ไม่อยากจะบ่น แต่ขอบ่นหน่อยเถอะครับ
ผมเห็นข่าวการปรับปรุง "แผนที่ดิน" ของเมืองไทย คิดว่าเป็นเรื่องดีเพราะเมื่อรู้จักดิน ก็กำหนดพืชที่จะปลูกอย่างเหมาะสมได้ หาวิธีเก็บกักน้ำที่เหมาะกับพื้นที่ได้
พอว่างก็ลงมือค้นเลย แ ต่ ไ ม่ เ จ อ ครับ ซึ่งผมก็ไม่ได้ประหลาดใจอะไรมากมาย
เว็บที่ดูเหมือนจะดีที่สุดคือเว็บของกรมพัฒนาที่ดิน ถ้ามีเรื่องแผนที่มากกว่านี้ก็จะยิ่งดีครับ เว็บมีข้อมูลเยอะ แต่ไม่มีข้อมูลที่ผมอยากหาเลย ส่วนใหญ่เป็นข้อมูลที่กรมอยากจะบอกผู้เยี่ยมชมเสียมากกว่า ซึ่งในส่วนนี้ เจอข้อมูลที่คิดว่าน่าสนใจอยู่สองเรื่องครับ
คำถามที่ถูกถามบ่อย (FAQ)
Q: ปัญหาว่าน้ำในบ่อซึมออกไม่สามารถ เก็บน้ำได้เต็ม จึงอยากหาวิธีการป้องกันการซึมของน้ำในบ่อดิน หมายเหตุการซึมของน้ำเป็นแบบลดระดับตามระดับของน้ำภายนอก แต่เนื่องจากที่ดินได้ถมสูงกว่าระดับพื้นดินภายนอกจึงทำให้น้ำในบ่อดินที่ ขุดไว้อยู่ต่ำกว่าที่ต้องการมาก เคยพยายามหาวิธีการแก้ไขเท่าที่ทราบต้องใช้แผ่น HDPE ซึ่งเป้นแผ่นพลาสติกปูแต่มีราคาแพงจึงอยากทราบว่าจะมีวิธีการอย่างอื่นอีก หรือไม่
A: บ่อเลี้ยงปลามีปัญหาน้ำในบ่อซึม ออก ทางแก้ 1. แบบชาวบ้าน โดยการสาดไล่ปุ๋ยหมักหรือดินลงในน้ำ เพื่อให้ปุ๋ยหมักและดินจะไปตกตะกอน ปิดช่องว่างในอนุภาคดิน ป้องดันน้ำไหลซึมออกวิธีการนี้อาจจะต้องใช้เวลาพอสมควร เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านลงทุนต่ำ ทำได้เลย นอกจากนี้บริเวณด้านผนังด้านข้างของบ่ออาจโรยพวกปูนขาววัตถุประสงค์เพื่อ ให้ปูนขาวไปปิดรูของอนุภาคดิน ประมาณปูนขาวที่ใช้ให้คำนึงถึงความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำที่จะใช้เลี้ยงปลา 2. อีกวิธีหนึ่ง ซึ่งยุ่งยากมากขึ้น คือถ้าสามารถถ่ายน้ำออกได้ก็ให้นำเอาดินเหนียวมาบดอัดผนังโดยรอบข้างของบ่อ และก้นบ่อ ส่วนน้ำจะซึมออกทางด้านข้างงเป็นส่วนใหญ่และน้ำจะปรับระดับตัวมันเอง ในบ่อและด้านนอกให้อยู่ในระดับตัวมันเอง ในบ่อและด้านนอกให้อยู่ในระดับเดียวกันอยู่แล้ว หรอืการใช้แผ่นพลาสติกปูนั้น เป็นวิธีการที่ไม่แน่นะเพราะมีค่าใช้จ่ายสูงรวมทั้งต้องดูแลต่อเนื่องอีก ไม่ให้พลาสติกขาดนอกจากนี้โดยปรกติน้ำจะระเหยออกจากบ่อ โดยเฉลี่ยวันละ 5-10 เซนติเมตรอยู่แล้ว คุณxxx xxxxxxxxxx (สำนักงานเลขานุการกรม)
คลังข้อมูลการพัฒนาที่ดินออนไลน์
เทคนิคการทำนาไร้สารพิษ 100 ถังต่อไร่ (หลักคล้ายของท่านอาจารย์แสวงเลยนะครับ)
...คุณณรงค์ สิทธิพันธุ์ แนะนำว่าข้อสำคัญเราจะต้องไม่เผาฟางเพราะมันจะเป็นตัวปรับปรุงดินอย่างดี เป็นการช่วยให้การทำนาง่ายขึ้น ควรจะทำการหมักฟางตลอดทุกปี เพื่อให้ดินมีอินทรียวัตถุเพิ่มขึ้น โดยปกตินาเคมีต้องทำการไถดินถึง 4 รอบ แต่ทำนาแบบเกษตรอินทรีย์ไถเพียง 2 รอบ ดินมีความร่วนง่ายต่อการไถ เป็นการช่วยให้การทำนามีความเหนื่อยน้อยลง ประหยัดต้นทุนเพราะปุ๋ยก็ทำใช้เอง เครื่องจักรทางการเกษตรระยะเวลาในการใช้ก็น้อยลง
การทำนาอินทรีย์ด้วยวิธีการหมักฟางการเตรียมเมล็ดข้าวปลูก
(ประสบการณ์ชมรมเพื่อนฯ)
เมล็ดข้าวปลูกจะซื้อที่มีการคัดเมล็ดไว้เรียบร้อยแล้วมาทำการแช่น้ำ 2 วัน 2 คืนในน้ำหมักชีวภาพ 5 ลิตร/น้ำ 200 ลิตร ใช้ซีเมนต์บล็อคก่อขึ้นเพื่อแช่กระสอบข้าวปลูก
การหมักฟางในนาข้าว
เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จ ทำการกระจายฟางข้าวให้ทั่วแปลงนา ใช้ปุ๋ยหมักตักไปหว่านในนา โดยหว่านลงบนฟางเลย เมื่อหว่านเสร็จก็ทำการใช้รถลากวนไปมา จากนั้นให้ทำการสูบน้ำใส่โดยผสมน้ำจุลินทรีย์ลงไปพร้อมกับน้ำที่ปล่อยเข้าแปลงนา ปล่อยน้ำลงไปจนท่วมนาโดยพื้นที่ 1 ไร่ใช้น้ำจุลินทรีย์ 5 ลิตรผสมกับน้ำ 200 ลิตร และกากน้ำตาล 5 กก. ทำการหมักฟางในนาทิ้งไว้ 15 วัน เมื่อครบ 15 วันฟางข้าวจะมีการย่อยสลาย ให้นำรถมาตีดิน ย่ำทำเทือก แล้วทำการหว่านข้าวปลูกได้เลย ในกรณีที่ไม่รีบทิ้งไว้อีก 10-15 วัน จะมีหญ้าและเมล็ดข้าวที่ตกค้างในนางอกขึ้นมา ทำการกำจัดออก ต่อจากนั้นให้ทำเทือกและหว่านกล้า วิธีการนี้เป็นการช่วยลดจำนวนหญ้าอีกทางหนึ่ง ระยะเวลาการให้ปุ๋ยหลังจากหว่านกล้า 20-30 วันหลังจากหว่านกล้า ช่วงนี้ให้เริ่มปล่อยน้ำเข้าโดยผสมน้ำจุลินทรีย์เหมือนเดิม 30 วันหลังจากหว่านกล้า ใช้ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดหว่านไร่ละประมาณ 25 กิโลกรัม
เมื่อไม่มีแผนที่ที่ผมอยากหา จึงไปดูที่อื่น ก็เจอข้อมูลที่น่าสนใจอีกส่วนหนึ่ง คือแผนที่พื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่ม จากกรมทรัพยากรธรณีครับ -- ชาวบ้านไม่อยากทิ้งถิ่นฐานหรอกครับ แต่ถ้าตั้งบ้านอยู่ในพื้นที่เสี่ยง ก็ต้องระวังตัว และเข้าใจความเสี่ยงนั้นอย่างจริงจัง
หลายปีก่อน เคยมีเหตุที่บ้านน้ำก้อ เป็นพื้นที่เสี่ยงในแผนที่ (ซึ่งเปิดดูชื่อหมู่บ้านแยกตามจังหวัดได้) หมู่บ้านตั้งขวางร่องน้ำอยู่จะได้สะดวกในการใช้น้ำ พอฝนตกหนัก ชาวบ้านก็หนีน้ำป่าขึ้นเขาตามสัญชาตญาณ เผอิญดินแถวนั้น พอฝนตกหนักอุ้มน้ำไว้ ก็รับน้ำหนักตัวเองไม่ไหว และถล่มลงมา พาชาวบ้านลงมาพร้อมกันเป็นร้อยคน
เป็นเรื่องน่าเสียดายที่ความเสี่ยงจากดินถล่มนั้น ถูกระบุไว้ก่อนในแผนที่ข้างบนหลายปีแล้ว แต่ชาวบ้านไม่รู้ และต้องจ่ายในราคาแพงครับ -- กรมทรัพยากรธรณีก็ไม่ได้มีหน้าที่เรื่องนี้โดยตรง เป็นไปตามสูตรของเมืองไทย "ผู้รู้ไม่ได้ทำ ผู้ทำไม่รู้ ทั้งสองผู้ไม่รู้จักคุยกัน"