์ข้อมูล 

6. สรุปผลการวิจัย  

9. เอกสารอ้างอิง

งานวิจัย เรื่อง รูปแบบการพัฒนาครูเพื่อการจัดการเรียนการสอนและการประเมินโดยอิงฐานวิจัยสำหรับครูวิทยาลัยเทคนิคท่าหลวงซิเมนต์ไทยอนุสรณ์ ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องดังนี้

สุชาติ ศิริสุขไพบูลย์. “พฤติกรรมการเรียนรู้.” มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2549.

สุชาติ กิจพิทักษ์. “การวิเคราะห์สมรรถนะ.” สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา, 2550

กฤษณีย์ อุทุมพร. “การจัดการเรียนการสอนโดยอิงฐานวิจัย.” สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา, 2550

ผ่องพรรณ ตรัยมงคลกูล, สุภาพ ฉัตราภรณ์. “การออกแบบการวิจัย.” พิมพ์ครั้งที่ 2 ,

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2541.

ประพนธ์ เจียกูล และคณะ. “การเรียนรู้การทำวิจัยด้วยตนเอง.” สถาบันวิจัยและพัฒนา

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2543.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. “เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย.” มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2544.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. “เทคนิคการเขียนเค้าโครงการวิจัย.” มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2549.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. “ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์.” พิมพ์ครั้งที่ 9 , กรุงเทพฯ., 2549.

ระพินทร์ โพธิ์ศรี. “สถิติเพื่อการวิจัย.” จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549.

นายครองศักดิ์ แย้มประยูร

สรุปผลการวิเคราะห์ SWOT การพัฒนาบุคลากรวิทยาลัยการอาชีพบ้านลาด

จุดแข็ง

- บุคลากรมีความรู้ความสามารถ

- บุคลากรมีความพร้อมในการพัฒนาศักยภาพ

- มีแผนปฏิบัติการในการพัฒนาบุคลากรทั้งระยะสั้นและระยะยาว

- ผู้บริหารให้การสนับสนุนในการพัฒนาบุคลากร

โอกาส

- อยู่ใกล้สถาบันการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยหลายแห่ง

- การคมนาคมสะดวกในการเดินทาง

- บุคลากรมีพื้นฐานความรู้ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

จุดอ่อน

- ครูมีภาระงานสอนมาก

- ครูไม่ค่อยแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง

- งบประมาณในการพัฒนาบุคลากรน้อย

- ครูส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นข้าราชการ เป็นแค่ครูอัตราจ้าง

อุปสรรค

- นโยบายการพัฒนาบุคลากรของส่วนกลางไม่ชัดเจนและไม่ต่อเนื่อง

- ขาดงบประมาณสนับสนุนจากส่วนกลาง

- มีการเปลี่ยนแปลงบุคลากรบ่อยครั้ง

แนวทางการแก้ไข

ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถตรงตามความต้องการและความจำเป็นในการปฏิบัติงาน โดยทำการศึกษาหาข้อมูลว่าบุคลากรแต่ละคนมีความสามารถในด้านใดเป็นพิเศษและยังขาดความรู้ความสามารถในเรื่องใด จะได้นำมาเป็นแนวทางในการพัฒนาบุคลากรแต่ละคน เพื่อเป็นการเติมเต็มในส่วนที่ยังบกพร่องอยู่

หัวข้องานวิจัย

การศึกษาความสามารถในการปฏิบัติงานของบุคลากรวิทยาลัยการอาชีพบ้านลาด

นายวิทยา ชิณโย ผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพพยัคฆภูมิพิสัย

ผลการวิเคราะห์ SWOT และวิธีการแก้ไขในการพัฒนาและการบริหาร “คน”

ของวิทยาลัยการอาชีพพยัคฆภูมิพิสัย

1. ด้านบุคลากร

จุดแข็ง(Strength : S)

1.1 บุคลากรมีความสามัคคีกัน

1.2 มีผู้บริหารที่มั่นคง ทำให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพ

1.3 ครูมีวุฒิการศึกษาตรงตามสาขาที่เปิดสอน

1.4 ครูมีการทำงานเป็นทีม

1.5 มีการเรียนการสอนแบบบูรณาการ

1.6 บุคลากรมีวุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี

1.7 ครูผู้สอนทั้งหมดอยู่ในวัยทำงานมีความกระตือรือร้นในการทำงาน

1.8 นักเรียน นักศึกษา ให้ความร่วมมือและมีส่วนร่วมในกิจกรรมวิทยาลัย

จุดอ่อน(Weakness : W)

1.1 ข้าราชการครูมีจำนวนน้อย1.2 ครูส่วนมากเป็นครูพิเศษ (ลูกจ้างชั่วคราว) จึงทำให้มีการเปลี่ยนบุคลากรบ่อย

1.3 ครูมีภาระการทำงานมาก 1.4 นักศึกษามีปัญหาในเรื่องเพศตรงข้าม

1.5 นักศึกษามีความรับผิดชอบน้อย เช่น การตรงต่อเวลา ความกระตือรือร้น

1.6 บุคลากรขาดขวัญและกำลังใจในการทำงาน

1.7 ผู้เรียนส่วนใหญ่มีพื้นฐาน ความรู้ด้านเทคโนโลยีน้อย

โอกาส(Treat : T)

1.1 ผู้บริหารส่งเสริมให้มีการพัฒนาตนเองในเรื่องการทำงาน เช่น การศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น การอบรม สัมมนา ในสถานศึกษาและหน่วยงานต่างๆ

1.2 ครูมีโอกาสที่จะสอนในระดับสูงขึ้น(ป.ตรี)

1.3 รัฐบาลเปิดสอบพนักงานราชการ

1.4 นโยบายสถานศึกษาเปิดกว้างในทุกๆด้านโดยเฉพาะการปรับปรุงแผนกวิชา

อุปสรรค(Opportunity : O)

1.1 ลูกจ้างชั่วคราวรู้สึกไม่มีความมั่นคงในงานที่ตนทำอยู่

1.2 โรงเรียนขยายโอกาสไม่ปล่อยให้นักเรียนของตนเองมาศึกษาต่อในวิทยาลัย

1.3 เศรษฐกิจ และการเมือง ไม่แน่นอน

วิธีแก้ไข

1.1 ส่งเสริม สนับสนุนให้ลูกจ้างชั่วคราวสอบเป็นข้าราชการ และพนักงานราชการทุกครั้งที่เปิดสอบโดยไม่ถือเป็นวันลา

1.2 สร้างความเข้าใจในการจัดการศึกษาด้านอาชีวศึกษากับโรงเรียนมัธยมศึกษา อย่างต่อเนื่อง

1.3 จัดกิจกรรมร่วมกับโรงเรียนมัธยมศึกษา อย่างต่อเนื่อง

1.4 สร้างภูมิคุ้มกัน และพึ่งพาตนเอง ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ข้อเสนอแนะ

1.1 ควรจัดแหล่งเรียนรู้ให้หลากหลายให้บุคลากรได้เข้าถึงข้อมูลอย่างทั่วถึง

1.2 ผู้บริหารควรมีการประสานการทำงานร่วมกับชุมชนให้มากขึ้นและต่อเนื่อง

2. ด้านเครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์

จุดแข็ง(Strength : S)

2.1 มีเครื่องใช้สำนักงาน

ที่ทันสมัย

2.2 วัสดุ-อุปกรณ์ ครุภัณฑ์ ตรงตามมาตรฐานครุภัณฑ์

2.3 ครูมีการผลิตสื่อขึ้นใช้เอง

จุดอ่อน(Weakness : W)

2.1 มีจำนวนน้อยเกินไป

2.2 ขาดการบำรุงรักษา

2.3 มีการซ่อมแซมล่าช้า

2.4 ขาดผู้เชี่ยวชาญในการใช้เครื่องมือที่ถูกต้อง

2.5 เครื่องมือวัสดุ อุปกรณ์ ไม่มีความทันสมัย

2.6 ห้องเรียนไม่พอเพียงพอ

2.7 ครูขาดการแนะนำในวิธีการใช้เครื่องมือแก่ นักศึกษาอย่างต่อเนื่อง

2.8 สื่อการเรียนการสอน ไม่ทันสมัย และไม่เพียงพอ

2.9 พื้นที่ตั้งของแผนกคอมพิวเตอร์ไม่สามารถขยายตัวเพื่อรองรับปริมาณผู้เรียนได้

2.10 ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขาดความทันสมัยและไม่สมบูรณ์

2.11 เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเรียนการสอนมีสภาพทรุดโทรม

2.12 ห้องเรียนคอมพิวเตอร์บางห้องไม่มีระบบป้องกันไฟฟ้ารั่ว

2.13 บางแผนกวิชามีสถานที่เก็บวัสดุ อุปกรณ์ที่มีความเสี่ยงต่อการสูญหาย

โอกาส(Treat : T)

2.1 มีแหล่งเรียนรู้วิธีการใช้เครื่องใช้สำนักงานที่หลากหลาย

2.2 สถานประกอบการให้การสนับสนุนรับนักศึกษาเข้าฝึกงาน

2.3 ภายในอาคาร 4 ชั้น ที่ชั้น 4

มีพื้นที่โล่งและว่างเปล่า

อุปสรรค(Opportunity : O)

2.1 ราคาเครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ ตามท้องตลาดค่อนข้างสูง จึงจัดซื้อหาได้จำนวนน้อย

2.2 ได้รับจัดสรรเครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์น้อย จึงไม่เพียงพอกับจำนวนนักศึกษา

2.3 วิทยาลัยห่างไกลตัวจังหวัดมาก จึงทำให้มีปัญหาในการจัดซื้อเครื่องมือวัสดุอุปกรณ์บางประเภท

2.4 ห้องเรียนและเครื่องมือวัสดุอุปกรณ์ไม่เพียงพอกับจำนวนนักศึกษา จึงทำให้การเรียนการสอนไม่เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

2.5 สถานที่ตั้งวิทยาลัยอยู่ในพื้นที่บริเวณป่า มีความเสี่ยงต่อการสูญหายของเครื่องมือ

2.6 มีการซ่อมเครื่องมือที่ล่าช้าจากบริษัทผู้ผลิต เมื่อมีการชำรุดเสียหาย

วิธีแก้ไข

2.1 ส่งเสริมให้ครูผู้สอนและนักศึกษาเห็นคุณค่าและความสำคัญของการใช้เครื่องมือวัสดุอุปกรณ์ทุกประเภท

2.2 ส่งเสริมให้ครูผู้สอนจัดทำสื่อการสอนขึ้นใช้เอง

2.3 ร่วมมือกับสถานประกอบการเพื่อให้ครูและนักศึกษาได้ไปศึกษาเรียนรู้เครื่องมือที่ทันสมัย

2.4 ปรับปรุงต่อเติมอาคาร 4 ชั้นที่โล่งและว่างเปล่า ให้เป็นห้องเรียนเพิ่ม

2.5 จัดทำห้องเรียนและสถานที่ปลอดภัยในการเก็บรักษาเครื่องมือ

2.6 ส่งเสริมให้ครูมีโอกาสเข้าอบรมการดูแลรักษาเครื่องมืออย่างถูกต้อง

2.7 ขอรับการสนับสนุนเครื่องมือจากสถานประกอบการและหน่วยงานอื่น

ข้อเสนอแนะ

2.1 ควรจัดซื้อครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์เพื่อให้เพียงพอกับปริมาณผู้เรียน

2.2 ควรปรับที่ตั้งแผนกเพื่อรองรับปริมาณผู้เรียนที่เพิ่มขึ้น

2.3 ควรมีการปรับปรุงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ให้สมบูรณ์และทันสมัยรองกับผู้เรียนที่เพิ่มขึ้น

2.4 ควรจัดสรรวัสดุฝึกให้เพียงพอกับปริมาณนักศึกษาในแผนกและบริการนักศึกษาทั่วไป

2.5 ควรมีการจัดซื้อคอมพิวเตอร์ เพิ่มเติมเพื่อทดแทนส่วนที่เสื่อมสภาพ

3. ด้านบริหารจัดการ

จุดแข็ง(Strength : S)

3.1 มีการกระจายอำนาจ

3.2 ทุกคนมีส่วนร่วม

จุดอ่อน(Weakness : W)

3.1 ครูไม่มีอำนาจในการตัดสินใจ

3.2 ครูสามัญไม่สามารถจัดสอนแทนกันได้ ในแต่ละรายวิชา

3.3 ขาดการจัดการพื้นที่ในการเรียนการสอน ให้เหมาะสมกับการจัดการเรียนรู้

3.4 ไม่มีห้องพักครูที่เป็นหลักแหล่งเนื่องจากห้องไม่เพียงพอ ทำให้การจำเก็บเอกสารไม่เป็นระบบ

โอกาส(Treat : T)

3.1 ผู้บริหารเปิดรับฟังความคิดเห็น การบริหารจัดการด้านต่างๆ จากชุมชน สังคม และสถานประกอบการที่อยู่รอบข้างและใกล้เคียง

3.2 ครูแต่ละแผนกควรได้ไปศึกษากระบวนบริหารจัดการแบบ POCCC ภายในหน่วยงานต่างๆ

3.3 ควรได้รับการจัดสรรห้องเรียนและจำนวนครูผู้สอนที่เพียงพอจากหน่วยงานต้นสังกัดและรัฐบาล

3.4 วิทยาลัยแสวงหาความร่วมมือจากสถานประกอบการต่างๆ ในการจัดการเรียนการสอน

อุปสรรค(Opportunity : O)

3.1 กรรมการสถานศึกษา จาก

หน่วยงานภายนอกไม่ค่อยมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการวิทยาลัยมากนัก

3.2 อำนาจในการบริหารจัดการ

ในแผนกมีขอบเขตจำกัดจากผู้บริหารระดับสูง

3.3 จำนวนห้องเรียนและครูมีน้อย ทำให้ไม่สามารถบริหารจัดการได้เต็มประสิทธิภาพ

วิธีแก้ไข

3.1 เชิญกรรมการสถานศึกษา ภายนอกเข้าร่วมประชุมเพื่อวางแผนการบริหารจัดการด้วยทุกครั้ง

3.2 ให้อำนาจแต่ละแผนกวิชาได้ตัดสินใจ ตามกรอบอำนาจหน้าที่

3.3 นำเสนอถึงความจำเป็นให้หน่วยงานต้นสังกัดในการขอรับงบประมาณในการก่อสร้างอาคารและอัตรากำลังครู

ข้อเสนอแนะ

3.1 ผู้บริหารควรมีส่วนร่วมในการประชุมวางแผนด้านเทคโนโลยีมากขึ้น

3.2 ผู้บริหารควรส่งเสริมให้แต่ละแผนกนำเนินงานตามกระบวนการ POCCC

3.3 สถานศึกษาควรประสานงานกับหน่วยงานท้องถิ่นและสถานประกอบการ ในการจัดการเรียนรู้ เพื่อสนองตอบต่อชุมชน

4. ด้านงบประมาณในการดำเนินการ

จุดแข็ง(Strength : S)

4.1 มีการจัดสรรงบประมาณจัดซื้อวัสดุ อย่างทั่วถึงและครบทุกภาคเรียนตามจำนวนงบประมาณที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ และชัดเจน

จุดอ่อน(Weakness : W)

4.1 งบประมาณที่ได้รับการจัดสรรไม่เพียงพอต่อการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์

4.2 การจัดสรรงบประมาณล่าช้าและขาดงบในการซ่อมบำรุงอย่างต่อเนื่อง

4.3 ใช้จ่ายงบประมาณอย่างประหยัดจึงเกิดผลตอบสนองน้อย

โอกาส(Treat : T)

4.1 หน่วยงานต้นสังกัดให้เสนอของบประมาณแต่ละปี

4.3 รัฐบาลจัดสรรงบประมาณ ในโครงการตามนโยบายทุกปี

อุปสรรค(Opportunity : O)

4.1 รัฐบาลเปลี่ยนแปลงบ่อย

4.2 งบประมาณมีจำนวนจำกัด

วิธีแก้ไข

4.1 ผู้บริหารเสนอของบประมาณสนับสนุนให้เพียงพอ

4.2 สร้างความเข้าใจกับแต่ละแผนกถึงความจำเป็นในการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์แต่ละ ประเภท

4.3 ทำความเข้าใจโดยให้แผนกวิชาบริหารงานตามงบประมาณที่ได้รับให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ข้อเสนอแนะ

4.1 ควรจัดหางบประมาณเพิ่มเติมจากภายนอก

4.2 ผู้บริหารควรจัดสรรงบประมาณที่ได้รับตามความจำเป็นและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

4.3 ควรจัดสรรตามงบประมาณให้สอดคล้องกับโครงการที่ตั้งไว้

ข้อ 2 หัวข้อวิจัย : การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการที่วิทยาลัยการอาชีพพยัคฆภูมิพิสัย โดยใช้หลักการมีส่วนร่วมแบบบูรณาการ

ส่งงาน ผอ.ศักดา ถาวรพจน์

1. ได้มีการวิเคราะห์ Swot ของการพัฒนาและบริหารคนขององค์กรของข้าพเจ้า โดยละเอียด ปัญหาที่พบและวิธีการแก้ไขปัญหาหรือทางออกที่เป็นไปได้ พร้อมทั้งเสนอแนะกิจกรรมที่จะช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องคน ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม จากการวิเคราะห์ Swot ได้ผลดังนี้

จุดอ่อน ขาดการทำงานเป็นทีม ขาดการใฝ่รู้ ขาดความรับผิดชอบ ขาดมนุษยสัมพันธ์

จุดแข็ง อายุอยู่ในวัยทำงาน มีความรู้ด้านเทคโนโลยีพร้อมรับการพัฒนา

วิกฤต บุคลากรบางส่วนเป็นลูกจ้างชั่วคราว ขาดความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน

โอกาส มีแหล่งการเรียนรู้ เช่น มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์ ศูนย์วิทยบริการมหาวิทยาลัย

นเรศวร ศูนย์วิทยบริการมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ศูนย์วิทยบริการมหาวิทยาลัย

รามคำแหง อยู่แหล่งชุมชนของจังหวัดเพชรบูรณ์

ปัญหาที่พบ

1. บุคลากรสายผู้สอน ขาดการพัฒนาความรู้ให้ทันกับสถานการณ์ และวิทยากรใหม่ๆ ในสาขาที่สอน

2. บุคลากรสายผู้สอนขาดความรู้และทักษะการจัดการเรียนการสอน เช่น วิธีสอน การจัดกิจกรรม การวัดและประเมินผล การใช้สื่อประกอบการสอน

3. บุคลากรสายผู้สอน ขาดการทำวิจัยในสาขาที่สอน

4. บุคลากรสายสนับสนุน ขาดความรู้ในงานที่รับผิดชอบ

5. บุคลากรสายสนับสนุน ขาดความคิดริเริ่ม

วิธีการแก้ไขปัญหา

1. มอบหมายฝ่ายวิชาการ หัวหน้างานสื่อการเรียนการสอนและหัวหน้าแผนกคอมพิวเตอร์ จัดทำโครงการฝึกอบรมการใช้สื่อและการผลิตสื่อทัศนูปกรณ์ และจัดหาสื่อการเรียนการสอน

2. จัดหาสื่อโสตทัศนูปกรณ์ไว้บริการครู เช่น เครื่องฉายข้ามศีรษะ เครื่องเล่นวีดีทัศน์ โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ เครื่องโปรเจ็กเตอร์

3. ส่งเสริมให้ครูผู้สอนได้ศึกษาดูงานและฝึกอบรมเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และวัสดุ สื่อ โสตทัศนูปกรณ์ จากหน่วยงานภาคเอกชนและราชการเป็นครั้งคราว

4. ส่งเสริมครูอบรมศึกษาดูงานในสาขาที่สอนหรือรับผิดชอบจากหน่วยงานราชการ และบริษัทเอกชน เป็นครั้งคราว

5. มีการติดตามนิเทศ ติดตามการจัดทำแผนการสอน และบันทึกการสอน พร้อมทั้งการปฏิบัติงานของครูในสภาพจริง

6. มอบรองผู้อำนวยการทุกฝ่ายสำรวจบุคลากรฝ่ายสนับสนุนที่อยู่ในความรับผิดชอบ มีข้อบกพร่องที่ควรพัฒนา เพื่อจัดทำโครงการพัฒนา

7. ส่งบุคลากรฝ่ายสนับสนุนเข้ารับการประชุมอบรมจากหน่วยงานราชการ และภาคเอกชนเป็นครั้งคราว ให้ตรงกับลักษณะตามที่ปฏิบัติ

8. มีการติดตาม นิเทศ และประเมินผลการทำงาน และช่วยเหลือแนะนำกับบุคลากรสายสนับสนุน

9. มีการจัดกิจกรรมกลุ่มทั้งผู้บริหาร ครู และบุคลากรสายสนับสนุนได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมความสัมพันธ์

10. เปิดโอกาสให้บุคลากรสายผู้สอนและบุคลากรสายสนับสนุนได้ศึกษาต่อในระดับสูงขึ้น นอกเวลาราชการ

2. ขอเสนอหัวข้อวิจัยที่ข้าพเจ้าสนใจและเป็นประโยชน์ต่อการทำงาน

ชื่อการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรสายผู้สอนของวิทยาลัยสารพัดช่างเพชรบูรณ์

นางสาวปิยวรรณ วรวิทย์รัตนกุล

ส่งงาน ผอ. ปิยวรรณ วรวิทย์รัตนกุล วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุโขทัย

การวิเคราะห์ SWOT ของการพัฒนาและบริหาร “คน”ขององค์กรของท่าน

จุดแข็ง

1. บุคลากรเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญทางด้านวิชาชีพตรงคุณวุฒิทางวิชาชีพ

โดยมีบุคลากรที่จบการศึกษาระดับปริญญาโท 22 ท่าน และวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ 4 ท่าน

2. บุคลากรมีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดสุโขทัย ร้อยละ 70

3. จัดให้มีการประเมินประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ตามจรรยาบรรณและมาตรฐานวิชาชีพอย่างเป็นธรรม และเสมอภาค

4. ผู้บริหารมีการบริหารงานที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาหรือยุทธศาสตร์ในการมีส่วนร่วมของประชาคมอาชีวศึกษา

5. บุคลากรมีการจัดกระบวนการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการใช้ความรู้ ความสามารถ เทคโนโลยีในการศึกษาค้นคว้าและปฏิบัติงานในวิชาชีพได้ โดยการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง ผ่านเกณฑ์ตามที่สถานศึกษากำหนด

6. บุคลากรมีการจัดการเรียนการสอนด้วยวิธีการที่หลากหลาย มีการฝึกปฏิบัติจริง มีการจัดกิจกรรมเสริมความรู้เพิ่มเติมนอกเหนือจากวิชาที่เรียน มีการแนะแนวการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น

7. บุคลากรมีการปรับวิธีเรียน เปลี่ยนวิธีสอน ปฎิรูปวิธีสอบ มีการประเมินผลโดยใช้แฟ้มสะสมงาน ประเมินตามสภาพจริง

จุดอ่อน

1. บุคลกรขาดการฝึกอบรม สัมมนาในการพัฒนาความรู้ ความสามารถทางด้านวิชาชีพอย่างทั่วถึง

2. บุคลากรขาดความกระตือรือร้นในการพัฒนาตนเองและพัฒนางาน

3. บุคลากรมีจำนวนไม่เพียงพอต่อจำนวนนักเรียน นักศึกษาที่เพิ่มขึ้น

4. บุคลากรมีความขัดแย้งในตัวบุคคลค่อนข้างสูง

5. บุคลากรขาดความรู้ความสามารถทางด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย

6. บุคลากรไม่ได้ให้ความสำคัญของการทำประกันคุณภาพภายใน ระดับแผนกวิชา

7. บุคลากรขาดขวัญ และกำลังใจในการทำงาน

8. บุคลากรขาดความรู้ความเข้าใจในการจัดทำนวัตกรรม โครงงาน งานวิจัยในชั้นเรียน สิ่งประดิษฐ์

9. บุคลากรขาดความเชี่ยวชาญในด้านการดำเนินธุรกิจ จึงไม่สามารถสอนให้นักศึกษาประกอบอาชีพอิสระได้

โอกาส

1. สถานศึกษาสนับสนุนให้บุคลากรศึกษาหาความรู้ในระดับที่สูงขึ้น

2. สถานศึกษาและบุคลากรเป็นที่ยอมรับของคนในสังคม และชุมชน

3. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาได้เปิดโอกาสและสนับสนุนให้บุคลากรศึกษาดูงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ

4. สถานศึกษามีการระดมทรัพยากรที่เป็นงบประมาณ บุคคล เครื่องจักร สนับสนุนการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ

5. มีการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการจัดซื้อวัสดุ/ครุภัณฑ์ทางการศึกษาใช้ในการเรียนการสอนอย่างเพียงพอ

อุปสรรค

1. การจัดงบประมาณสนับสนุนในการพัฒนาบุคลากรค่อนข้างน้อย

2. สถานศึกษาเปิดโอกาสให้บุคลากรได้เข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผน บริหารงานค่อนข้างน้อย

3. สถานศึกษาไม่มีระบบให้บุคลากรเข้าไปฝึกงานในสถานประกอบการเพื่อฝึกทักษะวิชาชีพเพิ่มขึ้น

4. สถานศึกษามีบุคลากรที่อายุเฉลี่ย 45 ปี ทำให้ขาดความกระตือรือร้นในการพัฒนาตน และพัฒนางาน

แนวทางในการพัฒนาที่จะช่วยแก้ไขปัญหา “เรื่องคน” ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม

1. ส่งเสริมให้ครูและบุคลากรได้รับการฝึกอบรม และพัฒนาตามสาขางานที่ปฏิบัติ อย่างน้อย 20 ชั่วโมง/คน ต่อปี

2. ส่งเสริมและสนับสนุนในการพัฒนาผู้สอน บุคลากร และนักเรียนนักศึกษา ให้มีความรู้ความเข้าใจในการจัดทำนวัตกรรม โครงงาน งานวิจัยในชั้นเรียน สิ่งประดิษฐ์

3. ส่งเสริมให้แต่ละสาขาวิชาจัดหาบุคลากร/ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความชำนาญเฉพาะด้านจากชุมชน มาให้ความรู้แก่ผู้เรียนในทุกสาขาวิชา

4. จัดหาบุคลากรที่มีคุณวุฒิทางวิชาชีพแยกตามสาขาวิชาให้เป็นไปตามเกณฑ์ ผู้สอน 1 คน ต่อผู้เรียนไม่เกิน 35 คน ในทุกสาขาวิชา

5. จัดให้มีการฝึกอบรมการจัดทำแผนการสอนแบบบูรณาการที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ในการฝึกทักษะวิชาชีพและส่งแผนการสอนทุกรายวิชา

6. จัดให้มีเงินทุนสนับสนุนในการจัดทำงานวิจัย และนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ เพื่อเป็นการสร้างกระตุ้นและส่งเสริมให้บุคลากรทำวิจัย และนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์

7. มีการวางแผนในการจัดอาคารเรียน ห้องปฏิบัติการ ห้องพักครูให้มีบรรยากาศเอื้อต่อการทำงานและมีศูนย์วิทยบริการที่ให้บริการด้วยสื่อที่หลากหลาย รวมถึงมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยประจำห้องปฏิบัติการ

8. การจัดให้มีสวัสดิการสำหรับบุคลากรที่หลากหลาย เช่น การตรวจสุขภาพประจำปี บ้านพัก

9. ควรมีการจัดให้บุคลากรมีการทำกิจกรรมร่วมกันบ่อยครั้ง เพื่อสานสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรภายในองค์กร รวมถึงจัดให้มีการศึกษาดูงานทั้งในประเทศและต่างประเทศโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

10. จัดให้มีการมอบรางวัลแก่บุคลากรที่มีผลงานดีเด่นประจำปี เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงาน

หัวข้อวิจัยที่ท่านสนใจและเป็นประโยชน์กับการทำงานของท่านและอาชีวศึกษาในอนาคต

1. การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารงานบุคลากร การเงิน พัสดุ

2. การพัฒนามาตรฐานวิชาชีพของนักเรียน นักศึกษา

3. การศึกษาแนวทางการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาพัฒนาระบบการเรียนการสอน

4. การพัฒนามาตรฐานการจัดทำงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์คนรุ่นใหม่

5. การศึกษาความพึงพอใจในการใช้ทรัพยากรงานอาคารสถานที่ และศูนย์วิทยบริการ

6. การศึกษาความพึงพอใจในการจัดสวัสดิการของบุคลากร

นายอดิพล ไผ่แสวง วิทยาลัยการอาชีพเกษตรวิสัย

การวิเคราะห์  SWOT

การพัฒนาและบริหาร  "คน" 

วิทยาลัยการอาชีพเกษตรวิสัย

 

จุดแข็ง (STRENGTHS)  บุคลากรวิทยาลัยการอาชีพเกษตรวิสัย   

                1.   บุคลากรมีความชำนาญในการปฏิบัติงาน

              2. บุคลากร มีวุฒิการศึกษาตรงกับสาขาวิชาชีพที่สอน

            3..  บุคลากรมีความรู้ ความสามารถ และทักษะประสบการณ์ในการจัดการเรียนการสอน

                4..  บุคลากรมีการพัฒนาผลงานทางวิชาการ

                5.  บุคลากรส่วนใหญ่มีความสามารถในการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการเรียนการสอนและการทำงาน

         

 

จุดอ่อน (WEAKNESS)  บุคลากรวิทยาลัยการอาชีพเกษตรวิสัย

                1.  บุคลากรมีจำนวนน้อย

2. บุคลากรมีภาระงานหลายด้านหลายหน้าที่ที่รับผิดชอบ

  • 3. บุคลากรส่วนใหญ่เป็นลูกจ้างชั่วคราวขาดความมั่นคงในการทำงานเมื่อมีการลาออกทำให้มีผลกระทบต่อการจัดการเรียนการสอนและงานที่รับผิดชอบ
  • 4. บุคลากรไม่ได้รับการพัฒนางานอย่างต่อเนื่องที่เป็นระบบ
  • 5. บุคลากรบางส่วนยังมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการเปลี่ยนแปลงขององค์กร
  • 6. บุคลากรส่วนใหญ่มีวุฒิภาวะในการปฏิบัติงานน้อย ทำให้ไม่กล้าแสดงออก ไม่กล้าแสดงความคิดเห็นที่เป็นของตนเอง
  • 7. บุคลากรขาดขวัญและกำลังใจในการทำงาน
  • 8. บุคลากรส่วนหนึ่งต้องทำหน้าที่เกินภาระงานจึงทำให้เวลาในการเตรียมการสอนและพัฒนาการเรียนการสอนน้อยลง
  • 9. การทำงานของบุคลากรขาดการทำงานเป็นทีม
  • 10. บุคลากรมีเวลาทำงานวิชาการและงานวิจัยน้อย เนื่องจากมีภาระการสอนและงานพิเศษมาก

 

โอกาส (OPPORTUNITIES)  วิทยาลัยการอาชีพเกษตรวิสัย

  • 1. บุคลากรส่วนใหญ่มีประสบการณ์น้อยมีความกระตือรือร้นในการพัฒนาตนเอง
  • 2. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา มีนโยบายในการพัฒนาบุคลากรอย่างชัดเจน
  • 3. การปฏิรูประบบราชการทำให้บุคลากรมีความตื่นตัวในการทำงานมากขึ้น

 

อุปสรรค (THREATS)  วิทยาลัยการอาชีพเกษตรวิสัย

  • 1. การคมนาคมไม่สะดวกทำให้เป็นอุปสรรคในการเดินทางมาปฏิบัติงานของบุคลากร
  • 2. บุคลากรขาดโอกาสในการพัฒนาให้ทันกับเทคโนโลยี
  • 3. สอศ.ควรจัดหาทุนสนับสนุนด้านการศึกษาต่อให้แก่บุคลากร
  • 4. การสรรหาบุคลากรค่อนข้างทำได้ยากเนื่องจากตั้งอยู่ในพื้นที่ห่างไกลชุมชน การคมนาคม

ไม่สะดวก

 

.........................................................................................................................................

 

2. หัวข้อวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานของวิทยาลัยการอาชีพเกษตรวิสัย และอาชีวศึกษา

ในอนาคตคือ

                " การพัฒนาอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม โดยใช้กิจกรรม 5 ส. วิทยาลัยการอาชีพเกษตรวิสัย อำเภอเกษตรวิสัย  จังหวัดร้อยเอ็ด"

นายสุคนธ์ นาเมืองรักษ์

ผลการวิเคราะห์ swot บุคลากรของวิทยาลัยเทคนิคสุวรรณภูมิ

จุดแข็ง

1. มีวุฒิการศึกษาตรงตามวิชาที่สอน/หรือทำงาน

2. มีการทำงานเป็นทีม

3. เป็นบุคคลในพื้นที่

จุดอ่อน

1. บุคลากรมีน้อย

2. ขาดประสบการณ์สอนแบบฐานสมรรถนะ

3. มีภาระงานนอกการสอนมาก

4. เข้าออกบ่อยเพราะเป็นลูกจ้างชั่วคราว

โอกาส

1. มีการส่งเสริมให้บุคลากรได้พัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ เช่น ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น,ศึกษาดูงาน เป็นต้น

2. สถานประกอบการและชุมชนให้ความร่วมมือในการจัดการศึกษาในทุกสาขาวิชา

อุปสรรค

1. นโยบายการพัฒนาบุคลากรของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาและกระทรวงศึกษาธิการที่เกี่ยวข้องกับการอาชีวศึกษาไม่ต่อเนื่อง

2. ไม่มีงบประมาณสนับสนุนในการพัฒนาบุคลากร

นายณรงค์ สมบัติใหม่

1. ผลการวิเคราะห์ (SWOT) เพื่อการพัฒนาและบริหารคนของวิทยาลัยเทคนิคพิจิตร

จุดแข็ง บุคลากรของวิทยาลัยเทคนิคพิจิตรมีต้นทุนสูง

1. ปรองดอง สามัคคี ประสานประโยชน์ ทั้งภายในภายนอก (ทุนทางสังคม)

2. ดำเนินชีวิตเรียบง่ายตามสภาพบริบทสังคม ท้องถิ่นพิจิตร (ทุนแห่งความสุข)

3. มีความเป็นพี่เป็นน้อง เป็นเครือญาติ (ทุนมนุษย์)

4. มีพื้นฐานความรู้ดี มีความสามารถหลากหลาย (ทุนทางความรู้)

5. ใฝ่ศึกษาหาความรู้ พัฒนาตนเอง (ทุนแห่งความยั่งยืน)

จุดอ่อน บุคลากรมีลักษณะบางประการที่เป็นอุปสรรคและจุดอ่อน

1. สอนแบบเดิม ๆ ไม่กระตือรือร้น และทุ่มเทแบบครูมืออาชีพ คำนึงถึงสิทธิมากกว่า

หน้าที่

2. ขาดขวัญกำลังใจเรื่องตำแหน่งและค่าตอบแทน (ครูพิเศษ) วิทยฐานะ (ครูประจำ)

3. ขาดความรู้ด้าน IT

4. การสื่อสารในองค์กร

5. การทำงานและการเป็นแบบอย่างมีหลายมาตรฐาน

6. ขาดทิศทางและแผนการพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับอนาคต

7. การทำงานเป็นทีม

โอกาส

1. ภาคส่วนต่าง ๆ สังคม ชุมชน ให้ความยอมรับ เชื่อมั่น เชื่อถือและให้ความร่วมมือ

2. การพัฒนาและปรับบทบาทเป็นสถาบันการอาชีวศึกษา ตาม พรบ.การอาชีวศึกษา 2551

อุปสรรค

1. ขาดทิศทางและแผนการพัฒนาบุคลากรทุกระดับ (ระดับ สอศ./สถาบัน/สถานศึกษา)

2. การพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรทางอาชีวศึกษาไม่ทั่วถึงและเกิดผลตามเป้าหมาย

3. สถานประกอบการในการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรในพื้นที่มีน้อย

2. ปัญหาที่พบและทางออกที่เป็นไปได้

ปัญหาที่พบ ทางออก/วิธีการแก้ไข

1. ขาดความเป็นครูมืออาชีพ

(สอนแบบเดิม ๆ ไม่กระตือรือร้น) 1. ผู้บริหารเป็นแบบอย่างเอาจริง เอาจัง และ

ต่อเนื่อง

2. จัดกิจกรรมปลุกจิตสำนึกเห็นคุณค่าในตน

3. กำหนดแผนงานและจัดกิจกรรมเสริมความเป็นครู

มืออาชีพ (อบรม สัมมนา ศึกษาดูงาน)

4. การนิเทศภายใน การประเมินผลการปฏิบัติงาน

ปัญหาที่พบ ทางออก/วิธีการแก้ไข

5. จัดกิจกรรมเสริมแรง (ให้รางวัล ยกย่อง)

2. การสื่อสารในองค์กร 1. ประชุมชี้แจง

2. ใช้ IT

3. นิเทศภายใน

3. มาตรฐานการทำงานของบุคลากร

ไม่เหมือนกัน ทำให้นักศึกษาสับสน 1. กำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงานให้ชัดเจน

2. สร้างความเข้าใจและความร่วมมือ

3. การติดตามประเมินผล

4. การทำงานเป็นทีม 1. จัดกิจกรรมให้ทุกคนมีส่วนร่วม

2. นิเทศ ติดตาม สนับสนุน

3. ตัวอย่างกิจกรรมที่จะช่วยแก้ปัญหาเรื่องคน (โดยอาศัยจุดแข็งและโอกาสที่มี)

โครงการ มหากุศลเพื่อการศึกษา สร้างหอปัญญาปรีชาทำ

หน่วยงานที่รับผิดชอบ วิทยาลัยเทคนิคพิจิตร

หน่วยงานสนับสนุน

ฝ่ายสงฆ์ พระราชวิจิตรโมลี ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดพิจิตร วัดท่าหลวง

พระครูบรรพตพัฒนคุณ วัดเขาอิติสุคโต จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

พระครูปลัดราชันย์ อริโย วัดวังศาล อำเภอวังโป่ง จังหวัดเพชรบูรณ์

พระครูวิชรพุทธานุกูล เจ้าคณะอำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร

ฝ่ายฆราวาส ฯพณฯ ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง

นายไพฑูรย์ แก้วทอง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน

นายนราพัฒน์ แก้วทอง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิจิตร

นายวินัย ภัทรประสิทธิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิจิตร

นางสาวสุณีย์ เหลืองวิจิตร เลขานุการรัฐมนตรีว่าการคมนาคม

นายสมชัย หทยะตันติ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร

นายชาติชาย เจียมศรีพงษ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิจิตร

นายประกาศิต ยูวะเวส นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองพิจิตร

นายอุมัยวัชญ์ อารัธเพลีย ผู้อำนวยการแขวงการทางพิจิตร

นายอนันต์ พรหมดนตรี ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดพิจิตร

หลักการและเหตุผล

ภารกิจสำคัญของวิทยาลัยเทคนิคพิจิตรคือการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ มีทักษะวิชาชีพและมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ สามารถประกอบอาชีพที่มั่นคง เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม โดยการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2545 และพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ.2551 เน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา ตลอดจนเน้นให้มีการระดมความร่วมมือ ระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาการศึกษา ซึ่งวิทยาลัยเทคนิคพิจิตรได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือจากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ชุมชน และสถานประกอบการ และสถาบันการพระศาสนา ในการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเป็นอย่างดี ตลอดมา โดยเฉพาะเมื่อปีการศึกษา 2550 ได้จัดโครงการอุปสมบทเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิม

พระชนมพรรษา 80 พรรษา ซึ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี และผลสืบเนื่องมาจากการอุปสมบทครั้งนี้ มีทุนทรัพย์จาการบริจาคโดยตั้งวัตถุประสงค์เพื่อจัดสร้างหอสมุดและแหล่งเรียนรู้สำหรับศึกษาค้นคว้าด้านวิชาชีพและเทคโนโลยีสารสนเทศ (หอปัญญา ปรีชาทำ) สำหรับนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคพิจิตรและประชาชนชาวพิจิตร ซึ่งยังสร้างไม่แล้วเสร็จ เพื่อให้การจัดสร้างอาคารหอปัญญา ปรีชาทำ สำเร็จตามวัตถุประสงค์ จึงได้จัดทำโครงการมหากุศลเพื่อการศึกษา สร้างหอปัญญา ปรีชาทำ ขึ้น

วัตถุประสงค์

1. เพื่อจัดกิจกรรมและสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ภายใต้แนวทาง “ความรู้คู่คุณธรรม”

2. เพื่อสร้างกุศลและสืบสานรักษาพระศาสนา วัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม

3. เพื่อสร้างและระดมเครือข่ายความร่วมมือจากทุกภาคส่วนสร้างอาคารหอสมุด “หอปัญญา

ปรีชาทำ”

เป้าหมาย

จัดกิจกรรมระดมความร่วมมือจากทุกภาคส่วนทั้งภายในและภายนอกให้เกิดการเรียนรู้ด้านวิชาการ

วิชาชีพคุณธรรม จริยธรรม ประเพณีและวัฒนธรรมไทย คือ

1. ตักบาตรข้าวสารอาหารแห้ง

2. เทศมหาชาติทรงเครื่อง 5 ธรรมมาสน์ 13 กัณฑ์

3. การทอดผ้าป่าการศึกษามหากุศล

4. คอนเสริต์เพื่อการศึกษามหากุศลเพื่อคนพิจิตร

ระยะเวลาดำเนินการ วันที่ 11 - 12 ธันวาคม 2551

สถานที่ดำเนินการ วิทยาลัยเทคนิคพิจิตร

วิธีดำเนินการ

ลำดับที่ รายการ ระยะเวลา

1. จัดทำโครงการขออนุมัติโครงการ กรกฎาคม 2551

2. ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง สิงหาคม 2551

3. ประชุม เตรียมการ มอบหมายงาน กันยายน 2551

4. ประชาสัมพันธ์ ตุลาคม 2551

5. เตรียมการด้านพิธีการ พิธีกรรม สถานที่ วัสดุอุปกรณ์ ตุลาคม – พฤศจิกายน 2551

6. ดำเนินการเทศน์มหาชาติทรงเครื่อง, ทอดผ้าป่ามหากุศล

และจัดคอนเสิร์ตมหากุศลเพื่อคนพิจิตร 12 ธันวาคม 2551

7. สรุปและประเมินผลโครงการ ธันวาคม 2551

กำหนดการ

วันพฤหัสบดีที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๑

๐๖.๓๐ – ๐๘.๓๐ น. - ตักบาตรข้าวสารอาหารแห้งกับหลวงพ่อปรีชา วัดเขาอิติสุคโต

พระครูปลัดราชันย์อริโย และพระครูวชิรพุทธานุกูล ที่ตลาดเทศบาลเมืองพิจิตร

วันศุกร์ที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๑

๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. - แต่งองค์ผ้าป่ามหากุศล

๑๓.๐๐ - ๑๗.๓๐ น. - เทศน์มหาชาติทรงเครื่อง ๕ ธรรมมาสน์ ๑๓ กัณฑ์

โดยพระครูปลัดราชันย์อริโย วัดวังศาล จังหวัดเพชรบูรณ์

พระมหาตุ้ยนุ้ย และพระสุรพล พระสมเกียรติ พระธีรเดช พร้อมด้วยคณะ

นักแสดงแหล่ชุดใหญ่

๑๘.๓๐- ๒๒.๐๐ น. - ฉลององค์ผ้าป่า ฟรีคอนเสิร์ตลูกทุ่งเวทีไท (ศรเพชร ศรสุพรรณ,

สุดา ศรีลำดวน, น้องนิว พรพิมล, อิฟ อรวรรณ, น้ำค้าง เดือนเพ็ญ,

สุขสันต์ วันสว่างฯ และตลกคณะซุปเปอร์โจ๊ก เตี้ย พิจิตร นง เชิญยิ้ม)

๒๒.๐๐ - ๒๒.๓๐ น. - ทอดผ้าป่ามหากุศล นำโดย พระครูบรรพตพัฒนคุณ (หลวงพ่อปรีชา)

วัดเขาอิติสุคโต อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

๒๒.๓๐ - ๒๔.๐๐ น. - ชมฟรีคอนเสิร์ตลูกทุ่งเวทีไท (ต่อ)

๒๔.๐๐ น. - ปิดการแสดง

งบประมาณดำเนินการ

1. จากเงินบำรุงการศึกษาของวิทยาลัยเทคนิคพิจิตร 20,000 บาท

2. จากเงินบริจาคของคณะครู นักศึกษา ศิษย์เก่า ส่วนราชการและภาคส่วนต่าง ๆ

3. จากคณะสงฆ์จังหวัดพิจิตร เพชรบูรณ์และประจวบคีรีขันธ์

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. สามารถสร้างอาคารเรือนไทย “หอปัญญา ปรีชาทำ” เสร็จสมบูรณ์

2. นักศึกษาและประชาชนชาวจังหวัดพิจิตร สามารถใช้อาคารหอปัญญา ปรีชาทำ เป็นแหล่ง

ศึกษาค้นคว้า เรียนรู้ด้านวิชาชีพและสืบค้นด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

4. หัวข้อวิจัยที่สนใจและเป็นประโยชน์ต่อการทำงาน

- ศึกษาความพึงพอใจการปฏิบัติงานของครูผู้สอนวิทยาลัยเทคนิคพิจิตร

- ปัจจัยที่มีผลต่อการทำงานแบบมีส่วนร่วมของบุคลากรวิทยาลัยเทคนิคพิจิตร

- ขวัญกำลังใจของบุคลากรวิทยาลัยเทคนิคพิจิตร

 ข้อ  1     วิเคราะห์    SWOT  ของการพัฒนาและบริหาร คน ของวิทยาลัยการอาชีพบ้านผือ

                                                           โดย  ดร.สรรเพชร    นุศรีอัน    ผอ.วิทยาลัยการอาชีพบ้านผือ

จุดแข็ง   (Stvength)

จุดอ่อน  (Weakness)

โอกาส     (Opportunity)

อุปสรรค   (Treat)

ข้อมูลบุคลากร (คน) ของวิทยาลัยการอาชีพบ้านผือ

 

1. ผู้บริหาร 

 

วุฒิการศึกษา

.ตรี

.โท

.เอก

ผู้บริหาร

1

3

1

รวม

5

 

2.  ครูผู้สอน

 

ลำดับที่

ประเภท

.ตรี

.โท

อื่นๆ

1

ข้าราชการครู

5

2

-

2

พนักงานราชการ

7

1

-

3

ครูผู้สอน

16

-

2

รวม

28

3

2

 

3.ครูผู้สอนแยกตามแผนกวิชา

 

ลำดับที่

 

ระดับการศึกษา

ตำแหน่ง

ประสบการณ์ การทำงาน(ปี)

 

 

ต่ำกว่า ป.ตรี

ป.ตรี

ป.โท

ข้าราชการ

พนักงานราชการ

ครูพิเศษ

1

ช่างยนต์

1

5

2

4

1

3

7

2

ช่างไฟฟ้า

4

-

1

1

2

2

6

3

ช่างอิเล็กทรอนิกส์

2

-

-

-

-

2

3

4

ช่างเชื่อมโลหะ

3

-

-

-

2

1

6

5

คอมพิวเตอร์ธุรกิจ

1

4

-

-

1

3

4

6

การวิเคราะห์  SWOT

แนวทางการพัฒนาวิทยาลัยการอาชีพหนองกุงศรี  

  • 1.) การวิเคราะห์ปัจจัยภายใน 

จุดเด่นของวิทยาลัยด้านประสิทธิผลของวิทยาลัย 

  • 1. ผู้บริหารสูงสุดมีวิสัยทัศน์มีความมุ่งมั่นในการจัดการศึกษาเพื่อเยาวชนอย่างแท้จริง
  • 2. สถานศึกษามีการสำรวจ-ติดตาม ผู้จบการศึกษาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
  • 3. สถานศึกษามีข้อตกลงร่วมกับสถานประกอบการในการรับนักศึกษาเข้าฝึกงาน
  • 4. ให้บริการทางวิชาการที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน/สังคม ในสาขาวิชาชีพต่างๆ
  • 5. สถานศึกษาจัดกิจกรรมได้ครอบคลุมทุกประเภทกิจกรรม มีแผนปฏิบัติการและจัดสรรงบประมาณไว้อย่างชัดเจน
  • 6. สถานศึกษาจัดการศึกษาได้อย่างทั่วถึง ครอบคลุมทุกกลุ่ม มีแผนปฏิบัติการและจัดสรรงบประมาณไว้อย่างชัดเจน
  • 7. มีหลักสูตรที่หลากหลายและกระบวนการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ
  • 8. มีบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ ความรับผิดชอบและอยู่ในวัยทำงาน
  • 9. มีการบริหารจัดการตามโครงสร้างสายงานการบังคับบัญชาที่ชัดเจน
  • 10. มีเครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติงานอย่างครบถ้วน อันประกอบด้วย โครงสร้างและระเบียบการบริหารสถานศึกษา แผนพัฒนา แผนปฏิบัติการประจำปี คู่มือครู คู่มือนักศึกษา ฯลฯ
  • 11. มีการประกันคุณภาพการศึกษาอย่างเป็นระบบและได้รับการรับรองการประเมิน คุณภาพภายนอกจากสมศ.ด้วยผลการประเมินในระดับดี
  • 12. มีความรวดเร็วและความคล่องตัวในการบริหารจัดการ
  • 13. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน สวัสดิการต่างๆที่วิทยาลัยจัดให้ เพื่อให้มีการพัฒนาที่ดีขึ้น
  • 14. ผู้เรียนทุกคนได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากอาจารย์ที่ปรึกษา ทำให้โอกาสในการสำเร็จการศึกษามีมาก
  • 15. สภาพภูมิทัศน์ของโรงเรียนสวยงาม ร่มรื่นและปลอดจากมลพิษทางเสียงเอื้อประโยชน์ ต่อการเรียนรู้

จุดที่วิทยาลัยควรพัฒนา

  • 1. จัดการเรียนการสอนให้มีคุณภาพโดยมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
  • 2. ควรจัดทำข้อสอบมาตรฐานวิชาชีพ (Comperency Profile) ที่ร่วมกันจัดทำในระดับอาชีวศึกษาจังหวัด ทั้งระดับ ปวช. และระดับ ปวส.
  • 3. มีข้อจำกัดด้านงบประมาณ
  • 4. ขาดแคลนครูในบางสาขาวิชาชีพ
  • 5. ครูมีงานหลายด้านนอกเหนือจากงานสอน
  • 6. ครูวิชาชีพได้รับโอกาสในการเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์น้อย
  • 7. ครูร้อยละ 70 ต้องมีการพัฒนาในการจัดทำแผนการสอนและการผลิตสื่อการสอน
  • 8. การขาดความรับผิดชอบของผู้เรียน อาทิการมาสายบ่อยครั้ง การขาดเรียนเป็นประจำ การไม่เคารพกฎระเบียบของวิทยาลัย
  • 9. พันธกิจของวิทยาลัยยังมิได้ครอบคลุมถึงการประกันคุณภาพการศึกษา
  • 10. การออกกลางคันของนักศึกษาชั้นปวช.1 มีผลทำให้จำนวนผู้เรียนลดลง และผู้ออกไปจากระบบอาจจะไปก่อปัญหาให้แก่สังคมได้
  • 11. ครูสาขาวิชาชีพจะอยู่ไม่นาน เนื่องจากโอกาส เลือกงานจะมีมาก ทำให้ผู้เรียนค่อนข้างสับสนเพราะว่าผู้สอนแต่ละคนมีเทคนิควิธีการสอนที่แตกต่างกัน

ข้อเสนอแนะ

  • 1. ส่งเสริมสนับสนุนครู - อาจารย์ ให้มีความรู้งานวิจัยในชั้นเรียน และพัฒนานวัตกรรมที่สอดคล้องกับการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง
  • 2. สถานศึกษาควรจัดกิจกรรมอย่างหลากหลาย ซึ่งนอกจากนักศึกษาจะมีความรู้ทางด้านวิชาการ จำเป็นต้องมีคุณธรรม จริยธรรม จึงจะสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

 

จุดเด่นของวิทยาลัยด้านคุณภาพการเรียนการสอนของวิทยาลัย

 

  • 1. สัดส่วนของนักศึกษาต่ออาจารย์ในภาพรวมเหมาะสมทุกสาขาวิชา
  • 2. ร้อยละของงบประมาณด้านวัสดุฝึกเพียงพอ
  • 3. สถานศึกษาจัดครู - อาจารย์เข้าสอนตรงตามวุฒิ และวิชาชีพ ทุกสาขาวิชา
  • 4. สถานศึกษาได้ให้ความสำคัญในการพัฒนางานวิชาการ ได้จัดสรงบประมาณส่งเสริมสนับสนุนครู-อาจารย์ ในการจัดทำผลงานทางวิชาการ

จุดที่วิทยาลัยควรพัฒนา

  • 1. ควรส่งเสริมสนับสนุน ให้บุคลากรเข้ารับการอบรมสัมมนา เพื่อนำความรู้ใหม่มาพัฒนาการเรียนการสอน
  • 2. ควรประสานงานกับผู้เชี่ยวชาญทุกสาขาอาชีพ/ภูมิปัญญาท้องถิ่น มาให้ความรู้นักศึกษาเพื่อเกิดการเรียนรู้อย่างหลากหลาย
  • 3. ควรส่งเสริมสนับสนุนให้ครู-อาจารย์ จัดทำผลงานทางวิชาการ กระจายทุกสาขาโดยเฉพาะผลงานวิจัย โครงงานนักศึกษา และสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ เพื่อพัฒนาองค์กรและการเรียนการสอน
  • 4. เพิ่มงบสนับสนุน การทำผลงานทางวิชาการให้มากขึ้น
  • 5. ควรกำหนดให้งานวิจัย เป็นภารกิจหนึ่งในการปฏิบัติหน้าที่ประจำ
  • 6. ควรจัดให้มีห้องรวบรวมหรือแสดงผลงานอย่างเป็นระบบเพื่อให้นักศึกษาได้ค้นคว้าและพัฒนาองค์ความรู้ใหม่

ข้อเสนอแนะ

  • 1. เพื่อให้การฝึกงานในสถานประกอบการเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และมีคุณภาพสถานศึกษาควรสร้างเครือข่ายทางวิชาชีพร่วมกับสถานประกอบการทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อรองรับการฝึกงานและการประกอบอาชีพของนักศึกษา
  • 2. สถานศึกษาควรมีการทำสัญญาความร่วมมือกับภาคธุรกิจ ในการจัดการศึกษาที่มีข้อตกลงความร่วมมืออย่างขัดเจน
  • 3. สร้างแรงจูงใจให้นักศึกษาใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์มากขึ้นซึ่งจะทำให้นักศึกษาเกิดการเรียนได้กว้างขวาง

 

 จุดเด่นของวิทยาลัยด้านการบริหารจัดการของวิทยาลัย

 1. ผู้บริหารมีภาวะผู้นำ มีวิสัยทัศน์กว้างไกลในการจัดการอาชีวศึกษา ให้ความสำคัญต่อการประกันคุณภาพการศึกษา

  • 2. บุคลากรทุกคนให้ความสำคัญในการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

จุดที่วิทยาลัยควรพัฒนา

  • 1. ควรจัดโครงการให้บริการต่อชุมชน/สังคม ให้ครอบคลุมทุกสาขาวิชาที่สถานศึกษาเปิดสอน โดยกำหนดในแผนปฏิบัติกิจกรรมและจัดสรรงบประมาณให้ชัดเจน
  • 2. ควรปรับปรุงข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษาเพื่อให้บุคลากรของสถานศึกษาใช้วิเคราะห์ข้อมูลของสถานศึกษาบนฐานข้อมูลเดียวกัน

ข้อเสนอแนะ

  • 1. ประสานงานกับชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมทั้งภาครัฐและเอกชน เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
  • 2. พัฒนากระบวนการประกันคุณภาพภายใน โดยใช้ ระบบ PDCA อย่างต่อเนื่อง 

2.)     การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก 

                โอกาส (Opportunity : O)

        1.  พื้นที่ที่ตั้งของสถานศึกษา อยู่ในย่านชุมชนการคมนาคมสะดวก ทำให้ไม่มีปัญหาการเดินทาง

             มาโรงเรียนของครูและนักศึกษาเป็นจุดศูนย์กลางที่เหมาะสมที่เป็นรอยต่อระหว่าง 3 อำเภอ

       2.   การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จะให้ความร่วมมือค่อนข้างดีโดย เฉพาะผู้ปกครอง

            นักศึกษา

       3.  อยู่ใกล้แหล่งที่จะรับการศึกษาต่อเช่นมหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยขอนแก่น

      4.   มีตลาดแรงงานรองรับผู้สำเร็จการศึกษา มากมายทุกสาขาวิชา

      5.  เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และสามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้ สอดคล้องกับ

           สภาพจริง

     6.  นักเรียนได้รับเงินอุดหนุนรายหัว ค่าเล่าเรียนจากรัฐบาล

     7.  นักเรียนได้รับเงินจากโครงการเงินกู้เพื่อการศึกษา

       8.  องค์กรและหน่วยงานเห็นความสำคัญของการจัดการอาชีวศึกษา

อุปสรรค (Threat - T)

1. ปัญหาครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นปัญหาครอบครัวแตกแยกหรือปัญหาการเลี้ยงดู โดย

    ตามใจมากจนเกินไป ฯลฯ มีผลต่อการ เรียนของผู้เรียน

2. มุมมองของชุมชนที่ค่อนข้างจะมีความคิดเห็นว่าสถานศึกษาอาชีวศึกษาจะมีความพร้อม

    น้อยกว่าสถานศึกษา  สพฐ.

3. สภาพสังคมที่รับวัฒนธรรมตะวันตก เข้ามามากเกิดการเลียนแบบในหมู่เยาวชน

    ทำให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมและไม่ได้ รับการดูแล ปลูกฝังจากหน่วยงานภาครัฐและ

    จังหวัด

ข้อเสนอแนะในการพัฒนาคุณภาพของวิทยาลัย 

ข้อเสนอแนะในการพัฒนาโดยเร่งด่วน 

(ภายในระยะเวลา  1  ปี)

  • 1. ควรส่งเสริมให้ครู-อาจารย์ จัดทำและพัฒนาสื่อการสอน เพื่อให้ประโยชน์ในการเรียนการสอนให้มากขึ้น โดยกำหนดเป็นแผนงานและโครงการของสถานศึกษาไว้อย่างชัดเจน
  • 2. ควรให้ครู - อาจารย์ ทำวิจัยในชั้นเรียน เพื่อนำผลการวิจัยมาพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอน
  • 3. ควรส่งเสริมให้ครู - อาจารย์ได้รับการศึกษาอบรมอย่างต่อเนื่อง และสนับสนุนส่งเสริมให้ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น

 ทิศทางการพัฒนาคุณภาพของวิทยาลัยในอนาคต

 1. จัดการศึกษาโดยเน้นคุณภาพศึกษามากกว่าประมาณเพื่อสร้างภาพลักษณ์ (Brand Name) ของสถานศึกษา

  • 2. สำรวจความต้องการของชุมชน ในด้านการบริการทางวิชาการ เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการศึกษา
  • 3. วางแผนจัดการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น และมีหลักสูตรที่หลากหลาย เพื่อตอบสนองความต้องการของสถานประกอบการ ชุมชน และท้องถิ่น
  • 4. การวางแผนจัดซื้อเครื่องมือ อุปกรณ์ และสื่อการสอนในอนาคตควรพิจารณาจากภาพรวมด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี
  • 5. การวางแผนสรรหาผู้ชำนาญการที่มีประสบการณ์ในวิชาชีพ ให้มีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอนเพิ่มขึ้น

 

การวิเคราะห์ SWOT แนวทางการพัฒนาวิทยาลัยการอาชีพหนองกุงศรี 1.) การวิเคราะห์ปัจจัยภายใน จุดเด่นของวิทยาลัยด้านประสิทธิผลของวิทยาลัย 1. ผู้บริหารสูงสุดมีวิสัยทัศน์มีความมุ่งมั่นในการจัดการศึกษาเพื่อเยาวชนอย่างแท้จริง 2. สถานศึกษามีการสำรวจ-ติดตาม ผู้จบการศึกษาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง 3. สถานศึกษามีข้อตกลงร่วมกับสถานประกอบการในการรับนักศึกษาเข้าฝึกงาน 4. ให้บริการทางวิชาการที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน/สังคม ในสาขาวิชาชีพต่างๆ 5. สถานศึกษาจัดกิจกรรมได้ครอบคลุมทุกประเภทกิจกรรม มีแผนปฏิบัติการและจัดสรรงบประมาณไว้อย่างชัดเจน 6. สถานศึกษาจัดการศึกษาได้อย่างทั่วถึง ครอบคลุมทุกกลุ่ม มีแผนปฏิบัติการและจัดสรรงบประมาณไว้อย่างชัดเจน 7. มีหลักสูตรที่หลากหลายและกระบวนการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ 8. มีบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ ความรับผิดชอบและอยู่ในวัยทำงาน 9. มีการบริหารจัดการตามโครงสร้างสายงานการบังคับบัญชาที่ชัดเจน 10. มีเครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติงานอย่างครบถ้วน อันประกอบด้วย โครงสร้างและระเบียบการบริหารสถานศึกษา แผนพัฒนา แผนปฏิบัติการประจำปี คู่มือครู คู่มือนักศึกษา ฯลฯ 11. มีการประกันคุณภาพการศึกษาอย่างเป็นระบบและได้รับการรับรองการประเมิน คุณภาพภายนอกจากสมศ.ด้วยผลการประเมินในระดับดี 12. มีความรวดเร็วและความคล่องตัวในการบริหารจัดการ 13. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน สวัสดิการต่างๆที่วิทยาลัยจัดให้ เพื่อให้มีการพัฒนาที่ดีขึ้น 14. ผู้เรียนทุกคนได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากอาจารย์ที่ปรึกษา ทำให้โอกาสในการสำเร็จการศึกษามีมาก 15. สภาพภูมิทัศน์ของโรงเรียนสวยงาม ร่มรื่นและปลอดจากมลพิษทางเสียงเอื้อประโยชน์ ต่อการเรียนรู้ จุดที่วิทยาลัยควรพัฒนา 1. จัดการเรียนการสอนให้มีคุณภาพโดยมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน 2. ควรจัดทำข้อสอบมาตรฐานวิชาชีพ (Comperency Profile) ที่ร่วมกันจัดทำในระดับอาชีวศึกษาจังหวัด ทั้งระดับ ปวช. และระดับ ปวส. 3. มีข้อจำกัดด้านงบประมาณ 4. ขาดแคลนครูในบางสาขาวิชาชีพ 5. ครูมีงานหลายด้านนอกเหนือจากงานสอน 6. ครูวิชาชีพได้รับโอกาสในการเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์น้อย 7. ครูร้อยละ 70 ต้องมีการพัฒนาในการจัดทำแผนการสอนและการผลิตสื่อการสอน 8. การขาดความรับผิดชอบของผู้เรียน อาทิการมาสายบ่อยครั้ง การขาดเรียนเป็นประจำ การไม่เคารพกฎระเบียบของวิทยาลัย 9. พันธกิจของวิทยาลัยยังมิได้ครอบคลุมถึงการประกันคุณภาพการศึกษา 10. การออกกลางคันของนักศึกษาชั้นปวช.1 มีผลทำให้จำนวนผู้เรียนลดลง และผู้ออกไปจากระบบอาจจะไปก่อปัญหาให้แก่สังคมได้ 11. ครูสาขาวิชาชีพจะอยู่ไม่นาน เนื่องจากโอกาส เลือกงานจะมีมาก ทำให้ผู้เรียนค่อนข้างสับสนเพราะว่าผู้สอนแต่ละคนมีเทคนิควิธีการสอนที่แตกต่างกัน ข้อเสนอแนะ 1. ส่งเสริมสนับสนุนครู – อาจารย์ ให้มีความรู้งานวิจัยในชั้นเรียน และพัฒนานวัตกรรมที่สอดคล้องกับการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง 2. สถานศึกษาควรจัดกิจกรรมอย่างหลากหลาย ซึ่งนอกจากนักศึกษาจะมีความรู้ทางด้านวิชาการ จำเป็นต้องมีคุณธรรม จริยธรรม จึงจะสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข จุดเด่นของวิทยาลัยด้านคุณภาพการเรียนการสอนของวิทยาลัย 1. สัดส่วนของนักศึกษาต่ออาจารย์ในภาพรวมเหมาะสมทุกสาขาวิชา 2. ร้อยละของงบประมาณด้านวัสดุฝึกเพียงพอ 3. สถานศึกษาจัดครู – อาจารย์เข้าสอนตรงตามวุฒิ และวิชาชีพ ทุกสาขาวิชา 4. สถานศึกษาได้ให้ความสำคัญในการพัฒนางานวิชาการ ได้จัดสรงบประมาณส่งเสริมสนับสนุนครู-อาจารย์ ในการจัดทำผลงานทางวิชาการ จุดที่วิทยาลัยควรพัฒนา 1. ควรส่งเสริมสนับสนุน ให้บุคลากรเข้ารับการอบรมสัมมนา เพื่อนำความรู้ใหม่มาพัฒนาการเรียนการสอน 2. ควรประสานงานกับผู้เชี่ยวชาญทุกสาขาอาชีพ/ภูมิปัญญาท้องถิ่น มาให้ความรู้นักศึกษาเพื่อเกิดการเรียนรู้อย่างหลากหลาย 3. ควรส่งเสริมสนับสนุนให้ครู-อาจารย์ จัดทำผลงานทางวิชาการ กระจายทุกสาขาโดยเฉพาะผลงานวิจัย โครงงานนักศึกษา และสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ เพื่อพัฒนาองค์กรและการเรียนการสอน 4. เพิ่มงบสนับสนุน การทำผลงานทางวิชาการให้มากขึ้น 5. ควรกำหนดให้งานวิจัย เป็นภารกิจหนึ่งในการปฏิบัติหน้าที่ประจำ 6. ควรจัดให้มีห้องรวบรวมหรือแสดงผลงานอย่างเป็นระบบเพื่อให้นักศึกษาได้ค้นคว้าและพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ ข้อเสนอแนะ 1. เพื่อให้การฝึกงานในสถานประกอบการเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และมีคุณภาพสถานศึกษาควรสร้างเครือข่ายทางวิชาชีพร่วมกับสถานประกอบการทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อรองรับการฝึกงานและการประกอบอาชีพของนักศึกษา 2. สถานศึกษาควรมีการทำสัญญาความร่วมมือกับภาคธุรกิจ ในการจัดการศึกษาที่มีข้อตกลงความร่วมมืออย่างขัดเจน 3. สร้างแรงจูงใจให้นักศึกษาใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์มากขึ้นซึ่งจะทำให้นักศึกษาเกิดการเรียนได้กว้างขวาง จุดเด่นของวิทยาลัยด้านการบริหารจัดการของวิทยาลัย 1. ผู้บริหารมีภาวะผู้นำ มีวิสัยทัศน์กว้างไกลในการจัดการอาชีวศึกษา ให้ความสำคัญต่อการประกันคุณภาพการศึกษา 2. บุคลากรทุกคนให้ความสำคัญในการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา จุดที่วิทยาลัยควรพัฒนา 1. ควรจัดโครงการให้บริการต่อชุมชน/สังคม ให้ครอบคลุมทุกสาขาวิชาที่สถานศึกษาเปิดสอน โดยกำหนดในแผนปฏิบัติกิจกรรมและจัดสรรงบประมาณให้ชัดเจน 2. ควรปรับปรุงข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษาเพื่อให้บุคลากรของสถานศึกษาใช้วิเคราะห์ข้อมูลของสถานศึกษาบนฐานข้อมูลเดียวกัน ข้อเสนอแนะ 1. ประสานงานกับชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมทั้งภาครัฐและเอกชน เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา 2. พัฒนากระบวนการประกันคุณภาพภายใน โดยใช้ ระบบ PDCA อย่างต่อเนื่อง 2.) การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก โอกาส (Opportunity : O) 1. พื้นที่ที่ตั้งของสถานศึกษา อยู่ในย่านชุมชนการคมนาคมสะดวก ทำให้ไม่มีปัญหาการเดินทาง มาโรงเรียนของครูและนักศึกษาเป็นจุดศูนย์กลางที่เหมาะสมที่เป็นรอยต่อระหว่าง 3 อำเภอ 2. การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จะให้ความร่วมมือค่อนข้างดีโดย เฉพาะผู้ปกครอง นักศึกษา 3. อยู่ใกล้แหล่งที่จะรับการศึกษาต่อเช่นมหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยขอนแก่น 4. มีตลาดแรงงานรองรับผู้สำเร็จการศึกษา มากมายทุกสาขาวิชา 5. เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และสามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้ สอดคล้องกับ สภาพจริง 6. นักเรียนได้รับเงินอุดหนุนรายหัว ค่าเล่าเรียนจากรัฐบาล 7. นักเรียนได้รับเงินจากโครงการเงินกู้เพื่อการศึกษา 8. องค์กรและหน่วยงานเห็นความสำคัญของการจัดการอาชีวศึกษา อุปสรรค (Threat – T) 1. ปัญหาครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นปัญหาครอบครัวแตกแยกหรือปัญหาการเลี้ยงดู โดย ตามใจมากจนเกินไป ฯลฯ มีผลต่อการ เรียนของผู้เรียน 2. มุมมองของชุมชนที่ค่อนข้างจะมีความคิดเห็นว่าสถานศึกษาอาชีวศึกษาจะมีความพร้อม น้อยกว่าสถานศึกษา สพฐ. 3. สภาพสังคมที่รับวัฒนธรรมตะวันตก เข้ามามากเกิดการเลียนแบบในหมู่เยาวชน ทำให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมและไม่ได้ รับการดูแล ปลูกฝังจากหน่วยงานภาครัฐและ จังหวัด ข้อเสนอแนะในการพัฒนาคุณภาพของวิทยาลัย ข้อเสนอแนะในการพัฒนาโดยเร่งด่วน (ภายในระยะเวลา 1 ปี) 1. ควรส่งเสริมให้ครู-อาจารย์ จัดทำและพัฒนาสื่อการสอน เพื่อให้ประโยชน์ในการเรียนการสอนให้มากขึ้น โดยกำหนดเป็นแผนงานและโครงการของสถานศึกษาไว้อย่างชัดเจน 2. ควรให้ครู – อาจารย์ ทำวิจัยในชั้นเรียน เพื่อนำผลการวิจัยมาพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอน 3. ควรส่งเสริมให้ครู - อาจารย์ได้รับการศึกษาอบรมอย่างต่อเนื่อง และสนับสนุนส่งเสริมให้ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ทิศทางการพัฒนาคุณภาพของวิทยาลัยในอนาคต 1. จัดการศึกษาโดยเน้นคุณภาพศึกษามากกว่าประมาณเพื่อสร้างภาพลักษณ์ (Brand Name) ของสถานศึกษา 2. สำรวจความต้องการของชุมชน ในด้านการบริการทางวิชาการ เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการศึกษา 3. วางแผนจัดการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น และมีหลักสูตรที่หลากหลาย เพื่อตอบสนองความต้องการของสถานประกอบการ ชุมชน และท้องถิ่น 4. การวางแผนจัดซื้อเครื่องมือ อุปกรณ์ และสื่อการสอนในอนาคตควรพิจารณาจากภาพรวมด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี 5. การวางแผนสรรหาผู้ชำนาญการที่มีประสบการณ์ในวิชาชีพ ให้มีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอนเพิ่มขึ้น

หัวข้อวิจัยที่สนใจและเป็นประโยชน์ต่อการทำงานของวิทยาลัยและอาชีวศึกษาในอนาคต

-  การรายงานผลการดำเนินงาน การเพิ่มปริมาณผู้เรียนด้วยการเทียบโอนเพิ่มประสบการณ์อาชีพในวิทยาลัยการอาชีพหนองกุงศรี

นายจิระวัฒน์ ชวลิต ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคเดชอุดม อุบล

การวิเคราะห์swot

"การพัฒนาและการบริหารคน ของวิทยาลัยเทคนิคเดชอุดม"

การวิเคราะห์สภาพภายในองค์กร

---------------------

จุดแข็ง(strength)

---------------

1. ครูและบุคลากรส่วนใหญ่อายุยังน้อย ทำให้มีความกระตือรือร้นที่จะทำงาน

2. ครูและบุคลากรมีจำนวนไม่มาก ทำให้การพัฒนาและบริหารได้ง่าย

3. ครูและบุคลากรส่วนใหญ่ พร้อมที่จะได้รับการพัฒนา

4. การบริหารบุคคลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะบุคลากรส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือ

จุดอ่อน(weakness)

---------------

1. ครูและบุคลากรส่วนใหญ่เป็นครูอัตราจ้างและลูกจ้างชั่คราว ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงบุคลากรบ่อย

2. ครูและบุคลากรบางส่วนขาดขวัญกำลังใจเนื่องจากไม่ได้เลื่อนขั้นเงินเดือน

3. เมื่อทำการพัฒนาบุคลากรไปแล้ว องค์กรไม่ได้รับประโยชน์จากการพัฒนาบุคลากรเท่าที่ควร เนื่องจากบุคลากรบางส่วนเปลี่ยนงานบ่อย

4. ครูและบุคลากรที่เป็นอัตราจ้างและลูกจ้างขาดขวัญกำลังใจ

5. มีปัญหาเรื่องการบริหารบุคคล เพราะบุคลากรเปลี่ยนงานบ่อย

การวิเคราะสภาพภายนอกองค์กร

---------------------

โอกาส (oppotunity)

-----------------

1. หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องให้การสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรเป็นอย่างดี เช่น สอศ. อศจ. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถานประกอบการ ฯลฯ

2. ได้รับการสนับสนุนการพัฒนาความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นในทางวิชาการ และ การจัดการเรียนการสอน

3. มีสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาอยู่ใกล้องค์กร ทำให้ได้รับความร่วมมือในการพัฒนาองค์กรและการพัฒนาบุคลากร

อุปสรรค(treat)

------------

1. ขาดงบประมาณสนับสนุนเรื่องการพัฒนาบุคลากรจาก สอศ. เช่นการศึษาต่อในระดับที่สูงขึ้น

2. ขาดการสนับสนุนบุคลากรที่เป็นข้าราชการ ทำให้เกิดการเปลี่ยนบุคลากรบ่อยๆ

หัวข้อวิจัย

-------

"การพัฒนาวิทยาลัยเทคนิคเดชอุดม ให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้"

ผู้วิจัย นายจิระวัฒน์ ชวลิต ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคเดชอุดม

SWOT บุคลากรของวิทยาลัยเทคนิคราชสิทธาราม

จุดแข็ง

1. บุคลการมีความรู้ความสามารถตามวิชาชีพอย่างดีและเป็นข้าราชการทั้งหมด

2. บุคลากรมีผลงานทางวิชากร นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์มาก

3. บุคลากรมีจรรยาบรรณในวิชาชีพเป็นแบบอย่างแก่ผู้เรียนและบุคคลทั่วไปได้อย่างดี

4. บุคลากรมีอายุงานและประสบการณ์มาก

5. บุคลากรมีความพร้อมในการพัฒนาศักยภาพการทำงานให้สูงขึ้น

จุดอ่อน

1. บุคลากรมีอายุราชการมาก อาจจะทำงานไม่รวดเร็วเหมือนองค์ที่บุคลากรอายุน้อย

2. ทักษะการทำงานโดยใช้เทคโนโลยียังไม่ทันการเปลี่ยนแปลง

3. ทักษะการบริหารงานใหม่ ๆ สำหรับหัวหน้าแผนก/หัวหน้างานยังไม่ทันการเปลี่ยนแปลงขององค์กรใหม่ ๆ

4. บุคลากรส่วนใหญ่ขาดการพัฒนาความรู้ใหม่ ๆ

แนวทางการแก้ไข

เพิ่มทักษะในการทำงานให้บุคลากรให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะบุคลากรในระดับผู้นำทุกระดับของวิทยาลัยเทคนิคราชสิทธาราม

งานวิจัยที่สนใจ

“ศึกษาความต้องการในการพัฒนาทักษะการบริหารของผู้บริหารทุกระดับของวิทยาลัยเทคนิคราชสิทธาราม”

หัวข้อวิจัย

การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน นักศึกษา วิทยาลัยเทคนิคจนะ จังหวัดสงขลา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท