ประกาย~natachoei ที่~natadee
นาง ประกาย ประกาย~natachoei ที่~natadee พิทักษ์

ป้องกันไม่ให้เชื้อวัณโรคแพร่กระจายในโรงพยาบาล สิ่งที่ท้าทายพยาบาล


พัฒนาระบบการเฝ้าระวังแพร่กระจายเชื้อวัณโรคในโรงพยาบาล

         ในช่วงแรกที่เข้ารับผิดชอบงาน IC มีประโยคหนึ่งที่ผู้บริหาร ถามว่าจะทำงานด้านการลงทะเบียนและติดตามผู้ป่วยวัณโรคได้หรือไม่ ซึ่งในตอนนั้น ปี 2547  ผู้รับผิดชอบงานวัณโรคของโรงพยาบาลที่รับผิดชอบอยู่เดิม ป่วย จะต้องได้รับการรักษาในระยะยาวและต้องให้ยาเคมีบำบัด 

         คำตอบที่ให้กับอาจารย์ ขอศึกษางานก่อน หน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติมีอะไรบ้าง ซึ่งยอมรับว่าความรู้เรื่องวัณโรคมีอยู่แล้วเพราะเรียนจบผู้ช่วยพยาบาลจากโรงพยาบาลโรคทรวงอก ต่อมาจึงขอลาศึกษาต่อ ที่คณะพยาบาลศาสตร์ มข ระดับปริญญาตรี   จึงไม่กลัวว่าจะติดวัณโรคจากผู้ป่วย แต่เนื่องจากภาระงานด้าน IC ก็ยังใหม่อยู่ ทำอย่างไร ถึงจะให้โรงพยาบาลได้ดำเนินงานวัณโรคอย่างต่อเนื่อง

         จึงได้ศึกษาอ่านเพิ่มเติม เรียนรู้จากตำรา เรียนรู้จากรุ่นพี่ และที่สำคัญเข้าร่วมอบรมเรื่องการดำเนินงานควบคุมวัณโรคระดับโรงพยาบาล

         การอบรมที่อาจารย์สอนที่ศูนย์วัณโรค (เดิม) อาจารย์หมอนงลักษณ์ สอนอย่างเข้มข้น ฝึกปฏิบัติรวมทั้งทดสอบบทเรียน ให้ตอบคำถาม ยากมาก

         ไปอบรมกลับมาแล้ว งาน IC มาก ไม่สามารถมาช่วยงานลงทะเบียนผู้ป่วยวัณโรคได้ แต่การเข้าอบรมไม่สูญเสียเปล่า ได้นำความรู้ที่ได้ทั้งหมดมาพัฒนางานระบบการเฝ้าระวังป้องกันการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ซึ่งผลงานนี้ได้รับรางวัลชนะเลิศผลงานวิชาการในการประชุมเครือข่ายระบาดวิทยาระดับเขต 10-12 จัดโดย สำนักงานควบควบโรคที่ 6 ขอนแก่น

         มีคำถามว่า โรงพยาบาจะทำ DOTS ที่โรงพยาบาลได้หรือไม่

         มีคำถามว่า ห้องแยกพอหรือไม่

         มีคำถามว่าบุคลากรติดเชื้อวัณโรคจากการปฏิบัติงานหรือ

        วัณโรค เป็นโรคที่น่าท้าทายสำหรับพยาบาลที่ต้องดูแลรับผิดชอบผู้ป่วย และพยาบาลIC เป็นอย่างมาก คือ 

       1 ทำอย่างไรจะไม่ติดเชื้อวัณโรคจากผู้ป่วย

       2 ทำอย่างไรผู้ป่วยจะได้รับประทานยาอย่างต่อเนื่อง รักษาให้หายขาด

       3. ทำอย่างไร เชื้อวัณโรคจะไม่แพร่กระจายในโรงพยาบาล ไปให้ผู้รับบริการรายอื่น ๆ

      พยาบาลจะต้องมีความเข้าใจของการแพร่เชื้อของโรควัณโรค ซึ่งเชื้อนี้จะแพร่ทางอากาศ มีขนาดเล็กมาก  ป้องกันตนเองไม่ให้ติดเชื้อจากผู้ป่วย

       1. ผู้ป่วยวัณโรคที่ตรวจพบเชื้อในเสมหะ AFB positive มีโอกาสแพร่เชื้อได้ง่าย จะต้องนำผู้ป่วยเข้าห้องแยกโรค  หรือถ้าไม่มีห้องแยกต้องให้ผู้ป่วยอยู่ในบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี ไม่อยู่ในบริเวณที่เหนือลม  ผู้ป่วยจะต้องสวมผ้าปิดปากปิดจมุก

       2. พยาบาล สวม Mask N95 อย่างถูกวิธี และทดสอบความกระชับทุกครั้ง ก่อนที่จะเข้าไปในห้องผู้ป่วย และจะต้องวางแผนให้ดีก่อนที่จะเข้าไปในห้องผู้ป่วย ว่าจะต้องทำกิจกรรมอะไรบ้าง

 

       3. ในทีมที่ดุแลผู้ป่วย จะต้องแจ้งเตือน หรือส่งต่อว่าตรวจพบเชื้อวัณโรคในเสมหะของผู้ป่วย และทุกคนควรตระหนักในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคในโรงพยาบาล

 

 

       3. แนะนำผู้ป่วยเรื่องการปฏิบัติตัว โดยเฉพาะเรื่องการรับประทานให้ต่อเนื่องและครบตามแผนการรักษา ไม่ให้หยุดยาเอง ซึ่งในระยะแรกผู้ป่วยจะต้องได้รับยารักษาวัณโรคอย่างครบถ้วน ไม่ขาดยาจะต้องรับประทานยาและลงบันทึกไว้ โดยรับประทายาต่อหน้าเจ้าหน้าที่ อสม หรือญาติที่เชื่อถือไว้ใจได้

 

     

     พนักงานการแพทย์และคนงานฝึกสวม Mask เป็นการปฏิบัติ ฝึกจากของจริง ลดความเหลื่อล้ำทางความรู้ได้  หลายคนบอกว่า ถ้าไม่มาอบรม จะไม่รู้ว่าใส่ mask ผิดมาตลอด  และการปฏิปัติในครั้งนี้ได้ผล ผู้รียนก่อน นำไปเผยแพร่ต่อ

     ขอขอบคุณคุณสุมาลี วิชาผา  พยาบาลหอผู้ป่วย 4 ค ICWN ดีเด่น ที่ช่วยเป็นวิทยากรกลุ่มฝึกปฏิบัติ

หมายเลขบันทึก: 189923เขียนเมื่อ 23 มิถุนายน 2008 23:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:12 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีคะ พี่แก้ว

ขอบคุณมากคะที่มาเยี่ยม

ไก่คะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท