สรุปบทเรียน "เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้" ของกรมส่งเสริมการเกษตร


ตามไปดูคนส่วนกลางของกรมส่งเสริมการเกษตรเขาทำ KM กันอย่างไร?

สรุปบทเรียน "เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้" ของกรมส่งเสริมการเกษตร

  

   เมื่อเวลาประมาณ 14.30 น. ของวันที่ 7 มีนาคม 2548  กรมส่งเสริมการเกษตร ได้รวมพลเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ "การจัดการความรู้" ให้กับเจ้าหน้าที่ที่เป็นผู้แทนจากทุกกองและทุกสำนัก ซึ่งการจัดเวทีดังกล่าวอยู่ภายใต้คำถามที่ว่า "จะทำอย่างไรให้หน่วยงานของท่านมีการจัดการความรู้ หรือ KM ที่เห็นเป็นรูปธรรม"  โดยผู้จัดได้มีกระบวนการปฏิบัติงานสรุปได้ดังนี้ คือ

     ขั้นที่ 1 แบ่งกลุ่มย่อยและตั้งประเด็นคำถาม

   การแบ่งกลุ่มย่อยได้จัดกลุ่มตามหน่วยงานคือ เจ้าหน้าที่ที่มาจากกองหรือสำนักไหนก็จะเข้ากลุ่มนั้น เช่น สำนักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี  กองการเจ้าหน้าที่  และกองคลัง เป็นต้น  จากนั้นพิธีกรก็ตั้งประเด็นคำถามขึ้นว่า "ท่านมีแนวทางการดำเนินงานอย่างไรเพื่อให้มีการจัดการความรู้ขึ้นภายในหน่วยงานของท่านที่เห็นเป็นรูปธรรม" 

   หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่แต่ละกลุ่มย่อยหรือผู้แทนแต่ละกองและสำนักต่างปรึกษาหารือ  ช่วยกันคิด  และค้นหาวิธีการทำงานดังกล่าว  แล้วนำข้อมูลจากทุกคนมาสรุปเป็นของหน่วยงานตนเอง 

     ขั้นที่ 2  นำเสนอข้อมูล

   โดยผู้แทนของแต่ละกลุ่มย่อยได้ขึ้นไปนำเสนอ "แนวทางและกรอบการทำงาน" ที่เป็นผลสรุปจากความคิดเห็นของกลุ่มให้กับเวทีกลางได้รับทราบ  ซึ่งใช้เวลากลุ่มละ ประมาณ 5 นาที

     ขั้นที่ 3 จับประเด็นและสะท้อนข้อมูล

   หลังจากกลุ่มย่อยนำเสนอข้อมูลเสร็จแล้วนั้น ก็มีคนจับประเด็นข้อมูลเพื่อสรุปเป็นภาพรวมข้องกลุ่มใหญ่ ได้ว่า

     1.  การตัดสินใจเพื่อจัดการความรู้ หรือทำ KM นั้นจะมาจากคนที่ชอบ  อยากรู้อยากทำ อยากเรียนรู้ 

     2.  หลังจากนั้นก็จะมองไปที่บทบาทหน้าที่ของกรมส่งเสริมการเกษตรต้องทำอะไร  แล้วกอง/สำนัก มีหน้าที่อะไร และเจ้าหน้าที่แต่ละคนมีหน้าที่ความรับผิดชอบอะไรบ้าง

     3.  กำหนดเรื่องและประเด็นที่จะทำร่วมกัน  ซึ่งเป็นเป้าหมายที่บุคคล  กอง/สำนัก  และกรม ส่งเสริมการเกษตร จะไปให้ถึงของ "การจัดการความรู้"  โดยอาจจะมาจาก 1) งานประจำ เช่น การจิจัยในงานประจำ  การบริหารงานบุคคล และกระบวนการกลุ่มเกี่ยวกับเมล็ดพันธุ์ เป็นต้น และ 2) งานโครงการต่าง ๆ เช่น โครงการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยและได้มาตรฐาน เป็นต้น

     4.  การดำเนินงาน  ตกลงแล้วงานที่จะต้องทำตั้งแต่ 1) ก่อนการดำเนินงานควรเตรียมการอะไรบ้าง?  2) ขณะดำเนินงานควรจะทำอะไรบ้าง?  และ 3) หลังดำเนินงาน จะสรุปผลว่าอะไรบ้าง? และมีข้อเสนอแนะที่ควรดำเนินการต่อไปอะไรบ้าง?

     5.  การพัฒนาบุคลากร  เพื่อให้การดำเนินงาน "จัดการความรู้" ของส่วนกลางเกิดขึ้นอย่างแท้จริง ควรจะมีการส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้ของเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับประเด็นหรือเรื่องอะไรบ้าง?

     6.  คลังความรู้  เพื่อให้การขับเคลื่อนของเจ้าหน้าที่ในทุกระดับที่เกี่ยวกับการทำงานส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่บรรลุผล เจ้าหน้าที่ส่วนกลางจะส่งกำลังและสนับสนุนเสบียงอะไรบ้าง? ให้กับทหารราบ  โดยเสบียงเหล่านั้นจะถูกนำมาเก็บไว้ในห้องครัวที่เรียกว่า "คลังความรู้"

  ส่วนการดำเนินงานที่เป็นไปได้นั้นจะอยู่ภายใต้กรอบงานและการเรียนรู้ ได้แก่

     1.  วิธีการทำงาน  ที่อาจจะมาจาก 1) เริ่มต้นจากการค้นหาจุดดีหรือศักยภาพที่มีอยู่ หรือ จากปัญหาที่มี  2)  จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อแก้ไขปัญหา หรือ แนวทางการทำงาน  3)  จากการพัฒนาเจ้าหน้าที่  4)  จากการค้นหาต้นแบบและเทคนิคในการทำงาน  5)  จากการบูรณาการงาน

     2.  กลไกและช่องทางที่เป็นไปได้  ได้แก่ 1)  การประชุมกอง/สำนัก  2) การจัดเวทีเฉพาะกิจ  3) การใช้สื่อ เช่น  Computer เป็นต้น  4) การสร้างเครือข่าวและแนวร่วม  5) การจัดระบบงาน เช่น องค์ความรู้ใหม่ และการขับเคลื่อนของพื้นที่  6) การจัดทำแผนการปฏิบัติงาน  7) การทำประชาพิจารณ์  และ 8) จากการทำงานประจำ  เช่น  การวิจัยในงานส่งเสริมการเกษตร เป็นต้น

     3.  กระบวนการทำงานที่ทำให้เกิดผล  โดยมีการจัดวางขั้นตอนการปฏิบัติงานตั้งแต่เริ่มต้น  จนถึงขั้นตอนสุดท้ายนั้น "ตกลงแล้วจะต้องทำอะไรบ้าง? เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จ"

     4.  การสนับสนุนการทำงาน  เพื่อให้งานถึงเป้าหมายของแต่ละหน่วยงานย่อยนั้น "ตกลงแล้วมีอะไรบ้าง? ที่หน่วยงานกลางควรจะให้การสนับสนุน"  เช่น  การจัดทำคู่มือ  การจัดเวที  การออกหนังสือสั่งการไปยังกอง/สำนักต่าง ๆ และงบประมาณ เป็นต้น

   สิ่งเหล่านี้คือ เรื่องราวที่เกิดขึ้นทั้งหมดจากการนำเสนอข้อมูลของเจ้าหน้าที่ที่เป็นผู้แทนจากส่วนกลางเกี่ยวกับการจัดการความรู้ของคนส่วนกลาง

     ขั้นที่ 4 ข้อเสนอแนะ

   ในความคิดเห็นที่เป็นผลมาจากการสังเกตการณ์การจัดกระบวนการกลุ่มที่เกิดขึ้นนั้น  อยากจะให้กำลังใจกับเจ้าหน้าที่ส่วนกลางว่า

     1. เราเชื่อว่า "ทุกท่านมีประสบการณ์ในการทำงานและความรู้ที่สั่งสมมาเป็นระยะเวลานานตั้งแต่เริ่มบรรจุจนถึงปัจจุบัน" กันทุกคน  บางท่าน  5 ปี  บางท่าน 10 ปี และบางท่านไม่น้อยกว่า 20 ปี

     2.  เราเชื่อว่า "องค์ความรู้ที่ทุกท่านซึ่งเป็นนักวิชาการของส่วนกลางมีอยู่นั้น ถ้าได้นำออกมารวมกันแล้วจะมีมากมายมหาศาล"

     3.  เราเชื่อว่า "องค์ความรู้ที่ท่านมีอยู่เหล่านั้นจะเป็นกองเสบียงสำหรับส่งไปสนับสนุนทหารราบในพื้นที่ได้อย่างล้นหลาม"

   จึงขอส่งใจให้กับทุกท่านในการก้าวเดินต่อไป.

                                             ศิริวรรณ  หวังดี

                                            8  มีนาคม  2549

 

หมายเลขบันทึก: 17995เขียนเมื่อ 8 มีนาคม 2006 16:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
ขอบคุณ คุณศิริวรรณ ที่ทำให้ผมได้เห็นภาพสิ่งที่เกิดขึ้นในวันที่ 7 ที่ผ่านมา...ทำให้เห็นว่าในกรมฯมีความรู้ที่เป็น Tacit อยู่มากมาย ...เสียดายแย่ ถ้าไม่มีการจัดการ ...ก้าวเดินต่อไปครับ ...ผมเชียร์อยู่...
ขอบคุณค่ะ ที่ให้กำลังใจ
         ขอแสดงความยินดีกับการรวมพลังของชาวส่งเสริมการเกษตรที่ส่วนกลางครับ   ขอเป็นกำลังใจให้กับทุกๆ ท่านครับ

อ่านแล้ว เห็นภาพในที่ประชุม และน้ำเสียงที่น่าจะช่วยปลุกใจชาวกรมส่งเสริมการเกษตรทุกท่านได้ดี

หวังเป็นอย่างยิ่งว่ากรมส่งเสริมจะทำ KM ให้เห็นเป็นรูปธรรมได้ โดยการเอา Tacit มาแลกกันเยอะๆ นะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท