มิติใหม่เพื่อการพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร


เวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการพัฒนางานส่งเสริมการเกษตรของกรมส่งเสริมการเกษตร

เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้มิติใหม่เพื่อพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร

  

กระผมจะขอเล่าที่มีโอกาสไปร่วม เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร ของกรมส่งเสริมการเกษตร จัดขึ้นที่อาคารฝึกอบรมศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร(พันธุ์พืชเพาะเลี้ยง) จังหวัดสุพรรณบุรี ระหว่างวันที่ 19-21 พฤศจิกายน  2550 โดยมีนักส่งเสริมการเกษตรระดับปฏิบัติการจากภูมิภาค หรือพูดง่ายๆก็คือส่วนใหญ่จะเป็นเลขานุการคณะกรรมการบริหารศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล ที่ประสบความสำเร็จในการทำงานส่งเสริมการเกษตรในระดับพื้นที่ และยังมีบุคลากรที่มีประสบการณ์ในการทำงานมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยใช้เทคนิคจากเรื่องเล่าประสบการณ์จริงของการทำงานส่งเสริมการเกษตรในระดับพื้นที่และชุมชนนั่นเอง

 

  

            เป้าหมายของการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งนี้ก็คือ การพัฒนาระบบการทำงานส่งเสริมการเกษตร ที่เรียกว่ามิติใหม่ของกรมส่งเสริมการเกษตร ณ.ปัจจุบันนี้เองครับ  ความจริงแล้วเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ลักษณะอย่างนี้ มีบุคลากรทั้งระดับกรม  เขต  จังหวัด  อำเภอ และตำบล ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันและมีการแบ่งปันความรู้และประสบการณ์จริง โดยได้งานและบรรยากาศ ซึ่งหาดูได้ยากจากการทำงานที่ผ่านมา   สำคัญที่สุดก็คือการฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกันแต่มีข้อตกลงกันว่าต้องแสดงความคิดเห็นเชิงบวกที่เป็นลักษณะHOWTO หรือพูดง่ายๆก็คือให้พูดถึงขั้นตอนและวิธีการทำกันอย่างไร นั่นเองครับ ปกติเราเคยพูดกันในเวทีเสวนา KM  ที่ส่งเสริมการพูดเชิงบวก คิดเชิงบวกนั่นเอง

              การทำงานส่งเสริมการเกษตรมิติใหม่นี้จะมุ่งเป้าหมายไปที่ชุมชนเข้มแข็ง และพึ่งตนเองได้ โดยมีกรอบแนวคิดนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ไปเป็นแนวทางในการดำเนินงาน ถ้าหากจะพูดถึงวัตถุประสงค์ของการจัดเวทีเพื่อที่จะพัฒนาระบบการทำงานส่งเสริมการเกษตรของ นักส่งเสริมการเกษตรทุกระดับ จะทำงานกันอย่างไร และจะใช้องค์ความรู้อะไรบ้างไปทำงานให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาชุมชนเกษตร องค์กรเกษตรกร และเกษตรกร นั่นเอง 

 

 

 

จะขอเล่าต่อถึงกระบวนการที่จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้ง3 วัน โดยทีงานคุณอำนวยซึ่งประกอบไปด้วย ท่านไพรัช   หวังดี  (เกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี ) คุณสรณพงษ์ บัวโรย (จากสมุทรสงคราม) คุณศิริวรรณ หวังดี (สพท.กรมส่งเสริมการเกษตร) คุณเชิงชาย  เรือนคำปา (จากกำแพงเพชร)และผม และยังมีทีมงานอีกหลายท่านจากกรมส่งเสริมการเกษตร ที่ไม่ได้เอ่ยนามครับ ได้มีความตั้งใจ ที่จะให้เกิดบรรยากาศของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อพัฒนาระบบการทำงานส่งเสริมการเกษตรมิติใหม่นี้อย่างแท้จริง ซึ่งมีกระบวนการพอสรุปได้ดังนี้

 

ขั้นที่1 ซักซ้อมความเข้าใจของทีมเลขานุการและทีมวิทยากรกระบวนการ(ทีมคุณอำนวย) พร้อมได้ทบทวนการออกแบบกระบวนการ ที่จะดำเนินการทั้ง3 วัน

ขั้นที่2 มีการกำหนดโจทย์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ได้แสดงความคิดเห็นในเวทีใหญ่ โดยใช้บัตรคำเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล  จากนั้นทีมช่วยกันจัดหมวดหมู่ ข้อมูล และใช้บันทึกลงในMind Map

 

ขั้นที่3 การแบ่งกลุ่มย่อยออกเป็นสองกลุ่ม โดยใช้ฐานข้อมูลจากMind Map ในขั้นที่2 และใช้ฐานข้อมูลจากนโยบายและแนวทางการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตร ปี 2551  โดยเปรียบเทียบและบูรณาการร่วมกับเรื่องเล่าจากประสบการณ์การทำงานของนักส่งเสริมระดับปฏิบัติในระดับพื้นที่และชุมชน ในขณะเดียวกันให้ผู้แทนกลุ่มย่อยทุกกลุ่มได้ฝึกทักษะการเป็นคุณอำนวย และคุณลิขิตไปพร้อมกันด้วย

 

 

ขั้นที่4  ใช้เทคนิค AAR. ประเมินผล สรุปผลระหว่างปฏิบัติงานของทีมเลขานุการและ ทีมคุณอำนวย  ขณะที่เสร็จสิ้นกระบวนการจัดเวทีทั้ง 2 วัน โดยมีการสะท้อนผลของจัดกระบวน และเติมในส่วนที่ขาดไป แต่ต้องรักษาบรรยากาศแห่งความร่วมมือครับ เพื่อจะกำหนดแผนปฏิบัติการในครั้งต่อไป

 

ขั้นที่5  นำเสนอผู้ของข้อมูลที่ได้จากการแบ่งกลุ่มเพื่อการอภิปรายในกลุ่มย่อย โดยผู้แทนกลุ่ม แล้วเปิดโอกาสให้ที่เวทีใหญ่ได้เสนอเพิ่มเติมเพื่อความสมบูรณ์ของข้อมูล ในขณะเดียกัน เราก็จับประเด็นในภาพรวมใหญ่อีกครั้ง โดยผมและคุณศิริวรรณ ได้ทำหน้าที่เป็นคุณลิขิต โดยใช้เครื่องมือModel และบัตรคำ  แต่ในขณะเดียวกันทีมงานแลขาฯของกรม ก็จะบันทึกโดย Mind Map อีกครั้ง เพื่อเป็นการเก็บข้อมูลในส่วนที่ตกหล่น ดำเนินช่วงเช้าทั้ง2วัน

 

ขั้นที่ 6 มีการประมวลข้อมูลที่ดำเนินการมาตั้งแต่ต้น และจะดำเนินการแลกเปลี่ยนในประเด็นที่ขาดข้อมูล เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครอบคลุม โดยเทคนิคที่ใช้คือคำถามนำ แล้วตอบลงบัตรคำ ขณะเดียวกันทีมงานได้ช่วยกันจัดกลุ่มบัตรคำเป็นหมวดหมู่ แล้วทีมคุณอำนวยสรุปให้ที่ประชุมใหญ่ได้ทราบข้อมูลที่ได้ และเปิดโอกาสให้ที่เวทีใหญ่ได้เติมข้อมูลได้อีก พร้อมทั้งมีคณะทำงานระดับกรมส่งเสริมการเกษตร ได้ให้ข้อคิด ข้อสังเกต ข้อแนะนำ  และการที่จะนำข้อมูลที่ได้เชิงคุณภาพครั้งนี้ไปประมวลผล และใช้ประโยชน์ต่อไปก็จะเป็นหน้าที่ของคณะทำงานระดับกรมส่งเสริมการเกษตรที่จัดเป็นคู่มือในการทำงานต่อไปในอนาคตอันใกล้นี้

  
 

          สี่งที่ผมพอใจมากคือในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งนี้ ทำให้นักส่งเสริมการเกษตรในอนาคต ที่จะต้องปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานจาก บนฐานทรัพยากร(Resource-Based) มาเป็นทำงานบนฐานองค์ความรู้ (Knowledge-Based )จะต้องมีกำหนดสมรรถนะ(Competeny)ในการทำงานต่อไปเพื่อพัฒนาไปสู่นักส่งเสริมการเกษตรมืออาชีพมีดังนี้คือ

  1.จัดการความรู้(KM)เป็น

 2.ทำการวิจัยและพัฒนา(R&D)เป็น

 3.นักประสานงานที่ดี 

 

 

  4.กำหนดเป้าหมายการทำงานเป็น 

 

 

   5.สืบค้นหาข้อมูลเป็น 

 

 

   6.พัฒนาตนเองอยู่เสมอ /ใฝ่เรียนรู้

     7.ทำงานอย่างมีระบบและเชื่อมโยงจัดระบบการทำงานของตนเองได้ ทำงานอย่างมีความสุข

  (เชิญแลกเปลี่ยนเพื่อการเติมเต็มด้วยครับขอบคุณ) 

หมายเลขบันทึก: 148837เขียนเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2007 11:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

หวัดดีครับ

  • ก่อนอื่นต้องขอบคุณที่นำมาฝากครับ
  • สมรรถนะ 7 ข้อที่กล่าวมา ก็โอเคแล้วครับ
  • แต่อยากแลกเปลี่ยน คือ ในพื้นที่ นักส่งเสริมส่วนใหญ่ อายุค่อนข้างมากแล้ว ทำงานมานาน มองไม่เห็นความก้าวหน้า เกิดความหล้าทั้งกายและใจ ไม่ทราบว่าจะมีทางออกอย่างไรดีครับ

    สวัสดีครับ  พี่เขียว

  • เล่าเป็นขั้นเป็นตอน สมเป็นนักวิชาการมืออาชีพ
  • เก็บรายละเอียด..เยี่ยม
  • รูปสวย
  • ขอคุณมากครับ
  • สัวสดีครับอ.หนุ่ม
  • ก่อนอื่นต้องขออภัยครับ ที่นานตอบเพราะว่าCom ขัดข้องทางเทคนิค
  • ขอบคุณครับที่ได้สะท้อนมุมมอง ต่อนักส่งเสริมการเกษตรที่จะต้องมีสมรรถนะ(Competency) ซึ่งจะต้องช่วยกันอีกมากเพื่อความอยู่รอดของนักส่งเสริมการเกษตรในระดับปฏิบัติการ
  • เราคงต้องค้นหาBeste Practice ของนักส่งเสริมการเกษตรที่ปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่ ถึงแม้เงินเดือนจะเต็มขั้นแล้ว แต่ยังมีไฟในการทำงานอยู่ สุดท้ายเขาสามารถทำงานกับเกษตรกร ชุมชนได้อย่างมีความสุขนั่นเองครับ
  • ในแต่ละจังหวัดฯคงจะมีไม่น้อยนะครับ
  • สวัสดีครับพี่ไมตรี
  • ขอบคุณที่มาแวะเยี่ยมและให้กำลังใจมาโดยตลอด
  • ขออภัยครับที่ตอบช้าไปหน่อยเพราะว่า Com ขัดข้องทางเทคนิคครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท