การอ่านและเขียน คำพ้องเสียง,คำนาม,สรรพนาม,กริยา""""


คู่มือครู

ชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน เรื่อง การอ่านและเขียน

"""คำพ้องเสียง,คำนาม,สรรพนาม,กริยา ""


ส่วนประกอบของชุดการสอน

๑. บทเรียนจัดเป็นศูนย์การเรียน ๔ ศูนย์ และศูนย์สำรอง ๑ ศูนย์แต่ละศูนย์มีส่วนประกอบดังนี้

ศูนย์ที่ ๑ ประกอบด้วย บัตรคำสั่ง บัตรเนื้อหา บัตรกิจกรรม

บัตรเฉลย บัตรคำถาม

ศูนย์ที่ ๒ ประกอบด้วย บัตรคำสั่ง บัตรเนื้อหา บัตรกิจกรรม

บัตรเฉลย บัตรคำถาม

ศูนย์ที่ ๓ ประกอบด้วย บัตรคำสั่ง บัตรเนื้อหา บัตรกิจกรรม

บัตรเฉลย บัตรคำถาม

ศูนย์ที่ ๔ ประกอบด้วย บัตรคำสั่ง บัตรเนื้อหา บัตรกิจกรรม

บัตรเฉลย บัตรคำถาม

ศูนย์ที่ ๕ (ศูนย์สำรอง) ประกอบด้วย บัตรกิจกรรม บัตรเฉลย

บัตรคำถาม

๒. ซองแบบทดสอบประจำชุดการสอนพร้อมเฉลย

๓. ซองกระดาษคำตอบแบบทดสอบประจำชุดการสอน

๔. ซองแบบฝึกปฏิบัติ

๕. คู่มือครู ๑ เล่ม

๖. กล่องชุดการสอน ๑ กล่อง

 

 

 

คำชี้แจงสำหรับครู

บทบาทของครูในห้องสำหรับศูนย์การเรียน มีบทบาทดังนี้

๑. ครูต้องเตรียมวัสดุอุปกรณ์ซึ่งไม่ได้จัดเตรียมไว้ในชุดการสอน

(ดูสิ่งที่ครูต้องเตรียม)

๒. ครูจัดห้องเรียนและวางสื่อการสอนตามแบบที่กำหนด ดังต่อไปนี้

 


๓. ครูควรศึกษาเนื้อหาที่จะสอนโดยละเอียดและศึกษาชุดการสอนอย่างรอบคอบ

๔. ก่อนสอนครูควรเตรียมชุดการสอนไว้บนโต๊ะประจำกลุ่มอย่างเรียบร้อย โดย

ให้นักเรียนได้รับคนละ ๑ ชุด เว้นเสียแต่สื่อการสอนที่ต้องใช้ร่วมกันเป็นกลุ่ม

๕. เตรียมแบบฝึกปฏิบัติสำหรับนักเรียนทุกคน

๖. ถ้าเป็นการเรียนจากห้องเรียนแบบศูนย์การเรียนครั้งแรก ครูต้องชี้แจง

ให้นักเรียนรู้เกี่ยวกับบทบาทของนักเรียนในการใช้ชุดการสอน

๗. การสอนแบ่งเป็น ๓ ขั้น คือ

     ๗.๑ ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน

     ๗.๒ ขั้นปฏิบัติกิจกรรมการเรียน

     ๗.๓ ขั้นสรุปบทเรียนและประเมินผล

๘. ขณะที่นักเรียนทุกกลุ่มปฏิบัติกิจกรรมการเรียน ครูไม่ควรพูดเสียงดัง หากมีอะไรที่ต้องพูดให้พูดเป็นรายกลุ่มหรือรายบุคคล ต้องไม่รบกวนกิจกรรมของนักเรียนกลุ่มอื่น


๙. ขณะที่นักเรียนประกอบกิจกรรม ครูต้องเดินดูการทำงานของนักเรียนแต่ละกลุ่ม อย่างใกล้ชิด หากมีนักเรียนคนใดหรือกลุ่มใดมีปัญหาครูต้องให้คำแนะนำช่วยเหลือจนปัญหาเหล่านั้นคลี่คลาย

๑๐. หากมีนักเรียนคนใดทำงานช้าจนเกินไป ครูควรดึงออกมาทำกิจกรรมนั้นเป็นพิเศษ หรือหากิจกรรมให้เหมาะสมกับนักเรียนที่เรียนช้า

๑๑. การเปลี่ยนกลุ่มกิจกรรม กระทำได้ดังนี้

     ๑๑.๑ เปลี่ยนกลุ่มพร้อมกันทุกกลุ่ม หากทำกิจกรรมเสร็จพร้อมกัน

     ๑๑.๒ หากมีกลุ่มที่ทำงานเสร็จพร้อมกัน ๒ กลุ่ม ก็ให้เปลี่ยนกันได้เลย

     ๑๑.๓ หากมีกลุ่มใดเสร็จก่อนโดยกลุ่มอื่นยังไม่เสร็จ ให้กลุ่มที่เสร็จก่อน เปลี่ยนไปยังศูนย์สำรอง และถ้าหากมีศูนย์ใดว่างก็ให้ย้ายจากศูนย์สำรองไปยังศูนย์ที่ว่างทันที

๑๒. ก่อนบอกให้นักเรียนเปลี่ยนกลุ่ม ครูจะต้องเน้นให้นักเรียนเก็บชุดสื่อการสอนของกลุ่มตนไว้ในสภาพเรียบร้อย ไม่ถือติดมือไปด้วย ยกเว้นแบบฝึกปฏิบัติของนักเรียนเอง และขอให้การเปลี่ยนกลุ่มเป็นไปอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย

๑๓. การสรุปบทเรียน ควรเป็นกิจกรรมร่วมของกลุ่มทุกกลุ่ม หรือตัวแทนกลุ่มร่วมกัน

๑๔. หลังจากเสร็จสิ้นการเรียนการสอนแล้ว ให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน

๑๕. ในกรณีที่นักเรียนคนใดขาดเรียนในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ให้นักเรียนเรียน เป็นรายบุคคลจากชุดการสอนที่เตรียมไว้ โดยครูแยกออกมาอย่างละ ๑ ชุด หรือ ตามจำนวนนักเรียนที่ขาดเรียน

๑๖. หลังจากนักเรียนได้เรียนเนื้อหาทุกศูนย์เรียบร้อยแล้ว ให้ครูเก็บกระดาษ คำตอบของนักเรียนไว้ เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและความก้าวหน้า ของนักเรียน

 

สิ่งที่ครูต้องเตรียม

๑. ครูต้องตรวจชุดการสอนให้มีอุปกรณ์ครบถ้วนทุกศูนย์ เช่น บัตรคำสั่ง

บัตรเนื้อหา บัตรกิจกรรม บัตรเฉลยกิจกรรม บัตรคำ บัตรภาพ

๒. เตรียมเกม

๓. แบบทดสอบก่อน - หลังเรียน ให้ครบจำนวนนักเรียน

๔. กระดาษคำตอบแบบทดสอบก่อน - หลังเรียนให้ครบจำนวนนักเรียน

๕. แบบฝึกปฏิบัติสำหรับนักเรียนทุกคน


บทบาทของนักเรียน

- > บทบาทของนักเรียนมีความสำคัญสำหรับการเรียนแบบศูนย์การเรียนมาก  ครูจึงต้องชี้แจงให้นักเรียนทราบบทบาทของนักเรียน ดังนี้

๑. ตั้งใจฟังคำอธิบายจากครูเมื่อนำเข้าสู่บทเรียน สรุปบทเรียน และเนื้อหาสาระ  บางอย่างจนเข้าใจ เมื่อสงสัยต้องซักถามทันที

๒. อ่านบัตรคำสั่ง และปฏิบัติตามคำสั่งทีละขั้นอย่างรอบคอบ

๓. เมื่อมีคำสั่งให้อภิปรายต้องช่วยกันแสดงความคิดเห็น แต่ต้องไม่พูดเสียงดังเกินไป ไม่ชักชวนเพื่อนให้ออกนอกลู่นอกทาง

๔. พยายามตอบคำถามด้วยความตั้งใจ เพราะคำถามในชุดการสอนไม่ใช่ข้อสอบ แต่ เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้

๕. เมื่อได้รับเลือกเป็นหัวหน้ากลุ่ม หัวหน้าต้องดูแลกิจกรรมให้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย

๖. นักเรียนที่เป็นสมาชิกในกลุ่มต้องปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดี และต้องร่วมมือและมีความสามัคคี เมื่อเวลาเปลี่ยนกลุ่ม ขอให้เก็บบัตรทุกอย่างและสื่อการสอนทุกอย่างให้เรียบร้อย พร้อมที่นักเรียนกลุ่มอื่นจะใช้ได้ทันที หากเกิดชำรุดควรรีบแจ้งให้ครูทราบทันที

๘. นักเรียนต้องใช้ชุดการสอนอย่างระมัดระวัง

๙. เนื่องจากการทำกิจกรรมแต่ละกลุ่มมีเวลาจำกัด และต้องเปลี่ยนไปทำกิจกรรมศูนย์อื่นอีก ดังนั้นนักเรียนต้องตั้งใจทำอย่างรวดเร็ว

๑๐.เมื่อนักเรียนลุกจากศูนย์กิจกรรม ต้องจัดเก้าอี้ให้เรียบร้อย และเปลี่ยนไปยังศูนย์อื่นได้ด้วยความเรียบร้อย


ขั้นตอนการสอนและการแบ่งเวลาในการประกอบกิจกรรม

ในชุดการสอนเรื่องการอ่านและเขียน คำพ้องเสียง, คำนาม, สรรพนาม, กริยา

กำหนดเวลา ๒ ชั่วโมง ดังนี้

๑. ทดสอบก่อนเรียน ๑๕ นาที

๒. ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ๕ นาที

๓. ขั้นประกอบกิจกรรมของแต่ละศูนย์การเรียน ศูนย์ละ ๑๕ นาที

๔. ขั้นสรุปบทเรียน ๑๐ นาที

๕. ขั้นทดสอบหลังเรียน ๑๕ นาที

**(หมายเหตุ ยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสม)


การประเมินผล

๑. สังเกตความสนใจการเข้าร่วมปฏิบัติกิจกรรมในกลุ่ม

๒. ประเมินจากการตรวจแบบฝึกปฏิบัติของนักเรียน

๓. ประเมินจากผลการทำแบบทดสอบหลังเรียน

 

หมายเลขบันทึก: 147351เขียนเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2007 11:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 11:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ดีจัง  ค้นหาคำตอบได้ดังใจ  ขอบคุณนะคะ

ตั้ง ใ จ ส อ น นะ ค รั บ

ได้รับความรู้เพิ่มเติมชัดเจนดี

อยากได้ชุดสื่อการสอนแบบข้อความข้างบน ราคาเท่าไรคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท