เส้นผมบังภูเขา (คอหงส์)


แม้จะมี "ความแตกต่าง" กับเรามาก แต่มุมมองที่ “แตกต่าง” นั้นก็ช่วยให้เรามีทางออกได้

     เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา มีการหารือร่วมระหว่างคณะแพทย์กับคณะวิศวะค่ะ
     ทำอะไรกันน่ะหรือคะ ไม่เกี่ยวกับประเด็นการเมืองแน่นอน
     ฉันก็เพิ่งจะรู้เหมือนกันว่า ผู้บริหารคณะแพทย์ของเรากับผู้บริหารคณะวิศวะได้ จับมือ กันในการพัฒนาอุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ โดยที่ไม่ต้องลงทุนเป็นหลายๆ ล้านบาทเพื่อซื้อจากต่างชาติ 

     คร่าวๆ นะคะ ทางอาจารย์คณะแพทย์จะชี้แจงถึง “อุปสรรคและปัญหา ในการทำงานว่ามีปัญหาอะไรบ้าง สาเหตุคืออะไร และสิ่งที่ ต้องการ ที่คิดว่าจะช่วยแก้ไขปัญหานั้นคืออะไร ให้อาจารย์วิศวะฟัง แนวคิดแรกที่กำลังดำเนินการเห็นเป็นรูปเป็นร่างแล้วก็คือ การพัฒนาซอพแวร์สำหรับนับจำนวนเซลล์ที่ย้อมติดสีของแอนติบอดีบนสไลด์ชิ้นเนื้อปาโถแทนการนับด้วยตา ซึ่งปกติที่ทำๆ กันอยู่ก็คือว่า เราจะนับเซลล์ด้วยตาของเราเองโดยผ่านเลนส์กล้องจุลทรรศน์เป็นจำนวน 500-1000 เซลล์แล้วดูว่า มีเซลล์ที่ย้อมติดสีของแอนติบอดีนั้นจำนวนเท่าไหร่ ซึ่งวิธีนี้เสียเวลามาก ซอพแวร์อันนี้ก็จะนับและคำนวณให้เราเลยว่า มีเซลล์ที่ติดสีอยู่เท่าไร ความเข้มเป็นอย่างไร เจ๋งไหมคะ ถ้าเราซื้อซอพแวร์ หรือเครื่องจากต่างประเทศนั้น ราคาแพงมากค่ะ และคิดว่าคงไม่ได้รับการอนุมัติแหงๆ 
      ล่าสุดเป็นการหารือของทางรังสีแพทย์ค่ะ เรื่องของเรื่องก็คือว่า ทางรังสีแพทย์มีปัญหาในการแปลผลการตรวจเต้านมด้วยแมมโมแกรม กรณีที่คนไข้อายุน้อย เนื้อเต้านมยังเหลือเยอะ ทำให้เนื้อเต้านม บัง ก้อนทำให้มองไม่เห็นจากฟิล์มเอกซเรย์ สิ่งที่ต้องการก็คือเครื่องมือตรวจหรือซอพแวร์ที่ช่วยในการแยก ก้อนเนื้อ ออกจากเนื้อเต้านมธรรมดา ซึ่งในต่างประเทศมีการพัฒนามาบ้างแล้ว อาจารย์วิศวะฟังแล้วก็ได้ ไอเดีย ที่จะไปพัฒนาเป็นเครื่องมือ คราวต่อไปคงจะเอา ไอเดียต้นแบบ มานำเสนอ
      เห็นไหมคะ เส้นผมบังภูเขา (คอหงส์) จริงๆ

      เวลาที่เรามีปัญหาอะไรซักอย่าง คิดคนเดียวหาทางออกก็ไม่เจอ แถมเสี่ยงปวดหัว (แทบหัวระเบิด) เจอแต่ทางที่ต้องลงทุนสูงจนความเป็นไปได้แทบจะไม่มี พอคุยกับคนอื่นซึ่งแม้จะมี "ความแตกต่าง" กับเรามาก แต่มุมมองที่ แตกต่าง” นั้นก็ช่วยให้เรามีทางออกได้ แถมความน่าจะเป็นสูงอีกต่างหาก
      แค่เรามี เวที ร่วม มี คนประสาน ให้สองฝ่ายได้มาเจอกัน ทั้งเราและเขาก็สามารถพัฒนา งาน ของตนเองขึ้นได้จาก มันสมอง ของคนกันเอง ถ้าหากเครื่องมือหรืออุปกรณ์เหล่านี้ สามารถทำงานได้ ทัดเทียม กับเครื่องที่ต้องซื้อจากต่างประเทศ ก็เป็นการประหยัดงบประมาณของเรา ยิ่งไปกว่านั้นนะคะ งานที่เราทำออกมาโดยใช้เจ้าสิ่งประดิษฐ์ทั้งหลายที่คนของเราเป็นคนคิดขึ้นมา มีค่า เท่ากันกับงานของคนอื่นที่ทำโดยใช้เครื่องไฮเทคโนโลยีสำเร็จรูปทั้งหลาย ใครควรจะได้รับคำนิยมมากกว่ากัน
         

หมายเลขบันทึก: 20018เขียนเมื่อ 20 มีนาคม 2006 22:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 20:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

งานนี้ ต้องยกความดีให้ "คุณประสาน" รศ. นพ. พุฒิศักดิ์  พุทธวิบูลย์ รองคณบดีฝ่ายบริหารคนขยันของเราค่ะ

  

เป็นเรื่องที่น่าชื่นชมครับ จริงๆ แล้วยังมี นวตกรรมใหม่ หรือไม่ใหม่ก็ตามที่หลายหน่วยงานในมหาวิทยาลัยสามารถผลิตได้ แต่ในอีกหลายหน่วยงานไม่รู้ก็เลยไม่ได้นำมาพัฒนาต่อยอด อย่างเช่น
-เทคโนโลยีเมมเบรน  หลายหน่วยงานในคณะแพทย์น่าจะพัฒนาในรูปแบบของการนำมาใช้ทางการแพทย์ได้
- Solid phase ก็เป็นเรื่องน่าสนใจในการนำมาใช้เป็นวัสดุสำหรับเคลือบแอนติเจนหรือแอนติบอดีสำหรับพัฒนาการทดสอบได้
- เอ็นไซม์ บางชนิดสามารถนำมาพัฒนาเพื่อใช้ในการทดสอบทางเคมีคลินิก หรือทางชีวโมเลกุลได้
- อื่นๆ เป็นต้น
โจทย์คำถาม คือทำอย่างไร ถึงจะกระจายให้หน่วยงานต่างๆ รู้ว่าในอีกหน่วยงานหนึ่งมี นวตกรรม หรือความสามารถในการผลิต ผลิตภัณฑ์หรือวัสดุต้นทางได้ แล้วร่วมมือกันวิจัยให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่นำมาใช้งานได้จริง

ซอฟแวร์ที่ว่านี้ (ที่จะนับแยกเซลล์ติดสีย้อมแอนติบอดี้) คิดว่าน่าจะประยุกต์ใช้ได้กับ เซลล์อื่นๆที่ให้ผลบวกแตกต่างกับผลลบในสไลด์เดียวกันได้ด้วย เช่น malarial infected RBC, retic., inclusion bodies อื่นๆ, cytochemical staining positive cells...

สำเร็จเมื่อไร..กระซิบพี่เม่ยด้วยนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท