สรุปผลการอบรม..การสร้างแนวปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-based nursing practice)


clinical nursing practice guide line

วันที่ 21-22 กรกฎาคม 2551 คณะกรรมการพัฒนางานวิจัย งานพยาบาล รพ ศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีการจัดอบรม เรื่อง การสร้างแนวปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-based nursing practice)

เราได้วิทยากรที่มีชื่อเสียงจากคณะแพทยศาสตร์ มข มาเป็นวิทยากรให้เรา มีพยาบาลสนใจเข้าอบรมประมาณ 70 คน

ตารางการอบรมของเรา

วันที่   21   กรกฎาคม 2551  ณ ห้องประชุม 89 พรรษาสมเด็จย่า

1.  นโยบายของคณะแพทยศาสตร์ในการนำผลงานวิจัยมาใช้  และแหล่งเงินทุนสนับสนุนกานำผลงานวิจัยมาใช้ รศ. นพ.วัชรา บุญสวัสดิ์

2.  นโยบายของานบริการพยาบาลในการใช้ evidence  based  practice และ แนวคิดของ evidence  based  practice  อาจารย์ชูศรี  คูชัยสิทธิ์

3.  การสังเคราะห์งานวิจัยด้วยวิธีการทบทวนงานวิจัยอย่างเป็นระบบและวิธีวิเคราะห์เมต้า (Introduction)    ศ. นพ. ภิเศก  ลุมภิกานนท์ 

4.  การสืบค้นข้อมูลทางการแพทย์และการพยาบาล เพื่อสนับสนุนการใช้เวชศาสตร์เชิงประจักษ์ รศ.นพ.สมเกียรติ  อัศวภูรีกรณ์ 

วันที่   22   กรกฎาคม 2551    ห้องประชุม  89 พรรษาสมเด็จย่า   

1.  การสร้างและการประเมินแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิก คุณอุบลรัตน์  ต้อยมาเมือง

2.  ตัวอย่างการพัฒนาและสร้างแนวปฏิบัติการพยาบาลจากภาคทฤษฎีสู่การปฏิบัติ  คุณอุบล  จ๋วงพานิช   

3.  ตัวอย่างการพัฒนาและสร้างแนวปฏิบัติการพยาบาลจากภาคทฤษฎีสู่การปฏิบัติ   คุณเกศนี บุณยวัฒนางกูร 

4.  ตัวอย่างการพัฒนาและสร้างแนวปฏิบัติการพยาบาลจากภาคทฤษฎีสู่การปฏิบัติ  คุณเอื้อมพร  พิมพ์ดี

5.  หลักการวิเคราะห์และประเมินงานวิจัยในคลินิก  (critical  appraisal)  ผศ.พญ. กาญจนา  จันทร์สูง

6.   ประเด็นในสร้างแนวปฏิบัติทางการพยาบาลของ   ผู้เข้าอบรม  อภิปรายให้ข้อเสนอแนะปัญหาอุปสรรคแนวทางการแก้ไข  คุณอุบล  จ๋วงพานิช  และคณะกรรมการพัฒนางานวิจัย

สรุปผลความรู้ที่ได้รับจากวิทยากร

1. ท่านรองวิจัย รศ นพ วัชรา บุญสวัสดิ์  ท่านบอกถึงนโยบายของการวิจัยในคณะแพทยศาสตร์ มข  ภาระกิจของคณะกรรมการวิจัยว่า มีทั้งพัฒนานักวิจัย จัดสรรทุนวิจัย จัดการทรัพยากร สนับสนุนการทำวิจัยและส่งเสริมผลงานวิจัย

มีคลินิกวิจัย Research Clinic ที่คอยให้คำแนะนำนักวิจัย ทุกวันศุกร์บ่าย และมีการให้คำปรึกษา online

นอกจากนี้ยังมีแหล่งทุนมากมายที่คอยสนับสนุน ทั้งทุน Invitation Research ,R2R, Commitment R, Research group และมีแหล่งทุนอื่นๆเช่น สสส สปสช เป็นต้น

ส่งเสริมผลงานวิจัย มีการสนับสนุนการตีพิมพ์ การให้รางวัลผลการวิจัยดีเด่น รางวัลผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ รางวัลผลงานวิจัยที่ได้รับการอ้างอิง เป็นต้น

2. ดิฉัน อุบล จ๋วงพานิช เป็นวิทยากรแทน  ท่านหัวหน้าชูศรี คูชัยสิทธิ์ เรื่อง  นโยบายการทำวิจัยและการนำผลการวิจัยมาใช้ โดยสนับสนุนให้จัดอบรมให้มีนักวิจัยหน้าใหม่ มีการใช้ผลงานวิจัยและสร้างแนวปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์เพื่อพัฒนาคุณภาพการดูแลสู่การบริการพยาบาลที่ดีที่สุด

3. การสังเคราะห์งานวิจัยด้วยวิธีการทบทวนงานวิจัยอย่างเป็นระบบและวิธีวิเคราะห์เมต้า (Introduction) ศ. นพ. ภิเศก  ลุมภิกานนท์ 

ท่านได้ให้ความรู้หลักการเลือกใช้งานวิจัยที่จะนำมาใช้ในการสร้างแนวปฏิบัติ จะต้องใช้งานวิจัยที่มีการสุ่มอย่างเป็นระบบ (RCT) หรือSystematic review เท่านั้น จึงจะมั่นใจว่าได้งานที่ดีที่สุด  EBP เกี่ยวข้องกับ การค้น การประเมินและการใช้อย่างเป็นระบบ ดังนั้น  EBP ประกอบด้วยความสามารถส่วนตัวของผู้ปฏิบัติ ความชอบของผู้ป่วยและครอบครัว รวมทั้ง งานวิจัยที่ดีที่สุด(the best avialable evidence from research)

4.  การสืบค้นข้อมูลทางการแพทย์และการพยาบาล เพื่อสนับสนุนการใช้เวชศาสตร์เชิงประจักษ์ รศ.นพ.สมเกียรติ  อัศวภูรีกรณ์  อาจารย์สอนการค้นหาข้อมูลทางอินเตอร์เนต ที่เกี่ยวข้องทางการแพทย์ เช่น Pubmed, Embase,  Cochrane, Scopus,Science Citation Index, Medline สำหรับ web พยาบาลโดยตรง คือ CINAHL สำหรับ Web search engine คือ Google Scolar, Scirus   สำหรับ web ที่ดีและค้นหา Systematic review ได้มากและค้นได้มาก และมีผู้เชี่ยวชาญอ่านและให้ข้อเสนอแนะไว้ให้ด้วย คือ CRD database Pubmed   อาจารย์แนะนำให้สมัคร my NCBI ใน pubmed

การค้นหางานวิจัยที่เกี่ยวข้องอย่างน้อยจะต้องค้น Cochrane,CRD database , CINAHL เพื่อให้ได้งานวิจัยได้สมบูรณ์ที่สุด  สิ่งที่ต้องรู้ address ของห้องสมุด library.md.kku.ac.th

.........

Day 2

1. การสร้างและการประเมินแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิก คุณอุบลรัตน์  ต้อยมาเมือง  ได้อธิบายหลักการสร้างและการประเมินแนวปฏิบัติ รวมทั้งตัวอย่างที่เธอสร้างแนวปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยปลูกถ่ายไต

2. นอกจากนี้เรายังมีตัวอย่างการสร้างแนวปฏิบัติจากดิฉัน คุณเกศนีและคุณเอื้อมพร พิมพ์ดี

3. ในช่วงบ่ายท่าน ผศ พญ. กาญจนา จันทร์สูง มาสอนเรื่อง หลักการเลือกอ่านงานวิจัยทางคลินิก ท่านสอนเรื่อง..ยากๆให้เข้าใจง่ายๆ ตั้งแต่การอ่าน หัวเรื่อง ดูผู้วิจัยว่ามีชื่อเสียงไหม สรุปผลการวิจัย โดยอ่านจากบทคัดย่อก่อน พิจารณาดูสถานที่ว่ามีความแตกต่างจากที่เราอยู่ไหม แล้วค่อยๆพิจารณาไปทีละประเด็น

4. หลังจากจบการอบรม เราก็มาพูดคุยแลกเปลี่ยนกับผู้เข้าอบรมว่า  ได้ประเด็นไปสร้างแนวปฏิบัติการพยาบาลในหน่วยงาน ทุกคนรู้สึกว่าน่าจะนำแนวคิดทั้งหมด  ไปหาประเด็นปัญหา แล้วทบทวนงานวิจัย ประเมินและสังเคราะห์งานวิจัย สร้างแนวปฏิบัติ และไปทดลองใช้

คณะกรรมการฯ  บอกว่า...ถ้ามีปัญหาใดๆเรายินดีช่วยเหลือ เพื่อให้พยาบาลสามารถสร้างแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้รับบริการที่ดีที่สุดค่ะ

.........

ขอขอบคุณท่านวิทยากรทุกท่าน  และผู้เข้าอบรมทุกคน ขอบคุณคณะแพทยศาสตร์ มข

ขอบคุณ คุณอุบลรัตน์ ต้อยมาเมือง

...........

ผู้รับผิดชอบโครงการฯ

อุบล จ๋วงพานิช

ประธานคณะกรรมการพัฒนางานวิจัย

งานพยาบาล รพ ศรีนครินทร์

 

หมายเลขบันทึก: 195802เขียนเมื่อ 22 กรกฎาคม 2008 19:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 03:06 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (23)

เราจะมีการติดตามผล..การสร้างแนวปฏิบัติการพยาบาลในไม่ช้า ขอให้ผู้เข้าอบรมลองดูนะคะ

โอ้โห ..พยาบาลเก่งๆๆๆ ค่ะ วันนี้ที่พัทยา ก็มีการนำ Evidence base เรื่อง IC และยา มาพูดคุยกันเยอะมากค่ะ การพัฒนาความรู้ของคนมีผลมากเลยค่ะ

แหม..... เสียดายจัง  พี่แก้วคะ 21-22 กค ไก่กับ ทีมหัวหน้า AE ติดงานอบรมฟื้นฟูความรู้กลุ่มผู้ช่วยพยาบาล แต่ดีที่ได้รับความรู้ที่สรุปไว้ในบันทึกนี้  ขอบคุณพี่แก้วค่ะ

ยอดเลยค่ะ เก่งๆกันอย่างนี้ ต้องสนับสนุนกัน และบอกต่อค่ะ

P

ตอนนี้เรื่องการสร้างแนวปฏิบัติโดยใช้ EBP กำลัง in trend ค่ะ

ที่ รพ เรา จัดสำหรับพยาบาลหลายครั้งแล้วค่ะ

P

course นี้ดีมากค่ะ ปีนี้เข้าไม่ทัน ปีหน้าก็ได้ค่ะ

P

พี่บุญ สบายดีไหมคะ

พี่จะไป KM show&share ไหมคะ

  • แนะนำสมาชิกใหม่คนนี้ค่ะพี่แก้ว

http://gotoknow.org/blog/sithiporn1/196119

  • แวะไปเชียร์ด้วยนะคะพี่
  • ขอบคุณค่ะ 

พี่แก้วคะ วันก่อนอ.แต๋งเข้าไปอ่านบล็อกของพี่ เห็นพี่กำลังค้นเรื่อง music pain ที่Joanabridge มี systematic review เรื่องนี้ เล่มใหญ่ประมาณ 40 หน้า อ.แต๋ง xerox ส่งให้อ.บำเพ็ญจิตที่คณะพยาบาล มข.ไปแล้ว ลองเข้ามาดู web Joanabridge ที่คณะพยาบาล มช.ก็ได้ค่ะ อ.แต๋ง

แวะมาให้กำลังพี่แก้วครับ

 

อาจารย์ภารดี white angle ~natadeeสวัสดีค่ะ

ขอบคุณมากนะคะ แต่ Joanabridge จะไม่ได้ full text ค่ะ นอกจากจะขอความกรุณาอาจารย์ส่ง mail ไม่ทราบจะรบกวนมากไปไหม

ครูโย่ง หัวหน้า~ natadeeสวัสดีครับ

Thank ka ได้กำลังใจก่อนนอนทุกวัน good night

เสาวลักษณ์ ยิ้มเยื้อน

สวัสดีค่ะ ดิฉันเรียน ป.โท อยู่ กำลังจะทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับแนวปฏิบัติทางการพยาบาล ถ้าไม่เป็นการรบกวนจนเกินไป ดิฉันใคร่ขอความกรุณาขอองค์ความรู้เกี่ยวกับการสร้างแนวปฏิบัติ ไม่ทราบว่าจะเป็นการรบกวนเกินไปมั๊ย ดิฉันจะรอเอกสารทาง mail นะคะ ขอขอบพระคุณล่วงหน้าเป็นอย่างมากค่ะ

คุณเสาวลักษณ์ ยิ้มเยื้อน

ลองหาอ่านได้ในวารสารรามาฯ

เอกสารที่มี พี่จะลองถามน้องที่รับผิดชอบดูนะคะ ว่าได้ coppy ไว้ไหม

หนูอยากทำ R2R เกี่ยวกับกระบวนการพยาบาลและการบันทึกทำอย่างไรดีค่ะ..ขอบคุณค่ะ..

ก็หาปัญหาว่า กระบวนการพยาบาลและกาบันทึก มีประเด็นอะไรน่าสนใจ และจะแก้ปัญหาโดยการทำวิจัยอย่างไร ก็แกะรอยไปเลยนะคะ

ขอ share 2 เรื่องค่ะ

1. ในส่วนการจัดการความรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน ขณะนี้ มีศูนย์ The Joanna Briggs ที่ Adelaide, Australia เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งมาหลายปี ปัจจุบันมีสมาชิกที่เป็นเครือข่ายทางการพยาบาล 70 กว่าประเทศทั่วโลก ทั้งที่อังกฤษ อเมริกา เอเซีย อาหรับ ในจำนวนนี้ มี 35 ประเทศ ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็น The Collaboration center ของศูนย์ใหญ่ ศูนย์ใหญ่ปัจจุบันเป็นภาคีกับ Cochrane ที่อังกฤษแล้วค่ะ

หน้าที่ของศูนย์นี้ มีหลัก ๆ คือ 1)พัฒนางานวิจัยระดับดี ๆ (RCT) 2) สร้างองค์ความรู้ทางการพยาบาล โดยใช้วิธี ทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ 3) evidence transfer โดยการสนับสนุนสร้าง CPGs หรือ Best protocol 4)สนับสนุนให้มีการทำ Evidence utilization อย่างมีระบบ ล่าสุดได้พัฒนาโปรแกรมชื่อ JBI CONNECT ที่เป็นโปรแกรมสารพัดประโยชน์ ทั้งประเมิน Evidence สืบค้น evidence โดยเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลเด่น ๆ (Full text) รวมทั้งช่วยวิเคราะห์ผลการวิจัยด้วย เสียดายที่ ศูนย์เคยมาติดต่อเผยแพร่ โปรแกรมนี้ผ่านกระทรวงสาธารณสุข เพื่อที่จะขยายองค์ความรู้มาให้พยาบาลทั่วประเทศ ตอนนี้คงชะลอไว้ก่อนด้วยเหตุผลบางประการ

ขณะนี้ คณะพยาบาลศาสตร์ มช. เป็นหนึ่งใน collaboration center กำลังปรับปรุงการทำงานของศูนย์ เพื่อกระจายองค์ความรู้ดังกล่าวให้แพร่หลายมากขึ้น

ผู้ post เองก็เป็นหนึ่งในกรรมการบริหาร ยินดี share ความรู้ตรงนี้ตามที่เรียนมา

2. เรื่อง R2R เป็นหนึ่งใน Theme ของสมาคมพยาบาลผู้สูงอายุ ที่ให้ความสำคัญ จะจัดการประชุมวันที่ 15-17 มกราคม 2551 ที่เชียงใหม่ ผู้ใดสนใจ ลงทะเบียนได้ค่ะ ช่วงนั้น เชียงใหม่ อากาศกำลังดี มีแหล่งท่องเที่ยวเยอะมากกว่าเดิม เชิญติดต่อ สถานบริการ 053-946047 ค่ะ (อ้อ มีให้นำเสนอวิจัย ด้วยค่ะ)

หวัดดีค่ะพี่แก้ว

อ้อยกำลังศึกษาและรวบรวมข้อมูลEBLเรื่องphlebitisค่ะ

ช่วงนี้เลยติดตามเป็นแฟนคลับพี่แก้วเพื่ออ่านงานหลายเรื่อง

มีอะไรจะเมลไปปรึกษานะคะ

ขอบคุณมากค่ะพี่แก้ว

สวัสดีค่ะอาจารย์ดวงฤดี ลาศุขะ

ยินดีที่เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้นะคะ

และการสร้าง CNPG เป็นสิ่งที่น่าพัฒนาสำหรับพยาบาล เพื่อให้ได้แนวปฏิบัติที่ดีที่สุดนะคะ

หนูติดตามอ่าน blog ของพี่เป็นประจำคะ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเคมีบำบัด EBP ชอบมากคะ มีเรื่องอยากถามพี่คะ เราสามารถนำเอา EBP

ที่เห็นเเละอ่านเจอมาใช้ได้เลยไหมคะ บางอย่างก็เปลี่ยนสิ่งที่ทำอยู่ไปเลย ขอบคุณคะ

คุณmamytam

การนำ EBP มาใช้เป็นการการตัดสินใจทางคลินิกเกี่ยวกับการใช้หัตถการ/การรักษาที่จะให้กับผู้ป่วย/ผู้รับบริการ บนหลักฐานที่ดีที่สุด ในขณะนั้น ร่วมกับประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญทางคลินิกและความคิดเห็นหรือความชื่นชอบของผู้ป่วย

 

ดังนั้นการอ่านงาน EBP จะนำมาใช้หรือไม่ก็ให้เริ่มต้นตามข้อกำหนดข้างต้นค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท