ทำวิจัยอย่างไร นำไปสู่เชิงพาณิชย์


ผลงานวิจัยที่จับต้องได้ ขายได้ เป็นรูปธรรม นำไปสู่เชิงพาณิชย์"

นี่ก็อีกการวิจัยหนึ่ง ในยุคปัจจุบันนี้เป็นความต้องการระดับนโยบายเบื้องบนอยากให้มี

คือ การวิจัยเชิงพาณิชย์

นั่นหมายความว่า "ผลงานวิจัยที่จับต้องได้ ขายได้ เป็นรูปธรรม นำไปสู่เชิงพาณิชย์"

 

ไม่ใช่วิจัย วิจัย วิจัย แล้วรวบรวมรูปเล่ม ไว้บนหิ้ง แม้การเผยแพร่ ก็ยังเป็นตำรา ที่ต้องนำไปสังเคราะห์ เพื่อนำไปปฏิบัติและใช้ประโยชน์ได้จริง ซึ่งก็เป็นเรื่องยากที่ต้องใช้เวลา

ต่อแต่นี้ วิจัยในลักษณะดังกล่าว ในอนาคตอาจลดน้อยถอยลง

ฉะนั้น ท่านใด มีวิจัยอะไรดี วิจัยอะไรเด่น ๆ ที่ควรค่าแก่การนำมาต่อยอดเพื่อการวิจัยสู่เชิงพาณิชย์ ก็บอกเล่ากันได้นะคะ เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และบูรณาการ เพื่อการวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์แก่สังคมโดยรวมอย่างยั่งยืน

นี่ก็อีกประเด็นวิจัย ที่เครือข่าย สกอ.ภาคอีสาน อยากเห็น

นักวิจัย (สังกัด สกอ.) ภาคอีสาน เตรียมจัดทำแบบเสนอโครงการ เพื่อขอทุนได้ในปี 2552  คอยติดตามการประกาศรับทุน เร็ว ๆ นี้ค่ะ

เขตพื้นที่ 1  ครอบคลุมพื้นที่ จังหวัด อุดรธานี หนองคาย หนองบัวลำภู และ เลย

เขตพื้นที่ 2  จังหวัดสกลนคร นครพนม มุกดาหาร และกาฬสินธุ๋

เขตพื้นที่ 3  จังหวัดขอนแก่น มหาสารคาม และร้อยเอ็ด

เขตพื้นที่ 4  จังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์

เขตพื้นที่ 5  จังหวัดอุบลราชธานี ยโสธร ศรีสะเกษ และอำนาจเจริญ

นักวิจัยที่อยู่ในเขตพื้นที่ใด สามารถประสานติดต่อเพื่อเข้าร่วมเวทีในการพัฒนาข้อเสนอโครงการได้ ในเร็ว ๆ นี้ เครือข่าย สกอ.ภาคอีสาน (มข.เป็นสถาบันแม่ข่าย) จะประกาศอย่างเป็นทางการอีกครั้ง

หากมีข้อสงสัย สอบถามเพิ่มเติมได้ ยินดีน้อมรับ ค่ะ

ขอบคุณค่ะ

หมายเลขบันทึก: 161728เขียนเมื่อ 27 มกราคม 2008 20:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤษภาคม 2012 18:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ประสบการณ์ตรงที่สัมผัสเจอมาเมื่อไม่นานคือ   ผลงานของหลายท่าน  แตะต้องสัมผัสไม่ได้เลย   และไม่มีการนำมาให้หน่วยงานได้ใช้ประโยชน์ เก็บเงียบราวกับไม่มีตัวตนของผลงาน ...

สิ่งเหล่านี้ผมถือว่าไม่เหมาะสมนัก  โดยเฉพาะในกลุ่มที่ทำวิจัยเพื่อชำนาญการ   เพราะการนำเอางานที่ทำไปสร้างประโยชน์ปรับสถานะของตนเองแล้ว  ก็ควรที่จะคืนกำไรให้องค์กรบ้าง  อย่างน้อยผลงานนั้นจะได้เป็นต้นทุนที่ดีให้คนอื่น ๆ ได้เรียนรู้และต่อยอด 

ผมเห็นและสัมผัสเจอเช่นนั้นจริง ๆ  แต่หลายท่านก็คืนกำไรให้สังคมอย่างน่านับถือ ....   บันทึกทุกบันทึกในบล็อก  ก็ถือว่าเป็นต้นทุนที่ดีของการเรียนรู้ร่วมกัน   และนี่ก็คือการร่วมสร้างต้นทุนความรู้ให้กันและกัน  รวมถึงการคืนกำไรทางปัญญาให้กับสังคม ...

ขอบพระคุณครับ

 

P
 แผ่นดิน
ขอบคุณค่ะ อ.แผ่นดิน
นี่คืออีกบทเรียน ที่นักวิชาการทั้งหลายควรจะต้องปรับเปลี่ยน วิธีการ วิธีคิดใหม่ เพื่อประโยชน์ของสังคมโดยรวม
เราก็หวังเช่นนั้นว่า จรรยาบรรณนักวิจัย คงจะยังมีในสังคมแห่งการเรียนรู้ด้านการวิจัย เพื่อการพัฒนาให้ชุมชน สังคม ประเทศชาติเจริญ ค่ะ
ขอบพระคุณที่ต่อเติม เพื่อรวมพลังให้เข้มแข็งต่อไปค่ะ
เห็นนำไปจดสิทธิบัตรแล้วก็มีบ้างครับ ต่อไปก็ไปสู่เชิงพานิชย์ได้ครับ

P 3. นาย วรชัย หลักคำ

สวัสดีค่ะ อ.วรชัย

ขอบคุณค่ะ ที่เข้ามาแวะเยี่ยม และขอบคุณสำหรับข้อมูลที่เสนอแนะ

  • ขณะนี้ เรากำลังสรุปและตรวจเช็ค โครงการที่ได้รับทุนจากเรา ทั้งหมดในฐานข้อมูลที่มีอยู่ ในทุนทุกประเภท
  • แต่ปัญหาบางอย่าง คือ การวิจัย เป็นชื่อโครงการหนึ่ง แต่เมื่อไปจดลิขสิทธิ์ หรือสิทธิบัตร อาจเปลี่ยนเป็นชื่ออีกโครงการหนึ่ง ซึ่งทำให้ หน่วยงานทรัพย์สินทางปัญญาของเราก็ทำงานค่อนข้างลำบาก เรากำลังหาวิธีการในการตรวจสอบ เชื่อมโยงข้อมูล
  • ทั้งนี้ ก็ต้องขึ้นกับนักวิจัย ที่จะต้องให้ข้อมูลเราอย่างถูกต้อง และเป็นปัจจุบัน ค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

ยินดีรับข้อเสนอแนะอื่นๆ ได้ตลอดเวลา นะคะ เพื่อการพัฒนางานที่ดี และมีประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม ค่ะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท