สูบน้ำใช้ธรรมชาติกับฟิสิกส์


มีปัมป์น้ำที่ใช้กระแสน้ำไหล บวกกับความโน้มถ่วงและแรงดันอากาศ เพื่อใช้ลำเลียงน้ำมาฝากครับ

วิธีการนี้ ใช้กังหันน้ำ ซึ่งแน่ล่ะต้องมีน้ำไหล ตักน้ำปนอากาศ แล้วให้น้ำหนักของน้ำมากดอากาศเพื่อสร้างแรงดันในท่อปิด ทำให้สามารถส่งน้ำไปยังระดับที่สูงขึ้น จึงสามารถลำเลียงน้ำได้โดยไม่ต้องใช้มอเตอร์

รูปกังหันน้ำอันหนึ่งสำหรับลำธารเล็ก ใช้สายยางขนาด 3/4 นิ้วยาว 400 ฟุต สามารถสร้างแรงดันได้ 50 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว

อันนี้ ทดลองกับลำธารตื้นในคานาดาครับ สร้างแรงดันได้ 45 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว และลำเลียงน้ำได้ 2.5 แกลลอนต่อนาที หรือ 11.36 ลิตรต่อนาที

ตามทฤษฎี ความดัน 43 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว สามารถยกน้ำขึ้นได้สูง 100 ฟุต

ภาพตัดขวางของระบบสายยาง จะเห็นว่าในขดสายยาง มีน้ำครึ่ง-อากาศครึ่ง และอากาศเป็นตัวสร้างแรงดัน

ส่วนรูปข้างบนนี้ เป็นการทดลองเบื้องต้นในออสเตรเลีย แสดงให้เห็นว่าสามารถใช้แรงดันน้ำ ลำเลียงน้ำขึ้นสูง-สู่ตลิ่งไปสู่แปลงการเกษตรได้ การออกแบบของทางออสเตรเลียนี้ ใช้มือหมุนแกนเอา เรียกว่า inclined coil pump ซึ่งรูปต้นๆ บันทึกใช้กระแสน้ำหมุนเอา ซึ่งก็เป็นหลักการเดียวกันครับ

กังหันในลักษณะนี้ หมุนช้านะครับ เราไม่ได้ต้องการความเร็วของการหมุน แต่ต้องการแรงดันในท่อ ดังนั้นจึงต้องระมัดระวังจุดเชื่อมต่อต่างๆ ของท่อ

ส่วนการคำนวณทางวิทยาศาสตร์ เชิญตรงนี้ครับ

หมายเลขบันทึก: 169835เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2008 05:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

ชาวบ้านสนใจเรื่องนี้  แต่กึ๋นไม่ถึง มีแบบอื่นอีกไหมครับ ที่เอาน้ำขึ้นจากบ่อไม่ใช้แรงเครื่องยนต์

ขอคิดดูก่อนครับ

ด้วยสภาพของบ่อ คงจะยากถ้าไม่ใช้ไฟฟ้านะครับ ถ้ามีแดดจัด ก็อาจปั่นไฟฟ้าได้ แต่กำลังไฟที่ปั่นได้ ขายให้ กฟภ.ได้แพงกว่าเอามาใช้เองเสียอีก แล้วซื้อไฟฟ้า กฟภ.มาใช้สูบน้ำ ยังมีเงินเหลือไปสร้างถังเก็บน้ำ แถมความร้อนที่รวบรวมมาปั่นไฟแล้ว แทนที่จะทิ้งไปเฉยๆ ก็ยังเอามาอบแห้งข้าวหรือพืชผลทางการเกษตรได้อีกครับ

ส่วนถ้าเป็นกำลังลมก็ไม่แน่นอน ผมเสียดายที่ไม่ได้ข้อมูลความเร็วลมที่ดงหลวงมากครับ ตรงนั้นเป็นบึงขนาดใหญ่ พอโดนแดด ไอน้ำลอยตัวขึ้น ลมเย็นพัดเข้ามาแทน ถ้าลมแรงตลอดปี น่าจะปั่นไฟเลี้ยงได้หลายหมู่บ้าน หรือหลายตำบล -- ในกรณีลมนี้ คงไม่ค่อยเข้ากับสถานที่ที่มีบึงขนาดใหญ่ครับ (ถ้ามีบึงแล้ว ขุดบ่อน้ำทำไม)

ใช้แรงคนปั่นได้ไหมครับ แบบจักรยานนะครับอิอิอิๆๆ ที่นี่พ่อใหญ่ ออกกำลังกายโดยการขุดบ่อน้ำ มือนี้ด้านเลย ออกกำลังกายทุกวัน (อายุท่านเกิน 50 ปีแล้ว) แต่ยังแข็งแรงมากๆๆๆ

ไม่ค่อยมีความรู้ด้านนี้ แต่จะคล้ายๆกับ กังหันน้ำชัยพัฒนา ไหมคะจริงๆแล้ว  ชาวบ้านสามารถ ศึกษา ทดลอง ทดสอบ เพื่อสร้างเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ช่วยให้ไม่ต้องซื้อหาในราคาแพงๆ และทำให้ประเทศชาติเสียดุลการค้าได้นะคะ

 อีกเรื่องคือ การทำโรงเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อชุมชน

ไม่ทราบจะใช้กับการเพาะเนื้อเยื่อไผ่ได้ไหม แต่ต้องรู้ว่า เนื้อเยื่อต่างๆชอบกินอะไรก่อนค่ะ แต่ก่อนเคยขอให้ทางม.เกษตรฯทำให้

และยังมีระบบกาลักน้ำทดน้ำในอ่างเก็บน้ำโดยไม่ต้องใช้เครื่องสูบน้ำ ด้วย มีหลายอย่างนะคะ

บันทึกนี้เป็นประโยชน์มากค่ะ

อาจารย์ขจิต: ปั่นเอาได้ แต่ขอผมหาทางที่ดีกว่านั้นก่อนนะครับ

พี่ศศินันท์: กังหันนี้เหมือนกับกังหันน้ำชัยพัฒนาตรงคำว่ากังหันน้ำครับ แต่ในหลักด้านพลังงานนั้นตรงกันข้ามเลยครับ ปัญหาที่ท่านครูบาชี้มานั้น ตรงประเด็นที่สุดครับ ต้องขุดเอาน้ำใต้ดินมาใช้ ถ้าช่วยจุดนี้ได้ ก็จะเกิดประโยชน์สูงสุดครับ

  • กรณีสูบน้ำใต้ดินมาใช้ อย่างที่พ่อครูบาฯถามมา
  • ลองศึกษาเครื่องขุดเจาะน้ำมันดูซิครับ ว่ามีกลไกอย่างไร
  • ใช้แรงตุ้มถ่วง สูบ อัด ดูด ใช่ไหมครับ
  • หรือหากเป็นบ่อเปิดแต่มีขรนาดลึก ก็น่าจะใช้ระหัดวิดน้ำ ดดยพลังกังหันลมได้ครับ  เหมือนนาเกลือนะครับเขาวิดน้ำในแนวราดเอียงเล็กน้อย แต่เราวิดน้ำในบ่อแบบแนวดิ่ง

ใช้กังหันน้ำลำเลียงน้ำขึ้นที่สูง -> ใช้น้ำที่ไหลจากที่สูงหมุนกังหัน -> ใช้กังหันน้ำลำเลียงน้ำขึ้นที่สูง -> ...

ถามว่า

1.ถ้าจะใช้กังหันน้ำปั่นไฟด้วยจะได้มั๊ยครับ (พลังงานจะสูญเสียไปตรงส่วนไหนบ้าง จะมีข้อจำกัดในการใช้งานอย่างไรบ้าง)

2.จากข้อ1. ถ้าได้ ทำไมถึงไม่มีใครทำ (ความคุ้มค่า/ประโยชน์/ต้นทุน/ค่าใช้จ่าย? หรือเพราะ คิดง่ายกว่าพูด พูดง่ายกว่าทำ)

คิดก่อนดีไหมครับ

  1. ทำได้แต่จะได้อะไรขึ้นมาครับ (สูญเสียหลายส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งตรงที่ปั่นไฟ)

  2. เพราะถึงทำได้ พลังงานที่ใช้ในการลำเลียงน้ำขึ้นที่สูง จะมากกว่าไฟที่ปั่นได้ไงครับ input > output (ขาดทุน) หมายความว่าระบบนี้ต้องการพลังงานจากภายนอก ซึ่งนั่นคือโจทย์ที่ต้องการแก้ครับ

ถ้าใช้พลังงานจากภายนอกได้ ก็ไม่ต่างจากการใช้เครื่องยนต์ดึงน้ำขึ้นจากบ่ออย่างตอนนี้เลยครับ

แต่ถ้าใช้พลังงานที่ได้มาฟรีจากธรรมชาติ แล้วทำให้เกิดการประหยัด อันนี้น่าพิจารณาครับ (ความประหยัดต้องมากกว่าค่าบำรุงรักษา)

สวัสดีครับพี่

น่าสนใจมากๆ เลยนะครับ ผมนำไปลองคิดต่อยอดดูแล้วคาดว่าประยุกต์ใช้กับสระน้ำได้สบายเลยครับ

แบบนี้ ใช้กับน้ำแบบไหลก็ได้ หรือในสระน้ำนิ่งก็ได้ครับ เพียงแต่ต้องใช้แรงจากภายนอกไปหมุนวงล้อนี้ครับ อาจจะต่อกับจักรยาน หรือกังหันลมก็ได้ครับ

    กรณีใช้ในสระน้ำ ก็ใช้ถังน้ำมันปิดฝาสองถัง แล้วใช้วงล้อระหว่างมีแกนยึดกับถังน้ำมัน ปั่นด้วยจักรยานขอบสระหรือแล้วแต่จะออกแบบครับ ที่ข้อหมุนของตรงกลางวงล้อมีการออกแบบให้หมุนง่ายๆ โดยน้ำไม่ไหลออกและสูญเสียแรงดันน้ำ

    สำหรับกรณีนี้ ก็น่าสนใจมากๆ เลยครับ เราอาจจะออกแบบในฝั่งขวามือเป็นห่วงยางล้อรถหรอว่า แกนลอนลอยน้ำก็ได้ เผื่อว่าระดับน้ำจะขึ้นลงหรอโยกย้ายอย่างไร ก็อัตโนมัติครับ ส่วนฝั่งซ้ายมือนั้น ก็ต่อสายเข้าไปยังโอ่งใหญ่ที่ขอบสระ แล้วปั่นน้ำเข้าโอ่ง หากระดับน้ำในโอ่งเต็มจะปล่อยไปไหนก็ได้ เช่นปล่อยลงสระตามเดิม ปล่อยไปยังคอกหมู ห้องน้ำ หรือแปลงผัก

    หากมีลมดีต่อเข้ากับระบบกังหันให้มาปั่นตรงนี้แทน ส่วนเราตั้งถังน้ำขอบสระให้สูงกว่าเป้าหมายที่จะนำน้ำไปครับ ทำได้แบบนี้ ไฟฟ้าก็เลิกคิดไปเลยครับ ลดได้เยอะครับ

    สำหรับบ่อน้ำลึก จะใช้แบบสาัยสะพานก็ได้ครับ แล้วมีมือหมุนครับ ประหยัดพลังงานกล(จากมือเรา) แล้วมีถังย่อยตักน้ำขึ้นมาแล้วพอน้ำขึ้นมาถึงปากบ่อก็มีตัวพลิกถังน้ำย่อยไปลงรางสังกะสีีจะต่อไปไหนก็ว่าไปครับ

มีคนบอกว่า หากจะอยู่กับธรรมชาติ ก็ต้องใช้ปัญญาให้มากขึ้นครับ แต่หากจะอยู่กับเทคโนโลยีขอให้มีเงินซื้อก็ได้มา ส่วนใช้ได้แค่ไหนก็คุ้มแค่นั้น...

ขอบคุณมากๆ นะครับ ไว้ผมจะเอาที่คิดๆ ไว้ไปทำที่บ้านครับ ขอบคุณพี่มากๆ เลยครับ ที่จุดประกายแนวคิดให้ลองทดลองดูครับ

ขอบคุณครับ คุยกันอยู่แป๊บๆ ข้อความมาอยู่ในความคิดเห็นนี้หมดแล้ว ดีเลยไม่ต้องพิมพ์

อีกรอบครับ

       ที่น่าสนใจอีกอย่างครับ อาจจะไ่ม่เกี่ยวกับเรื่องปั้มน้ำครับ คือใช้หลักของความร้อนนะครับ ทำหลังคาลาดเอียงครับ อาจจะเป็นสังกะสีหรือกระเบื้องแบ่งระดับ หากแดดจัดๆ เราจะทำให้ลมไหลภายในบ้านได้เช่นกันครับ ใ้ช้หลักการลมบกลมทะเล ในการดูดซับพลังงานความร้อนและสะท้อนกลับ ทำให้อุณหภูมิร้อนลอยขึ้นในพื้นที่ที่ดูดซับความร้อนได้น้อย อากาศลอยตัวสูงขึ้น ทำให้ลมหรืออากาศจากอีกบริเวณ(หลังคากระเบื้อง) ไหลมายังหลังคาสังกะสีได้ ต้องทดลองนะครับ เรื่องเหล่านี้มีบทบาทในการออกแบบบ้านครับ บ้านประหยัดพลังงานนะครับ ลองคิดกันเล่นๆ ต่อดูนะครับ

       อีกเรื่องพลังงานบ้านเราเมืองไทย ตรึมเลยครับ

  • ลมชายฝั่ง นี่แบบว่าติดกังหันลมชายฝั่งประจำครัวเรือนยังได้เลยครับ เอาแนวคิดของคุณอะไรนะครับ ที่ออกข่าวในเมืองไทยเมื่อปีก่อนนะครับ ที่พี่เค้านั่งคิดอยู่หกเดือนและทำออกมาเป็นรูปแบบนะครับ
  • หากแปลงพลังงานคลื่นให้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้นะครับ คงสนุกครับ (คลื่นทะเลชายฝั่งนะครับ)
  • ส่วนแสงแดดนั้นทั่วประเทศครับ ปัญหาคือจะดึงเอามาใช้ได้อย่างไร อันนี้ต้องถามหาความรู้แล้วล่ะครับ

ขอบคุณมากครับ

คิดว่าความเข้มข้นของความร้อน ไม่มากพอที่จะทำให้เกิดงานที่ต้องการครับ

เรื่องกำลังลม เคยเขียนไว้สองปีแล้ว ในนั้นมีลิงก์ที่โยงไปยังข้อมูลอื่นๆ อีกมาก ขอให้สนุกกับการค้นคว้าครับ

จากที่พี่เม้งพูดถึงเรื่องคลื่นทะเล

หากแปลงพลังงานคลื่นให้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้นะครับ คงสนุกครับ (คลื่นทะเลชายฝั่งนะครับ)

ทำให้ผมนึกถึงทุ่นชายฝั่งครับ เวลามีคลื่นมันจะขึ้นๆลงๆ แต่ตอนนี้ยังนึกไม่ออกว่าจะเอา พลังงานจลน์ พลังงานศักย์ ไปเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าได้อย่างไร

อีกอย่างก็ไม่รู้ว่าคิดแล้วทำแล้วส่วนรวมจะได้ประโยชน์หรือไม่ และจะคุ้มทุนมั๊ย

เมื่อ 20 ปีก่อน ผมสนใจและเคยคิดเรื่องพลังงานทดแทนเหมือนกัน แต่ด้วยความอ่อนความรู้และประสบการณ์ ผมคิดแล้วก็ทิ้งไว้เฉยๆ ปล่อยให้ทุนมันสูญเปล่าไป
ผมอาจจะต้องคิดอย่างจริงจัง และมองให้รอบด้านมากกว่าที่เคย
เพื่อที่จะทำให้ความฝันเรื่องพลังงานธรรมชาติของผมเป็นความจริงขึ้นมาได้ (คิดไว้นานมาก ถ้าเป็นอาหารป่านนี้คงบูดหมดแล้ว)

ปล. วันนี้รู้สึกดีครับ ที่ได้พูดเรื่องความฝันของตัวเองให้พี่ๆได้ฟัง ถึงแม้มันจะเป็นฝันแบบเด็กๆ คือไม่รู้ว่าเป็นไปได้หรือไม่ได้ แต่ขอฝันไว้ก่อน

ถ้าว่างแล้วจะมาเขียนต่อโดยลบความเห็นนี้ออกครับ ที่มาเขียนก่อนเพราะต้องการให้กำลังใจคุณ roong (เผื่อว่าตามมาอ่านอีก) ว่าผู้ที่มีความรู้ ก็ต้องมีความรับผิดชอบด้วยครับ

การให้ความคิดนั้นไม่ได้เสียอะไร เมื่อช่วยกันคิด ก็สามารถช่วยกันปรับปรุงให้เหมาะสมตามบริบทของสังคมต่างๆ ได้ ร่วมกันเรียนรู้ไปเรื่อยๆ เป็นประโยชน์กับทุกคนครับ

ขอบคุณครับ

มาลงชื่อว่าอ่านครับ

กังหันตามตัวอย่างเป็นกังหันแบบ "อะ-เก-เม-ดิส" ผมคิดว่าแจ๋วเลย แต่มันมักต้องใช้พื้นที่ลาดเอียงค่อนข้างไกล ถ้าจะใช้ดึงน้ำในแนวตั้ง ลองประยุกต์กับวาล์วสิครับ ผมเคยทำวิจัย พอใช้ได้อยู่ สิ่งสำคัญไม่ใช้ระบบการดึงน้ำ แต่เป็นต้นกำลังครับ คุณๆจะใช้ต้นกำลังจากไหนนี่สิคือประเด็น ส่วนผมมุ่งสู่กังหันลมมานานแล้วครับ

พลังงานอีกอย่างหนึ่งที่ไม่อยากให้มองข้าม เป็นพลังงานแนวใหม่ ไม่ใช่พลังงานธรรมชาติ ไม่ใช้พลังงานที่มนุษย์ตั้งใจสร้างขึ้นครับ แต่เป็นพลังงาน...ที่ไม่ตั้งใจให้เกิดขึ้นครับ เช่นผมเคยเห็นพวกที่นำกับหันปั่นไฟฟ้าขนาดเล็กไปติดไว้ตามข้างถนนสายที่มีรถคันโตๆวิ่งผ่านเร็วๆ พลังงานจากรถยนต้องสูญเสียหลายอย่าง หนึ่งในนั้นคือพลังงานแรงต้านอากาศ และเมื่ออากาศถูกกระทำให้เปลี่ยนทิศทางด้วยความเร็วจากรถวิ่งไปมา เกิดการไหลเวียนข้างๆถนนครับ ฮาจริงๆเรื่องนี้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท