บันทึกจากแดนซากุระ 22 : ประโยชน์ของการรายงาน Progress report


เลยดูเหมือนกับว่าการรายงาน progress report จะไม่เป็นปัญหากับคนที่มีงานทำ และทำงาน เพราะยังไงก็มีเรื่องรายงานอยู่แล้ว แต่จะเป็นปัญหากับคนที่ไม่ค่อยจะยอมทำงาน
     ทุกคนที่นี่ จะต้องมีการรายงาน progress report โดยเฉลี่ยประมาณ 2 สัปดาห์ต่อครั้ง หลายๆคนที่นี่ก็บ่น เป็นเรื่องปกติเหมือนพี่ไทย "ไม่รู้จะพูด progress report ไปทำไมบ่อยๆ" แต่ก็ได้แค่บ่น ทุกคนก็ยังต้องพูดรายงานเหมือนเดิม
     ผมมานั่งคิดๆดู การรายงาน progress report นี้ก็มีประโยชน์ไม่ใช่น้อยเหมือนกัน อย่างเช่น
     1. ฝึกการพูดในที่ชุมชน  การฝึกพูดในที่ชุมชนบ่อยๆ จะทำให้คุ้นเคย ไม่ตื่นเวที เมื่อต้องไปพูดในเวทีจริงก็ทำได้ไม่เคอะไม่เขิน การฝึกลักษณะนี้ในบ้านเราพบไม่บ่อยนัก ในช่วงที่ผมเรียน ป.โท การรายงาน progress report ทำเพียง 2 ครั้ง โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของวิชา seminar ถ้าไม่มีวิชานี้ก็คงไม่ต้องมี progress report ในขณะที่คนญี่ปุ่นต้องพูด 2 อาทิตย์ครั้ง ความเจนเวทีต่างกันเยอะ นี่ยังไม่รวมไปถึงการฝึกทำสไลด์ ทำให้คุ้นเคยกับการใช้คอมพิวเตอร์นะเนี่ย
     2. ทำให้ sensei รู้ว่าแต่ละคนทำอะไรไปแล้วบ้างในช่วงสองอาทิตย์ที่ผ่านมา เนื่องจากปกติ sensei มีงานค่อนข้างยุ่ง ไม่มีเวลามาติดตามดูแลว่าใครทำอะไรไปบ้าง ทุกคนเป็นผู้ใหญ่แล้วมีงานในความรับผิดชอบก็ต้องทำ จะให้มาคอยจ้ำจี้จ้ำไชคงไม่ไหว วิธีการนี้เป็นวิธีที่แยบยลทีเดียว
     3. เป็นการบังคับทางอ้อมให้ต้องทำงาน ถ้าไม่ทำงานก็จะไม่มีงานมารายงาน ในที่สุดแต่ละคนก็จะหางานมาทำเอง โดยไม่ต้องมาคอยบอกว่าต้องทำอันนี้ ต้องทำอันโน้น
     เลยดูเหมือนกับว่าการรายงาน progress report จะไม่เป็นปัญหากับคนที่มีงานทำ และทำงาน เพราะยังไงก็มีเรื่องรายงานอยู่แล้ว แต่จะเป็นปัญหากับคนที่ไม่ค่อยจะยอมทำงาน พอใกล้เวลาที่ต้องรายงานก็จะมาขวนขวายหางานทำ แล้วก็บ่นเป็นหมีกินผึ้ง "ไม่รู้จะพูด progress report ไปทำไมบ่อยๆ"
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 20015เขียนเมื่อ 20 มีนาคม 2006 21:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 14:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ขอร่วมลปรร.จุดนี้ด้วยค่ะว่า ตลอดเวลาที่ไปเรียนทั้งตอนเรียนโท และเรียนเอก การเสนองานในที่สาธารณะ (หมายถึงกับผู้อื่นนอกเหนือจากอาจารย์ของเราเอง)เป็นธรรมเนียมปฎิบัติประจำที่เพิร์ธ ทั้งๆที่สถานที่ที่ไปทำงานวิจัยไม่ใช่มหาวิทยาลัยโดยตรง แต่เป็นโรงพยาบาลที่ถือเป็นโรงเรียนแพทย์ด้วยเหมือนกัน จะเห็นว่าเขาสนับสนุนให้ทั้งนักศึกษา (เป็นหลัก) และคนทำงานเล่าเรื่องที่ตัวเองทำค่อนข้างสม่ำเสมอ ห่างที่สุดไม่เกินสามเดือนต่อครั้ง (สำหรับนักเรียนรุ่นพี่ๆ) ถึงถี่ขนาดเดือนละครั้งในต่างๆหน่วยงาน (สำหรับคนที่เริ่มเรียนหรือทำงาน) เพราะการนำเสนองาน ทำให้เราต้องทำความเข้าใจ ทบทวนงานตัวเอง คนอื่นก็ได้ฝึกคิด และงานต่างๆบางอย่างก็สามารถนำมาแลกเปลี่ยน ปรึกษากันได้ด้วย รวมทั้งต้องรู้วิธีการเล่าเรื่องให้ตรงกับกลุ่มคนที่เป็นผู้ฟังด้วย ถึงเป็นเรื่องเดียวกันก็ต้องเสนอต่างรูปแบบเพราะพื้นฐานของคนฟังจะไม่เหมือนกัน ตอนอยู่ตรงนั้นจะรู้สึกเครียด เพราะงานก็เยอะอยู่แล้ว แต่มาถึงตอนนี้ มองย้อนไปแล้ว คิดว่าเป็นวิธีการที่ดี น่าเอาเป็นแบบอย่างค่ะ
ยุพารัตน์ รักษาวงษ์

สวัสดีค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท