เริ่มต้นวิจัยด้วยสถิติที่อยากใช้


ปัญหาวิจัยที่เลือก = (ปัญหา - ปัญหาเชิงบริหารจัดการ - ปัญหาวิจัยที่มีคำตอบแล้ว) X ความสนใจ X โอกาสทำได้สำเร็จ X โอกาสที่จะนำมาใช้ประโยชน์

     หลายครั้งมากที่ผมรู้สึกไปเองหรือไม่ว่าการเริ่มต้นเพื่อทำวิจัย โดยเฉพาะกรณีภาคบังคับ ซึ่งจะมีหลาย ๆ กรณีเช่นในระบบการศึกษา การเลื่อนระดับในระบบราชการ หรืออาจจะเป็นภาคบังคับในหน่วยงาน ไม่ได้เริ่มด้วยโจทย์ที่ปัญหาวิจัย ก่อนพัฒนาเป็นคำถามวิจัย จากนั้นก็ไปตามลำดับของกระบวนการวิธีวิจัย

     มีผู้ขอคำแนะนำท่านหนึ่งเมื่อไม่นานมานี้ ได้ติดต่อมายังผม มีข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาแล้วเป็นอย่างดี บอกว่าวิเคราะห์และแปลผลไม่ค่อยถูก อยากได้คำแนะนำ เมื่อสอบถามถึงคำถามวิจัย หรือ วัตถุประสงค์ของการวิจัย ก็ได้รับคำตอบว่ายังไม่เรียบร้อย และยืนยันว่าจะวิเคราะห์ด้วยสถิติตัวนั้นตัวนี้ ผมได้พยายามบอกว่าการเลือกใช้สถิติว่าจะเป็นตัวใหน เป็นสิ่งที่อยู่หลัง คำถามวิจัยที่ดี จะเป็นตัวบอกหลาย ๆ เรื่อง ก่อนมาพิจารณาข้อจำกัดในการเก็บรวมข้อมูล เมื่อลงตัวตรงนี้แล้วก็จะได้ตัดสินใจเลือกสถิติที่จะใช้วิเคราะห์ ก็ปรากฎว่าเงียบไป ไม่ติดต่ออีก

     ทำให้ผมรู้ว่าต้องทบทวนเรื่องนี้ดู ก็พบว่ามีหลาย ๆ กรณีเท่าที่ได้เคยบันทึกไว้ น้อง ๆ ที่ไปศึกษาต่อ หรือ เพื่อนร่วมงานที่ต้องการทำเอกสารวิชาการ มักจะเริ่มด้วยสถิติที่จะใช้ก่อน โดยเฉพาะหากได้เลือกใช้ตัวที่รู้สึกว่ายาก ๆ จะทำให้ดูดี สมาร์ท (ผมนึกไปเอง) อย่างนี้จะทำให้การทำวิจัยครั้งนั้นไม่ง่ายขึ้นเลย และจะมีผลต่อคุณภาพของชิ้นงานแน่ ๆ เพราะจะติดด้วยข้อจำกัดอีกสารพัดที่คาดไม่ถึง หากจะถอยกลับเพื่อเริ่มใหม่ก็จะกลายเป็นการทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ เสียเวลา เปลืองงบประมาณ และเสียกำลังใจ

     ยังยืนยันว่าการเริ่มต้นวิจัยจะต้องเริ่มที่ปัญหา --> ปัญหาวิจัย ผมได้เคยเขียนไว้แล้วที่บันทึก เอามะพร้าวมาขายสวน: การเลือกเรื่องและการกำหนดปัญหาการวิจัย คราวนี้จะลองเขียนสรุปเป็นสมการดูนะครับ ดังนี้ ปัญหาวิจัยที่เลือก

     = (ปัญหา - ปัญหาเชิงบริหารจัดการ - ปัญหาวิจัยที่มีคำตอบแล้ว) X ความสนใจ X โอกาสทำได้สำเร็จ X โอกาสที่จะนำมาใช้ประโยชน์

    

หมายเลขบันทึก: 11536เขียนเมื่อ 7 มกราคม 2006 12:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
 อ่านเรื่อง"เริ่มต้นวิจัยด้วยสถิติที่อยากใช้"ของคุณ  สนใจทั้งข้อคิดเห็นและคำแนะนำในการเริ่มต้นทำวิจัย เริ่มต้นที่ปัญหา นำไปเขียนเป็นปัญหาการวิจัย คำถามการวิจัย และวัตถุประสงค์การวิจัย ซึ่งควรเป็นเรื่องที่ตนเองสนใจ มีโอกาสทำได้และนำมาใช้ประโยชน์ได้ แต่มีอาจารย์ได้บอกไว้ว่า ต้องมีผลงานการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะทำด้วย  ประเด็นนี้ไม่ทราบว่าหมายถึง "ปัญหาวิจัยที่มีคำตอบแล้ว" ในความหมายของคุณหรือไม่คะ แต่เมื่อมาคิดดูไม่น่าจะใช่เพราะ wordingนี้ของคุณ นำมาเป็นตัวลบ ในความหมายของดิฉันมันควรเป็นตัวบวกมากกว่า คุณพอจะมีเวลาอธิบายเพิ่มเติมให้หน่อยมั๊ยคะ

ขอโทษค่ะ  กลับไปอ่านรายละเอียดเอามะพร้าวมาขายสวน: การเลือกเรื่องและการกำหนดปัญหาการวิจัย ของคุณแล้วพอจะเข้าใจแล้วค่ะว่า"ปัญหาวิจัยที่มีคำตอบแล้ว" ของคุณหมายถึงงานวิจัยที่มีคนอื่นทำมาแล้วใช่มั๊ยคะ

     เยี่ยมครับคุณอรทัย อินทร์แก้ว (แต่ผมเพิ่งได้เข้ามา ลปรร.ต่อ) ที่ใช้เวลาห่างกัน 30 นาที (คห.1-2) ก็ตอบสิ่งที่สงสัยได้เองเลย

     เน้นอีกทีครับ ที่ว่าซ้ำซ้อนกับงานวิจัยที่ทำมาแล้ว โดยดูได้จากการทบทวนวรรณกรรมที่ผ่านมาถึงจะได้รู้ประเด็นนี้ และการพิจารณาความซ้ำซ้อนในแง่ของปัญหา สถานที่ เวลา และวิธีการที่ใช้ ก็ไม่ใช่ว่าซ้ำอย่างใด อย่างหนึ่งแล้วจะทำไม่ได้ งานวิจัยบางเรื่องก็ต้องการการยืนยัน (confermatory) แต่หากซ้ำทุกอย่างทั้งปัญหา สถานที่ เวลา และวิธีการที่ใช้ อย่างนี้ซ้ำแน่นอน (บางทีเข้าข่ายลอก)

ขอบคุณที่กรุณา ลปรร.ให้นะคะ ช่วงนี้ค่อนข้างยุ่ง(งาน+เรียน)จึงเพิ่งตามเข้ามาดู ขอโทษที่เสียมารยาท
ลืมแสดงความยินดีที่คุณได้รับรางวัล gotoknow ยอดเยี่ยมจริงๆค่ะ อยากเรียนรู้จริงๆค่ะ
     ขอบคุณคุณอรทัยครับ แล้วจะได้ ลปรร.กันตามแต่โอกาสอำนวยให้และสรรสร้างขึ้นแบบ F2F นะครับ ตอนนี้เรามีโอกาสตลอดเวลาโดย B2B ใน Gotoknow นี่แหละครับสุดยอดแล้ว
อยากให้คุณชายขอบ ช่วยให้ความสำคัญระหว่างงานวิจัยเชิงสำรวจข้อมูลพื้นฐาน กับงานวิจัยทดลองในห้องปฏิบัติการ ว่าในเชิงงานวิจัย ความสำคัญของทั้ง 2 วิธีมีข้อดี ข้อเสียต่างกันอย่างไร เพราะมักจะได้ยินว่างานวิจัยเชิงสำรวจข้อมูลพื้นฐานเป็นงานวิจัยที่ที่ทำง่ายๆ เทียบชั้นงานวิจัยเชิงทดลองไม่ได้ คุณชายขอบมีความเห็นยังไงบ้างครับ

เรียน คุณนวกร (คงแปลว่า "มือใหม่")

     สำหรับผมนะครับการออกแบบการวิจัยผมจะให้ยอมพูดว่าอะไรทำง่าย ๆ หรือยาก ๆ โดยการนำมาเทียบชั้นกันครับ เพราะขึ้นอยู่กับคำถามวิจัยมากกว่าว่าจะต้องการคำตอบแบบใด หรือที่ผมจะเรียกว่าขึ้นอยู่กับโจทย์วิจัยมากกว่า
     ฉะนั้นหากจะเปรียบเทียบกันก็เปรียบเทียบโดยรูปแบบการวิจัย ที่ยังไม่มีโจทย์ ทั้งนี้ก็เพื่อจะหาความต่างและความเหมือนในการพิจารณาเลือกใช้นะครับ (ในตำราจะหาอ่านได้เยอะอยู่แล้วครับ)
     เช่นการจะสำรวจว่า "คนพิการ" ในชุมชนนี้มีเท่าไหร่ จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล พิการอย่างไร ใครมีศักยภาพในการพึ่งตนเองแค่ไหน อย่างนี้เป็นต้น ไม่มีทางที่เราจะใช้รูปแบบการวิจัยทดลองในห้องปฏิบัติการได้เลยครับ

    การเลือกใช้สถิติที่ดีและถูกต้อง ต้องมองจากความมุ่งหมายของการวิจัย  สมมติฐานของการวิจัย ดังเฉกเช่น การวิเคราะห์ข้อมูลก็เช่นเดียวกัน เพราะการวิจัยที่ถูกต้องและดีต้องมีความสัมพันธ์ทุกขั้นตอน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท