"วัดต้นเกว๋น" อารยธรรมล้านนาไทยที่ปรากฏกายใน "เมื่อดอกรักบาน"


"วัดต้นเกว๋น" ... ตั้งอยู่ตำบลหนองควาย อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ (เส้นทางหางดง - สะเมิง)

ท่านคงเคยได้ดูละครเรื่อง "เมื่อดอกรักบาน" ที่เรื่องราวเกิดขึ้นที่ภาคเหนือของไทย ซึ่งมีอยู่หลายตอนทีเดียวที่เกี่ยวข้องกับวัด ๆ หนึ่ง ซึ่งมีวิหารไม้แบบพื้นบ้านล้านนาไทยที่สวยงาม

บันทึกแรกของสมุดเล่มนี้ จึงอยากขอเสนอเรื่องราวที่เกี่ยววัดแห่งนี้

 "วัดต้นเกว๋น" ...  ตั้งอยู่ตำบลหนองควาย อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ (เส้นทางหางดง - สะเมิง)

วัดต้นเกว๋น (ออกเสียงเกว๋นสูง ๆ นะครับ) เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่แสดงออกถึงแบบแผนทางศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมล้านนาที่งดงามและทรงคุณค่ายิ่ง  แม้จะได้รับการบูรณะซ่อมแซม แต่ยังคงไว้ซึ่งศิลปะแบบดั้งเดิม

สถาปนิกสยามจึงประกาศยกย่องให้เป็นอาคารอนุรักษ์ดีเด่น เมื่อปี พ.ศ.2532

ปัจจุบัน วิหารวัดต้นเกว๋น เป็นแบบให้นักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ใช้เป็นสถานที่ศึกษาวิชาสถาปัตยกรรม

 

ประวัติ

ตั้งชื่อตามต้นหว้า ซึ่งขึ้นตรงบริเวณที่สร้างวิหารในปัจจุบัน ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นวัดอินทราวาส ซึ่งตั้งตามชื่อเจ้าอาวาส ผู้สร้างวัดนี้ คือ ครูบาอินทร์

ตามหลักฐานที่บันทึกเป็นภาษาไทยบนเพดานวิหาร คาดว่า วัดนี้สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2401

สำหรับ มณฑปจตุรมุข สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นราว พ.ศ.2399 - 2412 ในสมัยพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์  เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ลำดับที่ 6

เพื่อเป็นสถานที่หยุดพักขบวนแห่พระธาตุศรีจอมทอง จากอำเภอจอมทอง มายัง เมืองเชียงใหม่ ให้ประชาชนแถบนี้ได้มาบูชาและสรงน้ำพระธาตุ แล้วจึงอัญเชิญต่อไปยังเมืองเชียงใหม่ เพื่อให้เจ้าผู้ครองนคร และประชาชนในเมืองเชียงใหม่สรงน้ำบูชาอันเป็นประเพณีทุกปี

สิ่งที่น่าสนใจ

วิหารวัดต้นเกว๋น

  • เป็นวิหารแบบล้านนาโบราณ หน้าบันประดับกระจกแก้วสีแบบฝาตาฝ้าหรือฝาประกน
  • โก่งคิ้วจำหลักไม้ลายเครือเถาสอดสลับรูปเศียรนาค
  • มีลายปูนปั้นรูปเทพพนมและดอกไม้อยู่หัวเสา

  • ด้านหน้าบันปีกนกจะแกะสลักเป็นเศียรนาคในเครือลายเถาผสมกนก
  • ตีเป็นช่องตารางเพื่อระบายอากาศ
  • ปั้นลมและหางหงส์แกะรูปมกรคายนาคอย่างงดงาม
  • คันทวยหูช้างจำหลักไม้เป็นรูปกินนรฟ้อนรำ

 

มณฑปจตุรมุข

  • เป็นมณฑปจตุรมุขแบบพื้นเมืองล้านนาซึ่งพบเพียงหลังเดียวเท่านั้นในภาคเหนือ
  • ลักษณะเป็นศาลาที่มีมุขยื่นออกมาทั้งสี่ด้าน
  • ส่วนกลางของศาลามีจั่วซ้อนอยู่สองชั้น
  • มุงด้วยกระเบื้องดินเผาที่เรียกว่า กระเบื้องดินขอ
  • ที่พิเศษกว่านั้นคือ ช่อฟ้าของหลังคาหลังนี้ ช่างโบราณได้ออกแบบให้เป็นนกที่มาเกาะได้อย่างลงตัว
  • ที่กลางสันหลังคามีซุ้มมณฑปเล็ก ๆ ซึ่งทางภาคเหนือเรียกว่า "ปราสาทเฟื้อง" ลักษณะเดียวกับที่พบในภาคอีสานและลาว

นอกจากนี้ในมณฑปยังมีอาสนะสำหรับตั้งโกศพระบรมธาตุ ซึ่งยังอยู่ในสภาพดี  มีฮางฮด หรือ รางริน สำหรับรองน้ำสุคนธธารา หรือ น้ำอบน้ำหอมที่นำมาหยดหล่อพระธาตุ และยังมีเสลี่ยงสำหรับหามบั้งไฟจุดบูชา สลักลวดลายดอกสวยงาม แต่ปัจจุบันทรุดโทรมไปแล้ว

 

ชมภาพเพิ่มเติม ... ครับ 

 

 

ภาพที่ 6 ... ศาลาประกอบวิหารวัดต้นเกว๋น เวลามีงานบุญ ผู้ศรัทธาจะใช้เป็นพักผ่อนนอนหลับ

 

 

ภาพที่ 7 ... บันไดทางเดินเข้าสู่ตัววิหารวัดต้นเกว๋น ... มีข้อความบอกว่า "ถอดเกิบ" หมายถึง สาธุชนทั้งหลาย กรุณาถอดรองเท้าไว้ก่อนที่เข้าสู่วิหาร

 

 

ภาพที่ 8 ... เมื่อเดินเข้าไปในวิหารจะพบ "โคมไฟศรีล้านนา" ต้อนรับงานเทศกาลยี่เป็งของภาคเหนือ (ลอยกระทง)

 

 

ภาพที่ 9 ... ต้นไม้บูชาของมัคฑายก (อาจารย์วัด) ในเทศกาลประเพณียี่เป็ง

 

 

ภาพที่ 10 ... ต้นไม้บูชาของบ่าหน้อยดาววี (ไม่ทราบที่มา) ในเทศกาลประเพณียี่เป็ง

 

 ภาพที่ 11 ... ต้นไม้บูชาประจำพระพุทธ (รอคำอธิบายจากผู้รู้) ในเทศกาลประเพณียี่เป็ง

 

  

 ภาพที่ 12 ... เสาวิหารที่มีการลงรักปิดทอง ฉากข้างเป็นพระพุทธรูปประจำวิหาร (ไม่ทราบชื่อ)

 

 ภาพที่ 13 ... จิตรกรรมฝาผนังที่เหลือเป็นภาพเดียวในวิหาร แสดงการเสด็จปรินิพพานของพระพุทธเจ้า

 

 ภาพที่ 14 ... ราหูอมจันทร์ประจำประตูวิหาร คนล้านนามีความเชื่อว่า มีหน้าที่ปกปักรักษาและป้องกันภยันตรายให้กับวิหารและผู้อยู่ภายใน

 

 

ภาพที่ 15... ต้นมะเกว๋น ที่มาของชื่อเดิมของวัดต้นเกว๋น อยู่บริเวณกำแพงวัด เพิ่งติดป้ายได้ไม่กี่ปีมานี้

 

ขออภัยด้วยนะครับ ถ้าภาพมากเกินไปอาจจะทำการโหลดของท่านช้าลง แต่เจตนาของผมต้องการให้จบภายในบันทึกเดียวครับ ไม่อยากต่อเรื่องมากมาย

วัดแห่งนี้ผมชอบไปนั่งทำสมาธิครับ ... เงียบ สงบ ไม่มีคนเลย ถ้าวันไหนมีนักท่องเที่ยวประเภททัวร์มาลง ก็วุ่นวายกันหน่อย

ผมก้าวย่างมาวัดนี้บ่อย เพราะที่พักผมอยู่ไม่ไกลนัก ยิ่งวันไหนได้ถือกล้องล่ะก็ ... เป็นอย่างที่ท่านเห็นนี่แหละครับ

แหล่งข้อมูลที่ขาดไม่ได้ครับ

กองบรรณาธิการสำนักพิมพ์สารคดี.  นายรอบรู้ นักเดินทาง : เชียงใหม่. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สารคดี, ม.ป.ป.

ภาพทั้งหมด บันทึกเมื่อ 19 พฤศจิกายน พ.ศ.2550 เวลา 11.00 - 12.00 น. ครับ 

ขอบคุณมากครับแวะมาเยี่ยมชม ขอให้ช่วยกันรักษาศิลปวัฒนธรรมที่มีค่าแห่งนี้ไว้ด้วยนะครับ

บุญรักษา .. ครับ :)

หมายเลขบันทึก: 148841เขียนเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2007 12:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (21)
  • เป็นภาพที่ประทับใจคะ
  • ขอบคุณมากคะที่นำมาฝาก
  • ลอยกระทงที่ ชม.ให้สนุกนะคะ
  • สวัสดีเจ้า..

ภาพสวยนะเจ้า ^_^   และขอบคุณมากๆ สำหรับประวัติวัดต้นเกว๋น

โอ้...ฝีมือไม่ใช่ย่อย  นับถือๆ

------------------------

ผมไม่เคยไปชมเลยครับ ดูแล้ว สวยมากเลยนะครับ ประวัติศาสตร์น่าสนใจ

ผมเองก็หลงไหลวัดเหือๆแบบนี้มาก มีเวลาก็อาจไปหาชมเรื่อยๆ 

ขอบคุณครับผม

ขอบคุณนะครับ ... อาจารย์ รัตน์ชนก  ... เทศกาลยี่เป็ง ผมชอบอยู่บ้านมากกว่าครับ คนวุ่นวายไม่ค่อยชอบ อิ อิ

ขอบคุณนะครับ ...  คุณ เนปาลี ได้มีโอกาสมาที่นี่แล้วมั้งครับ

ขอบคุณมากครับ ... คุณเอก แหม .. ชอบเรื่องถ่ายภาพและภาพถ่ายนะครับ

แต่ .. ที่ชม ๆ กันนี่ ผมเอามาเขียนต่อในช่วงบ่ายวันนี้แล้วนะครับ ชมต่อได้เลยนะครับ

:)

เพิ่มเติมข้อมูลนะครับ

"วัดต้นเกว๋น" ... พื้นที่วัดไม่มากนัก ... ภายในบริเวณวัด ไม่ได้เป็นดิน หรือ ปูน หรือ ซีเมนต์ นะครับ

เป็น "ทราย" ครับ การโรยด้วยทรายนี่ เป็นอุดมคติความเชื่อของชาวเหนือนะครับ แต่ไม่ผมยังไม่ได้สืบเสาะถึงเหตุผลว่า ทำไมถึงต้องเป็นทราย ?

ขอรอ "ผู้รู้" มาตอบดีกว่าครับ

ขอบคุณมากครับ :)

  • สวยมากๆๆ
  • จะไปตามน้อง ออต
  • ที่ชอบแบบนี้มาดู
  • เพิ่งเคยเห็นต้นนี้ครับ
  • ต้นมะเกว๋น
  • ขอบคุณมากครับ

 

ยินดีครับ .... อาจารย์ขจิต

บังเอิญผมผ่านทางไปพร้อมกับกล้องที่ยืมคณะฯ มานั่นแหละ ครับ

อิ อิ :)

สวัสดีครับ

  • สถาปัตยกรรมงามๆ อย่างนี้นอกจากดึงดูดคนให้สนใจศิลปะแล้ว ยังดึงดูดเข้าไปใกล้ชิดพระธรรมด้วย
  • งามมากครับ

ขอบคุณครับ ... อาจารย์  ธ วั ช ชั ย ที่แวะมาเยี่ยมเยียน ครับ ...

อารยธรรมมีไว้ให้รักษา ครับ :)

อยากไปมานานแล้วค่ะ พรุ่งนี้ไปเชียงใหม่ แต่ไม่ทราบว่าอยู่ตรงไหนของเชียงใหม่ค่ะ

สวัสดีครับ คุณ เก้าอี้ขาว

  • ต้องขับรถลงไปทางใต้ ใช้เส้นถนนเลียบคันคลองชลประทาน (ผ่านที่จัดงานมหกรรมพืชสวนโลก)
  • ขับเลยแยกพืชสวนโลก ... ถึง สี่แยกหางดง - สะเมิง
  • เลี้ยวขวาไปทางสะเมิง ประมาณ 5 - 10 เมตร
  • ทางเข้าอยู่ทางด้านซ้ายมือ ครับ ... มีป้ายชื่อวัดอยู่
  • สังเกต ว่า ใกล้ ๆ ทางเข้ามี ไก่ย่าง 5 ดาว อยู่ครับ
  • วัดอยู่ห่างจากถนนใหญ่ 50 เมตร ได้ ครับ
  • น่าจะเจอนะครับ
  • ยังไงก็แจ้งให้ทราบด้วยนะครับว่า ไปถูกหรือไม่

ขอบคุณครับที่มาเยี่ยมเยือน :)

มาชมภาพที่ อ. Was บันทึกมาอีกครั้ง สวยงามมากครับ

วันนี้เพิ่งกลับมาจาก เชียงใหม่ครับ ภาระกิจพูดคุยกับ นศ.ที่ มช. เต็มเหยียดเลยครับ คิดว่าจะโทรไปชวน จิบวาวีไอซ์บูมคาราเมล ซะหน่อย ไม่มีเวลาเลยครับ เอาไว้ผมไปสอนอีก ไม่นานนี้ครับ หวังว่าคงได้สนทนากันนะครับ

สวัสดีครับ คุณเอก จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

ขอบพระคุณครับ ที่แวะมาชมภาพอีกครั้ง ... ผมเองก็ไม่ได้เข้ามาดูนานเช่นกันครับ ดูมันเป็นประวัติศาสตร์ และไม่อยากเชื่อว่า ผมสามารถเขียนบทความนี้ได้

แล้วคงได้สนทนาวิวาทะกันครับ :)

วัดสวยสะอาดตาจัง เยี่ยมๆๆ ส่วนศาลาจตุรมุขนั้นสวยแปลกตาดีมากค่ะ อยากจะไปชมสักครั้ง ขอบคุณที่นำรูปมาลงให้คนอยู่ไกลได้ชื่นชมนะคะ ชอบของถวายยี่เป็งด้วย ประดิดประดอยสวยมากๆ

ส่วนรอบวิหารที่ปูด้วยพื้นทราย บ้างว่าเป็นตามคติที่เหมือนท้องทะเลรองรับวิหารที่เป็นเหมือนเขาพระสุเมรุ แต่อาจจะเกิดจากไม่มีงบก็ได้นะ อิอิ แต่เราว่าเป็นทรายน่ะดีแล้ว เห็นบางวัดปูพื้นกระเบื้องแล้วน่าเกลียดจัง ฮือๆๆ เดินไปร้อนไป กระโดดหยองแหยง เอ หรือเขาจะให้บรรลุธรรมว่า ประมาณกระทะทองแดงนะลูก (ฮา) แต่ก็เคยเห็นบางวัดที่เทซีเมนต์เฉพาะส่วนที่ใกล้ๆ พระธาตุ แล้วเอาแผ่นยางมาปูรอบให้คนได้เดินเวียนเทียน ท่านนักศิลปะน่าจะลองศึกษาเพิ่มเติมว่าทำยังไงถึงจะสวยเข้ากับสถาปัตยกรรมของวัด แทนที่จะปล่อยให้เป็นวิสัยทัศน์ของเจ้าอาวาสเพียงลำพังน่ะค่ะ ช่วยๆกันคิดน่าจะดีค่ะ

อยากเสนอให้พาเด็กๆไปเที่ยววัดแซมๆกับเที่ยวที่อื่นๆกันนะคะ ได้ซึมซับวัฒนธรรมล้ำค่าของเราโดยไม่ต้องไปดูในพิพิธภัณฑ์(อันแอบน่าเบื่อ อิอิ)แถมได้ปลูกฝังพระศาสนาอย่างเนียนๆเลยค่ะ

ขอบคุณมากครับ คุณแนน .. ที่ได้แวะมาเยี่ยมบันทึกนี้

เราได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันแล้วนะครับ )

ยามเย็น นกโผบินกลับรัง ... ปูมาเดินเล่นในวัด

วัดนี้งามจัง ร่มรื่น ... ทั้งภูมิทัศน์ภายใน ภายนอก

สะดุดตาด้วย ภาพนี้ มณฑปจตุรมุข ... โดดเด่นมากค่ะ

... แฟนพันธุ์แทะ แวะมาบอกว่า รอ รอ ชมวัดท่าซุง ... :)

โห มาทวงสัญญากันเลยเหรอ คุณ poo ร้ายจริง ๆ อิ อิ


ราหูอมจันทร์ เหมือนว่าจะเป็นราชสีห์มากกว่า น่าครับ -.-?

ที่มาจากแหล่งอ้างอิงครับ ;)…

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท