"การทำวิจัยในงานประจำ (R2R)" กับ "ความหมาย" ตามที่พยายามจะเข้าใจ


การทำวิจัยในงานประจำ (R2R: Routine to Research) จึงหมายถึงกระบวนการแสวงหาความรู้ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ของผู้ปฏิบัติงานประจำในการแก้ไขปัญหาและยกระดับการพัฒนางานที่รับผิดชอบดำเนินการอยู่ตามปกติ โดยจะมีผลลัพธ์เป็นการพัฒนาตนเองและเพื่อนผู้ร่วมงาน อันจะส่งผลกระทบในการบรรลุเป้าประสงค์สูงสุดขององค์กรนั้น

     หลายวันมานี้ พยายามที่จะค้นหาจาก Website ทั้งในและต่างประเทศ เช่น Gotoknow.org กรมพัฒนาชุมชน หน่วยงานสถานศึกษา สถาบันวิจัยต่าง ๆ รวมถึงหน่วยงานอื่น ๆ (ตาม link นี้) เมื่ออ่านผ่านแบบเร็ว ๆ ก็พบว่าเรื่องการทำวิจัยในงานประจำ (Routine to Research: R2R) นี้มีการดำเนินการอยู่แล้วในหลาย ๆ ภาคส่วนทั้งในและต่างประเทศ ชื่อเรียกจึงเป็นการเจตนาที่จะแยกกลุ่มเพื่อความง่ายในการจัดการสนับสนุนและส่งเสริมให้ขยายไปสู่สังคมอย่างมีทิศทาง มีประสิทธิภาพ และมีความคุ้มค่ามากว่าอย่างอื่นอย่างแน่นอน

     จากข้อมูลข้างต้นที่พอสรุปได้ รวมถึงใช้การพูดคุยสอบถาม และแลกเปลี่ยนกับผู้คนรอบข้างที่มีประสบการณ์ในการทำวิจัยในงานประจำ (R2R) มาแล้ว เช่นทีมคุณอำนวยเครือข่ายภาคใต้ [KFC(oP)-South] ทีมงาน ศวพถ. นักเรียนโรงเรียนคุณอำนวยเมืองคอน ทีมงานเครือข่ายหน่วยบริการสุขภาพ (CUP) ทับปุด จ.พังงา เครือข่ายหมออนามัยภาคใต้ เครือข่ายพยาบาลชุมชนภาคใต้ และอีกหลาย ๆ ท่าน ในจำนวนหลาย ๆ ท่านที่กล่าวถึง ได้พิจารณาแล้วพบว่ามี  2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่รู้ว่าตัวว่างานวิจัยที่ทำเป็น R2R เพราะร่วมรับรู้ คิด และช่วยกันทำกันมาแต่ต้น และกลุ่มที่รับรู้เป็นเพียงการทำวิจัย ไม่ได้รับรู้เรื่องการทำ R2R มาก่อน และเขาเหล่านั้นถือว่าการทำวิจัยในงานประจำก็เป็นส่วนหนึ่งของการทำวิจัยอยู่แล้ว ที่สำคัญเกือบทุกคนมีคำตอบว่าทำไปทำไม? คล้ายกันว่า เพื่อตอบสนองต่อคำตอบที่ยังเป็นปัญหาจากการทำงานประจำว่าจะทำอย่างไรต่อได้บ้าง จะแก้ไขหรือพัฒนาไปอย่างไรดี จนเกิดเป็นคำถามวิจัย (อ่านรายละเอียดเรื่องปัญหาวิจัยและปัญหาทั่วไปที่นี่ คลิ๊ก) และตัดสินใจค้นหาคำตอบนั้น โดยเลือกใช้การวิจัยแบบง่าย ๆ ไม่ยุ่งยาก ซับซ้อนมากนักมาเป็นเครื่องมือ และจะมุ่งหวังไปที่การพัฒนางานประจำ หรือหน้างานของตัวเองเป็นหลักใหญ่ ไม่ใช่การตีพิมพ์ หรือเผยแพร่ แต่หากถ้าทำได้ก็จะดี มีบ้างที่ตอบว่าทำเพื่อส่งผลงานทางวิชาการในการเลื่อนระดับ (อวช.)

     เมื่อต่อการค้นหาคำตอบจากคำถามว่า "เงื่อนไขของ R2R" หากจะเป็น R2R ต้องมีอะไรบ้าง ก็ได้คำตอบในเบื้องต้น (ยังไม่น่าจะครอบคลุมทั้งหมด) เช่น
          1. ต้องเริ่มต้นจากปัญหา/คำถามวิจัยที่ได้จากหน้างาน หรืองานประจำที่ตนเองทำและรับผิดชอบดำเนินการอยู่
          2. ต้องเป็นการวิจัยจริง ๆ ที่มีความน่าเชื่อถือ
          3. ต้องมีเป้าหมายชัดเจนว่าจะแก้ไขปัญหา/พัฒนา/ต่อยอด/ขยายผล งานที่ทำอยู่อย่างไร
          4. ไม่ควรจะเน้นที่งบประมาณในการดำเนินการเป็นการเฉพาะมากนัก ควรใช้โอกาสและงบประมาณที่ใช้ทำงานประจำอยู่แล้ว
          5. ต้องเริ่มต้นที่ใจอยากทำ มีทัศนคติที่ดีต่อการทำวิจัย ไม่ควรจะใช้วิธีการบังคับให้ทำ
          6. ควรจะเห็นวิธีการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองและทีมงานในกระบวนการทำ R2R
          7. ต้องไม่รู้สึกว่าเป็นภาระงานที่เพิ่มขึ้น
          8. ต้องพิจารณาที่ "งานประจำ" เป็นหลัก เพราะแต่ละคนที่ทำ R2R ทำงานต่างตำแหน่ง บทบาท หน้าที่ หรือ ต่างบริบทกัน การจะนำแต่ตัวงานวิจัยมาพิจารณาจะทำไม่ได้ว่าอะไรเป็นวิจัยในงานประจำหรือเป็นวิจัยทั่ว ๆ ไป
          9. การทำวิจัยในงานประจำน่าจะเป็นการคิดแบบ initiation, creation หรือ innovation
         10. ...

     กล่าวโดยสรุปการทำวิจัยในงานประจำ (R2R: Routine to Research) จึงหมายถึงกระบวนการแสวงหาความรู้ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ของผู้ปฏิบัติงานประจำในการแก้ไขปัญหาและยกระดับการพัฒนางานที่รับผิดชอบดำเนินการอยู่ตามปกติ โดยจะมีผลลัพธ์เป็นการพัฒนาตนเองและเพื่อนผู้ร่วมงาน อันจะส่งผลกระทบในการบรรลุเป้าประสงค์สูงสุดขององค์กรนั้น

     จากข้างต้นเป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นที่พอจะสรุปได้ในตอนนี้เท่านั้น บันทึกมาเพื่อขอเรียนรู้เพิ่มเติมด้วยครับ

หมายเลขบันทึก: 167244เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2008 09:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (28)

เรียนท่านอาจารย์ ชายขอบ สวัสดี เดือนมาฆะ ครับ ยินดี ที่ท่านเข้ามาร่วม "ลิขิต ลปรร" กับชาว Blog อีกวาระหนึ่ง ครับ

     กราบสวัสดีครับ และขอบพระคุณอย่างยิ่ง ตอนนี้ภารกิจสร้างบทเรียนและทบทวนความรู้ ที่หายตัวไปปฏิบัติกลับมา คงมีเวลาที่จะเขียนมากขึ้นนะครับ

     ขอบพระคุณอีกครั้งนะครับ

  • เย้ๆๆน้องบ่าวกลับมา
  • ดีใจที่ทีมทางภาคใต้เข้มแข็งมาก
  • เชื่อว่า งานวิจัยที่พัฒนางาน
  • จะเกิดประโยชน์แก่การทำงานมากที่สุด
  • ขอบคุณครับ

     ว้าว! ขอบคุณมากครับอาจารย์ขจิต และขอบคุณมากสำหรับความเห็นต่อการทำวิจัยเพื่อพัฒนางาน จะนำซึ่งประโยชน์แก่การทำงาน ตรงไปตรงมา ชัีดเจนครับ

     ขอบคุณมาก ๆ อีกครั้งครับ

10...ผลงานวิจัยต้องสามารถ implement ลงไปใช้ในหน่วยงานได้จริง

11...R2R ต้องยั่งยืน ด้วยกระบวนการ PDCA หลายๆรอบอย่างต่อเนื่อง

12...ควร (อาจจะไม่ถึงกับ "ต้อง") เผยแพร่ผลงานให้ออกสู่สาธารณะ

ยินดีที่คุณชายขอบมีเวลาที่จะเขียนมากขึ้นค่ะ...

     ขอบคุณพี่เม่ยมาก ๆ ครับ ต้องการอีกครับ มีอีกไหม พี่เม่ยสบายดีนะครับ

     มารีบขอบคุณพี่ก่อนจะปิดเครื่องครับ มีภารกิจที่ มรภ.สงขลา ช่วงบ่ายนี้ครับ เป็นประเด็นที่ต่อเนื่อง R2R คือนัดหารือกับโปรแกรมสาธารณสุขชุมชน เพื่อพัฒนาหลักสูตร R2R สำหรับนักจัดการชุมชนครับ

     สำหรับเวลาเขียนปกติก็มีครับ แต่เวลาตีพิมพ์บอกตามตรงไม่มีเลยครับ (เวลาที่ใช้เพื่อพยายามตีพิมพ์นานกว่าเขียนมากเกิน) ต้นเดือนหน้าก็จะได้น้องมาช่วยเพิ่มอีกคน น่าจะดีขึ้นในเรื่องนี้นะครับ

  • สวัสดีครับ อ.ชายขอบ
  • ทราบเบื้องต้นจากครูนงว่า อ.ชายขอบ จะเข้ามา ลปรร.ผ่านบล็อก ก็ตั้งตารออ่าน 
  • ขอบคุณมากครับ

สวัสดีครับ พี่สิงห์ป่าสัก

     สัญญากับพี่บ่าวครูนงอยู่นานแล้วครับ แต่เหมือนขี้หก(โกหก)คนแก่ ไม่ได้เข้ามาจริง ๆ สักที แต่พอมาถึงจุดหนึ่งที่มันจำเป็นสุด ๆ แล้ว ก็อย่างที่เห็นนะครับ ขอบคุณพี่อีกครั้งนะครับ

ล่าสุด UKM ครั้งที่ ๑๒ จะเน้นเรื่องวิจัย เข้าใจว่า อาจารย์หมอสมเกียรติ จาก ศิริราช คงจะนำ R2R มา ลปรร ด้วยครับ

เรียน อาจารย์หมอ JJ ที่เคารพครับ

     ดีใจครับที่ได้รับทราบความก้าวหน้าไปแบบนี้ แน่นอนครับ U คือกลุ่มคนที่ได้รับโอกาสและเข้าถึงโอกาสต่าง ๆ ได้ดีอยู่แล้ว UKM จึงไปได้สวย ยินดีและดีใจด้วยในความก้าวหน้าของ UKM ครับ

ความเห็นจากหมออนามัยชายแดนใต้ ที่ได้รับมาก และเห็นว่าเป็นอีกหนึ่งคุณค่าในการสะท้อน R2R

สวัสดีครับพี่ใหญ่
     การทำวิจัยในงานประจำ นั้น ในความคิดเห็นของผม  เป็นเรื่องดีต่อการปฏิบัติงานที่จะทำให้งานมีความถูกต้อง แม่นยำและสมบูรณ์แบบ เพราะเป็นการเข้าไปแก้ปรับปรุงจุดด้อย และเสริมจุดเด่นในการรับมือกับปัญหาที่เกิดจากการปฏิบัติงาน
แต่จริงๆแล้ว บุคลากรในชุมชนหรือที่ทำงานชุมชน ได้ดำเนินการอยู่แล้วโดยอัตโนมัติ เพราะ ทำงานเจอปัญหา และหาทางแก้ นำแนวทางแก้ที่ดีไปใช้ต่อ แต่ที่สำคัญคือ ในส่วนสาธารณสุข (อนามัย) ที่พบอุปสรรค ทั้งเวลา ภาระงาน และจำนวนบุคลากร อีกทั้งความไม่เห็นความสำคัญในศักยภาพ จากใคร ๆ ทำให้ชิ้นงานวิจัยโดยธรรมชาติที่ดีหลายต่อหลายชิ้นไม่ได้ถูกแผยแพร่ น่าเสียดาย
 
     และที่สำคัญอีกอย่างคือ เมื่อขึ้นว่าวิจัย จะตต้องมีรูปแบบแน่ยุ่งยากตามมา แต่โดยรวมแล้ว "การวิจัยในงานประจำ ดีและดีมาก"
 
     ผมขอโทษพี่ด้วยนะ  ถ้าสิ่งที่ผมเขียนมาไม่เข้าท่า 
           ขอแสดงความนับถือ
                  ประพันธ์

สวัสดีครับน้องประพันธ์
     ขอบคุณมากครับ
     นี่เป็นความสำคัญที่หมออนามัย ต้องแสดงออกมาครับ
     จากที่ได้อ่าน พี่ว่ามีคุณค่ามากนะครับ ทั้งในเชิงยืนยัน และสิ่งใหม่ที่น้องได้เสนอมา
     พี่จับประเด็นได้ว่ามันมีอยู่แล้วตามธรรมชาติ เพียงแต่ส่วนนี้จะช่วยให้เป็นระบบ ระเบียบ พร้อมที่จะนำไปต่อยอด ลปรร.กันต่อได้
     ขอบคุณอีกครั้งสำหรับความรู้ในตัวที่มีค่ายิ่ง และน้องได้นำออกมาเอื้อต่อส่วนรวมครั้งนี้
     พี่ขออนุญาตนำข้อความเหล่านี้ไปลงไป Blog นะครับ
เพราะมีคุณค่ามากครับ

น้องชายขอบ

  ดีใจที่ได้อ่านเรื่องเล่าดีๆๆๆๆมากๆๆๆๆของน้อง   หนังสือเขียนเสร็จหรือยัง

พี่รออ่านอยู่จ้า  

P

ชายขอบ

 

อ่านบันทึกเรื่อง R2R ตอนนี้ ทำให้คิดถึงวิภาษวิธีของ เฮเกล (Hegel) ทำนองว่า

  1. ความเชื่อหรือความคิดเห็นพื้นฐานที่มีมาแต่เดิม
  2. ข้อมูลที่ได้รับรู้ใหม่ๆ เข้ามาแย้ง (1)
  3. ผสมผสาน (1) กับ (2)

คิดว่ R2R อาจเป็นไปตามกระบวนการนี้ได้บ้างเหมือนกัน หรือนำกระบวนการนี้มาใช้ได้บ้างตามโอกาส...

เจริญพร

 

สวัสดีครับ พี่อัมพร (ท้องฟ้า)

     ยังเลยครับ เสร็จแล้วจะส่งไปให้พี่อ่านก่อนเลยครับ เรื่องที่เสร็จแล้วเรื่องหนึ่งก่อนหน้าพี่ได้รับไปอ่านยังครับที่นี่เลย... http://www.esnips.com/web/ALRD ขอบคุณพี่อีกครั้งสำหรับการติดตามและแลกเปลี่ยน

นมัสการ หลวงพี่ชัยวุธ

     กราบขอบพระคุณยิ่งครับ ผมเข้าไปตามอ่านแล้วเด้งกลับเลยครับ ภาษาอังกฤษทั้งเพ...ผมสนใจวิภาษวิธีครับ อยากรู้อย่างลึกซึ้งครับ

 

เห็นความตั้งใจและความพยายามของคุณชายขอบ ที่จะทำเรื่อง R2R ออกมาให้ชัดเจนทั้งจากแนวคิด ความเห็นของท่านผู้มีความรู้และประสบการณ์ของนักปฏิบัติทั้งหลาย มองเงื่อนไขการทำ R2Rเป็นส่วนที่น่าสนใจมาก  หากนักพัฒนาทั้งหลายจะสามารถหยิบเอางานที่ปฏิบัติอยู่ขึ้นมาทำ "มีเป้าหมายชัดเจนว่าจะแก้ไขปัญหา/พัฒนา/ต่อยอด/ขยายผล งานที่ทำอยู่อย่างไร" เงื่อนไขหรือคุณลักษณะข้อนี้ก็สุดยอดของผลลัพธ์ที่คนทำงานประจำควรมีแล้วล่ะค่ะ  ขอบคุณนะคะ

สวัสดีครับ คุณอรทัย

     ขอบคุณครับที่มาช่วยยืนยันและแวะมาเยี่ยม ผมคงต้องรบกวนในประเด็นอื่น ๆ ด้วยนะครับ แล้วจะส่งแนวคำถามไปให้
     หลังจากกลับมาจากเชี่ยวหลาน ผมยังไม่มีเวลา AAR ให้เลยนะครับ ประทับใจมากกับนักพัฒนาฯ เครือข่ายหน่วยบริการ (CUP) ทับปุด ขอบคุณในประเด็นนี้ด้วยที่ได้ให้โอกาสผมไปเรียนรู้/แลกเปลี่ยน

น้องชายขอบ น้องบ่าวที่นับถือ

อะๆๆ โกหกคนแก่...หรือเด็ก หรือหนุ่มสาว บาป นะน้อง ไม่เชื่อถามหลวงพี่ชัยวุฒิดูก็ได้...พาดพิงหลวงพี่หน่อยนะ ดีใจที่จะได้เจอตัวจรางหลวงพี่วันที่ 10 ที่ มรภ.สงขลา ในประเด็น R2R

ตูมเดียวด้วยประด็น R2R ชายขอบก็ดังเปรี้ยงปร้างยึดพื้นที่gotoKnow ไปหมดเลย แช้มป์ตลอดกาล

สวัสดีครับ พี่บ่าว(ครูนง)ที่รักและนับถือยิ่ง

     วันที่ 10 ผศ.สุจารี ติดภารกิจ แต่ท่านฝากประเด็นไว้ ผมจะ FWD ไปให้ทางเมล์นะครับ

     เปลี่ยนบรรยากาศจาก KM on Gmail และ Google Calendar มาเป็น Gotoknow ก็ดูแปลก ๆ ไปครับ แต่ไม่พรือ(ไม่เป็นไร) ครับ ยังไงก็ My Style ครับ

สวัสดีค่ะ

วันที่ 6 กพ 51 ดิฉันมีโอกาสไปร่วม ลปรร ที่สวรส เห็นหน้าคุณชายขอบ เราก็คุ้นๆ

ยินดีที่มีโอกาสพบตัวจริงกัน แต่ไม่รู้  เลยไม่ได้ทักทายค่ะ

ขอบคุณที่ให้ข้อคิดดีดี ใน r2r ทำให้เราเก็บเกี่ยวความรู้มาต่อยอดต่อไปค่ะ

สวัสดีครับ พี่อุบล

     ผมก็ห่างหายไปเสียนานครับ แต่ยังจำพี่และคุณหมอได้ เผอิญว่าผมไม่ได้ทักทายเป็นการส่วนตัว อีกอย่างผมเหมือนผ่านเข้าไป หลายครั้งก่อนหน้านั้น การแจ้งข่าวทำให้ผมไม่สามารถจัดตารางให้ว่างได้ทัน จึงไม่เคยได้ไปร่วมครับ 
     อีกอย่างสิ่งที่กำลังทำอาจจะแค่เผอิญมาตรงกันเข้ากับกระแส เลยตกกระแสไปด้วย ซึ่งผมก็ต้องนำกลับมาคุยกับทีมงานที่นี่ต่อ งานของที่นี่ก็มีมติว่าจะยังคงไว้ซึ่งจุดมุ่งหมายหลัก ส่วนอย่างอื่นจะขอเรียนรู้ร่วมแล้วปรับไปสู่สิ่งที่ดีที่ดีที่จะเป็นไปได้ครับ
     ยินดีครับ ที่จะได้ร่วมเรียนรู้และได้ร่วมเรียนรู้มาแล้วในครานั้น

ขอบคุณมาก ๆ นะครับ

มาตามคำแนะนำของน้องไก่ค่ะ

วันที่ประชุมไม่ได้อยู่ฟัง R2R

คิดเอาไว้ว่าคงหาอ่านเอาแถวๆนี้ได้แน่นอน

วันนี้ได้ความรู้เพิ่มขึ้นมาอีก

ขอบคุณค่ะ

สนใจเรื่องR2Rนะคะ เพราะคิดว่าทุกวันนี้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขของเราทุกคน ทำงานหรือมีบทบาทบางอย่างเหมือนนักวิจัย แต่ยังขาดเรื่องการเขียน รวบรวม และนำเสนอ/เผยแพร่ น่าเสียดายนะคะ น้องจึงสนใจอยากหาข้อมูล/ทำความเข้าใจกับR2R จะได้แนะนำกับเพื่อนร่วมงานได้ ถ้าทำสำเร็จคงดี เจ้าหน้าที่เราจะได้รู้สึกว่างานวิจัยไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แถมจะได้รู้จึกภาคภูมิใจ / มีความสุข กับการทำงานด้วยนะ ตอนนี้น้องกำลังศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมอยู่ มาพบบทความของพี่ ดีใจมาก เมื่อศึกษาข้อมูลและรู้ว่าพี่ชายขอบคือใคร ยิ่งดีใจและภูมิใจว่าเป็นรุ่นพี่จริงๆ คิดว่าคงจะได้รบกวนพี่บ้างนะคะ ขอบคุณพี่แทนทุกๆคนด้วยคะ

R2R....น่าสนใจมากค่ะแต่ละรพ.น่าจะมีการนำงานประจำที่ทำกันอยู่ทุกวันมาเขียนให้เป็นผลงานที่เป็นรูปธรรมจริงๆและต่อเนื่อง....จะเป็นประโยชน์มากๆค่ะ

อยากทำR2R ในรพช.เริ่มต้นที่ตรงไหนดี.....ใครช่วยแนะนำหน่อย....

ขอบคุณค่ะ

เริ่มต้นจาการค้นหาว่า ในบริบทของงานที่ท่านอยู่นั้น มีอะไรบ้างที่ยังเป็นปัญหาอยู่บ้าง แล้วนำมาเชื่อมโยงเข้ากับวิธีวิวิทยาทางการวิจัย เพื่อหาคำตอบออกมา และนำคำตอบที่ได้มาปรับปรุงการปฏิบัติงาน และเผยแพร่ค่ะ

เป็นพยาบาลNP ทำงานใน PCU สนใจเรื่อง R2R แต่ไม่มีความรู้พื้นฐาน ขอคำปรึกษาค่ะ

ใครมีความรู้เรื่องr2rช่วยแนะนำความกระจ่างตั้งแต่เริ่มต้นจนจบว่าควรทำอย่างไรเขียนให้เป็นงานวิจัยด้วยฟอร์แมทไหนที่พอจะเผยแพร่ไปแล้วคนจะยอมรับว่านี่คือr2r

รบกวนหน่อยค่า...........สนใจอยากพัฒนางานตนเองและอยากที่จะเริ่มทำงานวิจัยด้วยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท