เป็นนักเรียนสถาบันพระปกเกล้าตอนที่๔(ปรับปรุงข้อมูล)


ไม่มีสังคมใดไม่มีความขัดแย้ง จงอย่ากลัวความขัดแย้ง

        ไม่มีสังคมใดไม่มีความขัดแย้ง ดังนั้นจงอย่ากลัวความขัดแย้ง เริ่มต้นจากคำบรรยายของ ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์  เริ่มต้นก็น่าสนใจแล้วใช่ไหมพี่น้อง....อิอิ ผมพยายามจะนำมาเล่าสู่กันฟังอย่างไม่ให้ยาวเกินไปนะครับ

        ท่านอาจารย์บอกว่าสมัยก่อนผู้คนในหมู่บ้านใช้ทรัพยากรร่วมกัน ประกอบอาชีพไปในทางเดียวกัน เช่น ทำนา ก็ต่างทำนาด้วยกัน การใช้น้ำก็เพื่อทำนา จึงเกิดถ้อยทีถ้อยอาศัย แม้จะมีความขัดแย้งก็น้อย ปัจจุบันโลกมันเปลี่ยนแปลงทุกอย่างจะเป็นทรัพยากรที่คนอยากจะใช้กันทั้งนั้น แม้ของที่เป็นสาธารณะก็อยากจะใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตน เช่น ทางเท้าที่ผู้คนใช้เดินไปทำงาน แม่ค้าก็อยากใช้ขายของ คนอื่นก็อยากใช้เพื่อทำงานบ้าง ก็จะเริ่มเกิดความขัดแย้ง เพราะบางครั้งเราไม่อยากใกล้ชิดแต่ความสมัยใหม่มันทำให้เราใกล้ชิด เช่น เราไม่อยากใกล้ชิดสมัคร(คนละคนกับท่านนายกนะครับ อิอิ) แต่วันดีคืนดีสมัครไปออกรายการโทรทัศน์เราก็ได้เห็นเขาอย่างใกล้ชิดเห็นรูจมูก (อันนี้ผมเติมเอง อิอิ)

        ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากโลกาภิวัฒน์ จะเห็นได้ว่ามันจะก่อให้เกิดความขัดแย้งลองมาดูวันนี้ ข้าวแพง เกษตรกรว่าดี แต่ผู้ใช้แรงงานบอกว่าผมแย่...แสดงความเกิดความขัดแย้งกับคนในแต่ละฐานะ ทุกวันนี้เราฝันอยากได้สังคมในอุดมคติ อยากได้สังคมแบบมีความสัมพันธ์ในหมู่บ้าน แต่โทษทีเลิกฝันได้แล้ว เพราะเราเป็นสังคมเมืองไม่ใช่สังคมชนบท มันคนละรูปแบบกัน

มาตรฐานเดียวก่อให้เกิดความขัดแย้ง

ในแต่ละสังคมมีมาตรฐาน คนเราอาจจะมีจินตนาการได้แต่เรามักจะมีจินตนาการถึงมาตรฐานเดียว เช่น สังคมคนพูดกลาง พอใครพูดไม่เหมือนก็ว่าเขาพูดเหน่อ เหมือน อ.ขจิต คนเมืองกาญจน์ กับน้องจิ สาวสุพรรณ อิอิ....ผมเพิ่งรู้ว่าภาษาไทยอย่างเดียวมีความแตกต่างกันถึง ๗๐ ภาษา ภาษาใต้ ภาษาเหนือ ภาษาอีสาน ฯลฯ มันเต็มไปด้วยความหลากหลาย แล้วใครนะที่เป็นคนบอกว่าคนภาคอื่นพูดไม่ชัด ดีไม่ดีคนพูดกลางนั่นแหละที่พูดไม่ชัด....ฮา...มาตรฐานที่เรากำหนดเป็นหนึ่งเดียวแต่ในความเป็นจริงมันไม่ใช่ แล้วเราจะมาทะเลาะกันเพื่อมาตรฐานเดียวกระนั้นหรือ

พื้นที่ต่อรอง

อาจารย์เน้นว่า ความขัดแย้งต่างๆในสังคมมันเกิดขึ้นได้ แต่ที่สำคัญต้องเปิดพื้นที่ให้มีการต่อรอง ถ้าไม่มีพื้นที่ต่อรองให้เพียงพอมันก็จะเกิดการใช้พื้นที่อื่น เช่น พันธมิตรเรียกร้องให้จัดการอย่างโน้นอย่างนี้ แต่รัฐบาลปิดประตูที่จะพูดด้วย เขาไม่มีพื้นที่ต่อรอง จึงต้องออกมาหาพื้นที่ต่อรองบนถนน เช่นนี้เป็นต้น เข้าใจหรือยังครับ รัฐบาล....แฮ่......

ประเทศของเราในปัจจุบันนี้ไม่ใช่ประเทศเกษตรกรรมแบบสมัยก่อนแล้ว ไม่ใช่ประเทศชาวนา แต่เป็นประเทศของแรงงาน จึงมีคำถามว่าเมื่อเขาเกิดปัญหาเขาไปต่อรองที่ไหน คำตอบคือสหภาพ แล้วถามต่อไปว่า แล้วเขารู้หรือเปล่าล่ะ....ว่าเรามีสหภาพแรงงานไว้ต่อรองได้

ความรุนแรง

เกาตุง บอกว่าความรุนแรงมี ๒ อย่าง คือ ความรุนแรงเชิงกายภาพ กับความรุนแรงเชิงโครงสร้าง แต่อาจารย์บอกว่าความรุนแรงเชิงโครงสร้าง นั้นไม่ได้เกิดจากการกระทำของใครคนใดคนหนึ่งแต่มันแฝงอยู่ในโครงสร้างทางเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม ยกตัวอย่าง เช่น

ผู้ชายใช้กำลังบังคับร่วมประเวณีกับภรรยา เพราะวัฒนธรรมเรายอมรับการกระทำที่ผู้ชายกระทำต่อภรรยาของตนเอง (นี่หมายถึงตอนที่ยังไม่แก้กฎหมาย) เป็นความรุนแรงเชิงโครงสร้าง ฟังแล้วทำท่าจะงง แต่ผมเข้าใจว่าคงจะหมายถึงว่าวัฒนธรรมไทยที่ให้ผู้ชายมีอำนาจเหนือหญิง เป็นความรุนแรงเชิงโครงสร้าง แต่การใช้กำลังบังคับน่าจะเป็นความรุนแรงเชิงกายภาพ ซึ่งหลังจากที่อาจารย์เปิดโอกาสให้ซักถาม คำถามเกี่ยวกับเรื่องบังคับเมียนี่กระจาย...อิอิ

หรือกรณีเด็กไทยขาดสารอาหารเป็นล้านคน ทั้งๆที่เมืองไทยมีอาหารอุดมสมบูรณ์ เป็นความรุนแรงเชิงโครงสร้าง ผมตีความว่าอาจารย์หมายถึง การที่ผู้คนในสังคมปล่อยปละละเลยให้มีเด็กขาดสารอาหารถึงขนาดนั้น มันเป็นความรุนแรงเชิงโครงสร้าง (ใครเห็นไม่เหมือนผมช่วยกันออกความเห็นนะครับ..)

หรือกรณีสนามบินสุวรรณภูมิ การใช้ที่ดินในที่ของรัฐไปละเมิดสิทธิชุมชน แต่รัฐบ่ายเบี่ยงไม่ชดใช้ค่าเสียหายให้เขาก็เป็นความรุนแรงเชิงโครงสร้างที่แฝงเข้ามาในวัฒนธรรมแบบไม่รู้ตัว

หรือในกรณีเกิดเหตุในภาคใต้ มีการกระทำต่อชาวมุสลิมด้วยความไม่เป็นธรรมในเชิงโครงสร้างตลอดเวลา นายอำเภอ ผู้ว่าฯ ก็ไม่สามารถทำอะไรได้เพราะโครงสร้างมันใหญ่กว่า ยิ่งในอดีตรัฐบาลไม่จัดสรรงบประมาณให้กับจังหวัดที่ไม่มีผู้แทนของตนให้เพียงพอ ผมก็เห็นว่าเป็นความรุนแรงเชิงโครงสร้างเพราะไม่เป็นธรรม (ไม่รู้เข้าใจผิดไหม อิอิ)

หากมามองในความรุนแรงเชิงกายภาพเราไม่สามารถแยกความรุนแรงทางกายภาพออกจากความรุนแรงเชิงโครงสร้างได้อย่างเด็ดขาดเพราะความรุนแรงทางกายภาพเกิดจากความรุนแรงเชิงโครงสร้าง จะเห็นว่าสังคมไทยเราเหลื่อมล้ำมากเกินไป ทั้งในทางเศรษฐกิจและทางอำนาจ  มันก็เป็นความรุนแรงเชิงโครงสร้างครับ

ในทางเศรษฐกิจการเมือง ก็ต้องวางแนวทางการพัฒนาใหม่ ต้องกำหนดว่าใครต้องใช้ทรัพยากรก่อนจัดสรรให้ก่อน(เป็นเรื่องการเมือง) แต่ทุกคนต้องมีสิทธิเท่ากัน,ต้องขยายสวัสดิการของรัฐให้ทั่วถึง  เช่นให้เด็กได้เรียนทั่วถึง (แต่อย่าออกหวยใต้ดินมาเป็นทุนการศึกษา....อิอิ),ต้องปรับฐานภาษีเพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกัน (ไม่ใช่ข้าราชการต้องจ่ายภาษีเต็มทุกบาททุกสตางค์ แต่เขียนกฎหมายให้นายทุนขายหุ้นมีกำไรไม่ต้องเสียภาษี..อันนี้ผมว่าเอง..จริงๆ อิอิ)

ในทางอำนาจก็ต้องลดการรวมศูนย์ให้ท้องถิ่นมีอำนาจจัดการทรัพยากรของตนเองให้มากขึ้น รัฐจะต้องถอยออกไปอย่าไปตัดสินทำโน่นทำนี่เอง เช่น จะสร้างโรงถลุงเหล็ก ต้องหาข้อมูลทั้งสองฝ่ายทั้งฝ่ายดีและฝ่ายไม่ดี และอย่าให้แต่ข้อมูลของฝ่ายที่ต้องการสร้าง(ซึ่งมักจะเป็นข้อมูลด้านดี) ข้อมูลปัญหาที่จะเกิดตามมาก็ต้องบอกให้ชาวบ้านรู้

อาจารย์ได้สรุปสุดท้ายว่าการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ต้องเปิดพื้นที่ต่อรองให้มาก การมีพื้นที่เยอะความรุนแรงจะน้อย ปัญหาจึงอยู่ที่ว่าเราจะทำอย่างไรจึงจะให้มีการเปิดพื้นที่ต่อรองให้มากและฝากพวกเราอย่าไปยึดติดกับเทคนิคการแก้ปัญหาความขัดแย้งเพราะปัญหาเชิงโครงสร้างมันยังอยู่ไม่ได้รับการแก้ไข อย่าลืมว่าความขัดแย้งเชิงโครงสร้างไม่มีทางออก คนจึงใช้ความรุนแรงมาแก้ปัญหา 

ผมนั่งฟังอย่างไม่ง่วงเลยแม้แต่น้อย ถึงเวลาอาหารเย็น พ่อครูบารู้ว่าผมอยากกินขาหมูนางรอง อุตส่าห์หนีเรียนกลับบ้านแล้วกลับมาแวะซื้อขาหมูนางรองมาฝากผม หิ้วถุงขาหมูเข้ามาในงานเลี้ยง ที่ถุงเขียนให้ระวังอย่าเข้าผิดร้านซะด้วย และอร่อยจริงๆ ถึงเวลาลุงเอกเชิญผมขึ้นไปเป็นพิธีกร ผมก็ไปพูดว่า เมื้อกี้กินขาหมู พอเห็นขาหมูแล้วทำให้นึกถึงชาติพันธุ์ ผมเห็นอาจารย์ศรีศักร หัวเราะหันมามองผม ผมก็เลยต่อว่าอร่อยก็อร่อย แต่กินมากไม่ได้เพราะมันจะขัดแย้งเชิงโครงสร้าง ฮากันทั้งงาน.....

 

หมายเลขบันทึก: 191687เขียนเมื่อ 2 กรกฎาคม 2008 00:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (38)
  • เพิ่งรู้นะนี่ว่า เด็กขาดสารอาหารไปเกี่ยวกับปัญหาเชิงโครงสร้างด้วย...แฮ่ๆๆ
  • เอ๋...อย่างนี้การเกิดเพศที่ 3 ในสังคมนี่เป็นเรื่องปัญหาเชิงโครงสร้างด้วยมั๊ยนี่

 

อิอิ มาลอกการบ้าน เพราะไม่ได้เรียนวิชานี้

สวัสดี__/\__ค่ะท่านอัยการ...อ่านจบได้เข้าใจว่า

  • เหตุการณ์ที่ตนเองประสบวันนี้ก็เป็นความขัดแย้ง....แต่ยังสรุปไม่ได้ว่าเชิงโครงสร้างหรือกายภาพ.....แต่ให้น้ำหนักไปทางโครงสร้าง(ครอบครัว).....ลูกชายหนีเที่ยวกลับบ้านตี4...แม่ทราบเรื่องราวดี...แต่ไม่กล้าบอกพ่อ...กลัวพ่อกับลูกขัดแย้งกัน....ครูนกฟังจบขัดแย้งกับแม่อีกในทันที...งานนี้ต้องขอไปเยี่ยมบ้านค่ะ..
  • ความขัดแย้งมีอยู่รอบตัว...บางเรื่องมีเวทีต่อเรื่อง...บางเรื่องก็ยังดำเนินไปอย่างขัดแย้ง

ขอบพระคุณค่ะ...สำหรับความรู้ใหม่ๆในเรื่องรอบตัว

เข้ามาอ่านแล้วได้ความรู้ ขอบพระคุณครับ

อิอิ พี่หมอเจ๊

ผมว่าน่าจะใช่นะ เพราะอ่านหนังสือเขาบอกว่าเพศที่ ๓ จะมียีนส์พิเศษอยู่ตัวหนึ่งอยู่ในร่างกาย อย่าเชื่อผมมากนะ..อิอิ

ผมไปค้นต่อนึกว่าเกาตุง เป็นเกาหลี...ฮ่าๆ เขาเป็นนักวิชาการชาวดัทซ์ เนเธอร์แลนด์ครับ ชื่อเต็ม โยฮัน เกาตุง เป็นนักวิชาการเชิงโครงสร้าง กำลังตามหาคำจำกัดความของคำว่าความขัดแย้งเชิงโครงสร้าง ความขัดแย้งทางกายภาพ ความขัดแย้งทางวัฒนธรรม เพราะขณะนี้ตอบตามตรงมันก็ยังงงๆ มันก็ยังงงๆ

อิอิ พ่อครูบาเวลาลอกต้องเอาไปปรับใหม่อย่าให้ใครเขารู้นะ....

สวัสดีครับน้องนกทะเล

ความขัดแย้งเชิงโครงสร้างมันแตกต่างกับความขัดแย้งอื่นอย่างไร ยังเข้าใจยากอยู่สักหน่อย ผมกำลังหาข้อมูลมาทำความเข้าใจเพิ่มเติมอยู่ครับ เจอแล้วจะนำมาเล่าสู่กันฟังหรือท่านใดทราบขอความกรุณานำข้อมูลมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันนะครับ

แต่ที่แน่ๆในครอบครัวนั้นมีความขัดแย้งแน่ ที่สำคัญก็คือพ่อกับแม่ต้องทำความเข้าใจไปในทิศทางเดียวกันก่อน ถ้าพ่อคิดไปทางลงโทษด้วยความรุนแรง ส่วนแม่ก็พยายามช่วยปกปิด เด็กก็สับสนในความถูกผิดครับ ที่ถูกพ่อกับแม่ต้องพูดคุยกันแก้ปัญหาเรื่องนี้ด้วยสันติวิธี คุยกับลูกด้วยเหตุผลคงถึงมือครูนกทะเลที่จะเข้าไปแก้ไขปัญหาแล้วละครับ..

ขอบคุณชาวน่านครับ

ที่แวะมาทักทาย ยินดีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันครับ

สวัสดีครับ

  • อ่านแล้ว นึกว่าต้องไปทำการบ้านต่อ ว่าจะถามเรื่องเกาตุงอยู่พอดี อิๆ
  • แล้วภาพระบำนี่มาช่วงไหนครับ ผมว่าตรงนี้แน่เลย ที่ทำให้ไม่ง่วง ;)
  • อ้อ นักเป่าแคนในบันทึกก่อนผมไม่รู้จักครับ ไว้จะถามพรรคพวกที่มหิดลให้ครับ

สวัสดีค่ะพี่อัยการ

ติดตามมาเรียนรู้ด้วยคนค่ะ

เมื่อวานก็ติดใจเรื่องหมอแคนตาบอด  ตั้งใจว่า..จะต้องไปหาข้อมูลเพิ่มค่ะ  ว่าจะใช่อาจารย์คนเดียวกันกับที่เป็นคน อำเภอบรบือ จ.มหาสารคาม หรือป่าว

แต่วันนี้มาติดใจเรื่อง...ขาหมูนางรอง  สงสัยต้องรีบไปหากินบ้างซะแล้ว  อิอิ 

 

  • สวัสดีค่ะท่านอัยการชาวเกาะ
  • ตามมาดูว่าความรุนแรงเชิงโครงสร้าง กับความรุนแรงเชิงกายภาพ เป็นอย่างไร มีความต่าง ตรงไหน ?
  • ความรุนแรงเชิงโครงสร้างน่าจะใหญ่ กว้างกว่าความรุนแรงเชิงกายภาพ นะคะ
  • สังสัย  คงต้องเข้ามาอีกรอบค่ะ
  • สวัสดีครับท่านอัยการชาวเกาะ
  • ตามเข้ามาเก็บเกี่ยวความรู้ด้วยคนนะครับ
  • ได้เห็นทางออกที่ชัดมากของบางประเด็นความขัดแย้งในสังคม
  • ปัญหาจึงอยู่ที่เราไม่ค่อยได้เปิดพื้นที่ให้กันและกันนั่นเอง
  • ขอบพระคุณมากครับ

Structural violence, a term which was first used in the 1970s and which has commonly been ascribed to Johan Galtung, denotes a form of violence which corresponds with the systematic ways in which a given social structure or social institution kills people slowly by preventing them from meeting their basic needs. Institutionalized elitism, ethnocentrism, classism, racism, sexism, adultism, nationalism, heterosexism and ageism are just some examples of structural violence. Life spans are reduced when people are socially dominated, politically oppressed, or economically exploited. Structural violence and direct violence are highly interdependent. Structural violence inevitably produces conflict and often direct violence including family violence, racial violence, hate crimes, terrorism, genocide, and war.

ได้รับคำแนะนำจาก อ.เอกชัย ให้ติดตามอ่านบล๊อคของท่านอัยการค่ะ ได้รับความรู้มากมายเป็นปย.มากค่ะ อ่านแล้วสนุกมากค่ะ ในที่นี้ จึงขอแนบข้อมูลเกี่ยวกับความรุนแรงเชิงโครงสร้างมาเพิ่มเติมค่ะ และเข้าใจว่ากัลตุงเกิดที่ออสโล เป็นชาวนอรเวย์ค่ะ/อ้อย

ขอบคุณ อ.ธ.วั ช ชั ย

ฮ่าๆ ภาพนางระบำมาตอนกินขาหมูครับ อิอิ

ขอบคุณครับที่พยายามหาข้อมูลให้ วันนั้น ดร.สุกรี บอกชื่อแล้วละครับ แต่ผมกำลังถ่ายภาพไม่ทันได้จดครับ

น้องหนิงครับ

น่าจะใช่นะครับ เพราะอาจารย์ท่านก็บอกว่าเป็นหมอแคนผู้โด่งดังในยุทธจักรเลยแหละครับ น้องหนิงรู้จักชื่อก็แจ้งให้พี่ทราบด้วยนะครับ

คุณเอื้องแซะครับ

ผมนำข้อมูลมาเพิ่มเติมแล้วเพื่อความเข้าใจที่น่าจะดีขึ้นครับ และคุณเอื้องแซะน่าจะเข้าใจถูกต้องแล้วเพราะผมเปิดเทปของอาจารย์ฟังอีกรอบได้ความว่ามันแยกจากกันไม่ได้มันพันอีลุงตุงนังกันครับ

สวัสดีครับคุณสิงห์ป่าสัก

ขอบคุณที่เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ

สวัสดีครับอ.อ้อย

ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ

ผมไปเปิดหาข้อมูลเกี่ยวกับเกาตุงหรือกัลตุงในอินเทอร์เน็ต บางข้อมูลก็ว่าเป็นชาวดัตช์ เกิดที่เนเธอร์แลนด์ แต่ก็อยากศึกษาอยู่เหมือนกันครับว่าทำไมเขาถึงโด่งดังนักเมื่อพูดถึงเรื่องความรุนแรงเชิงโครงสร้าง

ขอบพระคุณอีกครั้งที่เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ

  • Johan Galtung เป็นชาวนอร์เวย์ครับ เรื่อง Transcend ที่บรรยายไว้ น่าสนใจ การประนีประนอมไม่ใช่ทางออก เพราะว่าไม่มีฝ่ายใดพอใจเลย
  • Structural violence
  • ความขัดแย้งเป็นเรื่องของอัตตา ที่จะเอาสิ่งที่เราคิด+เราเชื่อ+สิ่งทำเพื่อประโยชน์ของเรา ไปยัดเยียดบังคับคนอื่นให้เป็นไปอย่างที่เราต้องการ
  • โดนพาดพิง
  • สังคมคนพูดกลาง พอใครพูดไม่เหมือนก็ว่าเขาพูดเหน่อ เหมือน อ.ขจิต คนเมืองกาญจน์ กับน้องจิ สาวสุพรรณ อิอิ....ผมเพิ่งรู้ว่าภาษาไทยอย่างเดียวมีความแตกต่างกันถึง ๗๐ ภาษา ภาษาใต้ ภาษาเหนือ ภาษาอีสาน
  • อิอิ
  • นักวิชาการบางท่านว่า
  • บางทีเสียงเหน่อๆๆอาจเป็นภาษาชาวกรุง
  • เช่นราชวงศ์อู่ทองเคยเป็นเมืองหลวง
  • แต่ต่อมา มีการอพยพเมืองหลวงมาอยู่กรุงเทพฯ
  • คนบ้านนอกเข้ามาอาศัยอยู่แถวกรุงเทพพฯ
  • ฮ่าๆๆ
  • ไม่เชื่อดูกรุงเทพฯนะ มีคนกี่คนที่เกิดที่กรุงเทพฯ
  • ส่วนใหญ่เป็นคนต่างจังหวัดมาอยู่กรุงเทพฯ
  • แต่เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้ง เราก็จะพูดเสียงเหน่อๆๆต่อไป ให้เพื่อนๆพี่ๆน้องๆหัวเราะ มีความสุข
  • ฮ่าๆๆ
  • ถึงจะเหน่อ แต่ว่าไม่โง่ วี๊ดวิ้ว.....
  • ปล. ท่านเจ้าคุณประยุทธ มาจากสุพรรณ สมเด็จพระสังฆราชมาจากกาญจนบุรี ท่านอาจารย์หมอ ประเวศ วะสี มาจากกาญจนบุรี ท่านอาจารย์เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ กวีรัตนโกสินทร์มาจากพนมทวน กาญจนบุรี ฮ่าๆๆๆๆ
  • มีคำถามครับ
  • Institutionalized elitism, ethnocentrism, classism, racism, sexism, adultism, nationalism, heterosexism and ageism are just some examples of structural violence.
  • ได้เรียนความขัดแย้งในสังคมบ้านเราไหมครับ
  • เช่นลงพื้นที่ไปแก้ไขความขัดแย้งทางภาคใต้ กรณีความขัดแย้งของท่อก๊าส กรณีความขัดแย้งของเขื่อนฯลฯจำได้ว่ารุ่นนี้เป็นความหวังนะครับ
  • มาแซวๆๆครับ ขอให้มีความสุขกับการเรียนครับผม
  • ฮ่าๆๆๆ

พยายามทำความเข้าใจกับเรื่องที่ยากจังเลยนี้ค่ะ

พื้นที่ต่อรองจะทำให้นึกถึงทฤษฎีทางการพยาบาลหนึ่ง (Neuman Systems Model) ที่จะกล่าวถึงระบบที่บุคคล ครอบครัว ชุมชน หรือแม้แต่ประเด็นทางสังคมต่างๆ โดยทฤษฎีนี้จะfocus ที่การรักษาสภาวะสมดุลให้คงที่ถึงระดับสูงสุดของความสมบูรณ์ (Optimal wellness) ซึ่งอาจจะมีสิ่งที่เป็นอันตรายทั้งในระดับบุคคล ระหว่างบุคคล และสิ่งแวดล้อมที่เป็นตัวเร้ามากระทบสภาวะสมดุลบุคคล ครอบครัว ชุมชนฯลฯ ได้ตลอดเวลา... flexible line of defence ซึ่งถ้าปกติก็จะทำให้คงสมดุล แต่ถ้า flexible line of defence นี้เสียไปก็จะทำให้เกิดความเจ็บป่วย ฯลฯ ....

เรื่องของ flexible line of defence ของใคร (ครอบครัว ชุมชน)ถ้าเข้มแข็งก็ไม่ค่อยเจ็บป่วย(กายหรือจิตหรือปัญหาเชิงสังคม) และสามารถป้องกันปัญหาจากสภาวะเครียดต่างๆที่มาทำลายปราการ flexible line of defence นี้....

ที่คิดถึงทฤษฎีการพยาบาลนี้ ก็เพรkะคิดว่าพื้นที่ต่อรองก็เป็นเหมือนเบาะหรือนวมป้องกัน ...คล้ายๆ กับ flexible line of defence ของบุคคล ครอบครัว และชุมชน ค่ะ

 

ส่วเนรื่องขาหมู....ถึงจะขัดแย้งเชิงโครงสร้าง แต่ดูจกจานที่พร่องไป สงสัยว่า ท่านอัยการมีพื้นที่ต่อรองไม่น้อยเลยนะคะ....อิอิ

 

สวัสดีครับท่านพี่อัยการชาวเกาะ

  • แอบมาเรียนรู้เรื่องโครงสร้างของความรุนแรง ด้วยคนนะครับ
  • แอบขำๆ อ.ขจิต มาแก้ตัวและสนับสนุนคนดีเมืองกาญจ์เพีบยเลย..แต่อย่าลืมมารับท่านมหาฯกลับไปดูแลหมาเสียทีเต๊อะ  คนเมืองกรุงเขาเดือดร้อน  ฮ่าๆๆ
  • เดียวจะมาใหม่...อิอิ

 

ขัดแย้ง นี่นะ สาเหตุมาจาก ไม้โท

จะขัดแข้งขัดขา

แล้วมาขยายเป็น ยุแยง

ขัดแย้ง จึงเกิดจากการ ยุ-แยง-ตะแคงรั่ว

อิ อิ

เพิ่งทราบว่าท่านอัยการชอบขาหมู

หิ้วมาฝากเพิ่มเติมเจ้าค่ะ

เปลี่ยนสัมผัสเป็นแบบทอดนะเจ้าค่ะ

ระลึกถึงเสมอ แม้ไม่ค่อยได้เสวนานะ เจ้าค่ะ (^___^)

สวัสดีครับท่าน conductor

ขอบคุณที่มาช่วยเสริมเติมเต็มในบันทึกนี้ ผมไม่ค่อยคล่องภาษาอังกฤษเพียงแค่พอมั่วๆได้นิดหน่อย คงจะต้องหาโอกาสได้คุยแลกเปลี่ยนความรู้จากท่านบ้างนะครับ

อ.ขจิตครับ

มีโปรแกรมลงไปเรียนในพื้นที่ความขัดแย้งทุกภาคของประเทศไทย และไปฟิลิปปินส์หรืออินโดนีเซียกับสเปนด้วยครับ

ขอบคุณครับ

ขอบคุณ อ.จันทรรัตน์ มากครับที่มาช่วยเติมเต็มและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผมว่าไม่ศาสตร์ของใครก็สามารถนำมาปรับใช้ได้ทั้งนั้น อยู่ที่ว่าจะหยิบมาใช้เป็นหรือเปล่าเท่านั้น

อิอิ...อย่าเพิ่งเข้าใจผิด ผมไม่ได้ทานคนเดียวครับ อิอิ

คุณสะมะนึกมาแซว อ.ขจิต ข้ามบล๊อกเลยเหรอ ฮ่าๆ

มีคนเข้าหมาเยอะเดี๋ยวก้เดือดร้อนท่านมหาเอาหมากลับไปยังที่ทำงานของมหา อิอิ

อิอิ พ่อครู เมื่อมันเกิดจากไม้โทเราก็ต้องจำกัดไม้โท

นึกถึงมีคนวิเคราะห์เรื่องเมียว่าไม่มีอะไรดีเลย สระเอ ก็ไม่ดี พอไปผสมกับตัวอื่นแล้วก็ไม่ครง เช่น เกเร เสเพล เฉโก เป็นต้น ม.ม้สนั้นเล่าก็เหมือนกับม้าดีดกะโหลก มาถึงย.ยักษ์ เมียชอบทำหน้ายักษ์ น่ากลัว อิอิ มันจะมีดีก็อีตรงสระ อี นี่แหละ..ก๊ากๆ

น้องปู

เอาของอย่างนี้มายั่ว รู้ไหมว่า บาป...นะ อิอิ

  • มาแก้ตัวครับท่านอัยการ
  • พี่สมนึก
  • ท่านมหาฯ
  • ไม่ใช่คนเมืองกาญจน์
  • อิอิๆๆๆ

เรียน ท่านอัยการชาวเกาะค่ะ

ยินดีค่ะ เอกสารที่กัลตุงเขียนไว้ตามที่คุณ conductor กล่าวถึงนะคะ คิดว่าน่าจะเป็นฉบับเดียวกัน ชื่อ Conflict Transformation by Peaceful Means (the Transcend Method), United nations, 2000. และหากจำไม่ผิดนะคะ น่าจะมีการแปลแล้ว โดย ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ (อันนี้ไม่แน่ใจค่ะ) เหมือนเคยเห็นเป็นเล่มบางๆ อันนี้หากจำสับสนขออภัยด้วยค่ะ /อ้อย

สวัสดีครับ อ.ขจิต

รับทราบครับว่าท่านมหาไม่ใช่คนเมืองกาญจน์ หรือว่าจะเป็นคนสุพรรณ อิอิ

ขอบคุณ อ.อ้อย มากๆเลยครับ

ผมขึ้นกทม.วันนี้จะไปหาหนังสือของเกาตุง มาอ่านครับ

ขอบคุณที่แนะนำชื่อหนังสือนะครับ

อ.อ้อย ครับ ช่วยเขามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในบันทึกนี้ด้วยนะครับ ผมอยากเรียนรู้จริงๆ หลังจากที่เรียนกฎหมาย แม้จะศึกษาเรื่องต่างๆรอบตัวบ้าง แต่มันก็ขึ้นอยู่กับอารมณ์บางทีก็อยากอ่านศึกษาธรรมะ ผมอ่านเป็นตู้ๆ บางขณะชอบหนังสือแปลก็ลุยอ่านเป็นตู้ๆ บางทีชอบอ่านวิทยาศาตร์ บางทีเรื่องกล้องถ่ายภาพ ฯลฯ พอมาเรียนทฤษฎีของเกาตุงก็เกิดความอยากเรียนรู้เรื่องความขัดแย้ง ความรุนแรง ในเชิงทฤษฎี ซึ่งในความเป็นจริงผมเข้าไปประนีประนอมข้อพิพาทให้กับประชาชนมากมาย ไม่ได้เรียนรู้ทฤษฎี แต่เจาะหาปมของเขาให้เจอ เจอเมื่อไรก็สำเร็จทุกที เพียงแต่นั่นเป็นเพียงความขัดแย้งเล็กๆภายในครอบครัวหรือเพื่อนบ้านประเภทตัวต่อตัว ไม่ใช่เป็นกลุ่มชน ครับ

สวัสดีค่ะท่านอัยการ

ยินดีนะคะ ถือว่าเรียนไปพร้อมๆ กันก็แล้วกันนะคะ เพราะจริงๆ อ้อยก็เพิ่งหันมาศึกษาสาขานี้เองค่ะ หากเทียบชั้นคงเรียกว่ายังอยู่ในขั้น ดักแด้ อยู่ค่ะ ยังไม่แน่ใจว่าจะเป็นหนอนถาวรแบบทอดกินได้อีกตะหาก หรือจะบินได้แบบผีเสื้อ ฮ่าๆๆ

คิดว่าหากท่านอัยการสนใจแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านนี้ อาจต้องรบกวนไปบล๊อคแลกเปลี่ยนเรียนรู้ RRU ที่ อ.เอกชัยสร้างขึ้นนะคะ เพราะตรงนั้นจะเป็นการพูดคุยกันของกลุ่ม นศ.ที่เรียนด้านการจัดการความขัดแย้งของ `Royal Roads Uni. Canada ค่ะ และมีพี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ หลายๆ คน ที่คงสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ดีมากๆ ทีเดียวค่ะ และอ้อยก็คงต้องอาศัยความรู้และปสก.ของท่านอัยการนี่แหละค่ะ มาช่วยแต่งเติมเสริมความรู้ตัวเองอีกชั้น เพื่อลดสภาวะหอคอยงาช้างฮ่าๆๆ จริงๆ นักคิดด้านความขัดแย้งมีอีกหลายกลุ่มซึ่งอ้อยเองก็กำลังอ่านตามๆ ไปค่ะ และเข้าใจว่า ในกลุ่ม นศ.ที่ท่านอัยการศึกษาอยู่ของสถาบันพระปกเกล้าฯ จะมี ดร.ชัญญาฯ จาก มข. อีกท่านนะคะ ที่เรียนด้านนี้ เผื่อหารือได้เลยค่ะ รับรองค่ะ ฮากระจายพอๆ กับท่านอัยการค่ะ

ส่วนที่ท่านอัยการบอกว่าไม่ได้เรียนรู้ทฤษฏีอะไรแต่ใช้ ปสก. ในการทำงานไกล่เกลี่ยเลยนั้น จริงๆ ท่านได้ใช้ไปแล้วค่ะ หากเราเชื่อตามนักวิชาการคนหนึ่ง คือ Argyris ที่กล่าวว่า ในการปฏิบัติการของคนเรานั้น เราจะกระทำภายใต้ทฤษฎี 2 รูปแบบตลอด คือ

1. Theories-in- use หมายถึงทฤษฎีที่เราใช้ในชีวิตประจำวันและสะท้อนออกมาทางการกระทำของเรา จนตัวเราเองก็บอกไม่ได้ว่ากำลังคิดภายใต้ทฤษฎีอะไร โดยเค้ายก ตย. ว่า เราอาจบอกลูกว่าหากลูกไม่หยุดทำพฤติกรรมนี้ พ่อจะตี (ตอนนี้เรากำลังใช้ทฤษฎีการป้องปรามกับลูกแล้วค่ะ คือ deterrence)

2.Espoused Theory คือ เราบอกว่ากำลังใช้ทฤษฎีนี้ๆ ที่ระบุว่า ... มาเป็นกรอบในการคิด..เช่น นาย ก. กล่าวว่า ..

ดังนั้น หากเราเชื่อตามนี้ จะไม่มีคำพูดว่า เก่งแต่ทฤษฎี ปฏิบัติไม่ได้ เพราะจะต้องกลายเป็น โอ้โฮ ชีวิตนี้ คิดมะออกจริงๆ เพราะคิดไม่ได้สักแบบ อิอิ

ขออนุญาตแลกเปลี่ยนเรียนรู้เท่านี้ก่อนนะคะ/ อ้อย แล้วจะขอติดตามอ่านบันทึกชีวิตการเป็น นศ.สถาบันพระปกเกล้า ตอนต่อๆ ไปค่ะ ขอบคุณค่ะ

อิอิ ป้าดวน ไม่ใช่คนสุพรรณ แต่ทำงานที่สุพรรณ อิอิ ไม่ติดความเหน้อมาบ้างเหร้อ...

โอ้โฮ อ.อ้อย

ขอบคุณที่เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ ผมได้ความรู้เพิ่มอีกเยอะเลยครับ แล้วผมจะตามไปดูนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท